เทปพันสายไฟ – บ้านและสวน

3 วิธีพื้นฐานการพันเทปพันสายไฟ

เมื่อต่อสายไฟ จำเป็นต้องหุ้มจุดต่อสายด้วยฉนวน ซึ่งนิยมใช้ เทปพันสายไฟ โดยควรเลือกใช้ เทปพันสายไฟ ที่ได้มาตรฐาน เนื้อเทปมีความเหนียว เมื่อพันสายไฟแล้วแนบกับสายได้ดี ที่สำคัญคือ วิธีการพันเทปพันสายไฟให้ถูกวิธีและไม่หลุดง่าย เพื่อช่วยป้องกันการเกิดไฟฟ้าลัดวงจร เทปพันสายไฟ 1.การพันเทปพันสายไฟรอบรอยต่อแบบหางเปีย เริ่มต้นด้วยการใช้คีมพับเก็บปลายสายที่ตีเกลียวแล้ว จากนั้นพันเทปจากตำแหน่งปลอกสายเส้นใดเส้นหนึ่ง โดยห่างจากตำแหน่งปลอกสายประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร แล้วพันขึ้นไปให้สุดเส้นลวดทองแดงที่ตีเกลียว  จากนั้นพันย้อนกลับมายังที่เดิม โดยพันไปกลับแบบเดิม 2-3 รอบ (เน้นพันเทปบริเวณจุดจบปลายสาย เพื่อเสริมความแข็งแรงและป้องกันไฟรั่ว) และรอบสุดท้ายให้พันรวบสายไฟทั้งสองเส้นที่มีฉนวนหุ้มแล้วเข้าด้วยกัน ตัดเทปออกเมื่อพันเสร็จ วิธีนี้จะช่วยป้องกันเทปพันสายไฟหลวมหรือคลายตัวได้ดีกว่าการเริ่มพันเทปบนสายไฟที่รวบเข้าด้วยกันตั้งแต่แรก  2.การพันเทปพันสายไฟรอบรอยต่อแบบรับแรงดึง พันเทปจากตำแหน่งปลอกสายเส้นใดเส้นหนึ่ง โดยห่างจากตัวนำประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร จากนั้นพันรอบรอยต่อสายไปเรื่อยๆ และให้เทปทับเลยขึ้นไปบนส่วนฉนวนสายไฟอีกด้านหนึ่ง แล้วพันเทปไปและกลับรอบตัวนำสายไฟแบบนี้อีก 2-3 รอบ เพื่อให้มีความหนาเพียงพอต่อการป้องกันทางไฟฟ้า และป้องกันตัวเทปพันสายไฟฉีกขาดหรือชำรุดภายหลัง 3.การพันเทปพันสายไฟรอบรอยต่อของสายพีวีซีคู่ เริ่มต้นเหมือนกับการพันเทปพันสายไฟรอบรอยต่อแบบรับแรงดึง โดยพันเทปเลยขึ้นไปบนส่วนฉนวนสายไฟอีกด้านเพียงเล็กน้อย จากนั้นพันเทปไปและกลับรอบตัวนำสายไฟอีก 2-3 รอบ แล้วทำซ้ำแบบเดิมกับสายไฟอีกเส้นหนึ่งเช่นเดียวกัน เมื่อพันเทปรอบตัวนำสายไฟทั้งสองเส้นเสร็จแล้ว ให้พันรวบสายไฟทั้งสองเส้นที่มีฉนวนหุ้มแล้วเข้าด้วยกัน ทั้งนี้ระหว่างใช้เทปพันสายไฟ เราต้องออกแรงดึงเทปให้ยืดตัวเล็กน้อย และพันให้เทปแนบสนิท (เทปไม่ยับ) จะทำให้เทปพันสายไฟยึดติดแน่นกับสายไฟได้ดีและไม่หลวม […]