เทปพันเกลียว
เทคนิคการพันเทปพันเกลียวในพื้นที่แคบ แบบมือโปร
เมื่อต้องใช้ เทปพันเกลียว ท่อประปาหรือท่อพีวีซี ในพื้นที่ทำงานแคบมาก มีเทคนิคง่ายๆ ดังนี้ ในพื้นที่แคบแม้เราจะมองเห็นได้ชัดเจน แต่จะใช้ เทปพันเกลียว ทั้งม้วนมาพันเกลียวท่อก็ไม่สะดวก เพราะสอดเข้าไปไม่ได้ เนื่องจากม้วนเทปพันเกลียวมีขนาดใหญ่เกินไป วันนี้ “ช่างประจำบ้าน” มีเคล็ดไม่ลับที่ช่วยให้การพันเกลียวท่อในพื้นที่แคบๆ กลายเป็นเรื่องง่ายที่ใครๆ ก็ทำเองได้ มาบอกกัน ขั้นตอนการทำงาน 1. ทำความสะอาดปลายท่อ (ข้อต่อท่อเกลียวนอก) ก่อนพัน เทปพันเกลียว เพราะถ้ามีสิ่งแปลกปลอมติดอยู่จะทำให้เวลาสวมเกลียวข้อต่อเข้าไปเกิดการติดขัด และเกลียวเสียรูปทรงได้ 2. ใช้ไม้เสียบลูกชิ้น ตะเกียบ อุปกรณ์หรือเครื่องมือช่างใกล้ตัวอย่างตะปูหรือไขควงอย่างหนึ่งอย่างใด แล้วนำมาพันเข้ากับเทปพันเกลียว โดยใช้การแบ่งเนื้อเทปออกมาจากตลับหรือม้วนเทปพันเกลียวของเดิม 3. พันเทปกับไม้เสียบลูกชิ้นไปเรื่อยๆ (10-20 รอบ) หรือให้ได้ความหนาพอประมาณ แต่อย่าพันเนื้อเทปให้หนาเกินไป เดี๋ยวจะเข้าไปพันเกลียวข้อต่อท่อไม่ได้ แล้วออกแรงดึงเนื้อเทปพันเกลียวให้ขาด 4. นำไม้เสียบลูกชิ้นที่พันเนื้อเทปไว้แล้ว มาพันเข้ากับเกลียวท่อพีวีซีหรือท่อโลหะ พยายามพันเนื้อเทปอย่างช้าๆ ให้เป็นแผ่นกว้างและเรียบสนิท โดยค่อยๆ ไล่ระดับจากส่วนปลายท่อไปยังด้านบน ระวังอย่าให้เนื้อเทปย่นหรือขาด 5. เมื่อพันเกลียวท่อจนได้ความหนาที่ต้องการแล้ว ให้นำสายน้ำดีที่เตรียมไว้มาต่อเข้ากับเกลียวนอก ใช้มือหมุนเกลียวให้แน่นพอรู้สึกตึงมือ จากนั้นเปิดวาล์วน้ำเพื่อทดสอบการรั่วซึมต่างๆ ให้เรียบร้อย TIPS […]
ควรพันเทปเกลียวท่อประปากี่รอบ จึงจะปลอดภัยน้ำไม่รั่วซึม
ช่างมือใหม่ที่ลองทำงานซ่อมเองหลายคนคงสงสัยว่าควรพัน เทปเกลียวท่อประปา กี่รอบดี เพื่อไม่ให้ท่อแตกเพราะจะกลายเป็นเรื่องใหญ่สำหรับช่างในบ้านทันที การพัน เทปเกลียวท่อประปา ที่ถูกต้อง คำตอบสำหรับที่ดูเหมือนกวนๆ ก็คือ ต้องลองดู ที่ตอบแบบนี้ไม่ใช่ว่ากวนหรือหวงความรู้ แต่อยากให้พิจารณาวัสดุก่อน เนื่องจากเทปพันเกลียวบางยี่ห้อมีคุณภาพไม่ตรงฉลาก แม้จะระบุความหนาของเนื้อเทป 0.1 เหมือนๆ กัน แต่เมื่อลองจับเนื้อเทปกลับรู้สึกได้ถึงความหนาหรือบางที่แตกต่าง ทำให้ช่างมือใหม่ปวดหัวไม่น้อย โดยทั่วไปนิยมใช้เป็นแบบแถบ 12 มิลลิเมตร และเกลียวแบบแถบเทปกว้างๆ ก็มีขาย เมื่อเทปพันเกลียวมีหลายตัวเลือก คุณภาพหลากหลาย หนาบ้าง บางบ้าง จึงไม่สามารถบอกเป็นจำนวนรอบที่แน่นอนได้ เทปแบบบาง เมื่อพันหลายรอบจนดูหนามาก ถ้าเทปมันพองฟู มีอากาศแทรกอยู่ระหว่างชั้น พอขันเกลียวเข้าไป จะรู้สึกว่าหลวม ในขณะที่เทปหนาหน่อย พันจำนวนรอบน้อย ดูไม่หนา แต่เทปไม่ฟู พอขันเกลียวเข้าไป กลับรู้สึกถึงความตึงมือ จนกลัวว่าท่อจะแตก และถ้าเป็นเทปแถบกว้าง จำนวนรอบก็จะน้อยลงเล็กน้อย แต่ก็ขึ้นอยู่กับความหนาของเทปอยู่ดี จำนวนรอบการพันเทปที่เหมาะสมคือ ต้องลองดู จึงไม่ผิดแต่อย่างใด วิธีนี้ใช้ได้กับเกลียวของก๊อกหรือท่อยี่ห้อต่างๆ ที่มีขนาดต่างๆกัน หากทดลองขันเกลียวก่อนพันด้วยเทปพันท่อ จะรู้สึกว่าแต่ละยี่ห้อหลวมที่ไม่เท่ากัน หรือแม้กระทั่งต่างรุ่นกันก็หลวมไม่เท่ากัน จึงเป็นขั้นตอนเริ่มต้นที่ควรจะทำ คือ […]