โลกทึ่ง “เฟินก้านดํา” หลายชนิด พบเพียงที่เดียวในโลก คือที่ประเทศไทย

รู้หรือไม่ว่ามีเฟินก้านดําหลายชนิดที่ได้รับการบันทึกว่าเป็นพืชถิ่นเดียวหรือพืชเฉพาะถิ่น(EndemicPlants) ซึ่งพบเฉพาะในเมืองไทยเท่านั้น โดยพบขึ้นและแพร่พันธุ์ตามธรรมชาติบนพื้นที่ที่มีลักษณะจํากัดทางระบบนิเวศ เช่น บนเกาะ ยอดเขา หน้าผาของภูเขาหินปูน แอ่งพรุ ฯลฯ ซึ่งถิ่นที่อยู่ดังกล่าวมีสภาพจํากัดของสิ่งแวดล้อมหรือมีสภาพดินฟ้าอากาศเฉพาะที่ ค้นพบเฟินก้านดำ เฟินเป็นไม้ใบประดับอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้รับความนิยมปลูกเลี้ยงในเมืองไทยมานานแล้ว โดยเฉพาะเฟินสกุลก้านดํา(Adiantum) ซึ่งก้านใบมีสีดําเป็นมันเงา แผ่นใบแลดูบอบบางพลิ้วไหว แถมยังมีเสน่ห์ตรงใบอ่อนมีสีสวย จนมีการนําเฟินป่าหลายชนิดมาปลูกเป็นไม้ประดับ และมีการปรับปรุงพันธุ์เพื่อคัดเลือกเฟินต้นใหม่ที่สวยงามมากขึ้นเรื่อยๆ รู้จักกับเฟินก้านดําถิ่นเดียวของไทย ซึ่งมีการนํามาทดสอบปลูกเพื่อการอนุรักษ์ หลายชนิดพบขึ้นเฉพาะบนภูเขาหินปูนหรือดินที่สลายมาจากหินปูน เช่น ก้านดําใบบาง ก้านดําคลองพนม ก้านดําทุ่งสง และก้านดําทองแถม โดยแต่ละชนิดมีความสวยงามแตกต่างกันไป ก้านดําทองแถม (A.thongthamii Suk-sathan) เฟินขนาดเล็ก ใบประกอบแบบขนนก1ชั้น แผ่นใบรูปขอบขนาน ใบย่อยรูปพัดเกือบกลม ปลายใบมน ขอบหยักเป็นพู เนื้อใบหนาคล้ายหนัง มีขนสีเทาเงินปกคลุมหนาแน่นทั้งด้านบนและด้านล่าง พบที่เกาะช้าง จังหวัดตราด โดยขึ้นตามซอกหินบริเวณกลางแจ้งในป่าดิบแล้งบนภูเขา ก้านดําคลองพนม (A. phanomensis S.Linds & D.J.Middleton) เฟินขนาดเล็ก ใบประกอบแบบขนนก1ชั้น แผ่นใบรูปขอบขนาน ใบย่อยรูปพัด ขอบใบด้านบนหยักเป็นพูตื้น ด้านบนเกลี้ยง ด้านล่างมีขนสั้นนุ่มหนาสีน้ําตาลถึงเทา พบที่อุทยานแห่งชาติคลองพนมและอุทยานแห่งชาติเขาสก […]

เฟินก้านดำบนหินฟองน้ำ งดงามตามธรรมชาติ

หินฟองน้ำเป็นวัสดุตกแต่งสวนเฟินยอดนิยม เพราะมักจะมีมอสส์และเฟินขึ้นปกคลุมดูเป็นธรรมชาติ โดยเฉพาะเฟินก้านดำที่ขึ้นง่าย โตไว และชอบขึ้นบนหินฟองน้ำมากเป็นพิเศษ

มาเรียนรู้เทคนิคเพาะสปอร์เฟินก้านดำกัน

เคยสงสัยกันไหมว่า ทำไมไม้ประดับหลายชนิดที่ซื้อมาปลูกเลี้ยง ทั้งที่ปลูกลงในกระถางตั้ง กระถางแขวน และปลูกลงดินตกแต่งสวน นานวันเข้ากลับเกิดลูกออกหลานทั้ง ๆ ที่ก็ไม่ได้ลงมือขยายพันธุ์ด้วยตัวเอง

เฟินยอดนิยมใช้จัดสวน และเทคนิควิธีดูแลให้สมบูรณ์และสวยงาม

เฟิน เป็นต้นไม้คู่สวนที่นิยมปลูกเลี้ยงมานานซึ่งมีหลายสายพันธุ์มาก แต่ 9 ชนิดนี้ที่รวบรวมมานี้เป็น เฟินยอดนิยม ซึ่งพบเห็นได้ในสวนทั่วไปๆ

เฟินก้านดำ ปลูกอย่างไรไม่ให้แห้งตาย

ในสวนของคนที่รักต้นไม้ คาดว่าจะต้องมี “ต้น เฟินก้านดำ ” รวมอยู่ด้วยเป็นแน่ เฟินก้านดำ เพราะเป็นเฟินที่หลายๆคนหลงใหลในความอ่อนช้อยสวยงาม

เฟินก้านดำ Adiantum

Adiantum นักเขียน: ภัทรา แสงดานุช เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ : 978-616-18-1452-6 พิมพ์ครั้งแรก: สิงหาคม 2559 จำนวน: 176 หน้า ราคา: 495 บาท เฟินก้านดำ เป็นเฟินชนิดหนึ่งของพืชกลุ่มเฟิน พืชไร้ดอกที่ถือเป็นพืชกลุ่มแรกๆ ที่กำเนิดขึ้นในโลก เฟินก้านดำมีลักษณะเด่นอยู่ที่ก้านสีดำอันบอบบาง มีรูปแบบใบที่หลากหลาย ดูอ่อนช้อยสวยงาม และมีชนิดพันธ์ุจำนวนมาก ทั้งที่เป็นพันธุ์แท้และพันธ์ุปลูกที่เกิดจากการผสมข้ามพันธ์ุในธรรมชาติและพัฒนาโดยมนุษย์ ซึ่งหนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมไว้หลายร้อยชนิด พร้อมแนะนำวิธีปลูกเลี้ยง ขยายพันธ์ุ ตลอดจนการบำรุงดูแลให้เฟินสวยงาม และการนำไปใช้ตกแต่งสวน จากประสบการณ์ของนักปลูกเลี้ยงและสะสมเฟินมืออาชีพ   ”เฟินก้านดำ” ปลูกอย่างไรไม่ให้แห้งตาย  

กูดผา

ผักแว่นหัน/เฟินก้านดำ/Southern Maidenhair/Venus’s-hair Fern ชื่อวิทยาศาสตร์: Adiantum capillus-veneris L. วงศ์: Adiantaceae ประเภท: ไม้ใบ/เฟินดิน ลำต้น: เป็นเฟินขนาดเล็ก เหง้าเล็กเลื้อยสั้น มีเกล็ดสีน้ำตาลปกคลุม ใบ: ก้านใบสั้นและอ่อน สีม่วงหรือดำ ยาว 3-8 เซนติเมตร ใบประกอบแบบขนนก 1-2 ชั้น รูปขอบขนานแคบหรือรูปคล้ายสามเหลี่ยมแคบ ขนาดประมาณ 3-5×5-12 เซนติเมตร ใบย่อยรูปพัด โคนใบรูปลิ่มหรือแหลม ขอบเรียบ ปลายใบหยักลึก ไม่สม่ำเสมอ ผิวใบเกลี้ยง สีเขียวสด อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง วัสดุปลูก: โปร่ง เก็บความชื้น ระบายน้ำและอากาศได้ดี อาจเป็นดินร่วนผสมทรายหยาบและอินทรียวัตถุหรือใบไม้ผุ หรือผสมวัสดุอื่นที่หาได้ เช่น อิฐมอญทุบถ่ายทุบ เศษโฟมหัก น้ำ: ปานกลาง ไม่ขังแฉะ แสงแดด: ควรพรางแสงให้เหลือประมาณ 40-50 เปอร์เซนต์ ไม่ควรถูกแสงแดดโดยตรง ขยายพันธุ์: […]

สวนป่าทรอปิคัล ชุ่มชื้นในเมืองกรุง

รูปแบบของ สวนทรอปิคัล ที่ให้ความรู้สึกสดชื่น ดูชุ่มชื่นสบายตาและได้บรรยากาศของป่าในเขตอากาศร้อนชื้นอย่างเป็นธรรมชาติ นับเป็นสไตล์การจัดสวนที่หลายคนชื่นชอบ