เหลืองพิศมร
เหลืองพิศมร
เหลืองศรีสะเกษ/เอื้องหัวข้าวเหนียว ชื่อวิทยาศาสตร์: Spathoglottis affinis de Vriese ชื่อพ้อง : Spathoglottis Lobbii Rchb.f. วงศ์: Orchidaceae ประเภท: กล้วยไม้ดิน ลำต้น: มีหัวใต้ดิน รูปร่างไม่แน่นอน ผิวเรียบมีเยื่อบางใสคลุม ใบ: เป็นแถบ ปลายแหลม แผ่นใบบาง ดอก: ออกเป็นช่อโปร่ง 5-8 ดอก ช่อดอกยาว 20-40 เซนติเมตร ออกค่อนไปทางปลายช่อ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกคล้ายกัน กางผายออกเกือบเป็นระนาบเดียวกัน สีเหลือง อาจมีขีดสีม่วงที่โคน ช่วงกลางกลีบปากคอดกิ่ว ปลายกว้างและหยักเว้า โคนมีหูปากพับตั้งขึ้นทั้งสองข้าง สีเหลืองมีขีดสีม่วงหนาแน่น ออกดอกเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน ดิน: ใบไม้ผุผสมอิฐมอญทุบ น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: รำไร หรือได้รับแสงในช่วงเช้า ขยายพันธุ์: แยกกอหรือเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การใช้งานและอื่นๆ: พักหัวในหน้าแล้ง แตกใบในหน้าฝน
สร้อยสุวรรณา
สาหร่ายดอกเหลือง/หญ้าสีทอง/เหลืองพิศมร ชื่อวิทยาศาสตร์: Utricularia bifida L. วงศ์: Lentibulariaceae ประเภท: พืชกินแมลงล้มลุกขนาดเล็ก อายุเพียงหนึ่งปี ความสูง: 10 -15 เซนติเมตร ใบ: ใบเดี่ยว ออกเวียนรอบโคนต้น สร้างถุงเล็กๆ เพื่อดักจับแมลงบนใบหรือแตกออกจากไหล ทิ้งใบก่อนออกดอก ดอก: เป็นช่อกระจะตั้งขึ้นและแทงขึ้นจากโคนต้น แต่ละช่อมี 1- 8 ดอก ขนาด 0.6 -1 เซนติเมตร กลีบบนขนาดใหญ่กว่ากลีบอื่น โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ดอกสีเหลืองเข้ม ผล: แบนทรงรี ภายในมีเมล็ดสีดำอมน้ำตาลขนาดเล็กจำนวนมาก ออกดอกเดือนสิงหาคม – มกราคม ดิน: ดินร่วนปนทราย น้ำ: มาก ชอบชื้นแฉะ ชอบความชื้นสูงและอากาศเย็น แสงแดด: ตลอดวัน ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด การใช้งานและอื่นๆ: ปลูกเป็นไม้กระถางเล็กๆ แต่ควรใส่น้ำหล่อไว้ให้ชุ่มชื้นตลอดเวลากระจายพันธุ์ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินเดีย ในธรรมชาติมักขึ้นรวมกันเป็นทุ่งบนลานหินที่มีแสงแดดตลอดวันและน้ำท่วมขัง หรือชายน้ำทางภาคอีสาน และพื้นที่ใกล้กับพระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ […]