แพร่
บ้านในใจ…บ้านหน้าจั่วที่กลั่นความในใจสู่บ้านสุดอบอุ่น
ไม่ว่าจะเข้ามาทำงานที่เมืองกรุงนานแค่ไหน ความคิดถึงคะนึงหาช่วงเวลาและความทรงจำในวันวานยังคงอบอวลอยู่ที่บ้านเกิดเสมอมา คุณแนน-เปรมจิตร ซาเนียร์ ฟอร์เซลล่า จึงตัดสินใจสร้างบ้านหลังที่สองสำหรับเป็นบ้านตากอากาศที่ภูมิลำเนาเดิมอย่างจังหวัดแพร่ จังหวัดเล็ก ๆ ในภาคเหนือที่ยังเปี่ยมไปด้วยวัฒนธรรมและวิถีชีวิตอันเรียบง่าย DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: JAI Architect & Interior เพื่อเป็นการกระชับความสัมพันธ์และคงความรู้สึกของการไปมาหาสู่เหมือนการกลับไปเยี่ยมบ้านในครั้งก่อน ๆ ที่ผ่านมา บ้านหลังใหม่จึงเลือกตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกันกับบ้านหลังเดิมที่คุณแนนอยู่อาศัยและเติบโตมาตั้งแต่เด็กกับครอบครัว ซึ่งตอนนี้คุณพ่อ คุณแม่ และพี่สาวยังอยู่อาศัยในบ้านหลังเดิม โดยวางใจให้สถาปนิกจาก JAI Architect & Interior มาเป็นผู้รังสรรค์ความต้องการให้กลายเป็นบ้านสุดอบอุ่น หลังจากเคยร่วมงานกันมาก่อนครั้งหนึ่งแล้ว เนื่องจากตำแหน่งของบ้านเดิมตั้งอยู่ค่อนข้างกลางที่ดิน ทำให้เมื่อทำการแบ่งที่ดินออกเป็นสองผืนตามกรรมสิทธิ์ของพี่น้อง ที่ดินที่ได้จึงมีลักษณะเป็นที่ดินแคบและยาว ผู้ออกแบบเลยเลือกวางตัวอาคารติดกับกำแพงในแนวขนานกับทิศตะวันออกและตะวันตก ซึ่งด้านที่ติดกับบ้านหลังเดิมนั้นกลับเป็นด้านทิศตะวันตก กลายเป็นความท้าทายที่ต้องจัดวางพื้นที่ใช้สอยหลักของบ้านให้มีปฏิสัมพันธ์กับบ้านเดิมไปพร้อม ๆ กับแก้ปัญหาเรื่องแสงแดดในช่วงบ่ายที่มักเป็นช่วงที่ร้อนที่สุดในวัน “ความต้องการของเจ้าของบ้านและสถานที่ตั้ง คือจุดเริ่มต้นแรกของการออกแบบ บ้านที่จะเกิดขึ้นจึงต้องผสมกลมกลืนไปกับบริบทโดยรอบ ความสัมพันธ์ระหว่างบ้านใหม่และบ้านเก่า รวมถึงปฎิสัมพันธ์ของคนในครอบครัวที่จะต้องยังคงอยู่ บ้านหลังนี้จึงถูกนิยามตามแนวความคิดในการออกแบบที่เรียกว่า “บ้านพื้นที่” อันหมายถึง บ้านในต่างจังหวัดที่ไม่ใช่บ้านพื้นถิ่น หากแต่ถูกออกแบบโดยคำนึงถึงคุณภาพของพื้นที่เป็นหลัก มีการผสานกันของพื้นที่ภายในและภายนอก การใช้งานที่หลากหลาย จนเหมือนทลายเส้นแบ่งของนอกบ้านและในบ้านออกไป เหลือเพียงแค่พื้นที่ใช้งานที่ได้ดังใจตามความต้องการในแต่ละช่วงเวลา” หลังจากทำการสำรวจบริบทประกอบกับความต้องการ ผลลัพธ์ที่ได้จึงออกมาเป็น “บ้านหน้าจั่ว” ที่ให้ความรู้สึกโฮมมี่ […]
คุยกับนายกสมาคมสถาปนิกสยามในวันที่มีรายรับเป็นศูนย์
สมาคมสถาปนิกสยาม กับการก้าวผ่าน “วิกฤตโควิด-19” ที่ทำให้สมาคมฯ ไม่สามารถจัดงานสถาปนิกได้ “การรื้ออาคารที่มีคุณค่า” เป็นปัญหาที่กำลังรอการแก้ไข และ “การติดอาวุธ” เพิ่มศักยภาพให้กับสถาปนิกไทยเป็นสิ่งที่ต้องสนับสนุน วันนี้ สมาคมสถาปนิกสยาม มีบทบาทและแนวทางอย่างไร คุณชนะ สัมพลัง นายกสมาคมฯ จะมาพูดคุยกับ บ้านและสวน ถึงสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อไปในวันพรุ่งนี้ วิกฤตโควิด-19 กับสถาปนิกจิตอาสา หลังจากคุณโอ๋-ชนะ สัมพลัง ได้รับเลือกเข้ามาเป็นนายกสมาคมฯ และเริ่มรับตำแหน่งในช่วงต้นปี 2563 ก็เกิดวิกฤตโควิด-19 ขึ้น ทำให้แนวนโนบายของสมาคมฯ ต้องปรับเปลี่ยนใหม่ให้เข้ากับสถานการณ์ จากการเน้นไปที่ตัวสมาชิกด้านวิชาชีพ การเกิดสถานการณ์โรคระบาดทำให้สถาปนิกหลาย ๆ ท่าน เข้ามาเป็นจิตอาสาคอยช่วยเหลือหน่วยงานต่าง ๆ โดยเฉพาะโรงพยาบาล คุณชนะเล่าถึงการทำงานในช่วงดังกล่าวให้ฟังว่า คุณชนะ : “ในฐานะที่เป็นนายกสมาคมฯ และเป็นสถาปนิกคนหนึ่ง ช่วงที่ Work from Home ก็เชิญชวนทุก ๆ คนที่เป็นสมาชิก หรือคนที่รู้จัก ไปช่วยโรงพยาบาลทางภาคใต้ ภาคเหนือ ภาคอีสาน ใครอยู่ทางไหนก็ไปช่วยโรงพยาบาลแถวนั้น กลายเป็นว่าอาชีพของเราสามารถช่วยเหลือคนอื่น […]