โครงสร้าง – บ้านและสวน

รวมทุกเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับงานฮาร์ดสเคป หรือ งานก่อสร้างในสวน

นอกจากการปลูกต้นไม้ในสวนแล้ว งานฮาร์ดสเคป หรือการก่อสร้างองค์ประกอบภายในสวนที่ต้องใช้โครงสร้างถาวรหรือกึ่งถาวรก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่หลายคนควรรู้ เพื่อนำไปใช้ในการลงมือก่อสร้างด้วยตัวเอง หรือนำไปคุยกับช่างก่อสร้าง เพื่อให้ก่อสร้างส่วนต่าง ๆ ในสวนได้อย่างถูกต้อง งานฮาร์ดสเคป หรืองานก่อสร้างในสวน ไม่ว่าจะเป็น ส่วนทางเดิน ศาลา บ่อปลา หรือระบบให้แสงสว่าง บ้านและสวน มีเรื่องที่ต้องรู้มาแนะนำดังนี้ การปรับระดับพื้นที่เป็นเรื่องสำคัญ การปรับระดับพื้นที่ควรเป็นสิ่งแรกที่ทำหลังจากการออกแบบสวนและเริ่มจัดสว นเพื่อให้ได้ระดับความสูงต่ำ เนินดิน ตลิ่งริมน้ำ หรือทางระบายน้ำ ไม่ควรออกแบบให้ทางลาดสูงชันมาก โดยเฉพาะพื้นที่แคบ ๆ เพราะ เสี่ยงต่อดินพังทลายจากการกัดเซาะของน้ำฝน และไม่สะดวกต่อการตัดแต่งดูแล สำหรับพื้นที่ที่อยู่ในบริเวณที่ต่ำมีน้ำท่วมถึง อาจไม่จำเป็นต้องเลือกแนวทางการถมดินให้มีระดับสูงกว่าระดับน้ำท่วมเสมอไป อาจใช้การปรับระดับโดยการขุดดินในบริเวณหนึ่งให้สามารถรับน้ำเพิ่มและรองรับน้ำที่ระบายไป แล้วนำดินที่ขุดได้ไปถมในบริเวณที่จำเป็นสำหรับใช้งาน โดยไม่ต้องเสียค่าดินในการถมและช่วยแก้ปัญหาในระยะยาวได้ หลีกเลี่ยงผลกระทบที่ไม่ดีต่อพื้นที่ใกล้เคียงและรบกวนสิ่งแวดล้อมเดิมให้มากที่สุด การกำหนดระยะงานฮาร์ดสเคป ต้องเหมาะสมกับลักษณะการใช้งานของมนุษย์ เช่น ทางเดินในสวนควรมีขนาดพื้นให้คนปกติและรถเข็นสามารถผ่านได้ โดยทั่วไปควรมีความกว้างไม่ต่ำกว่า 80 เซนติเมตร ถ้าเล็กกว่านี้คนจะเดินทางผ่านกันลำบาก และยังเบียดทำลายต้นไม้ข้างทางเดินได้ และควรมีระยะทางไม่ยาวเกินไป รวมถึงต้องมองเห็นได้ชัดเจน มุมที่นั่งบนขอบกระบะปลูกต้นไม้ควรออกแบบให้มีระยะความสูง 45-50 เซนติเมตร ลึก 40-60 เซนติเมตร หากต้องการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนที่เดินผ่านหรือให้คนที่อยู่ใกล้กันหันหน้าเข้าหากัน แต่หากต้องการความเป็นส่วนตัว เพียงเว้นที่นั่งไว้ในระยะคนนั่งหนึ่งคนและหันหน้ามองไปทางเดียวกันก็ทำให้รู้สึกแบ่งแยกออกจากกัน […]

รวมศัพท์ช่าง ที่ฟังแล้วอาจงงว่าหมายถึงอะไรนะ?

หลายคนอาจเคยได้ยิน ศัพท์ช่าง บางคำที่ฟังแล้วอาจทำให้เราต้องนึกสงสัย หนวดกุ้งคืออะไร? ท้องช้างคือส่วนไหน? ไปดูที่มาของศัพท์ช่างเหล่านี้กัน ศัพท์ช่าง ที่ช่างมักจะพูดกันนั้น บางครั้งก็มีคำที่ฟังแล้วอาจจะพานนึกไปถึงอย่างอื่นได้อยู่บ่อยครั้ง แต่ศัพท์ช่างเหล่านั้นก็เป็นคำพูดที่ใช้กันมาจนเคยชินเสียแล้ว เพื่อให้สามารถสื่อสารกับบรรดาช่างๆ ได้เข้าใจมากขึ้น วันนี้บ้านและสวนจึงขอยก 30 ศัพท์ช่างที่ได้ยินอยู่บ่อยๆ มาเป็นตัวอย่างให้ท่านผู้อ่านกัน ตีเต๊า หมายถึง การสร้างแนวเส้นบนอาคารระหว่างก่อสร้างเพื่อใช้สำหรับการกำหนดระยะ วางตำแหน่งในการติดตั้งส่วนต่างๆบนอาคาร โดยใช้เครื่องมือตีเต๊า(บางคนก็เรียก เต๊า ปักเต๊า) ซึ่งจะทำให้เกิดสีเป็นแนวเส้นตามรอยของเชือกทำให้ช่างเห็นรอยในการวางตำแหน่งได้อย่างแม่นยำ การตีเต๊านั้นจะใช้กับงานประเภท วางท่อ ผนัง ติดตั้งประตู หน้าต่าง มุงกระเบื้อง การทำเคาน์เตอร์ ทำราง หรือการโรยกรวด เป็นต้น ศัพท์ช่าง ต๊าปเกลียว คือ การทำให้เกิดเกลียวบนผิววัสดุ ส่วนใหญ่ช่างจะใช้ทำบนพื้นผิวท่อเหล็กหรืออลูมิเนียมให้ท่อเกิดเป็นเกลียวไว้สำหรับไปต่อประกอบกับอีกท่อหนึงได้ ต๊าปเกลียวมีทั้งการทำเกลียวในและเกลียวนอก โดยมีเครื่องจักรในการทำจนไปถึงเครื่องมือแบบพกพาในการทำต๊าปเกลียว (แนะนำให้ใช้เครื่องจักรดีกว่าเพราะเกลียวจะคงที่กว่าการทำมือ) สลัดดอก คือ การเตรียมพื้นคอนกรีตก่อนฉาบด้วยการเอาปูนซีเมนต์ธรรมดาผสมกับน้ำ ทราย และน้ำยาเพิ่มแรงยึดเกาะ แล้วใช้ไม้กวาดทางมะพร้าวมาจุ่มลงในน้ำปูน สลัดลงไปให้ทั่วบริเวณที่จะฉาบ ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 1-2 วัน แล้วจึงค่อยมาฉาบทับไปอีกที ซึ่งเทคนิคสลัดดอกนี้จะช่วยให้ปูนฉาบเกาะกับผิวคอนกรีตได้ดีขึ้น ช่วยเรื่องการหลุดร่อนหรือการแตกร้าวของปูนฉาบไม่ให้เกิดขึ้นในอนาคต […]

วัสดุทดแทนเหล็กเส้น

ทำความรู้จัก วัสดุเสริมแรงไฟเบอร์กลาส ทดแทนเหล็กเส้น

วัสดุเสริมแรงไฟเบอร์กลาส หรือบ้างเรียกว่า “เหล็กเส้นไฟเบอร์กลาส” เป็นวัสดุทดแทนเหล็กเส้น เพื่อแก้ปัญหาเหล็กเส้นในคอนกรีตเสริมเหล็กเกิดสนิม และทำให้โครงสร้างเสียการรับแรง ไปทำความรู้จักกับวัสดุชนิดนี้กัน รู้จัก GFRP หรือ Glass Fiber Reinforced Polymer วัสดุเสริมแรงไฟเบอร์กลาส (GFRP Rebar) ผลิตขึ้นมาจากเส้นใยไฟเบอร์กลาสที่ผ่านขบวนการดึงขึ้นรูปคล้ายการทำเชือกแล้วผสมเรซิน จึงมีการรับแรงได้ดีและน้ำหนักเบา ซึ่งแต่ละแบรนด์จะมีการผสมสีแตกต่างกัน โดย GFRP มีการใช้ในกิจการเครื่องบินและเดินเรือในอเมริกาและแคนนาดามานานแล้ว โดยปี ค.ศ.1996 มีการผลิตเป็นเหล็กเส้นสร้างสะพาน เหล็กเส้นไฟเบอร์กลาส ทำไมแนะนำให้ใช้ GFRP Rebar แทนเหล็กเส้น เหล็กเกิดสนิมได้แม้จะอยู่ในคอนกรีต เพราะเหล็กนั้นโดนความชื้นตั้งแต่การขนส่ง และความชื้นยังซึมผ่านเข้าไปในคอนกรีตได้ เมื่อเหล็กเกิดสนิมก็จะดันเนื้อคอนกรีตให้แตกออกมาจนโครงสร้างรับแรงได้น้อยลงและพังลงมา โดยเฉพาะโครงสร้างที่อยู่ใกล้ทะเลที่ทำให้เหล็กเกิดสนิมเร็วขึ้น อีกทั้งการผลิตเหล็กต้องใช้พลังงานสูงมาก และราคาพลังงานก็มีแนวโน้มสูงขึ้นตลอด ทำให้ราคาเหล็กมีแนวโน้วราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ข้อดีของ GFRP Rebar น้ำหนักเบา โดยมีน้ำหนัก 25% ของน้ำหนักเหล็กในขนาดที่เท่ากัน แข็งแรงกว่าเหล็ก 2 เท่า ในขนาดที่เท่ากัน ขนส่งง่าย ขนย้ายสะดวก โดยขนาด 4-12 มิลลิเมตร สามารถม้วนได้ โดยรถกระบะ 1 […]

วิธีแก้ไขปัญหาเหล็กเส้นคอนกรีตขึ้นสนิม

เหล็กเส้นคอนกรีตขึ้นสนิม อาจดูน่ากลัวสำหรับเจ้าของบ้าน โดยอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่ปัญหานี้สามารถจัดการได้ไม่ยากอย่างที่คิด เหล็กเส้นคอนกรีตขึ้นสนิม เกิดขึ้นได้จากสาเหตุที่หลากหลาย โดยปกติแล้ว เหล็กเส้นและเหล็กข้ออ้อยที่ใช้เสริมในโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กนั้นก็มักจะมีสนิมผิวอยู่บ้าง ซึ่งเชื่อกันว่าจะช่วยให้ปูนยึดเกาะกับเหล็กเสริมโครงสร้างได้ดียิ่งขึ้นนั่นเอง ประเภทของสนิม สนิมผิว สนิมประเภทนี้จะเกาะตามเนื้อเหล็กกล้าที่ยังไม่ได้ถูกเคลือบหรือทำผิว สนิมเหล่านี้มักเป็นผงบางๆเกาะอยู่บนผิวสามารถใช้แปลงทองเหลืองปัดออกได้ไม่ยากนัก สนิมขุม เป็นสนิมที่เกาะกินจนลุกลามเกิดเป็นโพรงสนิมกินลึกเข้าไปในเนื้อเหล็ก สนิมแบบนี้ค่อนข้างอันตรายเพราะเริ่มทำให้เหล็กเสียหายไปเยอะแล้ว แต่ในโครงสร้างเหล็กที่มีความหนาเช่นเหล็ก H Beam หรือเหล็กเส้น เหล็กข้ออ้อยมักจะไม่พบสนิมขุมบ่อยนัก (หากไม่ได้ปล่อยโครงสร้างเปลือยทิ้งเอาไว้เป็น 10-20 ปี แต่ในโครงสร้างเหล็กที่เป็นเหล็กกล่อง หรือเหล็กแบบ Light Guage นั้น หากเกิดสนิมแล้วก็มักจะลุกลามกัดกินจนเสียหายได้อย่างรวดเร็ว เพราะเนื้อเหล็กที่บางเสียหายได้ง่ายนั่นเอง เสาคานระเบิดน่ากลัวหรือไม่? เกิดจากจากอะไร? ฟังดูแล้วเหมือนจะน่ากลัว แต่ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยปกติแล้ว การที่เสาหรือคานคอนกรีตเสริมเหล็กนั้นจะมีอาการแตก ผุ ร่อน กระเทาะออกมา หากสังเกตแล้วไม่ใช่อาการว่าคานหัก หรือเสาหักกลางลำ และเมื่อพื้นที่ด้านบนไม่ได้มีการต่อเติม หรือ มีน้ำหนักที่ทำให้คานและเสาต้องแบกรับมากจนเกินไป ก็อาจจะเกิดจากความชื้นที่เข้าไปทำให้ เหล็กเสริม เกิดสนิมจนดันปูนระเบิดออกมานั่นเอง ส่วนสาเหตที่ทำให้เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นก็คือการปริร้าวของคอนกรีตอันเป็นผลให้เกิดความชื้นเข้าไประหว่างเหล็กเสริมและโครงสร้างคอนกรีตนั่นเอง นานวันไปจึงเกิดเป็นสนิม และดันจนโครงสร้างคอนกรีตแตกออกมาจากภายในในที่สุด เพราะฉะนั้นทางแก้จึงเป็นการซ่อมแซมเนื้อคอนกรีต และปิดช่องทางของความชื้นที่จะเข้าไปทำให้เกิดสนิมนั่นเอง เหล็กเส้นคอนกรีตขึ้นสนิม ผุ […]

รอยต่อของ 3 ยุคในบ้านโมเดิร์นกลิ่นอายไทย

แม้ว่าหน้าตาภายนอกบ้านจะดูทันสมัย แต่การตกแต่งยังมีความหวานและอบอุ่นอย่างที่เรียกได้ว่า “ปลูกบ้านตามใจผู้อยู่”

ก่อนการเดินทางครั้งต่อไป

“เพราะชีวิตคือการเดินทาง” ประโยคนี้คงบ่งบอกตัวตนของ คุณโรเบิร์ต – เจษฎา โอวาทเวโรจน์ ได้ดี เขาคือเจ้าของบ้านสไตล์โมเดิร์นหลังนี้ และกรรมการผู้จัดการบริษัท Global Tour Chiangmai ผู้อนุญาตให้เราได้มาเยี่ยมชมบ้านสวยๆ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากสนามบินเชียงใหม่เท่าไรนัก “ลูกสาวสองคนไปเรียนมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ จะกลับมาก็ช่วงปิดเทอม คนอยู่บ้านหลังนี้ส่วนใหญ่ก็เลยเป็นผม อะไรๆ ในบ้านจึงดูเป็นระเบียบเรียบร้อยอย่างที่เห็น” คุณโรเบิร์ตเกริ่นถึงบ้านหลังนี้ พร้อมพาเราเข้าไปนั่งพูดคุยที่เคาน์เตอร์บาร์กลางโถงรับแขก ด้วยหน้าที่การงานที่ต้องเดินทางไปต่างประเทศบ่อยๆ เมื่อถึงเวลากลับมาคุณโรเบิร์ตจึงต้องการพักผ่อนอย่างเต็มที่ ก่อนออกเดินทางในครั้งต่อไป ด้วยเหตุนี้เองการออกแบบและตกแต่งบ้านหลังนี้จึงเน้นความเรียบง่าย ตรงไปตรงมา แต่มีความสะดวกสบายอย่างลงตัว “ผมคิดคล้ายๆ เวลาผมไปพักโรงแรม ถ้าข้าวของกระจัดกระจายเกินไป ตอนจะออกเดินทางก็เก็บไม่ไหว กลับมาก็รกอีก คงพักผ่อนได้ไม่เต็มที่ ก็ทำให้เป็นระเบียบเรียบร้อยตั้งแต่แรกไปเลยจะดีกว่า” คุณโรเบิร์ตเล่าให้ฟังด้วยรอยยิ้ม ก่อนเอ่ยต่อไปว่า “พอกลับมาผมจะนั่งดูหนังที่โซฟารับแขก ทำอาหารกินเอง และออกกำลังกาย ผมว่าทั้งการพักผ่อนและเตรียมร่างกายให้พร้อมกับการเดินทางเสมอเป็นสิ่งจำเป็นนะครับ” จริงอย่างที่คุณโรเบิร์ตกล่าว หากใครเคยเดินทางติดกันบ่อยๆ คงไม่แคล้วต้องล้มหมอนนอนเสื่อกันบ้างละ การออกแบบบ้านหลังนี้จึงให้ความใส่ใจกับสุขภาพเป็นอย่างมาก โดยมีทั้งฟิตเนสส่วนตัว สระว่ายน้ำ และสนามพัตต์กอล์ฟอยู่ภายในบริเวณบ้าน ตัวบ้านนั้นออกแบบเป็นรูปตัวแอล (L) โดยเป็นผนังทึบทางด้านถนนทั้งสองด้าน กันความวุ่นวายจากถนนออกไปเพื่อสร้างความเป็นส่วนตัว การออกแบบโครงสร้างทำควบคู่ไปกับการออกแบบรูปแบบสถาปัตยกรรมเกิดเป็นลักษณะประโยชน์นิยม (Functionalism) ที่งานสถาปัตยกรรมจะก่อร่างขึ้นมาเองจากความสมเหตุสมผลทางการใช้งานและความเหมาะสมของวัสดุและงานก่อสร้าง การใช้เหล็ก […]

โอบล้อมด้วยแสงใน บ้านไทย สไตล์มินิมัล

นับเป็นโชคดีของเราที่วันนี้อากาศดี ไม่ร้อนจัดและแสงแดดไม่แรงจนเกินไป เหมาะแก่การถ่ายภาพบ้านเป็นอย่างยิ่ง บ้านที่เรามาเยือนในครั้งนี้เป็นเรือนหอ บ้านไทย สไตล์มินิมัลของ คุณจุ๊บ – ศศธร ภาสภิญโญ และ คุณรินทร์ – ภัทรกานต์ เศรษฐชยั ตั้งอยู่ในย่านพัฒนาการ บนพื้นที่ 100 ตารางวา ซึ่งเป็นที่ดินเดิมของครอบครัวคุณจุ๊บ บ้านที่มีไอเดียในการจัดการกับแสงสว่างได้อย่างน่าสนใจ   “เริ่มแรกเราอยากได้บ้านไทยสไตล์มินิมัล กล่าวคือมีโถงทางเดินอยู่ตรงกลางบ้านเหมือนบ้านไทย แต่การตกแต่งต้องดูเรียบ มีแฝงอารมณ์แบบญี่ปุ่นนิดๆ และเปิดรับแสงธรรมชาติได้รอบบ้านโดยที่ต้องไม่เพิ่มความร้อนให้บ้านด้วย เราสองคนชื่นชอบการอ่านหนังสือและมักเก็บภาพสไตล์การตกแต่งบ้านไว้เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างบ้านของเรา” คุณจุ๊บเกริ่นนำให้เราฟัง การหาไอเดียจากหนังสือประกอบกับเคยเรียนด้านสถาปัตยกรรม จึงสเก็ตช์ภาพบ้านแบบคร่าวๆ พร้อมบอกความต้องการหลักให้ คุณวิมลรัตน์ อิสระธรรมนูญ สถาปนิกนำไปออกแบบต่อ ใน บ้านไทย หลังนี้ จากที่จอดรถ ผู้ออกแบบทำทางเดินรอบบ่อปลาคาร์พ ก่อนจะนำเข้าไปสู่ตัวบ้าน การออกแบบดังกล่าวสร้างบรรยากาศแห่งการเชื้อเชิญ เปรียบเสมือนการต้อนรับจากเจ้าของบ้าน รอบบริเวณบ้านยังปลูกต้นไม้นานาพรรณดูร่มรื่น สร้างความรู้สึกสดชื่นได้ดีก่อนเข้าไปสู่ภายในบ้าน ซึ่งสิ่งแรกที่พบคือโถงนั่งเล่นแบบดับเบิลสเปซที่ตกแต่งอย่างเรียบง่าย สะท้อนบุคลิกของเจ้าของบ้านทั้งสองที่ชื่นชอบความสบายและเป็นกันเอง ผู้ออกแบบใช้โถงบันไดกลางบ้านเป็นจุดเชื่อมโยงทุกพื้นที่ใช้งานตามความต้องการของเจ้าของบ้าน ผนังที่ขนาบโถงนี้ทั้งสองด้านเป็นปูนเปลือย ดูเท่และทันสมัยแบบที่เจ้าของบ้านชื่นชอบผสมผสานกับการเลือกใช้ไม้และไม้วีเนียร์ เป็นการเพิ่มรายละเอียดที่ดูสะอาดตา โถงบันไดนี้ยังแบ่งบ้านเป็นสองฝั่ง ฝั่งหนึ่งเป็นพื้นที่ส่วนกลาง ประกอบด้วยส่วนรับแขก ส่วนรับประทานอาหาร […]

ปริ่มสุขในพื้นที่จำกัด

  บ้านที่ดีควรเป็นบ้านที่เหมาะกับสภาพภูมิอากาศ บ้านหลังนี้ถือเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการออกแบบให้สัมพันธ์กับอากาศร้อนชื้นของเมืองไทย เบื้องหลังประตูตะแกรงเหล็กสีดำคือบ้านสไตล์โมเดิร์นของ คุณเอ – จิรสีห์ และ คุณสุพินดา เตชาชาญ ซึ่งสร้างบ้านเกือบเต็มพื้นที่ ทำให้บ้านดูใหญ่และโอ่โถง ทั้งที่ขนาดที่ดินไม่ได้ใหญ่มาก เมื่อก้าวเข้าไปภายในบ้านเราสัมผัสได้ถึงความอบอุ่นที่ฟุ้งกระจายไปทั่วบ้าน พร้อมกับสายลมอ่อนๆ ที่พัดเข้ามาตลอดเวลา “เดิมทีที่ดินตรงนี้เป็นสนามหญ้าของบ้านคุณแม่คุณเอ ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 65 ตารางวา และคุณเอต้องการใช้เป็นเรือนหอครับ” คุณรักศักดิ์ สุคนธะตามร์ สถาปนิกผู้ออกแบบบ้าน และยังเป็นเพื่อนสนิทของคุณเอด้วย เกริ่นนำให้เราฟัง “โจทย์แรกที่ผมได้รับก็คือคุณเอเป็นโรคภูมิแพ้ ไม่ชอบอยู่ในพื้นที่อับๆอยากได้บ้านที่โปร่งโล่ง และต้องการพักผ่อนสบายๆ ในบ้านที่ให้อารมณ์กึ่งๆรีสอร์ต เพราะเป็นคนชอบอยู่บ้าน และต้องมีมุมสำหรับปาร์ตี้สังสรรค์กันทุกเดือน” คุณรักศักดิ์เท้าความถึงวันแรกๆ ของการพูดคุยกับคุณเอ นับจากวันนั้นเขาและทีมงานก็กลับมาทำการบ้าน โดยพิจารณาจากความต้องการของเจ้าของบ้านและข้อจำกัดของพื้นที่ จนได้แนวคิดหลักในการออกแบบ “เรามองว่าจะต้องเป็นบ้านที่อยู่สบาย ใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่า ประหยัดพลังงาน ที่สำคัญรบกวนธรรมชาติให้น้อยที่สุด” ตัวอาคารใช้โครงสร้างเหล็กกรุกระจกใส ซึ่งตอบโจทย์ความชื่นชอบบ้านสไตล์โมเดิร์นของเจ้าของบ้าน นอกจากนี้ยังทำประตูเชื่อมระหว่างบ้านคุณเอกับบ้านคุณแม่ จุดเด่นที่น่าสนใจของบ้านนี้คือโครงสร้างเหล็กและประตูบานสูงชะลูดบริเวณทางเข้าบ้าน ซึ่งเปิดได้ทั้งหมด 4 ช่องทาง ทำให้เกิดทางระบายอากาศภายในบ้านระหว่างทิศเหนือกับทิศใต้ หลายท่านอาจสงสัยว่าการเลือกใช้กระจกจะเหมาะกับสภาพอากาศของบ้านเราจริงหรือ คุณรักศักดิ์ให้คำตอบว่า “หากเลือกวางตำแหน่งบ้านในทิศทางที่ถูกต้อง เน้นการรับแสงธรรมชาติเลี่ยงแดดจัด ก็จะทำให้บ้านที่ใช้กระจกได้สัมผัสกับความร่มรื่น ผมและทีมงานจะคำนวณด้วยโปรแกรมทุกครั้งก่อนออกแบบ เพื่อหาทิศทางของกระแสลมที่พัดในแต่ละช่วงเวลาตลอดทั้งปี […]