CAFÉ NAKHONNAYOK คาเฟ่เรียบง่ายที่ดูเก๋ด้วยวัสดุในท้องถิ่น

คาเฟ่นครนายก กำเนิดขึ้นจากไอเดีย “อยากกลับบ้านไปเปิดคาเฟ่” ที่เน้นร้านไซซ์เล็ก ดีไซน์เรียบง่าย แต่ดูเก๋ด้วยวัสดุในท้องถิ่น DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: OPH Architects ตัวคาเฟ่ทำจาก สังกะสี กระจก และกรอบไม้ นั่นคือภาพที่โดดเด่นของ คาเฟ่นครนายก ริมทางหลวงที่ใครผ่านไปผ่านมาต้องต่างสะดุดตา กับการออกแบบที่มีการนำโครงสร้างเหล็กเดิมมาใช้ ก่อนที่จะเพิ่มเติมวัสดุให้ดูกลมกลืนกับพื้นที่อย่าง ไม้ และสังกะสีลงไปเพื่อให้เข้ากับร้านอาหารและสวนเดิมของเจ้าของ การออกแบบนั้นได้ออกแบบให้ตัวคาเฟ่นั้นเหมือนเป็นกล่อง 2 กล่อง ที่สอดเข้าไปภายในโครงสร้างเก่า พื้นที่ด้านนอกทั้งหมดถูกห่อหุ้มด้วยแผ่นสังกะสี และปล่อยให้เป็นบานกระจกใสในส่วนที่ต้องการเปิดรับทัศนียภาพรอบ ๆ โดยเฉพาะความสดชื่นของเหล่าต้นไม้ที่อยู่รอบพื้นที่นั้น เจ้าของมีความตั้งใจให้เติบโตขึ้นอย่างช้า ๆ ตามธรรมชาติ และกลายเป็นสวนของคาเฟ่ไปในที่สุด สิ่งที่เด่นชัดที่สุดของคาเฟ่แห่งนี้ ก็คือการออกแบบให้เกิดความแตกต่างแต่ลงตัวระหว่างรูปแบบ Modernism ของอาคารกับการเลือกใช้วัสดุในท้องที่เข้ามาผสมกัน จนเกิดเป็นอาคารที่มีความน่าสนใจภายใต้ความเรียบง่ายขึ้นเช่นนี้ ออกแบบ : OPH Architects  ภาพ : Napat Pattrayanond เรื่อง : Wuthikorn Sut  

บ้านประหยัดพลังงานกลางสวนมะม่วง และมองเห็นวิวดอยสะเก็ดได้จากภายในบ้าน

ดึงวิวธรรมชาติสวยๆ เข้ามาสู่มุมพักผ่อนในบ้าน โดยคำนึงถึงแนวคิด บ้านประหยัดพลังงาน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมประกอบกัน เพื่อนำพาไปสู่วิถีชีวิตอันยั่งยืนต่อไป

Family and Function Comes First บนพื้นฐานของความรักและเข้าใจ

เมื่อถึงเวลาสร้างครอบครัว คำถามแรกที่ผุดขึ้นมาในใจใครหลายคนที่มีบ้านเดิมอยู่แล้วคงหนีไม่พ้นว่าจะขยายพื้นที่ที่มีหรือย้ายไปอยู่ที่อื่น สำหรับ คุณนัย – นัยนารถ โอปนายิกุล และ คุณยอด ตันติอนุนานนท์ เจ้าของบ้านหลังนี้ขอเลือกสร้างพื้นที่เล็กๆ ของครอบครัวในที่ดินของบ้านเดิม โดยก่อนหน้านี้เมื่อทั้งสองแต่งงานกันแล้วก็ย้ายไปอยู่คอนโดมิเนียมที่ไม่ไกลจากบ้านเก่า แต่พอเวลาผ่านไปสักพักและทั้งสองมีลูกน้อย จึงได้ทราบความต้องการที่แท้จริงว่า “บ้านที่ทำให้รู้สึกไม่เบื่อเร็ว” เป็นคำตอบที่ใช่ บ้านสีเทาสไตล์โมเดิร์นขนาดสามชั้นหลังนี้แฝงด้วยกลิ่นอายความคลาสสิก ตั้งอยู่ใจกลางเมืองย่านทองหล่อ แต่ยังคงความเป็นชุมชนเดิมที่สงบเงียบและเต็มไปด้วยต้นไม้ใหญ่ บ้านนี้ปลูกสร้างใหม่บนสนามหญ้าหน้าบ้านเดิมของคุณนัยแวดล้อมด้วยบ้านคุณพ่อคุณแม่ และบ้านคุณตาคุณยายที่อยู่ในอาณาบริเวณเดียวกัน ชั้นล่างเป็นส่วนแพนทรี่ขนาดใหญ่และโต๊ะรับประทานอาหารชุดสวย ห้องรับแขก และห้องเด็กที่ออกแบบเผื่อไว้สำหรับลูกในอนาคต หรือให้คุณพ่อคุณแม่มาพักผ่อนได้ ส่วนชั้นสองเป็นห้องนอนใหญ่และห้องนอนของ น้องเร – เรวิณฬ์ ส่วนชั้นสามเรียกว่าเป็นชั้นเอนเตอร์เทนเมนต์ เพราะเป็นที่รวมความสุขของทุกคนอย่างห้องเก็บไวน์ โฮมเธียเตอร์ ห้องเด็กที่เต็มไปด้วยของเล่น และห้องทำงานแบบส่วนตัว มีระเบียงด้านนอกที่สามารถปรับเป็นพื้นที่สำหรับปาร์ตี้ได้อย่างสบาย เจ้าของบ้านเลือกรูปแบบบ้านจากบริษัทรับสร้างบ้าน เพราะเชื่อในมาตรฐานของงานก่อสร้าง โดยเลือกขนาดที่ใช่ ลิสต์รายการห้องและการใช้งานที่อยากได้ แล้วเลือกแบบบ้านที่เหมาะกับจำนวนห้องและปรับขนาดของห้องให้สะดวกกับการใช้งานยิ่งขึ้น คุณยอดเล่าว่า “ผมเลือกแบบบ้านจากฟังก์ชันที่เราอยากได้ แล้วมาปรับขนาดของห้องต่างๆ ให้เป็นอย่างที่เราต้องการ ผมชอบบ้านทรงกล่องๆ เหลี่ยมๆแบบไม่มีหลังคา ตอนอยู่คอนโดเราตกแต่งต่างออกไป เป็นแบบมีสีสันหน่อยด้วยวัยที่เพิ่มขึ้นก็ทำให้รู้ความชอบของตัวเองจริงๆ มาลงตัวที่สไตล์โมเดิร์นผสมคลาสสิก ดูขรึมแต่เรียบง่าย เน้นใช้งานได้นานและไม่รู้สึกเบื่อเร็ว” เจ้าของบ้านได้พูดคุยกับ คุณเล็ก – […]

Keep Calm and Stay Warm สวยเท่ในความอุ่น

ความประทับใจในธรรมชาติสวยๆ ของเขาใหญ่เป็นจุดเริ่มต้นให้ คุณหนุ่ย – ธัญชนก กุลนฤนาทวนิช กรรมการผู้จัดการแบรนด์เฟอร์นิเจอร์นำเข้า Calvin Klein Furniture เลือกที่จะเดินทางมาพักผ่อนที่นี่บ่อยๆ กระทั่งวันหนึ่งเธอจึงตัดสินใจซื้อห้องชุดขนาดเจ็ดสิบกว่าตารางเมตรในโครงการ 23 Degree Estate ของแสนสิริ บนทำเลซึ่งโอบล้อมด้วยภูเขาสีเขียว ไม่ว่าจะอยู่มุมไหนก็มองเห็นธรรมชาติได้ดีเช่นกัน “เรียกว่าหลงใหลในบรรยากาศของธรรมชาติสวยๆ แถวนี้ ก็เลยซื้อห้องไว้ทั้งเพื่อมาพักผ่อนเองและรับรองแขก ด้วยขนาดห้องก็กำลังพอดีสำหรับอยู่กันสองคน เพราะเราไม่มีลูก แต่ก็ปรับเปลี่ยนและตกแต่งภายในใหม่เองทั้งหมด โดยอาศัยประสบการณ์การทำงานด้านเฟอร์นิเจอร์มานานกว่าสิบปี” นอกจากประสบการณ์จากงานดูแลแบรนด์เฟอร์นิเจอร์นำเข้าหลายต่อหลายแบรนด์แล้ว ยังผสมด้วยความรักความชอบในการแต่งบ้านเป็นทุนเดิมด้วย เพราะคุณหนุ่ยเองก็รับงานตกแต่งภายในรวมถึงให้คำปรึกษามาโดยตลอด จนถึงขนาดมีพื้นที่สำหรับจัดเก็บเฟอร์นิเจอร์ที่ซื้อไว้ เพื่อนำไปใช้ในการทำงานด้านนี้โดยเฉพาะ “ปกติชอบเดินดูของแต่งบ้านด้วยค่ะ ไปทุกที่ ทั้งจตุจักร ทองหล่อ และใช้เวลาเลือกนาน แต่ถ้าเจอชิ้นไหนถูกใจก็จะซื้อเก็บไว้เลย ดังนั้นพอซื้อห้องนี้ เราจึงมีเฟอร์นิเจอร์ให้เลือกใช้มาผสมผสานอยู่บ้าง อย่างโต๊ะอาหารหรือโต๊ะทำงานของ Calvin Klein ซึ่งมีขนาดค่อนข้างยาว เราเอามาใส่ในห้องกระจกซึ่งเดิมเป็นห้องนอนเล็ก แต่ตั้งใจปรับเปลี่ยนให้เป็นห้องอาหารแทน โดยคงพื้นที่ห้องนอนหลักไว้เหมือนเดิม” ด้วยความที่เป็นห้องพักผ่อนสำหรับวันหยุด เฟอร์นิเจอร์ชิ้นหลักที่ช่วยรองรับช่วงเวลาผ่อนคลายจึงเป็นโซฟาตัวใหญ่ที่คุณหนุ่ยเลือกสรรโดยเน้นออกแบบให้มีความลึกเป็นพิเศษ เหมาะสำหรับนั่งๆ นอนๆ เอกเขนกได้ทั้งวัน ไม่ว่าจะดูทีวีหรือนอนเล่นชมธรรมชาติด้านนอกผ่านหน้าต่างและระเบียงกว้างก็ให้ความสบายไม่แพ้กัน ส่วนผนังด้านหลังโซฟาในห้องนั่งเล่นนั้นกรุไม้วีเนียร์สีเทา เพื่อให้สัมผัสถึงธรรมชาติ แต่ดูไม่น่าเบื่อจนเกินไป ขณะที่ห้องกระจกซึ่งเดิมเป็นห้องนอนเล็ก […]

รอยต่อของ 3 ยุคในบ้านโมเดิร์นกลิ่นอายไทย

แม้ว่าหน้าตาภายนอกบ้านจะดูทันสมัย แต่การตกแต่งยังมีความหวานและอบอุ่นอย่างที่เรียกได้ว่า “ปลูกบ้านตามใจผู้อยู่”

บ้านน่าอยู่ โอบล้อมด้วยขุนเขา

เจ้าของ – ตกแต่ง : คุณปวริศร์ – คุณสุรีย์ สุทธิสาร บ้านน่าอยู่ ไม่แปลกที่ธรรมชาติแห่งขุนเขาและกลิ่นหอมของดอกไม้ป่า รวมถึงสายลมอันบริสุทธิ์สดชื่นรอบๆเขาใหญ่จะกลายเป็นเหตุผลสำคัญของการบอกลาชีวิตในกรุงเทพฯ แต่เหนืออื่นใดก็คงเป็นเพราะ คุณแนน – สุรีย์ สุทธิสาร ภรรยาคนสวยเป็นคนพื้นถิ่นแถวนี้ ทำให้ คุณปั๊บ – ปวริศร์ สุทธิสาร ตัดสินใจมาสร้างครอบครัวและบ้านพักอาศัยหลังใหม่อยู่ที่เขาใหญ่เป็นการถาวร ระยะเวลาร่วม 8 ปีของการได้อยู่ท่ามกลางธรรมชาติสวยๆ เหล่านี้ ยังทำให้คุณปั๊บเกิดแนวคิดที่จะแบ่งปันความสุขด้วยการสร้างโครงการบ้าน 1.618 ขึ้นบนพื้นที่กว่า 42 ไร่ ที่ระดับความสูงประมาณ 430 เมตร ซึ่งมีขุนเขาสูงโอบล้อมรอบทิศทาง แถมด้วยช่องลมธรรมชาติที่รับลมได้ตลอดทั้งปี สำหรับแนวคิดการออกแบบมีจุดเริ่มต้นจากอัตราส่วน 1.618 ที่เลโอนาร์โด ฟีโบนัชชี นักคณิตศาสตร์ชาวอิตาลีคิดค้นขึ้นจากสัดส่วนที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และกลายเป็นอัตราส่วนมหัศจรรย์ให้วงการศิลปะและสถาปัตยกรรมนำไปประยุกต์ใช้ ไม่ว่าจะเป็นภาพวาดโมนาลิซา วิหารพาร์เธนอน หรือโลโก้ของแบรนด์ Apple กระทั่งมาเป็นอัตราส่วนในการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมของบ้านหลังนี้ให้ลงตัวและงดงาม     “ผมอยากสร้างบ้านที่เข้ากับสภาพแวดล้อมของเขาใหญ่ให้มากที่สุด ไม่ใช่เอาบ้านจากประเทศไหนๆมาตั้งอยู่ที่เขาใหญ่เฉยๆ เพราะด้วยสภาพอากาศแบบร้อนชื้น มีฝนตกมาก ผมจึงให้ความสำคัญกับหลังคาเป็นอันดับแรก […]

บ้านล้อมไม้

จะมีสักกี่สถานที่ที่ทำให้เรารู้สึกสงบและสบายใจทุกครั้งที่ได้ไปเยือน และคงจะดียิ่งขึ้นไปอีกหากสถานที่นั้นเป็น “บ้าน” ของเราเอง ครั้งนี้ “บ้านและสวน” ได้มาเยี่ยมชมบ้านของ คุณปุ้ย – ปิยาภรณ์ แต้ไพสิฐพงษ์ และ คุณนุ – ปกรณ์ พงศ์พูลสุข ณ “บ้านล้อมไม้” ซึ่งตั้งอยู่ในโครงการบ้านไร่ทอสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ด้วยบรรยากาศที่มีขุนเขาแวดล้อม บ้านนี้จึงได้รับพลังงานดีๆ อย่างที่เจ้าของบ้านเล่าให้ฟัง   “บ้านนี้มีจุดเริ่มต้นมาจากคุณแม่ค่ะ” คุณปุ้ยเริ่มเกริ่นนำ ก่อนเล่าต่อไปว่าคุณแม่ของเธอได้มาปฏิบัติธรรมที่บ้านบุญ ณ บ้านไร่ทอสีของ พระอาจารย์ฌอน ชยสาโร ซึ่งอยู่ในพื้นที่เดียวกับบ้านหลังนี้ จึงเริ่มรู้สึกติดใจในบรรยากาศอันสุขสงบและสภาพอากาศที่ปลอดโปร่ง “แม่เลยพาลูกมาปฏิบัติธรรมด้วยกัน ปุ้ยก็ชอบ เขาอยากมีบ้านที่ต่างจังหวัด ก็ชวนกันมาดูที่ในโครงการ จนได้ที่ผืนนี้มาปลูกบ้าน” คุณแม่คุณปุ้ยเล่าให้ฟังบ้างว่า “มีหลายปัจจัยที่ทำให้เลือกที่ผืนนี้ เราเป็นคนกรุงเทพฯ การอยู่ในโครงการทำให้รู้สึกปลอดภัย มีเพื่อนบ้านคอยดูแลกันได้ แต่ที่สำคัญที่สุดคงเป็นเรื่องบรรยากาศที่สงบและสบายของบ้านและลูกบ้านในโครงการนี้” เราเห็นด้วยอย่างยิ่ง พื้นที่โดยรอบส่วนใหญ่ก็เป็นบ้านของผู้นิยมการปฏิบัติธรรมเหมือนกัน ซึ่งทำให้บรรยากาศในโครงการยิ่งดูร่มเย็น “อยากทำบ้านที่จะมาอยู่ประจำเวลาเราแก่ตัวลงได้ ตอนนี้คุณแม่ก็วางแผนมาอยู่ที่นี่บ่อยขึ้น แม้บ้านหลังนี้จะคล้ายบ้านตากอากาศ แต่ก็วางแผนเอาไว้สำหรับอยู่ประจำในอนาคตด้วย แล้ว คุณตั๋ง – […]

บ้านคือศูนย์รวมใจ

เชื่อว่าคนไทยคงคุ้นชินกับภาพความอบอุ่นของการดูแลบุพการี หรือการกลับไปเยี่ยมเยือนญาติพี่น้อง บรรยากาศของการทำอาหารรับประทานร่วมกัน การนั่งล้อมวงถามไถ่สารทุกข์สุกดิบ รวมไปถึงการได้เห็นลูกหลานวิ่งเล่นด้วยกันท่ามกลางเสียงหัวเราะสนุกสนาน ก็ช่วยสร้างความสุขได้เป็นอย่างดี การออกแบบบ้านหลังนี้จึงเกิดจากความตั้งใจให้เป็นสถานที่รวมความรัก ความปรารถนาดี และความห่วงใยระหว่างคนในครอบครัว ทีมงาน “บ้านและสวน” มุ่งหน้าไปยังย่านบางบอน ลึกเข้าไปในซอยที่ห่างจากถนนใหญ่มีบ้านสีขาวสองชั้นรูปทรงร่วมสมัย โอบล้อมด้วยสนามหญ้าเขียวขจี อีกทั้งบริบทที่แวดล้อมบ้านหลังนี้ยังคงเป็นชุมชนที่ไม่มีสิ่งปลูกสร้างบดบังทัศนียภาพของธรรมชาติ บรรยากาศจึงเงียบสงบและมีความร่มรื่น เมื่อเห็นบ้านแสนสวยหลังนี้แล้วก็ชวนให้นึกถึงสุภาพสตรี ด้วยรูปทรงที่ให้ความรู้สึกเรียบร้อย อบอุ่น สง่า ดูร่วมสมัย แต่ให้ความพิเศษส่วนตัวแบบที่หลีกหนีจากความวุ่นวายภายนอกได้ นั่นทำให้เรานึกสงสัยถึงที่มาที่ไป คุณวรพจน์ เตชะอำนวยสุข สถาปนิกผู้ออกแบบจึงเล่าถึงความต้องการของเจ้าของบ้านที่อยากได้บ้านเพื่อเป็นสถานที่รวมตัวของครอบครัว โดยได้แรงบันดาลใจจากสถาปัตยกรรมโคโลเนียลในช่วงรัชกาลที่ 5 และบ้านเรือนไทยที่ประยุกต์ให้เข้ากับยุคสมัยมากขึ้น “โจทย์หลักคือการปลูกบ้านหลังใหม่เป็นบ้านของคุณยาย และก็เป็นบ้านที่รวมญาติๆ ได้ด้วย ลองมานั่งคิดเรื่องการออกแบบพื้นที่ทั้งในเรื่องความเป็นส่วนตัวและการใช้พื้นที่ส่วนรวม เพื่อให้สามารถใช้พื้นที่ได้อย่างตอบโจทย์ เลยนึกไปถึงลักษณะของบ้านเรือนไทยที่มีเอกลักษณ์คือใต้ถุนสูง มีด้านล่างเป็นลานอเนกประสงค์ มีชานพักเป็นพื้นที่รวมคนและนำไปยังพื้นที่ต่างๆ ได้” สถาปนิกได้ออกแบบการเข้าสู่ตัวบ้านผ่านพื้นที่เล็กๆ แล้วค่อยนำพาไปสู่การเปิดเผยพื้นที่เปิดโล่งด้านในได้อย่างต่อเนื่อง มีจุดนำสายตาระหว่างทางจนกระทั่งมาสู่สนามหญ้าสีเขียวที่อยู่ภายใน ซึ่งชวนให้รู้สึกได้ว่าเป็นสถานที่พิเศษเฉพาะบุคคลอันเป็นที่รักเท่านั้น “เพื่อให้บ้านเป็นศูนย์รวมของญาติๆ ตามที่ตั้งใจ พื้นที่สีเขียวของบ้านนี้จึงทำหน้าที่เป็นสนามหญ้าสำหรับให้เด็กๆ ได้มาวิ่งเล่นกัน การวางตัวบ้านในลักษณะโอบล้อมแบบนี้ต้องคำนึงทิศทางแดดและลมประกอบด้วย เพราะต้องการให้บ้านมีพื้นที่สีเขียวที่สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา ตอนเช้าจะได้แสงอ่อนๆจากทิศตะวันออก พอถึงช่วงบ่ายตัวบ้านจะบังแดดไว้ ทำให้สนามหญ้ากลายเป็นสวนยามบ่ายของครอบครัวได้ด้วย” บริเวณชั้นล่างของบ้านออกแบบให้เป็นพื้นที่สำหรับทำกิจกรรม เว้นเพียงห้องผู้สูงอายุที่มีบริเวณส่วนตัวให้สามารถสัมผัสพื้นหญ้าสีเขียวและเข้าถึงครัวได้ง่าย ขณะที่ชั้นบนทั้งหมดเป็นพื้นที่พักผ่อนส่วนตัว แบ่งเป็นห้องนอนใหญ่ […]

Ode to Two Little Love เพื่อสองหัวใจดวงน้อย

เสียงหัวเราะ รอยยิ้ม อ้อมกอด และความห่วงใย สามารถถ่ายทอดเป็นบทกวีที่บอกเล่าถึงความสุขและคำว่า “ครอบครัว” ได้อย่างชัดเจน เราเชื่อเสมอว่าสิ่งเหล่านี้จะค่อยๆ เติบโตขึ้นอย่างสมบูรณ์หากมีการบ่มเพาะด้วยความรัก เหมือนเช่นบ้านหลังนี้ จากที่เคยเป็นบ้านชั้นเดียวที่เจ้าของบ้าน คุณก้อย – อาชวี ณ นคร อยู่มาตั้งแต่เด็ก แต่เมื่อเวลาผ่าน สถานะเปลี่ยน โดยเฉพาะเมื่อเธอและสามี คุณแดง – ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย เดินทางกลับมาจากต่างประเทศ ก็จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนบ้านเดิมให้เหมาะสมกับครอบครัวและการใช้งานใหม่ที่จะเกิดขึ้น บ้านนี้อยู่ด้วยกันแบบครอบครัวใหญ่ ประกอบด้วยคุณแม่ (คุณรุ่งรังษี ณ นคร) น้องสาว 2 คน (ดร.ปิยพร – คุณณิชา ณ นคร) น้องนอต – กวิณ และ น้องนน – นวิน เหลืองนฤมิตชัย ลูกชายวัยกำลังซนซึ่งทำให้บ้านหลังนี้เต็มไปด้วยเสียงหัวเราะ การออกแบบพื้นที่จึงเน้นให้เชื่อมโยงกับหัวใจสองดวงน้อยๆ นี้มากยิ่งขึ้น คุณก้อยเล่าให้ฟังว่า “คุยกับมัณฑนากรว่าเราอยากมีพื้นที่เผื่อไว้สำหรับให้ลูกๆ ได้ทำกิจกรรมในแบบของพวกเขาเอง เช่น เวลาที่มีเพื่อนๆ […]

บ้านสวย เพราะต้นไม้ผสมผสาน

อยากมี บ้านสวย ๆ ดูดีไปได้นานๆ ต้องออกแบบ ต้องแต่งบ้านอย่างไร เริ่มต้นจากอะไร

วิลล่าสุขเสรี บ้านหลังนี้เพื่อครอบครัว

นิยามของบ้านที่หรูหราในความคิดของบางคนอาจเป็นเรื่องของงานออกแบบที่ดูวิบวับฟู่ฟ่าหรือมีความซับซ้อนจนดูน่าเกรงขาม แต่สำหรับ คุณวัชราวุธ วิคเตอร์ สุขเสรี กงสุลกิตติมศักดิ์แห่งราชอาณาจักรสวีเดน และผู้จัดการทั่วไปโรงแรมดุสิตธานี หัวหิน กลับมองว่าความหรูหราของบ้านคือความรู้สึกที่อยู่สบายปลอดโปร่ง มองเห็นธรรมชาติ และอุ่นอวลพร้อมหน้าไปกับคนในครอบครัว นั่นเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เขามองหาที่ดินสำหรับสร้างบ้านพักตากอากาศขนาดใหญ่เพื่อรองรับทุกคนในครอบครัว โดยใช้เวลากว่า 2 ปีตระเวนหาที่ดินอันเหมาะสม จนมาพบทำเลที่ทุกคนในบ้านถูกใจ ด้วยระยะทางที่ห่างจากทะเลเพียง 20 เมตร จึงสามารถสัมผัสถึงเสียงคลื่น ลมทะเล และความสดชื่นจากธรรมชาติรอบตัวได้ดี “ผมทำงานอยู่ที่โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน นับตั้งแต่โรงแรมเริ่มก่อสร้าง จนถึงวันนี้ก็ 26 ปีแล้ว รวมกับประสบการณ์การเดินทางไปทำงานกับโรงแรมอีกหลายแห่งทั่วโลก ทำให้ผมมีภาพของบ้านพักผ่อนหลังนี้อยู่ในความคิดค่อนข้างชัดเจนตั้งแต่แรกเมื่อมาเห็นที่ดิน คือมองเอาไว้ต่างจากความคลาสสิกของโรงแรมดุสิตธานี หัวหิน อย่างสิ้นเชิง เพราะผมต้องการบ้านหลังใหญ่ที่ทุกคนในครอบครัวสามารถใกล้ชิดกันได้ด้วย แต่ขณะเดียวกันก็มีพื้นที่แยกส่วนตัวรูปแบบบ้านเป็นสไตล์โมเดิร์นคอนเทมโพรารี ซึ่งลักษณะที่ดินนั้นยาวและลึกมากเกือบ 100 เมตร บนพื้นที่ 2 ไร่ เลยเป็นโจทย์ที่ยากหน่อยสำหรับสถาปนิก” แต่ด้วยความคุ้นเคยกับ คุณรุ่งโรจน์ ลีสินสวัสดิ์ สถาปนิกที่ร่วมงานกันมาหลายครั้ง จึงไม่ใช่เรื่องยากเกินไปที่จะตีโจทย์และแปลงความต้องการเหล่านี้ให้กลายเป็นบ้านรูปทรงคล้ายตัวเอช (H) เพื่อแยกพื้นที่ใช้งานระหว่างกันและมีความเป็นส่วนตัวที่ค่อนข้างมิดชิด ทว่ายังเน้นมุมมองออกสู่ธรรมชาติของทะเล พร้อมทางเดินส่วนกลางซึ่งเปิดโปร่งเชื่อมโยงกันไว้ “ที่ผมกำหนดไว้ยังมีเรื่องของบ้าน 4 เสาที่เป็นเหมือนตัวแทนของสวรรค์ชั้น 4 […]

ก่อนการเดินทางครั้งต่อไป

“เพราะชีวิตคือการเดินทาง” ประโยคนี้คงบ่งบอกตัวตนของ คุณโรเบิร์ต – เจษฎา โอวาทเวโรจน์ ได้ดี เขาคือเจ้าของบ้านสไตล์โมเดิร์นหลังนี้ และกรรมการผู้จัดการบริษัท Global Tour Chiangmai ผู้อนุญาตให้เราได้มาเยี่ยมชมบ้านสวยๆ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากสนามบินเชียงใหม่เท่าไรนัก “ลูกสาวสองคนไปเรียนมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ จะกลับมาก็ช่วงปิดเทอม คนอยู่บ้านหลังนี้ส่วนใหญ่ก็เลยเป็นผม อะไรๆ ในบ้านจึงดูเป็นระเบียบเรียบร้อยอย่างที่เห็น” คุณโรเบิร์ตเกริ่นถึงบ้านหลังนี้ พร้อมพาเราเข้าไปนั่งพูดคุยที่เคาน์เตอร์บาร์กลางโถงรับแขก ด้วยหน้าที่การงานที่ต้องเดินทางไปต่างประเทศบ่อยๆ เมื่อถึงเวลากลับมาคุณโรเบิร์ตจึงต้องการพักผ่อนอย่างเต็มที่ ก่อนออกเดินทางในครั้งต่อไป ด้วยเหตุนี้เองการออกแบบและตกแต่งบ้านหลังนี้จึงเน้นความเรียบง่าย ตรงไปตรงมา แต่มีความสะดวกสบายอย่างลงตัว “ผมคิดคล้ายๆ เวลาผมไปพักโรงแรม ถ้าข้าวของกระจัดกระจายเกินไป ตอนจะออกเดินทางก็เก็บไม่ไหว กลับมาก็รกอีก คงพักผ่อนได้ไม่เต็มที่ ก็ทำให้เป็นระเบียบเรียบร้อยตั้งแต่แรกไปเลยจะดีกว่า” คุณโรเบิร์ตเล่าให้ฟังด้วยรอยยิ้ม ก่อนเอ่ยต่อไปว่า “พอกลับมาผมจะนั่งดูหนังที่โซฟารับแขก ทำอาหารกินเอง และออกกำลังกาย ผมว่าทั้งการพักผ่อนและเตรียมร่างกายให้พร้อมกับการเดินทางเสมอเป็นสิ่งจำเป็นนะครับ” จริงอย่างที่คุณโรเบิร์ตกล่าว หากใครเคยเดินทางติดกันบ่อยๆ คงไม่แคล้วต้องล้มหมอนนอนเสื่อกันบ้างละ การออกแบบบ้านหลังนี้จึงให้ความใส่ใจกับสุขภาพเป็นอย่างมาก โดยมีทั้งฟิตเนสส่วนตัว สระว่ายน้ำ และสนามพัตต์กอล์ฟอยู่ภายในบริเวณบ้าน ตัวบ้านนั้นออกแบบเป็นรูปตัวแอล (L) โดยเป็นผนังทึบทางด้านถนนทั้งสองด้าน กันความวุ่นวายจากถนนออกไปเพื่อสร้างความเป็นส่วนตัว การออกแบบโครงสร้างทำควบคู่ไปกับการออกแบบรูปแบบสถาปัตยกรรมเกิดเป็นลักษณะประโยชน์นิยม (Functionalism) ที่งานสถาปัตยกรรมจะก่อร่างขึ้นมาเองจากความสมเหตุสมผลทางการใช้งานและความเหมาะสมของวัสดุและงานก่อสร้าง การใช้เหล็ก […]

บ้านต่างวัยแต่ใจเดียวกัน

แม้จะไม่มีข้อมูลทางสถิติมายืนยัน แต่เรามั่นใจว่าเวลาและประสบการณ์ทำให้การเลือกบ้านในฝันของแต่ละช่วงอายุนั้นต่างกันออกไปในวัยรุ่นอาจต้องการเพียงพื้นที่ที่เป็นส่วนตัว ขณะที่วัยผู้ใหญ่ซึ่งเป็นวัยที่เริ่มต้นสร้างตัวและครอบครัวคงมีช่วงเวลาหนึ่งที่คิดว่าจะเลือกอยู่บ้านเดิมของพ่อแม่หรือย้ายออกไปหาบ้านใหม่ ส่วนวัยบั้นปลายก็คงต้องการแค่ความสะดวกสบาย ความสบายกายและใจ รวมถึงได้อยู่บ้านพร้อมหน้ากับครอบครัว คงเป็นความโชคดีของครอบครัว อารักษ์เวชกุล เพราะเจ้าของบ้านหลังนี้ค้นหาความต้องการของตัวเองพบตั้งแต่เริ่มต้น คุณพบ – ศีลวัตรและ คุณจอย – ลลิตา อารักษ์เวชกุล สองสถาปนิกที่มีโอกาสสร้างบ้านที่ใช่สำหรับครอบครัวเล็กๆผังของบ้านทั้ง 3 หลังจัดวางเป็นรูปตัวแอล (L) ตัวบ้านออกแบบเป็นสไตล์โมเดิร์นที่ให้ความรู้สึกอบอุ่นด้วยวัสดุอย่างปูนเปลือยและไม้ธรรมชาติ ประกอบด้วยบ้านหลังแรกซึ่งเดิมทีอย่อูาศัยกัน 4 คน ได้แก่คุณพบ คุณพ่อ คุณแม่ และน้องชาย โดยอยู่ตำแหน่งตรงกลางที่ดิน คุณพบเล่าว่า เขาได้รับโจทย์จากคุณพ่อให้ออกแบบบ้านนี้ตั้งแต่ตอนเรียนจบใหม่ๆ ถือเป็นผลงานออกแบบชิ้นแรกที่ตั้งใจทำอย่างเต็มที่   กระทั่งเมื่อคุณพบแต่งงานกับคุณจอยจึงได้ออกแบบบ้านหลังที่สองเพื่อให้เป็นบ้านของน้องชายแยกออกมาต่อมาเมื่อน้องชายแต่งงานจึงแยกบ้านออกไป ส่วนหลังที่สามเป็นของคุณแม่คุณจอย ซึ่งย้ายมาอยู่ด้วยกันเพื่อจะได้ใกล้ชิดหลาน ทั้งครอบครัวจึงซื้อที่ดินเพิ่มเพื่อให้ได้อยู่ติดกัน จุดเด่นของบ้านหลังนี้คือแม้จะปลูกสร้างในพื้นที่เดียวกัน แต่ก็ไม่ได้ใช้พื้นที่ร่วมกันทั้งหมดเพื่อให้ทุกคนยังคงมีความเป็นส่วนตัวด้วย ทว่าก็ยังเว้นที่ไว้สำหรับพื้นที่ส่วนกลาง และมีพื้นที่ระหว่างกันในบ้านแต่ละหลัง คุณพบและคุณจอยเล่าว่า “เราชอบทำเลย่านพัฒนาการ เพราะยังโล่งและไปไหนมาไหนสะดวก ไม่เคยคิดจะไปอยู่ที่อื่นโครงการที่อยู่นี้ก็เงียบๆ เล็กๆ มีกรรมการหมู่บ้านที่ดี ที่สำคัญคือเราได้ออกแบบเอง เป็นบ้านที่อยู่สบาย มีการระบายอากาศที่ดี” บ้านที่ดีก็คือบ้านที่อยู่สบาย คุณพบวางผังของบ้านแต่ละหลังไม่ให้บดบังทิศทางลมซึ่งกันและกัน เว้นพื้นที่ตรงกลางของบ้านเป็นคอร์ตขนาด 4 × 8 […]

Humble Home อบอุ่นและอ่อนน้อม

ครั้งนี้เราขอพาไปชมบ้านสวยกันไกลถึงบุรีรัมย์ จังหวัดเล็กๆ ในภูมิภาคอีสานใต้ บ้านชั้นเดียวสไตล์โมเดิร์นหลังนี้โดดเด่นด้วยตัวบ้านสีเทาขรึมตัดกับสีเขียวของสนามหญ้า เดิมเป็นบ้านที่ผ่านการออกแบบมาก่อนแล้ว โดยมีการลงเสาเข็มไปบางส่วน แต่ด้วยเซ้นส์ของ คุณอ้อ – ผณิภุช ชาญเลขา มัณฑนากร ซึ่งได้ปรึกษาและตัดสินใจร่วมกับสถาปนิกเพื่อขอปรับแก้ไขโครงสร้าง โดยขยายพื้นที่อยู่อาศัยให้กว้างขวางมากขึ้นสำหรับสมาชิก 5 คน ประกอบด้วยพ่อ แม่ และลูกๆอีก 3 คน ซึ่งแต่ละคนก็มีช่วงวัยและความชอบแตกต่างกัน หลังการปรับโครงสร้าง บ้านหลังนี้จึงมีพื้นที่ 3 ส่วนหลักๆ ได้แก่ พื้นที่สำหรับรับรองแขกที่เป็นทางการ ห้องนั่งเล่นของครอบครัวที่เชื่อมต่อกับฟิตเนสและซาวน่า และห้องนอนส่วนตัวของสมาชิกแต่ละคน ภายในบ้านออกแบบให้มีบรรยากาศโปร่งโล่ง โดยทำระเบียงทางเดินภายในบ้านให้เหมือนเดินรอบคอร์ตยาร์ดซึ่งจัดเป็นสวนแนวญี่ปุ่น สมาชิกในบ้านจึงมองเห็นกันและกันได้ มีการปรับระยะความสูงของฝ้าเพดานทั้งหมดให้สูงขึ้น เพื่อเปิดรับแสงสว่างจากธรรมชาติ ไม่เกิดมุมอับและอากาศถ่ายเทได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังนำองค์ประกอบแบบสมมาตรมาช่วยเน้นให้งานตกแต่งดูมีมิติและน่าสนใจ เช่น พื้น กรอบประตู และฝ้าเพดาน ที่ออกแบบเป็นกรอบรูปเรขาคณิตบางส่วนก็เล่นระดับหลายๆ ชั้น เป็นการสร้างกรอบนำแนวสายตา อีกทั้งเสริมให้พื้นที่นั้นๆ ดูเป็นสัดส่วนชัดเจนยิ่งขึ้น พระเอกอีกคนของบ้านหลังนี้ก็คือไม้มะค่า ซึ่งเป็นของสะสมของเจ้าของบ้านที่ทั้งสวยงามและมีคุณค่าทางจิตใจ จึงเลือกนำมาปูพื้น นอกจากให้ความรู้สึกอบอุ่นแล้ว ผู้ออกแบบยังได้นำมาเป็นแนวคิดหลักในการสรรหาวัสดุปิดผิวชนิดอื่นๆ เพื่อเลือกโทนสีที่ช่วยทำให้บรรยากาศในบ้านเกิดความกลมกลืนอย่างเป็นธรรมชาติ ที่น่าสังเกตอีกประการก็คือการเลือกใช้โทนสีแบบสุภาพ แม้จะดูเรียบ ทว่าก็ให้ความรู้สึกสวยคลาสสิกแบบไร้กาลเวลา ดูสงบแต่ก็เปี่ยมด้วยความภูมิฐาน […]

อบอุ่น ละมุน ร่วมสมัย

ประตูไม้บานเล็กเปิดออกให้เห็นสวนหินสไตล์ญี่ปุ่นที่ดูเรียบง่ายสบายตาช่วยเพิ่มความรู้สึกสงบนิ่งเหมือนเช่นตัวบ้านที่ออกแบบให้มีรูปทรงแบบเรขาคณิตดูไม่หวือหวา ทว่าก็มีเสน่ห์บางอย่างที่ทำให้เจ้าของบ้านตัดสินใจเลือกบ้านหลังนี้ “เดิมทีผมมีบ้านอยู่อีกที่หนึ่ง หลังนั้นค่อนข้างเล็ก ก็เลยอยากได้บ้านที่มีสนามหญ้าหน้าบ้าน มีบ่อปลาคาร์พ มีมุมปาร์ตี้สังสรรค์กันเล็กๆ ภายในครอบครัว และผมก็มาเจอที่นี่ ชอบที่ตำแหน่งของบ้านมีลมพัดผ่านตลอดเวลา บรรยากาศในบ้านจึงเย็นสบาย” เจ้าของบ้านเกริ่นถึงที่มาของบ้านหลังนี้ให้ฟัง บนพื้นที่ประมาณ 360 ตารางเมตรที่มาพร้อมกับตัวบ้านของโครงการ เจ้าของบ้านต้องการแบ่งสัดส่วนและต่อเติมบ้านใหม่ทั้งหมด จึงค้นหาทีมสถาปนิกและนักออกแบบตกแต่งภายในจากอินเทอร์เน็ต จนได้มาพบกับ คุณดาวุค – นิรัติศัย สลาม จากบริษัทพาย จำกัด ซึ่งสามารถตอบโจทย์ความต้องการของเขาได้อย่างครบถ้วน “เจ้าของบ้านอยากได้บ้านที่ดูอุ่นๆ ไม่โมเดิร์นจนเกินไป มีบรรยากาศอบอุ่นแบบโฮมมี่ ผมจึงตีโจทย์เป็นบ้านสไตล์โมเดิร์นผสมกับคอนเทมโพรารีที่มีความร่วมสมัยครับ” คุณดาวุคเล่าถึงแนวทางออกแบบว่า เน้นความเรียบหรูภายใต้โทนสีขาวที่ดูสว่าง เริ่มที่ส่วนรับแขกออกแบบให้เชื่อมต่อไปถึงส่วนรับประทานอาหารและส่วนเตรียมอาหาร วัสดุส่วนใหญ่ที่บ้านหลังนี้เลือกใช้ก็เป็นวัสดุธรรมชาติอย่างหินอ่อนและไม้ “เจ้าของบ้านชื่นชอบหินและไม้อยู่แล้ว อยากให้บ้านทั้งหลังดูอบอุ่นด้วยโทนสีครีมและขาว ผมและทีมงานจึงออกแบบให้ที่นี่มีบรรยากาศที่ดูกลมกลืนกันทั้งหลังซึ่งกลมกลืนในที่นี้หมายถึงเข้ากันได้ดี ไม่ขัดแย้งกันระหว่างไม้กับหินครับ” ถัดจากส่วนรับแขกก็เป็นโต๊ะรับประทานอาหารสีขาวที่จัดวางอย่างโดดเด่น อีกทั้งเพิ่มความน่าสนใจให้พื้นที่โดยรอบด้วยตู้ปลาขนาดใหญ่ที่เจ้าของบ้านรักและชื่นชอบ โดยติดตั้งอยู่ในผนัง ทำให้บ้านดูมีชีวิตชีวามากขึ้น ถัดมาคือห้องนั่งเล่นที่เจ้าของบ้านและครอบครัวมักใช้เวลาในช่วงหัวค่ำมารวมตัวพูดคุยกัน จัดวางโซฟาสีส้มบนพื้นพรมเนื้อนุ่มสีเทา – ดำ เข้ากันได้ดีกับฝ้าเพดานที่ออกแบบเป็นระแนงไม้ เพิ่มความรู้สึกผ่อนคลายและเป็นกันเอง นอกจากนี้เมื่อมองทะลุประตูบานเลื่อนกระจกออกไปด้านนอกจะเห็นบ่อปลาคาร์พที่ทำหน้าที่เพิ่มความเป็นธรรมชาติและสร้างบรรยากาศน่าสบายให้บ้าน “ในห้องนั่งเล่นนี้ยังมีมุมสำหรับปาร์ตี้กันเล็กๆ ออกแบบให้มีมินิบาร์เพื่อรับรองแขกที่มาเยือน ด้านหลังเป็นตู้บิลท์อินสำหรับเก็บของและโชว์ถ้วยรางวัลที่เจ้าของบ้านได้มาจากการแข่งขันดริฟต์รถแข่ง”   เมื่อขึ้นไปยังชั้นบนจะเห็นมุมนั่งเล่นที่เชื่อมไปยังห้องนอนใหญ่ ห้องนอนลูกสาว และห้องนอนลูกชาย […]

The Neverland of Andra Matin ระหว่างพื้นที่กับการเดินทาง

  เมื่อเดินผ่านประตูรั้วด้านหน้าบ้านเข้าไปเราจะพบทางเดินไม้ลอยอยู่เหนือสระน้ำ ขนาบด้วยกำแพงดินที่มีมอสส์และเฟินแทรกอยู่เป็นระยะ ร่องไม้ที่ชั้นบนเว้นที่ว่างให้แสงสว่างลอดผ่านลงมาสะท้อนกับผืนน้ำดูระยิบระยับไปทั่วบริเวณ  ปลาคาร์พตัวเขื่องว่ายน้ำลอดจากมุมหนึ่งไปสู่อีกมุมหนึ่ง แดดจัดจ้าของประเทศอินโดนีเซียช่วยเติมเต็มความสดใสให้บ้านหลังนี้ได้อย่างเหลือเฟือ Mr. Andra Matinเจ้าของและผู้ออกแบบบ้าน AM House หลังนี้ยิ้มต้อนรับและผายมือเชิญเราเข้าสู่ภายในบ้าน  เขาพาเราเดินขึ้นไปบนชั้นสองของบ้านซึ่งจัดวางโต๊ะยาวขนาด 4 – 5 เมตร เพื่อใช้รับแขก จากตรงนี้เรามองเห็นอาคารคอนกรีตสมัยใหม่ที่เปิดโล่งและมีพื้นที่อเนกประสงค์คล้ายบ้านใต้ถุนสูงอันเป็นเอกลักษณ์ของบ้านในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ตั้งอยู่บนเส้นศูนย์สูตร แล้วบทสนทนาระหว่างเรากับคุณอันดราก็เริ่มขึ้น “ผมเริ่มก่อสร้างบ้านหลังนี้ในปีค.ศ. 2008 เริ่มจากโครงสร้างหลักคือกล่องปูนเปลือยยกสูงอย่างที่เห็นเมื่อบ้านค่อยๆก่อร่างขึ้นก็ทำให้ผมเห็นรายละเอียดที่ควรใส่เพิ่มลงไปจึงใช้เวลาก่อสร้างนานกว่าบ้านทั่วไปแต่การค่อยๆคิดและถักทอพื้นที่ต่างๆเข้าด้วยกัน ทำให้ได้ผลลัพธ์เป็นบ้านที่ลงตัวกับผมและครอบครัวอย่างแท้จริงบ้านหลังนี้เสร็จสมบูรณ์ในปีค.ศ. 2013 ใช้เวลารวม 5 ปีพอดี” คุณอันดราเป็นเจ้าของสำนักงานออกแบบ Andramatin และถือเป็นสถาปนิกรุ่นบุกเบิกที่เปิดรับงานออกแบบสถาปัตยกรรมอย่างอิสระในประเทศอินโดนีเซีย สิ่งที่เขาใส่ใจที่สุดก็คืองานออกแบบที่สอดรับกับภูมิอากาศแบบร้อนชื้นของประเทศนี้ บริษัทของเขาจึงเป็นผู้นำด้านงานออกแบบสไตล์โมเดิร์นทรอปิคัล ดังจะเห็นได้ว่าบ้านหลังนี้แทบไม่ใช้เครื่องปรับอากาศเลย มีเพียงสองจุดเท่านั้นคือห้องน้ำที่ชั้นใต้ดินซึ่งต้องใช้เครื่องกำจัดความชื้นและในห้องนอนชั้นบน นอกเหนือจากนั้นล้วนพึ่งพาพลังจากธรรมชาติทั้งสิ้น และอีกเรื่องหนึ่งที่คุณอันดราสนใจก็คือการออกแบบพื้นที่ “ผมสนใจเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่มากกว่ารูปทรง” คุณอันดราอธิบายหลักการออกแบบพื้นที่ซึ่งใช้กับทุกงานออกแบบของเขาแม้แต่กับบ้านหลังนี้ “ความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ (Spatial Relationship) ต้องมองไปถึงกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นมากกว่าการมองแบบเป็นห้องสี่เหลี่ยม เพราะในความเป็นจริงกิจกรรมต่างๆไม่ว่าจะนั่งนอนเดินหรือยืนต่างก็มีพื้นที่ ‘ระหว่างกัน’ทั้งสิ้นเมื่อคิดได้ดังนี้รูปทรงก็จะออกมาต่างอย่างที่ควรจะเป็นสามารถออกแบบร่วมกับเรื่องภูมิอากาศและการอยู่อาศัยได้อย่างเหมาะสม” คำอธิบายข้างต้นพอทำให้เข้าใจได้ว่าทำไมบ้านหลังนี้จึงมีรูปทรงแปลกตาและชวนให้แปลกใจทุกครั้งที่ก้าวผ่านจากบริเวณหนึ่งไปสู่อีกบริเวณหนึ่ง “ผมชอบการเดินทางบ้านของผมก็เลยให้ความรู้สึกของการเดินทาง” การเปลี่ยนผ่านแต่ละพื้นที่ของบ้าน AM House เปรียบได้กับการผจญภัยย่อมๆ ทั้งทางเข้าที่เดินทะลุขึ้นมายังเนินดินก่อนเข้าสู่พื้นที่รับแขกที่ลัดขึ้นบันไดเวียนสู่สวนดาดฟ้าได้ หากเดินจากพื้นลาดอีกด้านหนึ่งก็จะแยกออกไปยังเรือนเล็กของคุณอันดรา แล้ววนกลับเข้ามาที่ห้องของลูกๆ ห้องทำงานชั้นล่างยังมีประตูซ่อนอยู่หลังชั้นหนังสือเพื่อออกไปยังห้องละหมาดและห้องน้ำได้อีกด้วย […]

โอบล้อมด้วยแสงใน บ้านไทย สไตล์มินิมัล

นับเป็นโชคดีของเราที่วันนี้อากาศดี ไม่ร้อนจัดและแสงแดดไม่แรงจนเกินไป เหมาะแก่การถ่ายภาพบ้านเป็นอย่างยิ่ง บ้านที่เรามาเยือนในครั้งนี้เป็นเรือนหอ บ้านไทย สไตล์มินิมัลของ คุณจุ๊บ – ศศธร ภาสภิญโญ และ คุณรินทร์ – ภัทรกานต์ เศรษฐชยั ตั้งอยู่ในย่านพัฒนาการ บนพื้นที่ 100 ตารางวา ซึ่งเป็นที่ดินเดิมของครอบครัวคุณจุ๊บ บ้านที่มีไอเดียในการจัดการกับแสงสว่างได้อย่างน่าสนใจ   “เริ่มแรกเราอยากได้บ้านไทยสไตล์มินิมัล กล่าวคือมีโถงทางเดินอยู่ตรงกลางบ้านเหมือนบ้านไทย แต่การตกแต่งต้องดูเรียบ มีแฝงอารมณ์แบบญี่ปุ่นนิดๆ และเปิดรับแสงธรรมชาติได้รอบบ้านโดยที่ต้องไม่เพิ่มความร้อนให้บ้านด้วย เราสองคนชื่นชอบการอ่านหนังสือและมักเก็บภาพสไตล์การตกแต่งบ้านไว้เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างบ้านของเรา” คุณจุ๊บเกริ่นนำให้เราฟัง การหาไอเดียจากหนังสือประกอบกับเคยเรียนด้านสถาปัตยกรรม จึงสเก็ตช์ภาพบ้านแบบคร่าวๆ พร้อมบอกความต้องการหลักให้ คุณวิมลรัตน์ อิสระธรรมนูญ สถาปนิกนำไปออกแบบต่อ ใน บ้านไทย หลังนี้ จากที่จอดรถ ผู้ออกแบบทำทางเดินรอบบ่อปลาคาร์พ ก่อนจะนำเข้าไปสู่ตัวบ้าน การออกแบบดังกล่าวสร้างบรรยากาศแห่งการเชื้อเชิญ เปรียบเสมือนการต้อนรับจากเจ้าของบ้าน รอบบริเวณบ้านยังปลูกต้นไม้นานาพรรณดูร่มรื่น สร้างความรู้สึกสดชื่นได้ดีก่อนเข้าไปสู่ภายในบ้าน ซึ่งสิ่งแรกที่พบคือโถงนั่งเล่นแบบดับเบิลสเปซที่ตกแต่งอย่างเรียบง่าย สะท้อนบุคลิกของเจ้าของบ้านทั้งสองที่ชื่นชอบความสบายและเป็นกันเอง ผู้ออกแบบใช้โถงบันไดกลางบ้านเป็นจุดเชื่อมโยงทุกพื้นที่ใช้งานตามความต้องการของเจ้าของบ้าน ผนังที่ขนาบโถงนี้ทั้งสองด้านเป็นปูนเปลือย ดูเท่และทันสมัยแบบที่เจ้าของบ้านชื่นชอบผสมผสานกับการเลือกใช้ไม้และไม้วีเนียร์ เป็นการเพิ่มรายละเอียดที่ดูสะอาดตา โถงบันไดนี้ยังแบ่งบ้านเป็นสองฝั่ง ฝั่งหนึ่งเป็นพื้นที่ส่วนกลาง ประกอบด้วยส่วนรับแขก ส่วนรับประทานอาหาร […]

บ้านโมเดิร์น ทรงเหลี่ยมๆ บนหินทรงกลม ๆ

บ้านโมเดิร์น บนที่ดินที่คาดคะเนว่าอาจมีน้อยคนนักที่จะสนใจที่ดินผืนนี้…ทำไมน่ะหรือ Design Directory สถาปนิก : Kusol Im-Erbsin บ้านโมเดิร์น ก็เพราะบริเวณนี้เต็มไปด้วยหิน ไม่ใช่หินธรรมดาเสียด้วย เป็นหินก้อนกลมขนาดใหญ่มาก ดังนั้นการวางแปลนบ้านก็จะยากกว่าบ้านทั่วไปหรือแม้แต่บ้านบนเนินเขาหลายเท่านัก แต่เจ้าของบ้านหลังนี้กลับไม่คิดเช่นนั้น ที่ดินขนาดประมาณ 1 ไร่นี้ดูคับแคบกว่าความเป็นจริง เพราะเต็มไปด้วยหินธรรมชาติขนาดยักษ์ ขอบเขตของพื้นที่ต่ำกว่าระดับถนนลงไปเป็นผาหินชัน บังตัวบ้านสองชั้นจนมองเห็นแค่หลังคาบางส่วนเท่านั้น เราจึงไม่อาจคาดเดาหน้าตาของบ้านว่าจะมีลักษณะเป็นเช่นไร ที่ดินที่มีระดับแตกต่างกันมาก ประกอบกับเต็มไปด้วยหิน ทำให้การออกแบบอาคารต้องแยกพื้นที่ใช้สอยให้ห่างกัน เป็น บ้านโมเดิร์น ภายใต้หลังคาแบบเพิงหมาแหงนที่มีโครงสร้างไม่ซับซ้อน โดยทุกพื้นที่จะมีการ “เล่นเส้น” อย่างแยบยล สร้างความเชื่อมโยงและปรับความรู้สึกของแปลนรูปทรงสี่เหลี่ยม ผืนผ้าที่น่าเบื่อด้วยการออกแบบโครงสร้างที่ยกระดับพื้นให้ลดหลั่นกัน เปิดฝ้าเพดานขึ้นไปจนติดหลังคา ปล่อยเปลือยโครงสร้างบางส่วนเพื่อรับแสงด้านข้างและลวงตาให้เกิดเป็นเส้นสายในงานออกแบบ ทำให้รูปทรงดูต่างออกไป และสร้างความรู้สึกสบายยิ่งขึ้น ด้วยลักษณะของพื้นที่ การวางตำแหน่งอาคารจึงแยกเป็น 3 หลัง มีเรือนหลังใหญ่สองชั้นที่วางแปลนเป็นรูปตัวที (T) ชั้นบนเป็นส่วนนั่งเล่นแบบเปิดโล่ง เผยให้เห็นงานโครงสร้าง ผนังด้านในบางส่วนตีไม้ระแนง บางส่วนเป็นผนังก่ออิฐฉาบปูนสลับกับกระจกใส มีระเบียงโล่งแนวขวางตั้งฉากกับห้องจัดเป็นส่วนรับประทานอาหารแบบเอ๊าต์ดอร์ ส่วนชั้นล่างของเรือนใหญ่แม้จะเน้นให้มีความเรียบโล่ง แต่ก็มีผนังกั้นเพื่อความเป็นสัดส่วนมากกว่าชั้นบน หลักๆ ออกแบบเป็นผนังบานเลื่อนกระจกใสขนาดใหญ่เต็มผนัง ประกอบด้วยส่วนนั่งเล่นที่ออกแบบเป็นเตียงขนาดใหญ่ ใกล้กันเป็นห้องรับประทานอาหารกึ่งทางการ และส่วนที่อยู่ในสุดเป็นแพนทรี่แบบทันสมัย เรือนหลังที่สองเป็นเรือนชั้นเดียว […]