- Home
- โรงเรือน
โรงเรือน
ไอเดีย โรงเรือนในบ้าน ฉบับนักสะสมพรรณไม้
การทำ โรงเรือนในบ้าน ที่มีสมาชิกเป็นต้นไม้หายากกว่าพันต้น ต้องทำอย่างไรให้บ้านยังแข็งแรงและต้นไม้เติบโตดี มาถอดไอเดียจากบ้านของนักสะสมไม้ใบกัน ไอเดียการทำ โรงเรือนในบ้าน เริ่มต้นขึ้นจากไลฟ์สไตล์ของคุณโฮม นักสะสมพรรณไม้ที่อยู่กับต้นไม้มาตั้งแต่เด็ก “ตั้งแต่ไหนแต่ไร ชีวิตส่วนใหญ่ก็อยู่แต่ในสวน ก็เลยเกิดไอเดียทำบ้านกับสวนให้อยู่ร่วมกัน จะได้ทำสวนอย่างมีความสุขในบ้านของเราเอง” ภาพแรกที่พบเมื่อเข้ามาภายในรั้วบ้านของ คุณโฮม – สรรพสิริ เชาวน์วาณิชย์ คือดงไม้เขตร้อนที่แผ่ล้อมพื้นที่ในรั้วเกือบทั้งหมด มีเพียงบ้านที่โผล่มาให้เห็นนิดๆ ซึ่งเมื่อเทียบกับปริมาณพืชพรรณที่อยู่รายรอบแล้ว บ้านก็ดูเล็กจิ๋วลงไปถนัดตา ความหลงใหลในไม้แปลก (Exotic Plants) เริ่มตั้งแต่คุณโฮมจำความได้ เนื่องจากที่คุณพ่อคุณแม่เป็นนักสะสมต้นไม้ จนเรียกได้ว่าเกิดมาก็เจอต้นไม้เลย ชีวิตของคุณโฮมจึงห้อมล้อมด้วยพืชหลากชนิดอยู่เสมอ โดยช่วงเวลาส่วนใหญ่ในวัยเด็ก เมื่อ 50 ปีก่อน มักจะง่วนอยู่กับการเลี้ยงปลา ดูแลต้นไม้ และขยายพันธุ์ไม้ในบ้านอยู่เป็นประจำ เมื่อโตขึ้นมาก็ขยายขอบเขตเป็นไม้แปลกหายาก โดยศึกษาเองตามหนังสืออ้างอิง หนังสือต้นไม้ต่างถิ่น และนิตยสารต่างประเทศ จากนั้นจึงออกเดินทางตามหาพันธุ์ไม้จากรอบโลก มาขยายพันธุ์เพื่อสะสมและจำหน่ายให้กับเหล่าผู้เลี้ยงไม้แปลก ทำให้บทบาทของคุณโฮมในปัจจุบันนั้นเป็นทั้งผู้คลั่งไคล้ และผู้จำหน่าย Exotic Plants ชื่อดังแห่งสวน Live with Plants รวมถึงเป็นนายกสมาคมไม้ประดับแห่งประเทศไทย เป็นหัวเรือในการจัดกิจกรรมต่างๆ ดึงดูดให้เหล่า Plant Hunter […]
Roirai Project จะเป็นอย่างไร? เมื่อ PHTAA living design ต้องออกแบบโรงเรือนเกษตร กรรม
โรงเรือนเกษตร แห่งนี้ตั้งอยู่ในพื้นที่เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ตั้งชื่อตามขนาดของพื้นที่ที่มีอยู่ 100 ไร่ เป็นพื้นที่เกษตรกรรมสำหรับนำส่งผักส่งสู่โรงแรมที่เป็นเจ้าของเดียวกันกับพื้นที่แห่งนี้นั่นคือ Lit hotel และ Reno hotel จากเดิมที่เป็นสวนผลไม้ การพัฒนาอาคารเพื่อป้องกันสภาพอากาศและแมลงรบกวน จึงทำให้ PHTAA ได้เข้าไปร่วมออกแบบและวางผัง หรือ Masterplan ให้กับพื้นที่เกษตรกรรมแห่งนี้ โรงเรือนหลักมีลักษณะเป็นซุ้มโค้ง 2 อาคาร วางตามแนวแกนที่ไม่ขวางทางน้ำ โดยอาคารที่ 1 ไล่ความสูงตั้งแต่ 2.75 เมตร ไปจนถึง 5.00 เมตร เพื่อใช้สำหรับปลูกพันธุ์ไม้ที่มีขนาดสูงได้ในอนาคต โดยในตอนนี้ได้มีการปลูกผักสวนครัวบ้างแล้ว เช่น ใบงา โรสแมรี่ ขึ้นฉ่าย ต้นหอม ผักชี พริก โหระพา ส่วนโรงเรือนที่ 2 มีความสูง 3.00 – 7.50 เมตร เพื่อปลูกแคนตาลูป มะเขือเทศ ลูกฟิก ขึ้นฉ่าย ผักสลัดต่าง ๆ […]
รวม 10 เรื่อง ที่ต้องรู้ก่อนเลือกซื้อ พลาสติกคลุมโรงเรือน เพื่อให้ตรงกับการใช้งาน
พลาสติกคลุมโรงเรือน เป็นวัสดุหนึ่งที่ต้องพิจารณาให้ดี เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้งาน และถ้าเลือกได้อย่างเหมาะสมก็จะช่วยให้พืชที่ปลูกเจริญงอกงาม
สวนสวย โรงเรือน และสวนครัว ในพื้นที่ 30 ตารางวา
ส่วนใหญ่แล้วการที่เราจะมีทั้งสวนสวย ๆ มี โรงเรือน กระจกไว้เก็บต้นไม้สะสม และมีสวนครัวขนาดย่อม ๆ อยู่รวมในพื้นที่เดียวกันได้นั้น
สวนผักหลังบ้านและ สวนผักบนดาดฟ้า พร้อมโรงเรือนในสไตล์ชนบทยุโรป
สวนผักหลังบ้านและ สวนผักบนดาดฟ้า เพราะใส่ใจในสุขภาพอยู่เสมอ นอกจากการเป็นที่ปรึกษาการสร้างแบรนด์ด้านแฟชั่นและธุรกิจอื่น ๆ แล้ว
โรงเรือนแคคตัส งบ 5 แสน ของคุณหมอนักสะสม
คุณหมอเอ-จิราภรณ์ เฟื่องทวีโชค แพทย์หญิงในจังหวัดอุดรธานี คือนักสะสมแคคตัสและไม้อวบน้ำที่เริ่มแรกนั้นเธอแทบไม่มีความรู้เรื่องต้นไม้มาก่อนเลย เพียงแต่ต้องการทำงานอดิเรกในช่วงที่ว่างเท่านั้น โดยมีจุดเริ่มต้นจากแคคตัสหนึ่งถาดที่วางทิ้งในโรงเรือนที่แทบไม่ได้ใช้งาน จนกลายมาเป็นงานอดิเรกแสนรักที่ปลุกความสนุกในการทดลองอะไรใหม่ ๆ พร้อมกับโรงเรือนที่ตั้งใจออกแบบมา เพื่อให้คนได้ใช้เวลาอยู่ร่วมกับต้นไม้ได้อย่างสะดวกสบาย เริ่มต้นจากแค่อยากมีโรงเรือน แรกเริ่มเดิมทีคุณหมอเอเป็นเพียงคนที่ชื่นชอบ การแต่งบ้านและอยากมีบ้านในฝันสไตล์อเมริกันคันทรี ในที่สุดก็เริ่มวางผังและออกแบบบ้านหลังใหม่ขึ้นองค์ประกอบหนึ่งที่ขาดไม่ได้ คือโรงเรือนเพาะชำต้นไม้ที่เธอมองว่าในวันหนึ่งอาจใช้เป็นพื้นที่ทำกิจกรรมในวัยเกษียณ เช่น ปลูกต้นไม้ ทว่าต้นไม้ส่วนใหญ่ในประเทศไทยก็สามารถเจริญเติบโตได้โดยไม่จำเป็นต้องปลูกในโรงเรือน ในที่สุดก็ไม่ค่อยได้ใช้งานจริงสักเท่าไร วันหนึ่งน้องชายของคุณหมอเอ ซึ่งชื่นชอบการเลี้ยงสัตว์ รวมถึงการปลูกต้นไม้ ได้นำแคคตัสมาให้ 1 ถาด ตอนแรกเธอนำไปวางทิ้งไว้ในโรงเรือนโดยไม่ได้สนใจ กระทั่งเมื่อเดินมาดูอีกที แคคตัสในถาดเจริญเติบโตได้ดี จึงเปลี่ยนนำมาใส่กระถางดินเผาและค่อย ๆ ตั้งวางเรียงรายในโรงเรือน จาก 1 ถาดเป็น 2 ถาด และต่อยอดไปอีกหลาย ๆ ต้นในเวลาต่อมา ทำให้คุณหมอเอกลับมาใช้งานโรงเรือนมากขึ้น เธอทดลองปลูกเลี้ยงทั้งแคคตัสและไม้อวบน้ำ โดยหาความรู้จากหลากหลายช่องทาง จนกลายเป็นงานอดิเรกที่ทำให้เธอมีความสุขและรู้สึกผ่อนคลาย “หลังจากโรงเรือนหลังแรกเต็ม เราก็มาทำเพิ่มอีกหลังเพื่อขยายพันธุ์ใหม่มากขึ้น เราชอบแคคตัสสกุลยิมโนคาไลเซียม (Gymnocalycium) เพราะสนุกกับการผสมพันธุ์ให้เกิดสีสันและลวดลายที่มีความเฉพาะตัวในแบบของเราเอง รู้สึกเหมือนได้เป็นศิลปินที่รังสรรค์ให้เกิดสีสันที่เป็นเอกลักษณ์สวยงามบนแคคตัสของเราเอง” โครงสร้างและวัสดุทำโรงเรือน คุณหมอเอใช้งบประมาณส่วนใหญ่ในการเปลี่ยนหลังคาของโรงเรือนหลังเดิมที่มีปัญหารั่วซึม จนทำให้แคคตัสที่ตั้งในบริเวณที่้ำหยดเริ่มประสบปัญหารากเน่าและตายในที่สุด โดยเปลี่ยนมาใช้แผ่นอะคริลิกใสที่แข็งแรงและทนทานสามารถใช้งานได้เป็นระยะเวลานาน มีซาแรนสีขาวที่ช่วยกรองแสงประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ และยังใช้โครงสร้างเหล็กทาสีขาวอมเทาเช่นเดียวกับสีที่ทาในบ้าน คลุมด้วยผนังมุ้งลวดและผ้าใบพลาสติกใสโดยรอบ สามารถดึงขึ้นเพื่อเปิดโล่ง และดึงลงมาคลุมเพื่อป้องกันความชื้นหรือศัตรูพืชภายนอก พื้นปูไม้เทียมแผ่นยาวเช่นเดียวกับพื้นระเบียงบ้านเพื่อให้ความรู้สึกเชื่อมถึงตัวบ้าน โดยมีร่องสำหรับระบายน้ำรอบด้าน เมื่อรดน้ำจึงไม่เกิดน้ำท่วมขังและเป็นอันตรายกับคนที่ใช้งาน อีกทั้งยังทำให้อากาศในโรงเรือนแห้งและไม่เกิดโรคจากความชื้น ซึ่งพบได้บ่อยในแคคตัสและไม้อวบน้ำ เทคนิคการดูแลต้นไม้ “สำหรับแคคตัสสกุลยิมโนคาไลเซียมจะชื่นชอบแสงรำไรถึงแดดจัด อากาศถ่ายเท ยิ่งอากาศเปลี่ยนจากกลางวันร้อนและกลางคืนเย็นยิ่งดี สีสันที่ได้จะยิ่งสวย ยิ่งมีสีที่สวยอย่างสีชมพูอ่อนปรากฏ ต้นนั้นก็จะโตช้ากว่าต้นที่มีสีเขียวเยอะ รากจะเดินช้ามาก ดังนั้นเราจึงต้องใช้การต่อตอเพื่อให้แคคตัสสายพันธุ์ที่รากเดินเร็วกว่าช่วยหาสารอาหารให้ ซึ่งปกติก็จะใช้แคคตัสสามเหลี่ยมมาเป็นตอ แต่สำหรับเราอยากทดลองอะไรใหม่ ๆ ก็จะมีตออื่นที่มีความสวยงามมากขึ้น เช่น ตอหนามดำ ทำให้ดูน่ามองมากกว่า” เช่นเดียวกับภาชนะปลูก คุณหมอเอเลือกใช้กระถางดินเผาที่ดูสวยน่ามองกว่ากระถางพลาสติกที่คนส่วนใหญ่นิยมใช้กัน แม้กระถางดินเผาจะอมความชื้นที่ไม้อวบน้ำไม่ชอบ แต่การใช้วัสดุปลูกอย่างดินภูเขาไฟกับดินก้ามปูที่ร่อนเอาแต่เนื้อดินในอัตราส่วนเท่ากันก็ช่วยระบายอากาศได้ดี ร่วมกับการรดน้ำเพียงสัปดาห์ละครั้ง ก็ทำให้วัสดุปลูกไม่ชื้นจนเกินไป แล้วบำรุงด้วยการใส่ปุ๋ยละลายช้าสูตร 3 […]
การเลือกซาแรนที่ถูกต้อง
อยากลดความร้อนและกรองแสงให้ต้นไม้ จะเลือกซาแรนแบบไหนจึงทน แต่ละสีใช้แตกต่างกันอย่างไร มาดูวิธีการเลือกกัน สแลน ตาข่ายกรองแสง (Shading Net) หรือที่เรียกกันว่า “ซาแรน” มีลักษณะกึ่งทึบกึ่งโปร่ง มีรูระบายอากาศได้ เส้นใยผลิตจากพอลิเอทิลีนความหนาแน่นสูง (High Density Polyethylene หรือ HDPE) ใช้สำหรับกรองแสงแดด ลดความร้อนให้พื้นที่เพาะปลูก ลดความแรงของลมและฝน และมีหลายสี ซึ่งประโยชน์ทางการเกษตรที่แตกต่างกัน จึงใช้สำหรับสร้างร่มเงาให้โรงเรือนเพาะพืช สร้างร่มเงาให้บ่อปลาบ่อกุ้ง ล้อมโรงเลี้ยงไก่ คลุมพื้นที่จอดรถ สแลน ประเภท : ซาแรนมี 2 ประเภทแบ่งตามวิธีการผลิต คือ แบบทอ (คล้ายการทอผ้าที่มีเส้นยืนและเส้นนอน) และแบบถัก (คล้ายการถักโครเชต์ที่เป็นการถักให้ต่อเนื่องกัน) ซึ่งข้อมูลยังไม่ชัดเจนว่าแบบใดทนกว่า และคุณภาพแสงที่ส่องผ่านลงมาจะส่งผลต่อพืชต่างกัน เนื่องจากขึ้นอยู่กับเกรดของวัสดุที่ใช้ คุณภาพการทอ/ถัก และสูตรการผสมสารต้านรังสียูวี การเลือกใช้สีซาแรน สีดำ เป็นสีที่เหมาะกับการสร้างร่มเงาให้พืช เพราะแสงที่ส่องผ่านลงมายังคงเป็นแสงขาวตามธรรมชาติ พืชจึงใช้สังเคราะห์แสงได้ตามปกติ ซึ่งในท้องตลาดมีหลายอัตราการกรองแสงให้เลือก เช่น 50% 60% 70% 80% ยิ่งอัตราการกรองแสงมาก […]
สร้างบ้านให้น้องหนาม โรงเรือนแคคตัส และไม้อวบน้ำ 3 แบบ 3 สไตล์
โรงเรือนแคคตัส มีส่วนสำคัญเป็นอย่างมาก เพื่อควบคุมสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับต้นไม้มากที่สุด เพื่อให้ต้นไม้ที่ปลูกเจริญเติบโตสวยงามแบบที่ต้องการ
ปันผลฟาร์ม ส่วนผสมความสุขของบ้าน คาเฟ่ และฟาร์ม
บ้านฟาร์มแบบเรียบง่ายในจังหวัดเชียงใหม่ เน้นการทำเกษตรอินทรีย์ ที่เปิดเป็นพื้นที่เรียนรู้และแบ่งปันความสุข เปลี่ยนสวนลำไยเป็น ฟาร์มเกษตรอินทรีย์ เมื่อเกษตรอินทรีย์คือเส้นทางใหม่ที่ คุณบี – กรรณิการ์ ลือชา เลือกเดินเมื่อกว่า 4 ปีก่อน พร้อมกับความรู้สึกอยากทำงานที่บ้าน ได้อยู่ใกล้คุณพ่อคุณแม่และเหล่าลูกสมุน จึงเกิดเป็น “ปันผลฟาร์ม” ที่เป็นทั้งบ้าน คาเฟ่ และฟาร์มเกษตรอินทรีย์ซึ่งเป็นพื้นที่เรียนรู้และแบ่งปันความสุข อันเป็นดอกผลจากการลงมือทำอย่างจริงจังและจริงใจต่อความสัมพันธ์ วิถีชีวิต และธรรมชาติ บ้านฟาร์มเกษตรอินทรีย์ เดิมพื้นที่ตรงนี้เป็นสวนลำไยอยู่ในอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งคุณบีซื้อไว้เมื่อกว่า10 ปีก่อนและเป็นที่ดินที่ติดกับสวนลำไยของคุณแม่ ท่านจึงช่วยดูแลในขณะที่คุณบีไปอยู่ที่อังกฤษ หลังจากกลับมาคุณบีได้เปิดร้านค็อกเทลอยู่ในตัวเมืองเชียงใหม่ชื่อ Mixology แต่เมื่อชีวิตเดินทางมาถึงจุดหนึ่งที่รู้สึกอยากทำงานที่สามารถอยู่บ้านได้ กลับมาใกล้ชิดคุณพ่อคุณแม่แบบขี่มอเตอร์ไซค์ไปหากันได้ง่ายๆและได้อยู่กับสุนัข จึงตัดสินใจมาพัฒนาที่ดินผืนนี้ให้เป็นดังที่ใจคิด โดยเคลียร์พื้นที่ แล้ววางผังและจัดแลนด์สเคปใหม่เองและเก็บต้นไม้ใหญ่ไว้ ซึ่งเป็นต้นที่วางแผนปลูกตั้งแต่ตอนซื้อที่ดินแล้ว ฟาร์มที่อบอุ่นเหมือนมาบ้านเพื่อน บนพื้นที่ทั้งหมดกว่า 3 ไร่ ได้แบ่งพื้นที่ฝั่งหนึ่งเป็นโรงปุ๋ย และปลูกไม้ยืนต้นที่ไม่ต้องดูแลมาก ส่วนพื้นที่ใช้งานจริงๆมีขนาดประมาณ 2 ไร่ มีแนวคิดในการออกแบบที่ไม่เน้นการทำอาคารใหญ่ที่รวมทุกอย่างไว้ด้วยกัน แต่ทำเป็นอาคารหลังเล็กๆแยกกัน เพราะอยากให้มีความอบอุ่นแบบบ้าน และดูเป็นส่วนหนึ่งของสวน วางผังให้คาเฟ่อยู่ด้านหน้าเป็นเสมือนห้องรับแขกมีหน้าบาร์ไว้รับลูกค้าแบบง่ายๆ ห้องครัวก็แยกมาเป็นครัวจริงจัง และเปิดโล่งให้ลูกค้าเห็นการทำงานภายในครัว มีร้านอาหารและบ้านพักอยู่ด้านหลัง ซึ่งที่เห็นทั้งหมดนี้คุณบีทำเองแทบทุกอย่าง […]
วิธีเลือกมุ้งและพลาสติกคลุมโรงเรือน
ใครกำลังจะทำโรงเรือน ต้องมารู้จักวิธีเลือก มุ้งโรงเรือน และ พลาสติกโรงเรือน เพื่อช่วยปกป้องพืชพรรณให้ปลอดแมลงรบกวน และเติบโตได้ดี พลาสติกโรงเรือน ใช้สำหรับทำหลังคาโรงเรือน หรือใช้คลุมทั้งโรงเรือนเพื่อสร้างเป็นระบบปิด หรือโรงอบที่ใช้ตากพืชผล เป็นพลาสติกที่เป่าเป็นแผ่นฟิล์ม ผลิตจากพอลิเอทิลีนความหนาแน่นสูง (High Density Polyethylene หรือ HDPE) และใส่สารต้านรังสียูวี เพื่อให้ใช้งานได้ยาวนานขึ้น โดย พลาสติกโรงเรือน ถือเป็นวัสดุคลุมโรงเรือนที่มีราคาประหยัดที่สุด หากมีงบประมาณเพียงพอ และต้องการความสวยงาม สามารถใช้วัสดุถาวรได้ เช่น กระจก พอลิคาร์บอเนต กระเบื้องหลังคาโปร่งแสง ประเภทพลาสติกโรงเรือน : พลาสติกโรงเรือนในท้องตลาดส่วนใหญ่ผลิตจากวัสดุประเภทเดียวกัน แต่จะมีการเพิ่มสารเติมแต่งที่แตกต่างกัน เพื่อทำให้มีคุณสมบัติพิเศษที่ต่างกันตามการใช้งาน เช่น ชนิดใส (Green House -UV Clear Film) เป็นพลาสติกเนื้อใสที่ให้แสงผ่านลงมาได้โดยตรง คุณภาพของพลาสติกจะมีผลต่อค่าอัตราแสงผ่าน (Light Transmission in PAR) โดยสังเกตข้อมูลหรือขอดูเอกสารคุณสมบัติต่างๆ จากผู้จำหน่าย ซึ่งควรมีค่าอัตราแสงผ่านระบุอยู่ในเอกสาร ชนิดกระจายแสง (Green House – […]
10 เรื่องต้องรู้ ก่อนทำโรงเรือนข้างบ้าน
อยากมี โรงเรือนข้างบ้าน สักหลัง จะเริ่มออกแบบอย่างไร? เลือกใช้วัสดุแบบไหนดี? มีข้อควรรู้อะไรบ้าง? เชื่อว่าหลายคนที่ชื่นชอบการจัดสวน คงเคยนึกอยากทำโรงเรือนสวยๆ ไว้ในสวนข้างบ้านของตัวเองสักหลัง ไว้เป็นเรือนเพาะชำไม้ประดับยามว่าง ปลูกผักกินเองในบ้าน หรือเป็นมุมพักผ่อนส่วนตัว แต่อาจยังลังเลว่าหากตัดสินใจทำแล้ว ควรเริ่มออกแบบอย่างไร บ้านและสวน จึงขอนำเอา 10 เรื่องต้องรู้ก่อนทำ โรงเรือนข้างบ้าน มาฝากกัน 1 | “โรงเรือน” คืออะไร โรงเรือน เป็นอาคารที่มุงด้วยวัสดุโปร่งแสง พื้นที่ภายในใช้สำหรับปลูกพืช เพื่อปกป้องและควบคุมสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับพืชที่ปลูกได้ โดยในยุคแรกๆ จะใช้กระจกเป็นวัสดุกรุผิว เมื่อมองจากด้านนอกจะเห็นพืชสีเขียวอยู่ภายใน จึงทำให้มีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษว่า Greenhouse หรือ Glasshouse นั่นเอง ปัจจุบัน โรงเรือนถูกพัฒนาไปจนมีลักษณะรวมถึงการใช้วัสดุหลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับการใช้งาน ทั้งเพื่อผลิตในเชิงการค้า การเพาะปลูกภายในครัวเรือน หรือการใช้เป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจในสวนข้างบ้าน 2 | โรงเรือนดีอย่างไร ทำไมต้องมี ควบคุมสภาพแวดล้อมได้ การเพาะปลูกพืชภายใต้สภาพแวดล้อมที่ควบคุมได้ ถือเป็นจุดประสงค์หลักของโรงเรือน ทั้งความเข้มและระยะเวลาของแสงแดด อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ รวมทั้งหลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติที่มีความแปรปรวน ทำให้สามารถปลูกพืชนอกฤดูได้ตลอดทั้งปี เหมาะสำหรับทำงานเพาะปลูก ภายในโรงเรือนสามารถจัดสรรพื้นที่ได้อย่างเป็นสัดส่วน […]
โรงเรือนพักผ่อนกลิ่นอายชนบทอังกฤษ
โรงเรือนกลิ่นอายชนบทอังกฤษซึ่งเป็นจุดเด่นในสวนที่อยู่ค่อนมาด้านหลังบ้าน โดยใช้งานเป็นมุมพักผ่อนที่ดูเหมือนเป็นซีเคร็ตการ์เด้นเล็กๆหลบซ่อนอยู่ บริเวณรอบๆ โรงเรือนออกแบบให้เป็นมุมสวนเล็กๆที่สร้างบรรยากาศเป็นกันเอง ผสมผสานสวนแบบฟอร์มัลเข้ากับสวนธรรมชาติเข้าด้วยกันอย่างลงตัว โรงเรือนกลิ่นอายชนบทอังกฤษ สวนสวยแห่งนี้อยู่ในพื้นที่กว้างขวางภายในบริเวณบ้านของ คุณธนภูมิและคุณวารีทอง เชื้อวณิชย์ ผู้บริหารโรงน้ำแข็งวารีเทพอันขึ้นชื่อในจังหวัดอุบลราชธานี ภายในพื้นที่สวนร่วม 4 ไร่ แบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นมุมสวนเล็ก ๆ แบบอิงลิชคอตเทจมุมนี้ที่ออกแบบให้มีทั้งสวนครัวและโรงเรือนหลังย่อม ใช้งานเป็นทั้งมุมนั่งเล่นและเก็บต้นไม้ได้ด้วยในตัว โรงเรือนกลิ่นอายชนบทอังกฤษ คุณมอร์ – อัศนัย แก่นจันทร์ แห่งร่มรื่นแลนด์สเคป ผู้ออกแบบสวนสไตล์อังกฤษบรรยากาศทันสมัยตั้งแต่บริเวณหน้าบ้านไล่เข้ามายังด้านหลังที่จัดเป็นมุุมสวนเล็ก ๆ แต่เต็มไปด้วยบรรยากาศแสนอบอุ่นมุุมนี้ อธิบายถึงพื้นที่ในส่วนนี้ที่ดูเหมือนเป็นซีเคร็ตการ์เด้นเล็กๆหลบซ่อนอยู่ “ตั้งใจยกพื้นที่โรงเรือนสููงขึ้นมาให้โรงเรือนเป็นจุดเด่นในสวนไม่จมหายไปกับองค์ประกอบอื่นๆ ภายในโซนนี้อยู่บริเวณค่อนมาด้านหลังบ้าน ซึ่งโรงเรือนตั้งอยู่ตรงกลางระหว่างพื้นที่ 2 ส่วน คือ ส่วนบริการ มีอาคารเก็บสินค้าของธุุรกิจครอบครัว แยกไปอีกฝั่งนำเข้าไปสู่สวนป่าแสนร่มรื่นหลังบ้าน ส่วนนี้ออกแบบโดย ‘อยู่กับดินทร์’ ใช้งานเป็นมุุมพักผ่อน ซึ่งมีบรรยากาศที่แตกต่างกับสวนส่วนอื่นๆ แต่เราจัดสเปซให้รู้สึกต่อเนื่องกัน โดยใช้เทคนิคการวางผังพื้นที่และใช้องค์ประกอบในสวน เช่น ซุ้มประตูู และลานต่างๆ มาเป็นตัวแบ่งพื้นที่” บริเวณรอบ ๆ โรงเรือนออกแบบให้เป็นมุมสวนเล็ก ๆ ที่สร้างบรรยากาศแตกต่างจากพื้นที่สวนส่วนอื่นของบ้าน ในมุมนี้จะมีความรู้สึกเป็นกันเอง ดูสบาย ๆ ด้วยองค์ประกอบของวัสดุและโทนสีธรรมชาติ ผสมผสานสวนแบบฟอร์มัลเข้ากับสวนธรรมชาติเข้าด้วยกันอย่างลงตัว เริ่มตั้งแต่ทางเดินอิฐมอญนำไปสู่โรงเรือนกระจกโครงเหล็กทาสีเขียวสดใส ยกสูงจากระดับพื้นสวนปกติ 45 […]