© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
สำหรับใครที่เริ่มต้นสะสมไม้ใบคงกำลังมองหาแบบหรือวิธีการทำโรงเรือนสะสมต้นไม้ในราคาประหยัด ในโซน Green Village งานบ้านและสวนแฟร์ 2021 วันที่ 17 – 26 ธันวาคม 2564 ที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา เรามีแบบตัวอย่างงบที่จำกัดไม่ถึง 1 แสนบาทมาให้ชม เช่นเดียวกับโรงเรือนแห่งนี้ที่เจ้าของโรงเรือนได้ลงมือทำเองในทุกๆ ขั้นตอน โรงเรือนข้างบ้าน คุณโม วนาลีและคุณฮิม หิมาลัย ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา สองสามีภรรยาเจ้าของ โรงเรือนข้างบ้าน ขนาดเล็กหลังนี้เล่าให้เราฟังว่าตั้งใจจะสร้างโรงเรือนข้างบ้านไว้ตั้งแต่แรกซื้อบ้าน ด้วยไลฟ์สไตล์ส่วนตัวที่ชอบปลูกต้นไม้เป็นทุนเดิมแต่จริงจังมากขึ้นในช่วง Lock Down จนขยายเป็นธุระกิจเล็กๆ จำหน่าย “แจกันมงคลชำต้นไม้ในน้ำ” ซึ่งต้องมีพื้นที่จัดเก็บสินค้า และที่สำคัญคือน้องฮิลและน้องเลห์ ลูกๆ ตัวป่วนของทั้งคู่ที่ชอบเล่นกับต้นไม้ที่ปลูกในบ้านที่อาจจะเรียกได้ว่าเป็นศัตรูพืชตัวแสบ ทั้งคู่จึงเริ่มสร้างพื้นที่ให้ต้นไม้ได้อยู่เป็นหลักแหล่ง เป็นโรงเรือนกลาสเฮ้าส์ขนาดเล็กข้างบ้านจัดสรร โดยใช้พื้นที่ส่วนนี้เป็นห้องทำงานได้ด้วยและวางแผนขยายเป็นคาเฟ่ขนาดเล็กในชื่อ LSD CAFÉ โจทย์ในการสร้าง โรงเรือนข้างบ้าน มีงบประมาณเป็นข้อจำกัด คุณโมและคุณฮิมเลือกช่างผู้รับเหมาอยู่หลายเจ้าเพื่อให้ราคาที่ไม่เกินกำหนดไว้แต่ก็ไม่สำเร็จ นั่นจึงเป็นเหตุผลให้คุณฮิมต้องลงมือสร้างโรงเรือนแห่งนี้ด้วยตัวเองโดยมีช่างที่รู้จักเป็นคู่หู ทุกขั้นตอนตั้งแต่ออกแบบโรงเรือน เลือกซื้อขนย้ายวัสดุ ปรับหน้าดิน ทำโครงสร้างเหล็ก ติดตั้งแผ่นกระจก ปูพื้น […]
จากจุดเริ่มต้นที่หันมาสนใจปลูกต้นไม้เมื่อประมาณ 4 ปีก่อนเพราะเริ่มทำร้าน The Creeper House ใน อ.นิคมพัฒนา จ.ระยอง คาเฟ่บรรยากาศดีท่ามกลางสวนผลไม้ของ คุณแบงค์-ประดิทรรศณ์ เนียมผาสุข กับเพื่อนสนิทอีก 2 คน คุณสิต-พัชรากร จุลม่อม และ คุณเอ-ณัฏถพงศ์ เจริญศักดิ์ ทำให้คุณแบงค์เริ่มลงมือปลูกต้นไม้และจัดสวนด้วยตัวเอง เพราะในระยะแรกที่ทำร้านต้องการประหยัดงบให้มากที่สุด จากสวนผลไม้ดั้งเดิมจึงค่อย ๆกลายมุมที่นั่งเก๋ๆ แทรกตัวอยู่ในสวน ส่วนที่อยู่ใกล้ร้านเน้นกลิ่นอายแบบอิงลิชคอทเทจ ขณะที่บางส่วนก็ยังคงบรรยากาศร่มรื่นของสวนผลไม้เดิมได้อย่างลงตัว เจ้าของ-จัดสวน : คุณประดิทรรศณ์ เนียมผาสุข ที่อยู่ 34/8 ม.8 ถนนสาย 11 ซอย1 ตำบล มาบข่า อ.พัฒนานิคม จ.ระยอง โทรศัพท์ 096 945 4941 เนื่องจากคาเฟ่แห่งนี้ตั้งอยู่ในสวนผลไม้ จึงมีไม้ยืนต้นมากมายทั้งไม้ผลและต้นไม้ทั่ว ๆ ไป โดยสร้างอาคารให้แทรกไปกับต้นไม้เหล่านี้อย่างกลมกลืนและค่อย ๆ จัดสวนไปทีละมุม เพื่อจะได้ไม่ต้องใช้งบประมาณจัดสวนในครั้งเดียว จากส่วนจอดรถเมื่อเดินเข้ามาด้านในจะสัมผัสได้กับบรรยากาศร่มรื่นของสวนผลไม้เพราะจงใจทำทางเดินให้คล้ายกับอุโมงค์ต้นไม้ก่อนจะมาถึงส่วนคาเฟ่ที่เปิดเป็นลานโล่งก่อนเข้าสู่อาคาร “คาเฟ่ของเราเริ่มจากร้านเล็ก […]
บ้านและสวนดูจะเป็นอะไรที่อยู่คู่กันอย่างขาดไม่ได้ เพราะลึกๆแล้วมนุษย์ยังต้องการอยู่กับธรรมชาติ ต้นไม้เขียวๆและอากาศบริสุทธิ์ เช่นเดียวกับ 4 บ้านสวยที่บ้านและสวนนำมาให้ชมในครั้งนี้ ที่ขอเลือกทำ “โรงเรือน” สำหรับฟูมฟักต้นไม้แสนรัก เพื่อคอยสร้างความสุขสดชื่นและบรรยากาศที่มีชีวิตชีวาให้บ้าน ตามไปดูไอเดียดีๆกันได้เลย โรงเรือนต้นไม้ GREEN HOUSE บ้านในสวน สวนในบ้าน เจ้าของ – ออกแบบ: คุณอนุภาพ พงษ์นะเมตตา โรงเรือนต้นไม้ บ้านสวยที่ออกแบบให้มีสวนล้อมรอบ โดยจัดวางตำแหน่งตามธรรมชาติของทิศทางแสงแดด ออกแบบให้หน้าบ้านเป็นพื้นที่สวนทะเลทรายและเรือนกระจกสำหรับแคคตัส เพราะรับแดดได้ดี ส่วนหลังบ้านที่มีร่มเงาตัวบ้านมากจึงปลูกไม้เขตร้อนชื้นแนวสวนป่า กลายเป็นบ้านที่มีบรรยากาศร่มรื่นและน่าอยู่เป็นที่สุด >> อ่านต่อ บ้านหลังเล็กที่แต่งแต้มสีสันไว้ภายใน พร้อมปลูกต้นไม้อยู่ในทุกมุมของบ้าน เจ้าของ: ครอบครัวสุนทรโรจน์ โรงเรือนต้นไม้ บ้านหลังเล็กสองชั้นบนพื้นที่ 55 ตารางวาที่ดูสดชื่นด้วยต้นไม้เขียวชอุ่มที่โอบล้อมไว้ โดยนอกจากตัวบ้านหลักแล้ว ยังมีการต่อเติมมุมพิเศษบริเวณหลังบ้านให้คล้ายเรือนกระจกที่ใช้หลังคาใสเปิดรับแสงจากด้านบน ผนังก่ออิฐโชว์แนวให้ความรู้สึกดิบๆตัดกับโครงเหล็กสีแดงกรุกระจกใส โต๊ะตัวใหญ่กลางห้องเรียงรายไปด้วยต้นแคคตัสน้อยใหญ่หลากหลายสายพันธุ์ เพื่อเป็นการฝึกให้ลูกมีหน้าที่รับผิดชอบ และได้เรียนรู้ขั้นตอนต่างๆในการปลูกแคคตัส >> อ่านต่อ Happiness is all around – […]
บ้านหลังนี้เป็น บ้านที่มีโรงเรือนแคคตัส และออกแบบให้มีสวนล้อมรอบ โดยมีหน้าบ้านเป็นพื้นที่สวนทะเลทรายกับโรงเรือนแคคตัส เพราะรับแดดได้ดี ส่วนหลังบ้านที่มีร่มเงาจึงปลูกไม้เขตร้อนชื้นแนวสวนป่า รงเรือนแคคตั เชื่อว่าความฝันของคนเมืองหลายคนนั้นอยากสร้างพื้นที่สีเขียวไว้ในบ้านตัวเอง เช่นเดียวกับ บ้านที่มีโรงเรือนแคคตัส ของ คุณอนุภาพ พงษ์นะเมตตา ที่หนีจากห้องบนตึกสูงมาอยู่กับบ้านบนพื้นดิน เพราะอยากทำสวนปลูกต้นไม้ในวันว่างนอกเวลางาน จนเป็นที่มาของบ้าน “GREEN HOUSE” ที่เขียวชอุ่มไปด้วยพรรณไม้กับโรงเรือนแคคตัส “บ้านหลังนี้ผมตั้งใจปลูกต้นไม้และแต่งสวนอย่างจริงๆจังๆ หลังจากต้องทนปลูกต้นไม้ริมระเบียงแคบๆในห้องคอนโดอยู่พักใหญ่ พอย้ายมาปลูกบ้านหลังใหม่ที่พอมีบริเวณบ้าง จึงตั้งใจออกแบบให้มีสวนเต็มพื้นที่ และปรับเปลี่ยนแปลนบ้านให้สัมผัสสวนได้ทั้งภายในและภายนอก” บ้านหลังนี้มีพื้นที่ 145 ตารางวา จึงออกแบบให้มีสวนล้อมรอบ โดยจัดวางตำแหน่งตามธรรมชาติของทิศทางแสงแดด ออกแบบให้หน้าบ้านเป็นพื้นที่สวนทะเลทรายและเรือนกระจกสำหรับแคคตัส เพราะรับแดดได้ดี ส่วนหลังบ้านที่มีร่มเงาตัวบ้านมากจึงปลูกไม้เขตร้อนชื้นแนวสวนป่า ส่วนโครงสร้างบ้านเดิมที่กั้นห้องไว้เป็นห้องเล็กห้องน้อยทำให้รู้สึกอึดอัด จึงรื้อผนังห้องและกำแพงบางส่วนออก แล้วติดกระจกบานใหญ่เติมผนังรอบบ้านเพื่อเปิดมุมมองสวนเข้าสู่ตัวบ้าน รวมไปถึงห้องครัวและห้องน้ำก็ยังจัดสวนเล็กๆแทรกไว้ด้วย เรียกได้ว่ามีพื้นที่สีเขียวไปเสียทุกจุด ทำให้แม้อยู่ในบ้านก็รู้สึกถึงความร่มรื่นตลอดเวลา ไม่เพียงแต่การเปิดมุมมองสวนเท่านั้น บ้านหลังนี้ยังเปิดมุมมองในแนวตั้ง โดยเจาะฝ้าเพดานเหนือมุมรับแขกกลางบ้านให้ทะลุเชื่อมกับช่องรับแสงธรรมชาติจากผนังกระจกด้านบน ทำให้ภายในบ้านสว่าง โปร่งโล่ง มองเห็นท้องฟ้า ส่วนห้องนอนเปิดมุมมองด้วยบานกระจกขนาดใหญ่ ทำให้มองเห็นสวนจากมุมบน แล้วแยกส่วนอาบน้ำไปบนระเบียงเอ๊าต์ดอร์ เรียกได้ว่าให้ความรู้สึกกลมกลืนกับธรรมชาติไปเสียทุกจุด “เพื่อนชอบแซวว่าบ้านผมจะกลายเป็นสวนพฤกษชาติไปแล้ว เพราะเก็บสะสมพรรณไม้แปลกๆไว้เยอะมาก ทั้งไม้เขตร้อน เขตร้อนชื้น กล้วยไม้พันธุ์ต่างๆ แต่นี่ถือว่าน้อยแล้ว เพราะไม่ได้สะสมแบบนักวิชาการ […]
ท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 หลายโรงแรมได้รับผลกระทบอย่างหนัก สวนพฤกษศาสตร์ทวีชลและโรงแรม Horizon Village Resort เชียงใหม่ก็เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบเช่นกัน แต่นั้นก็นำไปสู่การค้นพบอีกหนึ่งธุรกิจใหม่ที่กำลังช่วยธุรกิจโรงแรมและสถานที่ท่องเที่ยวของที่นี่นั้นคือ การเพาะขายต้นไม้ในสวน เรามีโอกาสได้พูดคุยกับคุณออมสิน-นันทนิตย์ เสสะเวช รองกรรมการผู้จัดการ โรงแรม Horizon Village Resort เชียงใหม่ โรงแรมในเครือและอยู่ในพื้นที่ของสวนพฤกษศาสตร์ทวีชลได้เริ่มเล่าถึงที่มาของสวนแห่งนี้คร่าวๆว่า “คุณพ่อ(คุณทวีศักดิ์ เสสะเวช) ตอนที่ท่านดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ท่านได้ใช้พื้นที่บริเวณนี้เพื่อทดลองปลูกและเลี้ยงสัตว์เพราะจะได้เข้าใจปัญหาของเกษตรกรจริงๆ ขณะเดียวกันท่านก็เริ่มสะสมพรรณไม้ทั้งในประเทศและต่างประเทศระหว่างที่มีโอกาสได้ไปทำงานยังประเทศต่างๆมาเรื่อยและหลังเกษียรจึงเปิดเป็นสวนพฤกษาศาสตร์ในที่สุด แล้วก็ขยายเป็นธุรกิจโรงแรมต่อมาถึงแม้จะเป็นสวนพฤกษศาสตร์เอกชนที่เก็บค่าเข้าชม แต่ก็ต้องยอมรับว่ารายได้จริงๆมาจากตัวโรงแรมเป็นหลัก แต่ช่วงวิกฤตโควิด-19ที่ผ่านมาไม่มีธุรกิจตัวไหนสามารถช่วยอุ้มกันได้เลย เราเลยเกิดอีกธุรกิจหนึ่งคือธุรกิจเพาะพันธุ์และจำหน่ายขายต้นไม้ในที่สุด” ด้วยตลอดระยะเวลายาวนานกว่า 20 ปีที่คุณทวีศักดิ์ เสสะเวชเริ่มต้นสะสมพรรณไม้และขยายพันธุ์ต่อมาเรื่อยๆทำให้ที่นี่เต็มไปด้วยพรรณไม้หลายพันชนิด ไม่ว่าจะเป็น ต้นไม้ตระกูลปาล์ม ต้นไม้ตระกูลปรง ต้นไม้ทนแล้งเช่น กระบองเพชรและไม้อวบน้ำต่างๆ ต้นไม้ไม้ดอก เช่น กุหลาบ กล้วยไม้ ชวนชม เฟื่องฟ้า โป๊ยเซียน หน้าวัว เฮลิโคเนีย ดาหลา ขิงแดง ต้นไม้ตระกูลสับปะรดสี และต้นไม้ใบชนิดต่างๆ เช่น อโกลนีมา ฟิโลเดนดรอน โกสน เฟินชนิดต่างๆ ที่ตกแต่งอยู่ตามจุดต่างๆ บางชนิดก็เป็นต้นไม้ที่ปัจจุบันหาได้ยากในท้องตลาด […]
เมื่อในบ้านที่เคยปลูกต้นไม้ตกแต่งตามแบบที่ชอบไม่ใช่พื้นที่ที่ปลอดภัย เพราะลูกๆ ตัวแสบที่อยู่ในวัยกำลังซนทั้ง 2 คนกลายเป็นศัตรูพืชชั้นดี ทั้งจับฉีกไม้ใบเพราะความอยากรู้ และจัดแจงเล่นกับต้นไม้เสมือนเพื่อนคนนึง แผนการอพยพไม้ใบกระถางมาอยู่ในโรงเรือนนอกบ้านจึงเริ่มขึ้นในงบที่จำกัดไม่ถึง 1 แสนบาท และเจ้าของโรงเรือนแห่งนี้ได้ลงมือทำเองในทุกๆ ขั้นตอน โรงเรือนข้างบ้าน คุณโม วนาลีและคุณฮิม หิมาลัย ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา สองสามีภรรยาเจ้าของ โรงเรือนข้างบ้าน ขนาดเล็กหลังนี้เล่าให้เราฟังว่าตั้งใจจะสร้างโรงเรือนข้างบ้านไว้ตั้งแต่แรกซื้อบ้าน ด้วยไลฟ์สไตล์ส่วนตัวที่ชอบปลูกต้นไม้เป็นทุนเดิมแต่จริงจังมากขึ้นในช่วง Lock Down จนขยายเป็นธุระกิจเล็กๆ จำหน่าย “แจกันมงคลชำต้นไม้ในน้ำ” ซึ่งต้องมีพื้นที่จัดเก็บสินค้า และที่สำคัญคือน้องฮิลและน้องเลห์ ลูกๆ ตัวป่วนของทั้งคู่ที่ชอบเล่นกับต้นไม้ที่ปลูกในบ้านที่อาจจะเรียกได้ว่าเป็นศัตรูพืชตัวแสบ ทั้งคู่จึงเริ่มสร้างพื้นที่ให้ต้นไม้ได้อยู่เป็นหลักแหล่ง เป็นโรงเรือนกลาสเฮ้าส์ขนาดเล็กข้างบ้านจัดสรร โดยใช้พื้นที่ส่วนนี้เป็นห้องทำงานได้ด้วยและวางแผนขยายเป็นคาเฟ่ขนาดเล็กในชื่อ LSD CAFÉ โจทย์ในการสร้าง โรงเรือนข้างบ้าน มีงบประมาณเป็นข้อจำกัด คุณโมและคุณฮิมเลือกช่างผู้รับเหมาอยู่หลายเจ้าเพื่อให้ราคาที่ไม่เกินกำหนดไว้แต่ก็ไม่สำเร็จ นั่นจึงเป็นเหตุผลให้คุณฮิมต้องลงมือสร้างโรงเรือนแห่งนี้ด้วยตัวเองโดยมีช่างที่รู้จักเป็นคู่หู ทุกขั้นตอนตั้งแต่ออกแบบโรงเรือน เลือกซื้อขนย้ายวัสดุ ปรับหน้าดิน ทำโครงสร้างเหล็ก ติดตั้งแผ่นกระจก ปูพื้น ก่ออิฐ ฯลฯ ล้วนแต่ผ่านมือของคุณฮิมมาทั้งสิ้น ทำให้โรงเรือนในงบ 80,000 บาทออกมาสำเร็จผล ใช้งานได้จริง […]
ตัวร้านออกแบบเป็นเรือนกระจก ใช้เศษไม้เก่า เศษกระจก บานหน้าต่างเก่าที่เหลือจากงานก่อสร้างมาประกอบเป็น โรงเรือนแคคตัส หลังย่อม ผนัง ช่องเปิดต่าง ๆ
ในเช้าวันที่ท้องฟ้าแจ่มใสอากาศสบายๆ เพราะยังมีความเย็นหลงเหลืออยู่จากพายุฝนที่เพิ่งผ่านไป บ้านหลังเล็ก สองชั้นบนพื้นที่ 55 ตารางวาดูสดชื่นด้วยต้นไม้เขียว...
หากใครเป็นคนรักเฟิน ก็คงจะอยากมีสวน หรือ โรงเรือนเฟิน สวย ๆจัดไว้ที่บ้าน ดังเช่นสวนในบ้านหลังนี้ จากหนังสือ Garden and Farm Vol.10 โรงเรือนข้างบ้าน
หากมีพื้นที่จำกัดไม่สามารถทำโรงเรือนหลังใหญ่ได้ ลองเปลี่ยนมาทำโรงเรือนย่อส่วนขนาดกะทัดรัด
เรามีตัวอย่าง โรงเรือนปลูกผักขนาดเล็ก ที่ใช้พื้นที่ไม่มาก ลักษณะเหมือนการปลูกผักกางมุ้งแต่ดีไซน์สวยงาม ที่ช่วยป้องกันสัตว์ต่าง ๆทั้งศัตรูพืชและสัตว์เลี้ยงได้ด้วย
ต้นไม้ชนิดใดที่ควรปลูกใน โรงเรือน โดยทั่วไปแล้วการทำโรงเรือนมักจะใช้ปลูกต้นไม้ที่ต้องการสภาพแวดล้อมแบบพิเศษเฉพาะตัว ต้นไม้มีราคา และต้นไม้...