ไขข้อสงสัยซื้อกล้วยด่างแท้-กล้วยด่างเทียม ดูอย่างไร ไม่ให้โดนหลอก

ในระยะเวลากว่า 3 เดือนที่ผ่านมา วงการไม้ด่างเริ่มเติบโตและแตกแขนงกลุ่มสมาชิกออกไปเรื่อยๆ จากเดิมที่นิยมกันแค่กลุ่มไม้ด่างในวงศ์ Araceae ก็เริ่มขยายสู่กลุ่มไม้ด่างชนิดอื่นๆ ซึ่งป้ายต่อไปคือ “กล้วยด่าง” ที่แต่เดิมนิยมกันเพียงกลุ่มสมาชิกเล็กๆไม่กี่คน ปัจจุบันกลายเป็นกลุ่มใหญ่ที่เริ่มได้รับความนิยมในวงกว้าง และกำลังเป็นขุมรายได้ที่ทำเงินมหาศาล สวนกระแสกับธุรกิจชนิดอื่นๆที่กำลังซบเซาอยู่ในตอนนี้ ทำให้เริ่มมีพ่อค้าแม่ค้าที่ขาดจรรยาบรรณหรือความรู้แฝงตัวเพื่อจำหน่ายกล้วยด่างเทียมอยู่ด้วยเช่นกัน ดังนั้นเราควรมาศึกษาวิธีการแยก “กล้วยด่างแท้” และ “กล้วยด่างเทียม” จากประสบการณ์ของผู้ที่อยู่ในวงการและเริ่มสะสม กล้วยด่าง มาเป็นระยะเวลายาวนานโดยคุณโอ๊ต-อัศวเดช ตั้งโยธาพิพัฒน์กุล นิยามของ “กล้วยด่างแท้” กล้วยด่างที่มีราคาและทำการซื้อขายกันในหมู่นักสะสม คือกล้วยด่างที่เกิดจากความผิดปกติในระดับพันธุกรรมที่เกิดการกลายเฉพาะจุด สามารถสังเกตเห็นได้จากภายนอกทางส่วนใบ ลำต้น ไปจนถึงผล  ซึ่งเกิดความสม่ำเสมอไม่เท่ากัน กลายเป็นสีสันและลวดลายที่ผิดแปลกไปจากกล้วยปกติ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสีเขียวทั้งต้น โดยความผิดปกตินี้จะเกิดกับต้นกล้วยต้นนั้นไปตลอด แม้ว่าต้นนั้นจะอยู่ในสภาวะสมบูรณ์หรือไม่ก็ตาม ลักษณะผิดปกติดังกล่าวก็จะเกิดขึ้นและไม่กลับไปมีใบเขียวเหมือนต้นกล้วยปกติได้อย่างแน่นอน ต่างจากกล้วยด่างเทียมซึ่งเกิดกับต้นที่มีพันธุกรรมของกล้วยแบบปกติ แต่แสดงความผิดปกติออกมาคล้ายต้นกล้วยด่างจนหลายคนแยกไม่ออก ซึ่งหากต้นกล้วยต้นนั้นได้รับการดูแลเป็นอย่างดีและอยู่ในสภาพสมบูรณ์ก็จะกลับไปมีใบสีเขียวตามเดิมในธรรมชาติ กลโกง กล้วยด่างเทียม กล้วยด่างเทียมเกิดได้จากหลายปัจจัย ส่วนมากเกิดจากการขาดสารอาหาร ทำให้ใบและลำต้นมีอาการใบเหลืองและสีซีดอ่อน ไม่สม่ำเสมอกัน คล้ายกับลักษณะใบด่างโดยความผิดปกติทางพันธุกรรม แม้จะรดน้ำและกลับมาดูแลให้สารอาหารที่เหมาะสม บางต้นก็ต้องใช้เวลานานเป็นเดือนกว่าจะมาแสดงให้เห็นว่าเป็นสีเขียวตามเดิม รองลงมาคือโรคระบาดอันมาจากของเชื้อไวรัส เช่น Mosaic Virus จะมีอาการด่างเหลือง บางเป็นดวงทั่วทั้งใบ ไม่ให้ผลผลิต และมักแพร่ไปติดยังต้นอื่นๆในสวน […]

มอนสเตอร่า ที่สุดแห่งไม้ใบที่ปลูกง่ายและเลี้ยงได้ในบ้าน

มอนสเตอร่า ต้นไม้ใบที่ไม่เคยได้พักและกระแสไม่เคยตกไปจากแนวหน้าของต้นไม้มาแรงตลอดระยะเวลา 3-4 ปีให้หลังมานี้

ไทรสามเหลี่ยมด่าง

สาลิกาด่าง/ไทรด่างรูปหัวใจ/เศรษฐีโพธิ์เงิน/Mistletoe Fig/Mistletoe Rubber Plant ชื่อวิทยาศาสตร์: Ficus deltoidea (Variegated) วงศ์:  Moraceae ประเภท: ไม้ต้นกึ่งผลัดใบ ความสูง: สูงไม่เกิน 7 เมตร ลำต้น: เปลือกต้นสีเทา ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาว ใบ: ใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับ รูปไข่กลับหรือรูปช้อน กว้าง 6-7 เซนติเมตร ยาว 7-9 เซนติเมตร ปลายใบมน โคนใบสอบ แผ่นใบแข็งหนาคล้ายแผ่นหนัง ด้านบนใบเห็นเส้นใบนูนขึ้น ใบสีเขียว ขอบใบด่างขาว ดอก: ออกเป็นช่อกระจุกที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง รูปไข่กลับ สีขาวนวล ผล: ทรงกลม ผลอ่อนสีเขียวอมเหลือง เมื่อแก่เป็นสีแดง อัตราการเจริญเติบโต: ช้า ดิน: ดินทุกประเภท น้ำ: ปานกลาง ทนแล้ง แสงแดด: เต็มวัน ขยายพันธุ์: ปักชำกิ่งหรือตอนกิ่ง การใช้งานและอื่นๆ :  ปลูกประดับสวน […]

มันเทศประดับ

    Sweet Potato ชื่อวิทยาศาสตร์: Ipomoea barbatus (L.) Poir. & hybrid วงศ์: Convolvulaceae ประเภท: ไม้เลื้อย ลำต้น: ทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ลำต้นอวบน้ำ มีรากสะสมอาหารขนาดใหญ่อยู่ใต้ดิน ใบ: ใบเดี่ยวออกเรียงสลับ รูปหัวใจ ขนาด 5 – 7เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบรูปหัวใจ แผ่นใบอาจหยักเว้าเป็น 3-5 พู ก้านใบยาว ดอก: ดอกเดี่ยวออกตามซอก ดอกรูปแตร สีชมพูอ่อน เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6 เซนติเมตร  ผลเป็นฝัก แต่มีพิษ อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินร่วนและดินร่วนปนทราย แสงแดด: แสงแดดตลอดวัน น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: ปักชำกิ่ง การใช้งานและอื่นๆ: นิยมปลูกเป็นไม้กระถางแขวน หรือปลูกคลุมดิน ปลูกเลี้ยงง่าย […]

หนวดปลาหมึกใบกลม (ด่าง)

ต้นหนวดปลาหมึกใบกลม หนวดปลาหมึกแคระ/Miniature Umbrella Plant ชื่อวิทยาศาสตร์: Schefflera arboricola (Variegated) วงศ์: Araliaceae ประเภท: ไม้พุ่มขนาดกลาง   ลำต้น: สีน้ำตาลอ่อน พุ่มสูง 1-2 เมตร ใบ: ใบประกอบแบบนิ้วมือ มี 5-7 ใบย่อย รูปไข่ แผ่นใบหนาเหมือนแผ่นหนัง สีเขียวเป็นมันมีด่างสีขาวอมเหลือง ก้านใบยาว ดอก: ออกเป็นช่อกระจะที่ซอกใบใกล้ปลายยอด อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง ดิน: ปลูกได้ในดินทั่วไป ระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดปานกลาง-รำไร ทนร่มได้ดี น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: ปักชำกิ่งหรือตอนกิ่ง การใช้งานและอื่นๆ: นิยมปลูกในพื้นที่ที่มีแสงปานกลาง เพราะเลี้ยงง่าย ตัดแต่งได้และมีทรงพุ่มสวยงาม ปลูกริมถนนหรือริมทางเดิน และใช้เป็นไม้ประดับในอาคารได้ดี

มะลุลีใบด่าง

ชื่อวิทยาศาสตร์: Jasminum  multiflorum  ‘Variegated’ วงศ์: Oleaceae ประเภท: : ไม้พุ่ม อายุหลายปี ลำต้น: ทรงพุ่มกะทัดรัด ทุกส่วนมีขนนุ่มปกคลุม ใบ: ใบรูปขอบขนานแกมรูปใบหอกถึงรูปไข่ โคนใบสอบถึงมน ปลายใบแหลม แผ่นใบมีขนทั้งสองด้าน ขอบใบมีลักษณะด่างสีขาวอมเขียวไม่สม่ำเสมอ ดอก: ช่อดอกแบบช่อกระจุก ออกที่ปลายกิ่งข้าง ดอกบานมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3-3.5 เซนติเมตร หลอดกลีบดอกยาว ปลายแยกเป็น 7-8 กลีบ ดอกดกตลอดปี อัตราการเจริญเติบโต: ช้าถึงปานกลาง ดิน: ชอบดินร่วนระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดตลอดวันถึงครึ่งวัน น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: ปักชำกิ่ง การใช้งานและอื่นๆ: เหมาะปลูกเป็นไม้กระถาง หากปลูกกลางแจ้งจะเติบโตได้ดีและสวยงามมากในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว หากเป็นช่วงฤดูร้อนหรือฤดูแล้งที่มีแสงแดดแรงจัดและอากาศแห้งจะทำให้ขอบใบที่มีลายด่างเหี่ยวแห้ง มีสีน้ำตาล ลดความสวยงามลงได้ เทคนิคที่ช่วยให้มะลุลีใบด่างสวยงามตลอดปี คือ ควรปรับสภาพอากาศในแต่ละฤดูให้กลมกลืนกัน หากใบมีสีเขียวมากขึ้นควรลดการให้น้ำและปุ๋ยลง หากขอบใบด่างเหี่ยวแห้ง แสดงว่าได้รับแสงแดดมากเกินไปหรือความชื้นในอากาศมีน้อย ควรพรางแสงเพื่อลดอุณหภูมิลงหรือฉีดพ่นน้ำเพื่อเพิ่มความชื้นในอากาศ แล้วใบจะสวยงามมากขึ้น

มะลุลีใบด่าง

ชื่อวิทยาศาสตร์: Jasminum  multiflorum  ‘Variegated’ วงศ์: Oleaceae ประเภท: : ไม้พุ่ม อายุหลายปี ลำต้น: ทรงพุ่มกะทัดรัด ทุกส่วนมีขนนุ่มปกคลุม ใบ: ใบรูปขอบขนานแกมรูปใบหอกถึงรูปไข่ โคนใบสอบถึงมน ปลายใบแหลม แผ่นใบมีขนทั้งสองด้าน ขอบใบมีลักษณะด่างสีขาวอมเขียวไม่สม่ำเสมอ ดอก: ช่อดอกแบบช่อกระจุก ออกที่ปลายกิ่งข้าง ดอกบานมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3-3.5 เซนติเมตร หลอดกลีบดอกยาว ปลายแยกเป็น 7-8 กลีบ ดอกดกตลอดปี อัตราการเจริญเติบโต: ช้าถึงปานกลาง ดิน: ชอบดินร่วนระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดตลอดวันถึงครึ่งวัน น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: ปักชำกิ่ง การใช้งานและอื่นๆ: เหมาะปลูกเป็นไม้กระถาง หากปลูกกลางแจ้งจะเติบโตได้ดีและสวยงามมากในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว หากเป็นช่วงฤดูร้อนหรือฤดูแล้งที่มีแสงแดดแรงจัดและอากาศแห้งจะทำให้ขอบใบที่มีลายด่างเหี่ยวแห้ง มีสีน้ำตาล ลดความสวยงามลงได้ เทคนิคที่ช่วยให้มะลุลีใบด่างสวยงามตลอดปี คือ ควรปรับสภาพอากาศในแต่ละฤดูให้กลมกลืนกัน หากใบมีสีเขียวมากขึ้นควรลดการให้น้ำและปุ๋ยลง หากขอบใบด่างเหี่ยวแห้ง แสดงว่าได้รับแสงแดดมากเกินไปหรือความชื้นในอากาศมีน้อย ควรพรางแสงเพื่อลดอุณหภูมิลงหรือฉีดพ่นน้ำเพื่อเพิ่มความชื้นในอากาศ แล้วใบจะสวยงามมากขึ้น

สร้อยสุมาลีด่าง

กุมาริกา/เครือเขามวกขาว/ช่อมาลี ชื่อวิทยาศาสตร์: Parameria laevigata (Juss.) Moldenke วงศ์: Apocynaceae ประเภท: ไม้เลื้อยเนื้อแข็งขนาดกลาง ลำต้น: กิ่งก้านเลื้อยได้ไกล 3 เมตร ลำต้นกลม ใบ: เดี่ยว ออกตรงข้าม รูปไข่หรือรูปรี ขนาด 3-4 x 5-7 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนสอบ ขอบใบบิดเป็นคลื่น แผ่นใบสีเขียวประขาว ดอก: ออกเป็นช่อแขนงที่ปลายกิ่งและตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกย่อย 30-50 ดอก ดอกเป็นหลอด กลีบดอกสีขาว โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น ปลายแยกออกเป็น 5 กลีบ เรียงเวียนซ้อนเหลื่อมกัน เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 4-5 มิลลิเมตร กลิ่นหอมแรง ออกดอกเดือนตุลาคมถึงธันวาคม ผล: ฝักแคบยาวเป็นคู่เว้าหรือคอดกลาง อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง ดิน: ดินร่วนระบายน้ำดี มีอินทรียวัตถุสูง แสงแดด: แสงแดดจัด น้ำ: […]

แกสเทอเรียพิลแลนซิอายด่าง

ชื่อวิทยาศาสตร์: Gasteria pillansii Kensit (variegated) วงศ์: Asphodelaceae ประเภท: ไม้พุ่ม อายุหลายปี ใบ: ใบรูปแถบแกมรูปใบหอก กว้าง 1.5 – 5 เซนติเมตร ยาว 12 – 15 เซนติเมตร ปลายใบเป็นติ่งหนาม โคนใบกว้างแตกตรงข้าม ออกจากต้นเรียงซ้อนแน่น แผ่นใบตั้งขึ้น สีเขียวเข้มเจือสลับริ้วสีเหลือง ดอก: ดอกออกเป็นช่อกระจะ ขนาด 2.5 – 5 เซนติเมตร ยาว 0.30 – 1.20 เมตร สีชมพู ดิน: ดินระบายน้ำดี หรือใช้วัสดุปลูกแบบเดียวกับแคตตัส น้ำ: ปานกลาง ทนแล้ง แสงแดด: รำไร ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด ปักชำกิ่งหรือใบ แยกหน่อ การใช้งานและอื่นๆ: การแยกหน่อควรเลือกหน่อที่มีใบแล้ว 4 – […]

ขุนโจรกลับใจ

ว่านเพชรนารายณ์ Dwarf Dracaena, Lance Dracaena ชื่อวิทยาศาสตร์: Aubryana Brongn. ex E.Morren วงศ์: Asparagaceae ประเภท: ไม้พุ่ม อายุหลายปี ความสูง: 50 – 70 เซนติเมตร ลำต้น: มีเหง้าสั้น ๆ ใบ: เดี่ยว เรียงสลับระนาบเดียว รูปใบหอกยาว 30 – 35 เซนติเมตร ปลายใบแหลมถึงเรียวแหลม โคนใบมน แผ่นใบหนา มีร่องตามแนวยาว ก้านใบเป็นกาบ ดอก: ช่อดอกออกจากซอกใบ ยาว 15 – 20 เซนติเมตร ดอกจำนวนมาก สีขาว กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดเล็ก ๆ บานตอนกลางคืนถึงเช้า มีกลิ่นหอม ดิน: ดินร่วน น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: รำไรถึงครึ่งวัน […]

พุดด่าง

พุดฝรั่งด่าง/พุดใบเงิน/พุดตูม/มะลิฝรั่ง/Clavel de la India/Cape Jasmine/East Indian Rosebay ชื่อวิทยาศาสตร์: Taberneamontana divaricata (L.) R.Br. ex Roem. & Schult. cv. Grandifolia วงศ์: APOCYNACEAE ประเภท: ไม้พุ่มขนาดกลาง ความสูง: 1-2 ม. ทรงพุ่ม: โปร่ง ลำต้น: ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาว ใบ: ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปใบหอก ปลายใบแหลม โคนใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเป็นมัน ดอก: สีขาว ออกเป็นช่อกระจุกออกตามซอกใบที่ปลายกิ่ง โคนกลีบดอกเป็นหลอดยาว 2-2.5 ซม.ปลายแยกเป็น 5 กลีบ และบิดตามกันคล้ายกังหัน เมื่อบานมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5-3 ซม. เกสรเพศผู้ 5 อัน มีกลิ่นหอม ออกดอกเกือบตลอดปี ผล: […]