ใบประกอบแบบขนนก
เฟินสไบนาง
ชื่อวิทยาศาสตร์: Nephrolepid sp. วงศ์: Lomariopsidaceae ประเภท: เฟินดิน ลำต้น: ลำต้นเป็นเหง้าสั้น ตั้งตรงหรือเอน มีเกล็ดหรือขนสีน้ำตาลปกคลุม รากเป็นเส้นยาว ทอดเลื้อยไปตามผิวดิน ใบ: ใบประกอบแบบขนนกยาวได้ถึง 3 เมตร ใบย่อยรูปแถบ มีจำนวนมากถึง 100 คู่ ปลายใบเรียวมนถึงแหลม โคนป้าน ขอบจักฟันเลื่อยตื้น ก้านเรียวเล็ก ดูอ่อนช้อยมากกว่าเฟินใบมะขามชนิดเดิมที่จำหน่ายกันในตลาด กลุ่มอับสปอร์: รูปกลม อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลางถึงเร็ว ดิน: ชอบวัสดุปลูกระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดเต็มวันถึงรำไร น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: แบ่งกอ เพาะสปอร์ การใช้งานและอื่นๆ: นิยมปลูกเป็นไม้กระถางแขวนให้ใบห้อยตกลงมาจากกระถาง เลี้ยงง่าย ถ้าปลูกเลี้ยงในสภาพแสงแดดจัด ใบจะสั้นลงและมีสีอมเหลือง
ว่านนิรพัตร
คว่ำตายหงายเป็น/ฆ้องสามย่านตัวผู้/เบญจพัตร/เพลาะแพละ/ส้มเช้า ชื่อวิทยาศาสตร์: Bryophyllum pinnatum (Lam.) Oken วงศ์: Crassulaceae ประเภท: ไม้เนื้ออ่อน อายุหลายปี ลำต้น: ต้นสูงได้ถึง 1 เมตร ทุกส่วนอวบน้ำ เมื่อต้นแก่ ลำต้นจะแข็ง ใบ: ใบออกตรงข้าม ใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยรูปไข่ ปลายใบมน แตกต้นอ่อนตามขอบใบ ก้านใบยาว 2.5-3 เซนติเมตร ดอก: ช่อดอกออกที่ปลายยอดเป็นช่อกระจะแยกแขนง ชูสูงกว่า 30 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงและกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดห้อยลง ยาว 2-3 เซนติเมตร ปลายแยกเป็น 5 กลีบ สีแดงเรื่อ อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง ดิน: ชอบดินร่วนระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดตลอดวัน น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: ปักชำต้น ปักชำใบ การใช้งานและอื่นๆ: นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ และใช้เป็นสมุนไพร โดยนำใบมาเผาไฟเล็กน้อย หรือตำให้ละเอียดจนมีน้ำเมือกลื่นๆ ใช้ทาบาดแผลไฟไหม้ […]
หางนาคบก
กูดน้ำข้าว/ตีนตุ๊กแก/Tralling Maidenhair/Walking Maidenhair Fern ชื่อวิทยาศาสตร์: Adiantum caudatum L. วงศ์: Adiantaceae ประเภท: ไม้ใบ/เฟินดิน ลำต้น: เป็นเฟินขนาดเล็ก มีเหง้าสั้นๆ ใบ: ยาวและอ่อนโค้ง ก้านใบสีน้ำตาลเข้มถึงม่วงดำ มีเกล็ดตล้ายขนปกคลุม แกนกลางใบสีน้ำตาลแดง ใบรูปแถบยาว ปลายแหลม ปลายใบยืดยาวออกไป ไม่มีใบ แต่จะเกิดเป็นต้นใหม่เล็กๆ ขึ้นมา ใบประกอบแบบขนนก ขนาด 2-4×20-60 เซนติเมตร ใบย่อยรูปคล้ายสามเหลี่ยม ปลายแหลม ส่วนปลายใบเป็นรูปพัด ขอบด้านบนหยักมน สีเขียวเข้ม ผิวใบมีขนบางๆ อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง วัสดุปลูก: โปร่ง เก็บความชื้น ระบายน้ำและอากาศได้ดี อาจเป็นดินร่วนผสมทรายหยาบและอินทรียวัตถุหรือใบไม้ผุ หรือผสมวัสดุอื่นที่หาได้ เช่น อิฐมอญทุบถ่ายทุบ เศษโฟมหัก น้ำ: น้อย-ปานกลาง แสงแดด: ควรพรางแสงให้เหลือประมาณ 40-50 เปอร์เซนต์ ไม่ควรถูกแสงแดดโดยตรง ขยายพันธุ์: […]
มะขามเทศด่าง
ชื่อวิทยาศาสตร์: Pithecellobium dulce (Roxb.) Benth. ‘Variegata’ วงศ์: Mimosaceae ประเภท: ไม้ต้น ความสูง: 2-3 เมตร ลำต้น: เรือนยอดทรงกลม พุ่มกว้าง 1-3 เมตร ใบ: ใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 2 คู่ รูปไข่ถึงรูปรี สีเขียวเข้ม ด่างสีขาวมีสีชมพูปนในใบอ่อน ดอก: ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง อัตราการเจริญเติบโต: ช้า ดิน: ดินร่วน น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: รำไรถึงจัด ขยายพันธุ์: ปักชำกิ่งหรือตอนกิ่ง การใช้งานและอื่นๆ: ระยะปลูก 30-60 เซนติเมตร หรือ 12 ต้น/ตารางเมตร ไม่ควรตัดแต่งต่ำกว่า 0.50 เมตร นิยมทำรั้วเพราะใบดกแน่นและมีหนามแหลม ตัดแต่งเป็นพุ่มเตี้ยหรือเป็นรูปทรงต่างๆ ตามต้องการได้ เมื่อตัดแต่งแล้วจะแตกใบใหม่ มีสีขาวปนชมพูสวยงาม
ไมยราบเครือ
ไมยราบเลื้อย/Giant Sensitive Plant ชื่อวิทยาศาสตร์: Mimosa invisa Mart. ex Colla วงศ์: Mimosaceae ประเภท: ไม้ล้มลุก อายุปีเดียว/วัชพืช ความสูง: ได้ถึง 2 เมตร ลำต้น: แตกกิ่งก้านไม่เป็นระเบียบ ทอดนอน ส่วนยอดชูตั้งขึ้น ลำต้นเป็นเหลี่ยมและมีหนามทั่วไป ใบ: ใบประกอบแบบขนนก ใบย่อย 6-9 คู่ แต่ละใบมีใบย่อยขนาดเล็ก จำนวนมาก เรียงชิดกัน สีเขียวสด ดอก: เป็นช่อกลม ออกตามข้อใบ สีชมพูม่วง ผล: เป็นฝักแบน โค้ง ยาว 3-5 เซนติเมตร ปลายเป็นติ่งหนาม อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินทั่วไป น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: ตลอดวัน ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด […]
ไมยราบ
ก้านของ/กะเสดโคก/ระงับพิษ/หงับพระพาย/หญ้างับ/หญ้าจิยอบ/Sensitive Plant/Shame Weed ชื่อวิทยาศาสตร์: Mimosa pudica L. วงศ์: Mimosaceae ประเภท: ไม้ล้มลุก อายุหลายปี/วัชพืช ลำต้น: เมื่อแก่มีเนื้อไม้ มักแผ่กิ่งก้านไปตามพื้น ลำต้นและก้านใบสีแดง มีหนามสั้นๆ ทั่วไป และมีหนามใหญ่ตามข้อ ใบ: ใบประกอบ มีใบย่อย 2 คู่ เป็นใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยขนาดเล็ก 12-25 คู่ ดอก: ช่อดอกกลมฟู สีชมพูอมม่วง ผล: เป็นฝักแบน โค้งเล็กน้อย ปลายมีหนามแหลม เมล็ดกลมแบน อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินทั่วไป น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: ตลอดวัน ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด การใช้งานและอื่นๆ: พบตามสนามหญ้าและที่รกร้างทั่วไป เป็นสมุนไพร ต้น ต้มน้ำดื่มแก้ไข้ นอนไม่หลับ บำรุงน้ำนม ขับน้ำนม […]