ว่านเพชรใหญ่

ว่านเพชรน้อยตัวเมีย/ว่านเพชรไพรวัลย์/ว่านเหล็กไหล ชื่อวิทยาศาสตร์: Stahlianthus padicellustus Chaveer. & Mokkamul วงศ์: Zingiberaceae ประเภท: ไม้ล้มลุก อายุหลายปี ลำต้น: เหนือดิน สูงประมาณ 30 เซนติเมตร มีเหง้าทอดเลื้อยใต้ดิน รูปไข่แคบยาว มักไม่แตกแขนง เนื้อในหัวสีเหลืองอมน้ำตาล ใบ: เดี่ยวเรียงสลับระนาบเดียว รูปใบหอก โคนใบสอบปลายใบแหลม ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ดอก: ช่อดอกออกก่อนผลิใบ ดอกสีขาวกลีบปากแต้มสีเหลือง ดิน: ดินร่วน น้ำ: ปานกลาง เมื่อถึงฤดูหนาวจะพักตัว ควรงดให้น้ำเพื่อป้องกันไม่ให้เหง้าเน่าเสียหาย แสงแดด: ครึ่งวัน ขยายพันธุ์: แยกเหง้าหรือปักชำ การใช้งานและอื่นๆ : เป็นว่านคงกระพันชาตรีที่นิยมใช้กันมาแต่โบราณ เชื่อว่าหากนำมาเสกแล้วกินจะช่วยให้ทนต่ออาวุธและของมีคม ♦ ว่านเพชรไพรวัลย์ ใบเป็นคลื่นมีริ้วด่างสีขาวตามขอบใบ ♦ ว่านเหล็กไหล เนื้อในหัวสีขาว ใบสีเขียวเข้มเป็นมันกว่าแผ่นใบเป็นคลื่นถี่กว่า ทั้งสองชื่อเป็นว่านทางคงกระพันชาตรีและเสน่ห์เมตตามหานิยม

พญายอ

ผักมันไก่ ผักลิ้นเขียด พญาปล้องทอง เสลดพังพอนตัวเมีย ชื่อวิทยาศาสตร์: Clinacanthus nutans (Burm.f.) Lindau วงศ์: Acanthaceae ประเภท: ไม้รอเลื้อย อายุหลายปี ใบ: เดี่ยว รูปใบหอก ออกตรงข้าม ปลายใบเรียวแหลมโคนใบสอบ ดอก: ช่อดอกเป็นช่อกระจุกออกที่ปลายยอดในช่วงปลายฤดูหนาวเข้าฤดูร้อน กลีบดอกเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก สีส้มอมแดง ผล: รูปไข่ เมื่อแก่แตกออกมี 4 เมล็ด ดิน: ดินร่วนปนทราย น้ำ: ปานกลาง แสงแดด: ครึ่งวัน ขยายพันธุ์: ปักชำ การใช้งานและอื่นๆ: นิยมปลูกเป็นไม้ประดับริมรั้วหรือปลูกเป็นกอรอบโคนไม้ต้นก็สวยงาม แต่ต้องหมั่นตัดแต่งกิ่งอยู่เสมอจะไม่รกเกะกะ ♦ ยอดอ่อนนำมาต้มจิ้มน้ำพริก กินกับอาหารรสจัดต่าง ๆ หรือใส่ในแกงแค ♦ ยอดอ่อนรสมัน แก้เส้นเอ็นพิการ ขัดยอก ♦ ใบสดนำมาขยี้ทาแผลแมลงสัตว์กัดต่อย ♦ ใบสดคั้นเอาแต่น้ำใช้ทาแก้เริม งูสวัด […]

ผักไผ่

จันทน์โฉม/พริกม้า/หอมจันทน์ ชื่อวิทยาศาสตร์: Polygonum odoratum Lour. วงศ์: Polygonaceae ประเภท: ไม้ล้มลุก อายุหลายปี ความสูง: 15 – 20 เซนติเมตร ลำต้น: เจริญเป็นพุ่ม ลำต้นสีแดงเรื่อทอดเลื้อย รากแตกตามข้อ ทุกส่วนของต้นเมื่อขยี้มีกลิ่นหอม ใบ: เดี่ยวรูปใบหอก ออกเรียงสลับ ปลายใบเรียวแหลม โคนก้านแผ่โอบหุ้มลำต้นออกเวียนสลับ ดอก: ช่อดอกเป็นช่อเชิงลดออกที่ปลายยอดชูตั้งขึ้น กลีบดอก 5 กลีบสีชมพู กึ่งกลางมีเกสรสีขาว ทยอยบานจากโคนช่อไปยังปลายช่อ ผล: ขนาดเล็ก ดิน: ดินเหนียว น้ำ: มาก แสงแดด: เต็มวัน ขยายพันธุ์: ปักชำ การใช้งานและอื่นๆ:ปลูกเป็นไม้น้ำประดับสวนหรือในกระถาง เมื่อต้นทอดเลื้อยควรตัดแต่งออกบ้างแล้วนำกิ่งที่ตัดมาปักชำต่อ ♦ ยอดอ่อนกินเป็นผักสดกับแหนมเนือง ซอยใส่ข้าวยำ ลาบ ก้อยหรือปรุงใส่ต้มยำ จะช่วยให้อาหารมีรสชาติกลมกล่อมขึ้น ♦ ยอดและใบอ่อนรสร้อน ช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร ให้วิตามินเอและฟอสฟอรัสสูง