8 คาเฟ่ รีโนเวต ทำไม่มากแต่สุดเท่!

8 คาเฟ่ ที่โดดเด่นในการรีโนเวตแบบทำน้อยแต่ได้เยอะ จากการเลือกคงสภาพอาคาร รวมทั้งการตกแต่งแบบพอดีๆ ไม่มากแต่เท่ บอกเลย ใครอยากทำคาเฟ่ต้องดู ได้ไอเดียแน่นอน! รายชื่อร้าน THE SHOPHOUSE 1527 เรียนรู้ประวัติศาสตร์ของการอยู่อาศัยผ่านร่องรอยในความดิบ SARNIES BANGKOK  คงสภาพตึกอู่ซ่อมเรือและโรงกลึงเก่าให้กลายเป็นจุดพบปะใหม่ที่เจริญกรุง GU SLOW BAR COFFEE  สโลว์บาร์คาเฟ่สำหรับคนชอบจิบกาแฟในวิถีเนิบช้า TREAT CAFÉ & HANGOUT  แฮ้งเอ๊าต์คาเฟ่ย่านประชาชื่น จุดนัดพบสายชิลในบรรยากาศสุดอาร์ต GATEWAY COFFEE ROASTERS  คาเฟ่สไตล์ดิบเท่ บนตึกเก่าอายุกว่า 60 ปีที่ถนนท่าแพ NO.8  คาเฟ่ในบรรยากาศโรงเตี๊ยมที่บ้านหมายเลข 8 CHATA SPECIALTY COFFEE  คาเฟ่เรือนกระจก ที่ซ่อนตัวอยู่หลังโรงแรมย่านเยาวราช HOLM HUMBLE CAFE  คาเฟ่ดิบละมุนที่กลมกล่อม ถ่อมตัว

CAFÉ NAKHONNAYOK คาเฟ่เรียบง่ายที่ดูเก๋ด้วยวัสดุในท้องถิ่น

คาเฟ่นครนายก กำเนิดขึ้นจากไอเดีย “อยากกลับบ้านไปเปิดคาเฟ่” ที่เน้นร้านไซซ์เล็ก ดีไซน์เรียบง่าย แต่ดูเก๋ด้วยวัสดุในท้องถิ่น DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: OPH Architects ตัวคาเฟ่ทำจาก สังกะสี กระจก และกรอบไม้ นั่นคือภาพที่โดดเด่นของ คาเฟ่นครนายก ริมทางหลวงที่ใครผ่านไปผ่านมาต้องต่างสะดุดตา กับการออกแบบที่มีการนำโครงสร้างเหล็กเดิมมาใช้ ก่อนที่จะเพิ่มเติมวัสดุให้ดูกลมกลืนกับพื้นที่อย่าง ไม้ และสังกะสีลงไปเพื่อให้เข้ากับร้านอาหารและสวนเดิมของเจ้าของ การออกแบบนั้นได้ออกแบบให้ตัวคาเฟ่นั้นเหมือนเป็นกล่อง 2 กล่อง ที่สอดเข้าไปภายในโครงสร้างเก่า พื้นที่ด้านนอกทั้งหมดถูกห่อหุ้มด้วยแผ่นสังกะสี และปล่อยให้เป็นบานกระจกใสในส่วนที่ต้องการเปิดรับทัศนียภาพรอบ ๆ โดยเฉพาะความสดชื่นของเหล่าต้นไม้ที่อยู่รอบพื้นที่นั้น เจ้าของมีความตั้งใจให้เติบโตขึ้นอย่างช้า ๆ ตามธรรมชาติ และกลายเป็นสวนของคาเฟ่ไปในที่สุด สิ่งที่เด่นชัดที่สุดของคาเฟ่แห่งนี้ ก็คือการออกแบบให้เกิดความแตกต่างแต่ลงตัวระหว่างรูปแบบ Modernism ของอาคารกับการเลือกใช้วัสดุในท้องที่เข้ามาผสมกัน จนเกิดเป็นอาคารที่มีความน่าสนใจภายใต้ความเรียบง่ายขึ้นเช่นนี้ ออกแบบ : OPH Architects  ภาพ : Napat Pattrayanond เรื่อง : Wuthikorn Sut  

บ้านพื้นถิ่นอีสานร่วมสมัย ในจังหวัดขอนแก่น

บ้านพื้นถิ่นอีสานร่วมสมัย น่าสนใจในการเลือกใช้วัสดุและการตีความวิถีคนในถิ่นอีสานปรับพื้นที่ใต้ถุนแปรเปลี่ยนเป็นการจัดวางพื้นที่ต่อเนื่องกัน

บ้านไม้ สไตล์ปักษ์ใต้ร่วมสมัย แห่งพัทลุง

บ้านไม้ สไตล์ปักษ์ใต้ที่เกิดขึ้นจากภาพความทรงจำในวัยเด็กของเจ้าของที่มีต่อบ้านหลังเดิมของคุณตาคุณยาย ผ่านการออกแบบให้เหมาะกับการอยู่อาศัยในยุคปัจจุบัน จนเกิดเป็นเรือนปักษ์ใต้ร่วมสมัยที่เชื่อมโยงคนสามรุ่นไว้ด้วยกัน DESIGNER DIRECTORY : ออกแบบ : ตื่น ดีไซน์ สตูดิโอ และ อรวี เมธาวี / ก่อสร้าง : บุญฤทธิ์ สมุหเสนีโต / เจ้าของ : ครอบครัวรอดสุด บ้านไม้ หลังนี้เริ่มต้นมาจากการที่คุณพ่อปรีชา และคุณแม่สมทรง รอดสุด คุณพ่อคุณแม่ของคุณวิวัฒน์ รอดสุด ผู้ทำหน้าที่จัดการการสร้างบ้านหลังนี้  คิดที่จะสร้างบ้านเพื่อเป็นที่ระลึกเเด่คุณตาคุณยายจากไม้เก่าที่เหลือจากการรื้อบ้านเดิม เชื่อมโยงเเละส่งต่อความผูกพันจากบรรพบุรุษสู่ลูกหลาน จนเป็นที่มาของการตั้งชื่อบ้านว่า  “เรือนพินรัตน์” ซึ่งเป็นชื่อของคุณตาวิรัตน์ และคุณยายพิน ศิริธร นั่นเอง ฉะนั้นเรือนหลังนี้จึงเป็นเสมือนบ้านส่วนกลางของครอบครัวสำหรับเหล่าลูกหลานเมื่อได้มาที่พัทลุงก็มักจะมาพักอาศัยที่เรือนหลังนี้ได้ โดยมีพื้นที่ส่วนกลางขนาดใหญ่ใช้สำหรับรับประทานอาหาร หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ของครอบครัว โดยเจ้าของวางแผนไว้ว่าในอนาคตอันใกล้อาจจะปรับเปลี่ยนที่นี่ทำเป็นโฮมสเตย์ต่อไป แต่ในปัจจุบัน “เรือนพินรัตน์” ยังคงทำหน้าที่เป็นเรือนรับรองของครอบครัวรอดสุด ที่ทุกคนต่างมีความสุขทุกครั้งที่ได้มาเยือนเเละพักผ่อนร่วมกัน    แกะรอยความทรงจำ ก่อนหน้าที่จะเริ่มขั้นตอนออกแบบ คุณวิวัฒน์ได้มีการเก็บข้อมูลภาพรูปแบบบ้านพื้นถิ่นของพัทลุงไว้ ซึ่งมีทั้งแบบเก่าและแบบร่วมสมัย เพื่อนำมาใช้เป็นโจทย์ตั้งต้น […]

รวมวัสดุฟีลไม้ สำหรับคนที่กลัวปลวกขึ้นบ้าน

ไม้ เป็นวัสดุตกแต่งบ้านที่หลายคนชื่นชอบ แต่อาจเจอกับปัญหาปลวก วัสดุทดแทนไม้ จึงเป็นอีกตัวเลือกที่สวยเหมือนจริง แต่ปลวกไม่กินแน่นอน ปัจจุบันวัสดุที่ใช้ในงานก่อสร้างและตกแต่งมีให้เลือกมากมาย แต่ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคงหนีไม่พ้น “ไม้” นั่นเอง ทั้งนี้เป็นเพราะความอบอุ่นจากสีของเนื้อไม้ ลวดลายที่สวยงาม และสัมผัสที่รู้สึกดี แต่ต้องยอมรับว่ามีสิ่งหนึ่งที่หลาย ๆ คนยังกังวลเกี่ยวกับไม้ก็คือปัญหาเรื่องปลวก วันนี้บ้านและสวนจึงอยากนำเสนอทั้งไม้ที่ผ่านกรรมวิธี กันปลวก วัสดุทดแทนไม้ และวัสดุเลียนแบบลายไม้ รับรองว่าสวยงาม ใช้งานได้อย่างดี เเละไม่มีปลวกมากล้ำกรายแน่นอน Engineered Wood – วัสดุกลุ่มไม้เอนจิเนียร์ 1. ไม้เรดิไพน์ ไม้สนพันธุ์เรดิเอต้าจากป่าปลูกในประเทศนิวซีแลนด์ เป็นไม้จริงที่ได้นำมาผ่านกระบวนการอบแห้ง และอัดน้ำยารักษาเนื้อไม้ตามหลักวิศวกรรม จึงมีความแข็งแรง ทนทาน เเละปลวกไม่กิน แถมยังมีการเซาะร่องไม้อย่างสวยงาม เหมาะกับการใช้งานภายนอกอาคาร 2. Tekwood ไม้จริงที่ผ่านกระบวนการ Heated Treatment Technology โดยการเปลี่ยนโครงสร้างภายในของเนื้อไม้ให้มีความแข็งแกร่งขึ้น ลดการผุพังตามธรรมชาติ และลดข้อจำกัดต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของไม้ เช่น การยืดหดตัว เเละการบิดโก่ง ที่สำคัญยังปราศจากสารเคมีจึงปลอดภัยต่อมนุษย์และสัตว์เลี้ยง 3. ไม้ OSB ยางพารา […]

ความลงตัวของบ้านพื้นถิ่นกับสไตล์อินดัสเทรียล กลางธรรมชาติในบาหลี

นอกจากตั้งใจจะสร้าง บ้านพักในบาหลี เพื่อพักผ่อนในช่วงวันหยุดแล้ว เฟอร์นิเจอร์และงานศิลปะที่สะสมไว้หลายชิ้นจากแอฟริกา ยุโรป และเอเชียยังกลายเป็นโจทย์

ทุบบ้านเก่าอายุเกือบ 40 ปี สร้างใหม่เป็น “บ้านสไตล์โมเดิร์นทรอปิคัล” บนพื้นที่เดิม

ตัวบ้านออกแบบใน บ้านสไตล์โมเดิร์นทรอปิคัล โดยเปิดให้เห็นมุมมองที่ดีคือ ด้านหน้าบ้านซึ่งเป็นทิศเหนือและด้านหลังบ้าน ส่วนด้านข้างบ้านทำผนังทึบเป็นส่วนใหญ่

Wood Introduction 01 : รู้จัก “ไม้แปรรูป” แต่ละชนิดก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ

รู้จักประเภทของ “ไม้” แต่ละชนิด ก่อนตัดสินใจเลือกซื้อมาใช้ในงานสถาปัตยกรรมได้อย่างเหมาะสม ได้เนื้อไม้ที่ถูกใจ รวมไปถึงวัสดุทดแทนไม้หลากหลายประเภทที่ได้รับการผลิตขึ้นมา เพื่อตอบโจทย์และแก้ปัญหาข้อจำกัดต่าง ๆ ของไม้จริง

VANACHAI OFFICE BUILDING สะท้อนตัวตนองค์กรผ่านวัสดุที่รู้จักเป็นอย่างดี

ออกแบบออฟฟิศ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ชัดเจนและแข็งแรงให้แก่องค์กร อีกหนึ่งวิธีการที่บริษัทพัฒนาวัสดุไม้เพื่อการตกแต่งและก่อสร้างอย่างบริษัท วนชัยกรุ๊ป

ไม้ เหล็ก ผ้า 3 วัสดุบ้านสุดฮิตและวิธีดูแล

รวบรวมไอเดีย วัสดุบ้าน สุดฮิตทั้ง 3 ประเภท ได้แก่ ไม้ เหล็ก และผ้า มาเป็นแนวทางในการออกแบบและตกแต่งบ้านของคุณให้ “น่าอยู่” และอยู่ด้วยความสุขอย่างแท้จริง

woodlover trip : ทริปสุดฟินของคนรัก(งาน)ไม้

“ไม้” เป็นวัสดุที่ให้ความรู้สึกนุ่มนวล ทำให้บรรยากาศอบอุ่น จึงไม่แปลกที่ใครๆต่างก็หลงรัก หากคุณเป็น woodlover ที่หลงรักในไม้ ไม่ว่าจะเป็น งานไม้…

Family and Function Comes First บนพื้นฐานของความรักและเข้าใจ

เมื่อถึงเวลาสร้างครอบครัว คำถามแรกที่ผุดขึ้นมาในใจใครหลายคนที่มีบ้านเดิมอยู่แล้วคงหนีไม่พ้นว่าจะขยายพื้นที่ที่มีหรือย้ายไปอยู่ที่อื่น สำหรับ คุณนัย – นัยนารถ โอปนายิกุล และ คุณยอด ตันติอนุนานนท์ เจ้าของบ้านหลังนี้ขอเลือกสร้างพื้นที่เล็กๆ ของครอบครัวในที่ดินของบ้านเดิม โดยก่อนหน้านี้เมื่อทั้งสองแต่งงานกันแล้วก็ย้ายไปอยู่คอนโดมิเนียมที่ไม่ไกลจากบ้านเก่า แต่พอเวลาผ่านไปสักพักและทั้งสองมีลูกน้อย จึงได้ทราบความต้องการที่แท้จริงว่า “บ้านที่ทำให้รู้สึกไม่เบื่อเร็ว” เป็นคำตอบที่ใช่ บ้านสีเทาสไตล์โมเดิร์นขนาดสามชั้นหลังนี้แฝงด้วยกลิ่นอายความคลาสสิก ตั้งอยู่ใจกลางเมืองย่านทองหล่อ แต่ยังคงความเป็นชุมชนเดิมที่สงบเงียบและเต็มไปด้วยต้นไม้ใหญ่ บ้านนี้ปลูกสร้างใหม่บนสนามหญ้าหน้าบ้านเดิมของคุณนัยแวดล้อมด้วยบ้านคุณพ่อคุณแม่ และบ้านคุณตาคุณยายที่อยู่ในอาณาบริเวณเดียวกัน ชั้นล่างเป็นส่วนแพนทรี่ขนาดใหญ่และโต๊ะรับประทานอาหารชุดสวย ห้องรับแขก และห้องเด็กที่ออกแบบเผื่อไว้สำหรับลูกในอนาคต หรือให้คุณพ่อคุณแม่มาพักผ่อนได้ ส่วนชั้นสองเป็นห้องนอนใหญ่และห้องนอนของ น้องเร – เรวิณฬ์ ส่วนชั้นสามเรียกว่าเป็นชั้นเอนเตอร์เทนเมนต์ เพราะเป็นที่รวมความสุขของทุกคนอย่างห้องเก็บไวน์ โฮมเธียเตอร์ ห้องเด็กที่เต็มไปด้วยของเล่น และห้องทำงานแบบส่วนตัว มีระเบียงด้านนอกที่สามารถปรับเป็นพื้นที่สำหรับปาร์ตี้ได้อย่างสบาย เจ้าของบ้านเลือกรูปแบบบ้านจากบริษัทรับสร้างบ้าน เพราะเชื่อในมาตรฐานของงานก่อสร้าง โดยเลือกขนาดที่ใช่ ลิสต์รายการห้องและการใช้งานที่อยากได้ แล้วเลือกแบบบ้านที่เหมาะกับจำนวนห้องและปรับขนาดของห้องให้สะดวกกับการใช้งานยิ่งขึ้น คุณยอดเล่าว่า “ผมเลือกแบบบ้านจากฟังก์ชันที่เราอยากได้ แล้วมาปรับขนาดของห้องต่างๆ ให้เป็นอย่างที่เราต้องการ ผมชอบบ้านทรงกล่องๆ เหลี่ยมๆแบบไม่มีหลังคา ตอนอยู่คอนโดเราตกแต่งต่างออกไป เป็นแบบมีสีสันหน่อยด้วยวัยที่เพิ่มขึ้นก็ทำให้รู้ความชอบของตัวเองจริงๆ มาลงตัวที่สไตล์โมเดิร์นผสมคลาสสิก ดูขรึมแต่เรียบง่าย เน้นใช้งานได้นานและไม่รู้สึกเบื่อเร็ว” เจ้าของบ้านได้พูดคุยกับ คุณเล็ก – […]

บ้านคือศูนย์รวมใจ

เชื่อว่าคนไทยคงคุ้นชินกับภาพความอบอุ่นของการดูแลบุพการี หรือการกลับไปเยี่ยมเยือนญาติพี่น้อง บรรยากาศของการทำอาหารรับประทานร่วมกัน การนั่งล้อมวงถามไถ่สารทุกข์สุกดิบ รวมไปถึงการได้เห็นลูกหลานวิ่งเล่นด้วยกันท่ามกลางเสียงหัวเราะสนุกสนาน ก็ช่วยสร้างความสุขได้เป็นอย่างดี การออกแบบบ้านหลังนี้จึงเกิดจากความตั้งใจให้เป็นสถานที่รวมความรัก ความปรารถนาดี และความห่วงใยระหว่างคนในครอบครัว ทีมงาน “บ้านและสวน” มุ่งหน้าไปยังย่านบางบอน ลึกเข้าไปในซอยที่ห่างจากถนนใหญ่มีบ้านสีขาวสองชั้นรูปทรงร่วมสมัย โอบล้อมด้วยสนามหญ้าเขียวขจี อีกทั้งบริบทที่แวดล้อมบ้านหลังนี้ยังคงเป็นชุมชนที่ไม่มีสิ่งปลูกสร้างบดบังทัศนียภาพของธรรมชาติ บรรยากาศจึงเงียบสงบและมีความร่มรื่น เมื่อเห็นบ้านแสนสวยหลังนี้แล้วก็ชวนให้นึกถึงสุภาพสตรี ด้วยรูปทรงที่ให้ความรู้สึกเรียบร้อย อบอุ่น สง่า ดูร่วมสมัย แต่ให้ความพิเศษส่วนตัวแบบที่หลีกหนีจากความวุ่นวายภายนอกได้ นั่นทำให้เรานึกสงสัยถึงที่มาที่ไป คุณวรพจน์ เตชะอำนวยสุข สถาปนิกผู้ออกแบบจึงเล่าถึงความต้องการของเจ้าของบ้านที่อยากได้บ้านเพื่อเป็นสถานที่รวมตัวของครอบครัว โดยได้แรงบันดาลใจจากสถาปัตยกรรมโคโลเนียลในช่วงรัชกาลที่ 5 และบ้านเรือนไทยที่ประยุกต์ให้เข้ากับยุคสมัยมากขึ้น “โจทย์หลักคือการปลูกบ้านหลังใหม่เป็นบ้านของคุณยาย และก็เป็นบ้านที่รวมญาติๆ ได้ด้วย ลองมานั่งคิดเรื่องการออกแบบพื้นที่ทั้งในเรื่องความเป็นส่วนตัวและการใช้พื้นที่ส่วนรวม เพื่อให้สามารถใช้พื้นที่ได้อย่างตอบโจทย์ เลยนึกไปถึงลักษณะของบ้านเรือนไทยที่มีเอกลักษณ์คือใต้ถุนสูง มีด้านล่างเป็นลานอเนกประสงค์ มีชานพักเป็นพื้นที่รวมคนและนำไปยังพื้นที่ต่างๆ ได้” สถาปนิกได้ออกแบบการเข้าสู่ตัวบ้านผ่านพื้นที่เล็กๆ แล้วค่อยนำพาไปสู่การเปิดเผยพื้นที่เปิดโล่งด้านในได้อย่างต่อเนื่อง มีจุดนำสายตาระหว่างทางจนกระทั่งมาสู่สนามหญ้าสีเขียวที่อยู่ภายใน ซึ่งชวนให้รู้สึกได้ว่าเป็นสถานที่พิเศษเฉพาะบุคคลอันเป็นที่รักเท่านั้น “เพื่อให้บ้านเป็นศูนย์รวมของญาติๆ ตามที่ตั้งใจ พื้นที่สีเขียวของบ้านนี้จึงทำหน้าที่เป็นสนามหญ้าสำหรับให้เด็กๆ ได้มาวิ่งเล่นกัน การวางตัวบ้านในลักษณะโอบล้อมแบบนี้ต้องคำนึงทิศทางแดดและลมประกอบด้วย เพราะต้องการให้บ้านมีพื้นที่สีเขียวที่สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา ตอนเช้าจะได้แสงอ่อนๆจากทิศตะวันออก พอถึงช่วงบ่ายตัวบ้านจะบังแดดไว้ ทำให้สนามหญ้ากลายเป็นสวนยามบ่ายของครอบครัวได้ด้วย” บริเวณชั้นล่างของบ้านออกแบบให้เป็นพื้นที่สำหรับทำกิจกรรม เว้นเพียงห้องผู้สูงอายุที่มีบริเวณส่วนตัวให้สามารถสัมผัสพื้นหญ้าสีเขียวและเข้าถึงครัวได้ง่าย ขณะที่ชั้นบนทั้งหมดเป็นพื้นที่พักผ่อนส่วนตัว แบ่งเป็นห้องนอนใหญ่ […]

Tropical House of Phangan มุมสงบแห่งท้องทะเล

  เรือเฟอร์รี่เทียบที่ท่าเรือท้องศาลา แดดแรงของพะงันขับทุกองค์ประกอบเมืองให้กลายเป็นเส้นคม ชาวต่างชาติเดินยิ้มแย้มคุยเล่นกันขณะขึ้นจากเรือ หลายคนมาเพื่อร่วมงานฟูลมูนปาร์ตี้อันโด่งดัง สถานที่แห่งนี้ไม่เคยห่างหายจากเสียงอึกทึก แต่…จุดหมายของเรานั้นต่างออกไป เรากำลังจะไปยังอีกฟากหนึ่งของเกาะ ที่ซึ่งมีแต่บ้านเรือนและหาดทรายอันเงียบสงบ เรากำลังจะไปที่อ่าวหินกองกันครับ “จากท้องศาลาให้ขับขึ้นเหนือมาทางซ้ายเลาะริมหาดมาเรื่อยๆพอถึงสามแยกก็เจอเลยจ้ะ” คุณเข็ม – ณฐกร พรหมเจริญ เจ้าของบ้าน บอกทางมาสู่บ้านหลังนี้ทางโทรศัพท์ด้วยสำเนียงแหลงใต้ชัดเจน แต่เราขับเลยไปเล็กน้อยก่อนจะถอยรถกลับมาเพราะความร่มครึ้มของต้นไม้นานาพรรณจนทำให้มองไม่เห็นตัวบ้านนั่นเอง “คุณชาลีชอบสวนรกๆ แน่นๆ คนข้างนอกจะได้ไม่เห็นเรา และยังให้บรรยากาศแบบทรอปิคัลดีนะ นั่นคือสิ่งที่ทำให้บ้านนี้เป็นอย่างที่เห็นนี่แหละ” “ทรอปิคัล” เป็นคำที่คุณเข็มนิยามถึงบ้านหลังนี้ บ้านไม้ซึ่งปลูกเป็นแนวยาวจากหน้าบ้านสู่หลังบ้าน ยกเพดานสูง มีพื้นที่เปิดถึงกันหมดตั้งแต่ห้องรับแขก โถงบันได ครัว ออกไปสู่นอกชานและยาวลงทะเลไปเลย บ้านหลังนี้ต้อนรับธรรมชาติเข้าสู่ทุกพื้นที่ได้เป็นอย่างดี เพราะตลอดแนวของตัวบ้านนั้นเป็นหน้าต่างและประตูแทบทั้งสิ้น ทุกพื้นที่ในบ้านจึงแนบสนิทกับแมกไม้น้อยใหญ่ได้อย่างลงตัว ให้บรรยากาศแบบสวรรค์แดนใต้อย่างเกาะตาฮีตีอย่างไรอย่างนั้น สำหรับการออกแบบทางสัญจรในบ้านจะเป็นระเบียงยาวทั้งชั้นหนึ่งและชั้นสอง สามารถเข้าถึงทุกส่วนของบ้านได้โดยง่าย อันที่จริงบ้านนี้ดูคล้ายรีสอร์ต เพราะคุณเข็มและ คุณชาลี โบเนลโล่ ต้องการให้ที่นี่เป็นสถานที่พักผ่อนของทั้งสองคนและเพื่อนๆ ของคุณชาลีในยามที่แวะเวียนมาเยี่ยมเยือน วัสดุในบ้านจะเน้นการใช้ไม้ ทั้งตัวบ้านเองและเฟอร์นิเจอร์ไม้เก่าทั้งหลาย ซึ่งก็เข้ากันดีกับการเข้าไม้ในรายละเอียดของส่วนต่างๆ ภายในบ้านได้เป็นอย่างดี และด้วยความที่บ้านอยู่ติดทะเล การปล่อยให้งานไม้บางส่วนมีร่องรอยบ้างก็สร้างเรื่องราวและความอบอุ่นได้อีกทางหนึ่ง เช่น ร่องรอยบนไม้ระเบียงสระว่ายน้ำที่อยู่ก่อนถึงทางเดินลงหาด “อยู่ที่นี่เหมือนทุกวันเป็นวันพักผ่อน” คุณเข็มกล่าวด้วยรอยยิ้ม “ถ้าเป็นวันปกติเวลาว่างๆ ก็จะชอบนอนดูทะเลอยู่ตรงชานรับแขก […]

บ้านที่มีลมหายใจ…และกำไรของชีวิต

ณ หัวโค้งหนึ่งของทางหลวงชนบทที่ลัดเลาะไปตามท้องทุ่งในตำบลบ้านชัฏป่าหวาย อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี มองเข้าไปก็จะเห็นบ้านหลังคาแป้นเกล็ดที่ดูแปลกตากว่าบ้านเรือนโดยรอบ ตัวอาคารคอนกรีตแซมด้วยองค์ประกอบไม้แลดูนิ่งสงบและอบอุ่น บ้านหลังนี้คือบ้านของ คุณเต้อ – นันทพงศ์ ยินดีคุณ และครอบครัว เจ้าของ : ครอบครัวยินดีคุณ ออกแบบ : คุณนันทพงศ์ ยินดีคุณ “มีความคิดว่าเมื่อคุณพ่อเกษียณก็อาจมาอยู่ทำสวนทำไร่ ใช้ชีวิตง่ายๆอยู่ที่นี่” คุณเต้อเล่าถึงสาเหตุที่มาปลูก บ้านครึ่งไม้ครึ่งปูน อยู่ที่นี่ “เริ่มมาจากตอนหนีน้ำท่วมใหญ่กรุงเทพฯปี 2554 เราทั้งครอบครัว คุณพ่อ คุณแม่ น้องชาย และผมมาเช่ารีสอร์ตซึ่งอยู่ไม่ไกลจากที่แปลงนี้ และก็เริ่มติดใจบรรยากาศของพื้นที่แถบนี้” แม้จังหวัดราชบุรีจะอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ หากขับรถก็ใช้เวลาเพียงชั่วโมงเศษ แต่อำเภอสวนผึ้งซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวชื่อดังยังมีบรรยากาศแบบชนบทอย่างเต็มเปี่ยม   “ที่นี่ไม่ได้ไกลจากกรุงเทพฯ ผมสามารถขับรถไปทำงานที่อาศรมศิลป์ได้บ้านหลังนี้จึงไม่ใช่บ้านตากอากาศ แต่เป็นบ้านอีกหลังที่หากคุณพ่อเกษียณแล้วคงมาอยู่กัน” มองจากภายนอกบ้านหลังนี้ดูใหญ่โตทีเดียว แต่ความจริงแล้วการออกแบบเริ่มมาจากการสร้างพื้นที่ส่วนตัวของแต่ละคน แล้วจึงนำมาผนวกเข้าด้วยกัน “บ้านที่อยู่ปัจจุบันเป็นบ้านเดี่ยวที่อยู่ร่วมกัน บ้านใหม่ก็เลยอยากให้ทุกคนได้มีพื้นที่ของตัวเอง แล้วก็เชื่อมพื้นที่เหล่านั้นด้วยโถงทางเดิน เปิดพื้นที่ตรงกลางเป็นสวนและกั้นความเป็นส่วนตัวของทุกห้องออกจากกัน แต่ก็ยังหลวมพอที่ลมจะไหลเวียนผ่านทุกส่วนของบ้านได้” บ้านครึ่งไม้ครึ่งปูน หลังนี้จึงมีรายละเอียดของแต่ละพื้นที่ที่ทับซ้อนเข้าด้วยกันอย่างลงตัว โดยมีลานหินกรวดซึ่งปลูกต้นไม้ใหญ่สองสามต้นอยู่ตรงกลาง หากมองจากด้านบนก็จะเห็นว่ามีส่วนกั้นให้เกิดความเป็นส่วนตัวและเพิ่มความสดชื่นให้ทุกพื้นที่ในบ้าน แต่มองจากด้านล่างกลับดูนิ่งสงบ เข้ากับห้องทำงานของคุณเต้อที่ต้องการสมาธิในการสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรม ทางเดินทั้งหมดภายในบ้านและระเบียงของแต่ละห้องตั้งอยู่บนคานยื่น (Cantilever) ด้วยเหตุผลเรื่องความคุ้มค่าและรูปแบบทางสถาปัตยกรรม […]

บ้านต่างวัยแต่ใจเดียวกัน

แม้จะไม่มีข้อมูลทางสถิติมายืนยัน แต่เรามั่นใจว่าเวลาและประสบการณ์ทำให้การเลือกบ้านในฝันของแต่ละช่วงอายุนั้นต่างกันออกไปในวัยรุ่นอาจต้องการเพียงพื้นที่ที่เป็นส่วนตัว ขณะที่วัยผู้ใหญ่ซึ่งเป็นวัยที่เริ่มต้นสร้างตัวและครอบครัวคงมีช่วงเวลาหนึ่งที่คิดว่าจะเลือกอยู่บ้านเดิมของพ่อแม่หรือย้ายออกไปหาบ้านใหม่ ส่วนวัยบั้นปลายก็คงต้องการแค่ความสะดวกสบาย ความสบายกายและใจ รวมถึงได้อยู่บ้านพร้อมหน้ากับครอบครัว คงเป็นความโชคดีของครอบครัว อารักษ์เวชกุล เพราะเจ้าของบ้านหลังนี้ค้นหาความต้องการของตัวเองพบตั้งแต่เริ่มต้น คุณพบ – ศีลวัตรและ คุณจอย – ลลิตา อารักษ์เวชกุล สองสถาปนิกที่มีโอกาสสร้างบ้านที่ใช่สำหรับครอบครัวเล็กๆผังของบ้านทั้ง 3 หลังจัดวางเป็นรูปตัวแอล (L) ตัวบ้านออกแบบเป็นสไตล์โมเดิร์นที่ให้ความรู้สึกอบอุ่นด้วยวัสดุอย่างปูนเปลือยและไม้ธรรมชาติ ประกอบด้วยบ้านหลังแรกซึ่งเดิมทีอย่อูาศัยกัน 4 คน ได้แก่คุณพบ คุณพ่อ คุณแม่ และน้องชาย โดยอยู่ตำแหน่งตรงกลางที่ดิน คุณพบเล่าว่า เขาได้รับโจทย์จากคุณพ่อให้ออกแบบบ้านนี้ตั้งแต่ตอนเรียนจบใหม่ๆ ถือเป็นผลงานออกแบบชิ้นแรกที่ตั้งใจทำอย่างเต็มที่   กระทั่งเมื่อคุณพบแต่งงานกับคุณจอยจึงได้ออกแบบบ้านหลังที่สองเพื่อให้เป็นบ้านของน้องชายแยกออกมาต่อมาเมื่อน้องชายแต่งงานจึงแยกบ้านออกไป ส่วนหลังที่สามเป็นของคุณแม่คุณจอย ซึ่งย้ายมาอยู่ด้วยกันเพื่อจะได้ใกล้ชิดหลาน ทั้งครอบครัวจึงซื้อที่ดินเพิ่มเพื่อให้ได้อยู่ติดกัน จุดเด่นของบ้านหลังนี้คือแม้จะปลูกสร้างในพื้นที่เดียวกัน แต่ก็ไม่ได้ใช้พื้นที่ร่วมกันทั้งหมดเพื่อให้ทุกคนยังคงมีความเป็นส่วนตัวด้วย ทว่าก็ยังเว้นที่ไว้สำหรับพื้นที่ส่วนกลาง และมีพื้นที่ระหว่างกันในบ้านแต่ละหลัง คุณพบและคุณจอยเล่าว่า “เราชอบทำเลย่านพัฒนาการ เพราะยังโล่งและไปไหนมาไหนสะดวก ไม่เคยคิดจะไปอยู่ที่อื่นโครงการที่อยู่นี้ก็เงียบๆ เล็กๆ มีกรรมการหมู่บ้านที่ดี ที่สำคัญคือเราได้ออกแบบเอง เป็นบ้านที่อยู่สบาย มีการระบายอากาศที่ดี” บ้านที่ดีก็คือบ้านที่อยู่สบาย คุณพบวางผังของบ้านแต่ละหลังไม่ให้บดบังทิศทางลมซึ่งกันและกัน เว้นพื้นที่ตรงกลางของบ้านเป็นคอร์ตขนาด 4 × 8 […]

Humble Home อบอุ่นและอ่อนน้อม

ครั้งนี้เราขอพาไปชมบ้านสวยกันไกลถึงบุรีรัมย์ จังหวัดเล็กๆ ในภูมิภาคอีสานใต้ บ้านชั้นเดียวสไตล์โมเดิร์นหลังนี้โดดเด่นด้วยตัวบ้านสีเทาขรึมตัดกับสีเขียวของสนามหญ้า เดิมเป็นบ้านที่ผ่านการออกแบบมาก่อนแล้ว โดยมีการลงเสาเข็มไปบางส่วน แต่ด้วยเซ้นส์ของ คุณอ้อ – ผณิภุช ชาญเลขา มัณฑนากร ซึ่งได้ปรึกษาและตัดสินใจร่วมกับสถาปนิกเพื่อขอปรับแก้ไขโครงสร้าง โดยขยายพื้นที่อยู่อาศัยให้กว้างขวางมากขึ้นสำหรับสมาชิก 5 คน ประกอบด้วยพ่อ แม่ และลูกๆอีก 3 คน ซึ่งแต่ละคนก็มีช่วงวัยและความชอบแตกต่างกัน หลังการปรับโครงสร้าง บ้านหลังนี้จึงมีพื้นที่ 3 ส่วนหลักๆ ได้แก่ พื้นที่สำหรับรับรองแขกที่เป็นทางการ ห้องนั่งเล่นของครอบครัวที่เชื่อมต่อกับฟิตเนสและซาวน่า และห้องนอนส่วนตัวของสมาชิกแต่ละคน ภายในบ้านออกแบบให้มีบรรยากาศโปร่งโล่ง โดยทำระเบียงทางเดินภายในบ้านให้เหมือนเดินรอบคอร์ตยาร์ดซึ่งจัดเป็นสวนแนวญี่ปุ่น สมาชิกในบ้านจึงมองเห็นกันและกันได้ มีการปรับระยะความสูงของฝ้าเพดานทั้งหมดให้สูงขึ้น เพื่อเปิดรับแสงสว่างจากธรรมชาติ ไม่เกิดมุมอับและอากาศถ่ายเทได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังนำองค์ประกอบแบบสมมาตรมาช่วยเน้นให้งานตกแต่งดูมีมิติและน่าสนใจ เช่น พื้น กรอบประตู และฝ้าเพดาน ที่ออกแบบเป็นกรอบรูปเรขาคณิตบางส่วนก็เล่นระดับหลายๆ ชั้น เป็นการสร้างกรอบนำแนวสายตา อีกทั้งเสริมให้พื้นที่นั้นๆ ดูเป็นสัดส่วนชัดเจนยิ่งขึ้น พระเอกอีกคนของบ้านหลังนี้ก็คือไม้มะค่า ซึ่งเป็นของสะสมของเจ้าของบ้านที่ทั้งสวยงามและมีคุณค่าทางจิตใจ จึงเลือกนำมาปูพื้น นอกจากให้ความรู้สึกอบอุ่นแล้ว ผู้ออกแบบยังได้นำมาเป็นแนวคิดหลักในการสรรหาวัสดุปิดผิวชนิดอื่นๆ เพื่อเลือกโทนสีที่ช่วยทำให้บรรยากาศในบ้านเกิดความกลมกลืนอย่างเป็นธรรมชาติ ที่น่าสังเกตอีกประการก็คือการเลือกใช้โทนสีแบบสุภาพ แม้จะดูเรียบ ทว่าก็ให้ความรู้สึกสวยคลาสสิกแบบไร้กาลเวลา ดูสงบแต่ก็เปี่ยมด้วยความภูมิฐาน […]

Chiang Mai City วิถีชน (ใน) เมือง

แฟน “บ้านและสวน” หลายท่านน่าจะคุ้นชื่อของ คุณขวัญชัย สุธรรมซาว กันดี สถาปนิกรุ่นใหม่แห่งบริษัทแผลงฤทธิ์ จำกัด คนนี้เป็นหนึ่งในผู้เปิดแนวทางการออกแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในจังหวัดเชียงใหม่ มีประสบการณ์ออกแบบบ้านและอาคารต่างๆ มานานนับ 10 ปี DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: Plankrich เมื่อต้องมาออกแบบบ้านของตัวเอง หลายคนอาจคิดว่าเขาจะออกแบบให้มหัศจรรย์พันลึกด้วยเทคนิคพิเศษอย่างไรก็ได้ แต่เอาเข้าจริงบ้านของคุณขวัญชัยกลับดูเรียบง่าย เพราะสิ่งที่เขาเน้นก็คือทำเล ซึ่งสะดวกสำหรับการใช้ชีวิตในเขตเมืองที่ต้องการความคล่องตัว ทว่าปัจจุบันที่ดินในเขตเมืองเชียงใหม่นั้นกลายเป็นพื้นที่ทางธุรกิจหรือคอนโดมิเนียมไปหมด การหาที่ดินสำหรับสร้างบ้านสักหลังนั้นยากเต็มทน “การสร้างบ้านในเมืองเชียงใหม่เป็นเรื่องยากแล้วครับ เพราะที่ดินมีราคาแพงมาก ไม่อย่างนั้นก็ต้องออกไปอยู่นอกเมือง แต่เมื่อผมเลือกอยู่ในเมืองบ้านเป็นหลังๆ นั้นตัดออกไปได้เลย ทางเดียวที่จะได้ที่อยู่อาศัยที่ใกล้เคียงกับบ้านก็คือตึกแถว ผมตระเวนหาจนมาเจอที่ตรงนี้ ขนาดกำลังพอดีคือ 3 คูหา ไม่ใหญ่เกินไป แล้วจึงปรับปรุงใหม่ทั้งหมดเลยครับ” การปรับปรุงในที่นี้คือการทุบรื้อทุกส่วนออกทั้งหมด ไม่เหลือแม้กระทั่งบันได คงไว้แค่เพียงเสากับคานเท่านั้น มีการจัดแปลนใหม่ สร้างพื้นที่ใช้สอยใหม่ แม้ทั้ง 3 คูหาจะออกแบบไม่เหมือนกันเสียทีเดียว แต่โครงสร้างเดิมที่บังคับอยู่ก็ทำให้ดูไม่แตกต่างกันเท่าไร คุณขวัญชัยเลือกห้องริมขวาสุด (หากหันหน้าเข้าตัวอาคาร) เพราะมีพื้นที่ว่างข้างอาคารก่อนสุดแนวรั้วกับบ้านข้างเคียง ส่วนที่เหลืออีก 2 คูหาทำเพื่อขาย ตึกแถวสามชั้นนี้อาจมีหน้ากว้างไม่ต่างจากตึกแถวทั่วไป แต่มีความลึกน้อยกว่า เมื่อปรับปรุงแล้วจะไม่มีชั้นลอยเหมือนที่เราคุ้นตากัน หากมองขึ้นเพดานจะเห็นว่าคุณขวัญชัยวางตงและพื้นไม้ […]