ไม้เก่า – บ้านและสวน
แบบบ้านไม้เก่า

รวม แบบบ้านไม้เก่า อบอุ่น ผ่อนคลาย

แบบบ้านไม้เก่า ยังคงได้รับความนิยมไม่เสื่อมคลาย นั่นเพราะไม้เป็นวัสดุที่มีเสน่ห์ในตัวเอง โดยเฉพาะไม้เก่า นอกเหนือจากความสวยงามแล้ว

พาชม 3 ตลาดไม้เก่าสุดเก๋าของคนรักงานไม้ บางแพ/บางบาล/บ้านธิ

“บ้านและสวน ลุยแหล่ง” อาสาพาทุกท่านบุก ตลาดไม้เก่า ชื่อดัง 3 แหล่งใหญ่ของไทย ได้แก่ บางแพ บางบาล และ บ้านธิ ไปดูกันว่าในตลาดไม้เก่ารุ่นเก๋าเหล่านี้มีอะไรที่น่าสนใจรอให้เราเลือกซื้อและเลือกใช้กันบ้าง คุณค่าที่เพิ่มมากขึ้นตามกาลเวลาของไม้เก่า ไม่ใช่เพียงเพราะกระแสนิยมของเก่าที่กำลังมาแรงเท่านั้น ไม้เก่ายังเป็นที่ยอมรับในเรื่องของคุณภาพ ด้วยคุณสมบัติที่อยู่ตัว ไม่ยืดหดเหมือนไม้ใหม่ นอกจากนี้การใช้ไม้เก่ายังถือเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าด้วย เพราะส่วนใหญ่ได้มาจากการรื้อเรือนไม้เก่าที่ไม่ได้ใช้งานแล้วนั่นเอง ก่อนไปลุย ตลาดไม้เก่า ไปดูกันก่อนว่าเราควรเตรียมตัวอย่างไรบ้าง เตรียมตัวก่อนไปลุย ตลาดไม้เก่า สำหรับมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มตกหลุมรักในเสน่ห์ไม้เก่าและอยากลองซื้อมาใช้งานออกแบบตกแต่งดูบ้าง หากยังไม่แน่ใจว่าควรเตรียมตัวก่อนไป ตลาดไม้เก่า อย่างไร เริ่มแรกแนะนำว่าควรรู้ 4 อย่างนี้ก่อน คือรู้ว่า ต้องการอะไร เท่าไหร่ ขนส่งอย่างไร และเก็บรักษาอย่างไร รู้งาน ตลาดไม้เก่าเต็มไปด้วยผลิตภัณฑ์ไม้แบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเสาไม้ ไม้โครงสร้าง ไม้พื้น ไม้ฝา ประตู-หน้าต่าง บันได ชิ้นส่วนประดับตกแต่ง รวมถึงชนิดของไม้ที่หลากหลาย มีทั้งแบบที่ผ่านการซ่อมแซมและแบบที่ยังเป็นสภาพเดิม ก่อนซื้อต้องรู้ว่าต้องการไม้เก่าสำหรับงานประเภทใด สภาพไหน เป็นไม้ชนิดใด เพื่อให้ง่ายในการมองหาและเลือกไม้ที่ถูกใจ รู้ขนาด-จำนวน ควรลิสต์ขนาดและคำนวณปริมาณของไม้ที่ต้องใช้เอาไว้ก่อน รวมถึงกำหนดงบประมาณที่ต้องเตรียมเอาไว้คร่าวๆ […]

door-reuse

รวมไอเดียรียูสประตู-หน้าต่างไม้เก่า

บานไม้เก่ามีค่า! มาดูไอเดีย รียูสประตู-หน้าต่างไม้เก่า ให้สวยและเก๋า ทั้งยังดีต่อโลก ดีต่อเรา เพราะช่วยลดการใช้ทรัพยากรไม้ที่หายาก ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ยุคสมัย “ของเก่า” ยังคงเป็นสิ่งที่หลายคนหลงใหล และนิยมนำมาตกแต่งบ้าน เช่นเดียวกับการ รียูสประตู-หน้าต่างไม้เก่า โดยนำกลับมาติดตั้งในบ้านใหม่ นอกจากจะเพิ่มเสน่ห์เฉพาะตัวด้วยกลิ่นอายแบบเดิมแล้ว ยังดีต่อโลกด้วย เพราะช่วยลดการใช้ทรัพยากรไม้ที่หายากขึ้นในปัจจุบัน ไปดูหลากหลายไอเดียตกแต่งบ้านด้วยประตู-หน้าต่างไม้เก่าและบานเหล็กดัด รวมถึงเกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับการรีไซเคิลของเก่าที่เรานำมาฝากกัน ประตู เน้นทางเข้าให้โดดเด่น ประตูไม้เก่าที่มีดีไซน์สวยงามเป็นเอกลักษณ์ สามารถนำกลับมาใช้ใหม่สำหรับประตูบานสำคัญๆ อย่างประตูทางเข้า หรือประตูห้องหลักภายในบ้าน ทำให้ทางเข้านั้นดูโดดเด่นมากขึ้น โดยเฉพาะบ้านที่เน้นตกแต่งด้วยของสะสมเก่า ประตูสวยๆ เหล่านี้อาจดูราวกับเป็นของตกแต่งชิ้นหนึ่งในบ้านเลยก็ได้ เชื่อมต่อระเบียงผ่านบานเลื่อน พื้นที่ภายในที่เปิดโล่งออกไปยังระเบียงด้านนอก เป็นอีกจุดสำคัญของบ้านที่ต้องการประตูขนาดใหญ่เพื่อเปิด-ปิดกั้นพื้นที่ การติดตั้งประตูบานเลื่อนเก่าก็เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ นอกจากช่วยประหยัดเงินได้มากกว่าการสั่งทำประตูบานใหม่แล้ว ยังทำให้พื้นที่สำคัญตรงนี้ดูมีเอกลักษณ์มากขึ้นด้วย บานเลื่อนกั้นช่องบันได บานไม้เก่าขนาดพอเหมาะ ไม่ว่าจะเป็นบานประตูหรือบานตู้เสื้อผ้า สามารถนำมาติดตั้งใหม่เป็นบานเลื่อนกั้นทางขึ้นบันไดแบบนี้ได้ เพื่อกั้นพื้นที่ให้เป็นสัดส่วน และจำกัดบริเวณการใช้งานเครื่องปรับอากาศ หน้าต่างกลายเป็นประตู หากหน้าต่างบานใหญ่พอ อาจนำมาติดตั้งเป็นประตูเข้าห้องที่มีธรณียกสูงแบบนี้ก็ได้ ให้รูปลักษณ์ที่ดูน่าสนใจแบบบ้านไทยร่วมสมัย เวลาก้าวขาเข้า-ออกก็ได้อารมณ์เหมือนบ้านไทยโบราณ เนียนไปกับผนังกระจกใหม่ เปลี่ยนผนังกระจกที่ดูธรรมดาให้น่าสนใจ โดยนำบานประตูไม้เก่ามาติดตั้งเข้ากับผนังกระจกที่สร้างขึ้นใหม่ ทำให้ยังคงใช้งานเป็นผนังกระจกที่ให้แสงสว่างและพร้อมประตูที่สามารถเปิดออกไปด้านนอกได้ แต่เพิ่มเติมเสน่ห์ของไม้เก่าเข้าไปให้มีความพิเศษมากขึ้น หน้าต่าง หน้าต่างบานเด่นในมุมต่างๆ นอกจากช่วยนำแสงสว่างเข้ามาภายในบ้านแล้ว หน้าต่างยังเป็นองค์ประกอบสำคัญในการตกแต่งที่ช่วยทำให้มุมทำกิจกรรมต่างๆ […]

โฮมสตูดิโอเชียงใหม่ อบอุ่นใจด้วยแสงแดดและสองแมว

โฮมสตูดิโอ หลังเล็กที่เป็นทั้งบ้านและที่ทำงานของคู่รักนักออกแบบ พร้อมบรรยากาศสดชื่นใต้แสงแดดยามเช้า

บ้านล้านนา – โมเดิร์น คืนชีวิตใหม่ให้เรือนไม้หลังเก่า

บ้านล้านนา บ้านชั้นเดียวแสนอบอุ่นที่นำวัสดุไม้จากเรือนไทยภาคเหนือหลังเดิม มาตกแต่งใหม่อย่างเรียบง่าย ทันสมัย ในสไตล์ บ้านล้านนา-โมเดิร์น ที่คงกลิ่นอายท้องถิ่นและความทรงจำจากบ้านเก่า DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Housescape Design Lab “คุณตา-คุณยายอยู่บ้านหลังนี้มาทั้งชีวิต เราเลยไม่อยากให้ท่านรู้สึกแปลกแยกกับบ้านหลังใหม่ โจทย์หลักจึงเป็นการนำไม้จากบ้านหลังเก่าที่มีอยู่เยอะและมีค่ามากกลับมาใช้ เพื่อสร้างบรรยากาศเดิมที่คุ้นเคย ใส่ความโมเดิร์นที่คุณนิกชอบเข้าไป ตามด้วยการหยิบเอาองค์ประกอบอื่นๆ ทั้งฝาไหล เหล็กดัด และหน้าต่างบานเก่ามาใช้ด้วย” คุณเบล – พีระพงษ์ พรมชาติ สถาปนิกจาก Housescape Design Lab เล่าถึงโจทย์หลักในการออกแบบบ้านหลังนี้ว่า เมื่อบ้านเรือนไทยยกสูงหลังเดิมที่ผู้อยู่ต้องปีนบันไดขึ้น-ลงเป็นประจำ ไม่เหมาะกับการอยู่อาศัยที่สะดวกและปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุอีกต่อไป คุณนิก – แพรววนิต สุมังสะ และคุณแม่ จึงต้องการรื้อบ้านหลังเก่า และสร้างบ้านชั้นเดียวหลังใหม่ที่มีขนาดกะทัดรัด ใช้งานง่าย และทันสมัยสำหรับทุกคนในครอบครัวบนที่ดินเดิม สถาปนิกที่รู้จักคุ้นเคยกับเจ้าของบ้านมายาวนานอย่างคุณเบล รวมถึงทีมออกแบบ จึงได้นำทั้งสไตล์มินิมัลแบบญี่ปุ่นตามความชอบของคุณนิก ความสามัญธรรมดาอย่างหลังคาหน้าจั่ว ซึ่งเหมาะกับการใช้งานตามความเห็นของคุณแม่ รวมถึงบรรยากาศของบ้านไม้หลังเก่าที่ทุกคนผูกพัน มาผสมผสานกันเป็นบ้านหลังใหม่นี้อย่างลงตัว เรียบง่าย อยู่สบาย และคุ้มค่า บ้านหลังนี้เป็นบ้านชั้นเดียวยกพื้นต่ำ จัดเรียงฟังก์ชันเป็นรูปตัวแอล (L) ตามความต้องการของเจ้าของบ้าน ประกอบด้วยห้องนั่งเล่นและพื้นที่รับประทานอาหารขนาดกะทัดรัด […]

บ้านปูนริมน้ำ ในบรรยากาศบ้านสวน

บ้านปูนริมน้ำ ซึ่งยกย้านบ้านไม้เก่า 2 ชั้นที่่ริมถนนสวรรคโลกมาประกอบเป็นบ้านหลังใหม่ แต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์เก่าวินเทจ ในบรรยากาศของบ้านสวน

บ้านสีขาว ริมทะเล สไตล์ Mid-century Modern

บ้านชั้นเดียว สีขาว สไตล์ Mid-century Modern ในบรรยากาศบ้านตากอากาศริมทะเล

บ้านโมเดิร์นทรงจั่ว ที่เชื่อมโยงคนสามวัยเข้าด้วยกัน

บ้านโมเดิร์นทรงจั่วหลังนี้ สร้างขึ้นบนที่ดินเดิมในย่านวิภาวดีจากการตัดสินใจ “ไม่รีโนเวต” เพื่อให้การใช้งานบ้านหลังใหม่นั้นตอบโจทย์ของครอบครัวที่มีถึง 3 ช่วงวัยได้ชัดเจนขึ้น ความพิเศษของบ้านหลังนี้คือการที่ผังบ้านมีความพยายามที่จะเชื่อมโยงพื้นที่ของทุก ๆ คนเข้าหากัน และสร้างให้เกิดบรรยากาศอบอุ่นของครอบครัว DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ:  INCHAN Atelier เราเริ่มต้นด้วยที่มาของบ้านซึ่งคุณเปี่ยม – มนต์เทพ มะเปี่ยม และคุณหนู-พรรณพิมพ์ พุทธรักษา มะเปี่ยม เจ้าของบ้านหลังนี้เล่าให้เราฟัง “สิบปีก่อนเราเคยอยู่คอนโดฯ เราสองคนทำงานที่ม.เกษตร และคุ้นชินพื้นที่แถบนี้มาตั้งแต่สมัยเรียนมหาวิทยาลัย พอมีลูกเราก็เริ่มมองหาบ้านชั้นเดียวสำหรับสิบขวบปีแรกของลูกชาย และญาติก็แนะนำบ้านและที่ดินตรงนี้ให้” คุณเปี่ยมเล่าว่าเดิมเป็นบ้านขนาด 80 ตารางเมตร ที่ไม่ได้มีขนาดใหญ่มากนัก พื้นที่ต่าง ๆ ภายในบ้านจึงเป็น Common Area เสียเป็นส่วนใหญ่ และนั่นจึงเป็นหนึ่งในเอกลักษณ์ของบ้านที่ส่งผ่านมายังบ้านหลังใหม่ที่เพิ่งสร้างเสร็จซึ่งออกแบบโดย INchan atelier “พื้นที่กลางบ้านสำหรับทุกคน” “Common Area คือส่วนสำคัญของบ้านหลังนี้ จะเห็นว่าเข้ามาในบ้าน สิ่งแรกที่พบก็คือโต๊ะกินข้าว ไม่ว่าจะนั่งทำงาน หรือทานอาหารร่วมกันเราก็มักจะรวมตัวกันอยุ่ตรงนี้ และโต๊ะกินข้าวนี้เองที่จะเชื่อมโยงกับครัวของคุณยาย เพราะบ้านเราทำอาหารกินกันสามมื้อ เรียกว่าคุณยายใช้ครัวแทบจะตลอดเวลา พื้นที่ส่วนใหญ่จึงหนีไม่พ้นโต๊ะกลางตรงนี้และห้องครัว แต่ก็มีส่วนห้องนั่งเล่นที่เป็นทีวีกับโซฟาอยู่หลังพาร์ทิชั่นไปทางที่ติดกับสวนครับ” ชั้นล่างของบ้านหลังนี้ จากการใช้งานแล้วแทบจะรวมกันเป็นห้องเดียวโดยมีโต๊ะทานข้าวเป็นศูนย์ […]

บ้านปาร์คนายเลิศ ชมบ้านไม้สักโบราณจากไม้สักทองอายุ 105 ปี

เปิดบ้านปาร์คนายเลิศ เรียนรู้การอนุรักษ์ บ้านไม้ โบราณ และชมงานฝีมือจากไม้จากของสะสมต่างๆ ผ่านนิทรรศการ “เรื่องเล่าผ่านไม้” โดยมีคุณวทัญญู เทพหัตถี ผู้เชี่ยวชาญด้านอนุรักษ์โบรารณสถานและสถาปัตยกรรม สถาปนิกผู้อยู่เบื้องหลังการบูรณะเรือนไม้สักโบราณบ้านปาร์คนายเลิศมาบอกเล่าเรื่องราวในอดีต รวมไปถึงการอนุรักษ์งานไม้ของบ้านปาร์คฯ พร้อมเยี่ยมชมงานศิลปะไม้โบราณล้ำค่าที่หาดูได้ยาก บ้านไม้สัก “บ้านปาร์คนายเลิศ” เรือนไม้ที่ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2488 ด้วยไม้สักทองทั้งหลัง ปัจจุบันมีอายุมากถึง 105 ปี ออกแบบโดยนายเลิศ เศรษฐบุตร หรือ เลิศ สะมันเตา ผู้ก่อตั้งปาร์คนายเลิศและผู้ริเริ่มธุรกิจหลายอย่างที่กลายเป็นตำนานมาจนถึงปัจจุบัน  บ้านไม้สัก บ้านปาร์คนายเลิศ คุณวทัญญูเล่าว่า แรกเริ่มนายเลิศได้เดินทางมาถึงบริเวณทุ่งบางกะปิ (ชื่อของละแวกที่ตั้งปาร์คนายเลิศในปัจจุบัน) แล้วได้กว้านซื้อพื้นที่แถวนี้ เพื่อทำเป็นบ้านพักตากอากาศ เนื่องด้วยพื้นที่บริเวณนี้เดิมทีเป็นท้องนา ไม่เหมาะกับการอยู่อาศัย จึงมาถมที่แล้วสร้างบ้านพักตากอากาศไว้พักผ่อน รวมถึงสร้างสวน ที่เรียกว่าเป็นสวนสาธารณะเอกชนแห่งแรกให้ชาวบ้านได้เข้ามาใช้งาน ตัวบ้านแบ่งเป็นเรือน 2 หลัง หลังแรกใช้เป็นที่พัก หลังที่สองไว้รับแขก ที่สร้างด้วยไม้สักทั้งหลังเพราะเป็นไม้ที่แข็งแรงทนทาน ทนต่อปลวกได้ดี และในสมัยนั้นไม้สักยังเป็นไม้ที่หาได้ทั่วไป ราคาไม่แพงเหมือนปัจจุบัน นอกจากนี้เมื่อสังเกตฝ้าเพดาน บันไดและราวบันไดจะเห็นการใช้ไม้เป็นชิ้นๆ ซึ่งไม้ทั้งหมดนี้ เป็นไม้ที่เหลือจากอุตสาหกรรมต่อเรือของนายเลิศ  ในตอนที่คุณวทัญญูเข้ามาบูรณะซ่อมแซมบ้านก็พบว่าตัวบ้านชำรุดเยอะ ไม่มีเสาเข็ม […]

บ้านไม้ สไตล์ปักษ์ใต้ร่วมสมัย แห่งพัทลุง

บ้านไม้ สไตล์ปักษ์ใต้ที่เกิดขึ้นจากภาพความทรงจำในวัยเด็กของเจ้าของที่มีต่อบ้านหลังเดิมของคุณตาคุณยาย ผ่านการออกแบบให้เหมาะกับการอยู่อาศัยในยุคปัจจุบัน จนเกิดเป็นเรือนปักษ์ใต้ร่วมสมัยที่เชื่อมโยงคนสามรุ่นไว้ด้วยกัน DESIGNER DIRECTORY : ออกแบบ : ตื่น ดีไซน์ สตูดิโอ และ อรวี เมธาวี / ก่อสร้าง : บุญฤทธิ์ สมุหเสนีโต / เจ้าของ : ครอบครัวรอดสุด บ้านไม้ หลังนี้เริ่มต้นมาจากการที่คุณพ่อปรีชา และคุณแม่สมทรง รอดสุด คุณพ่อคุณแม่ของคุณวิวัฒน์ รอดสุด ผู้ทำหน้าที่จัดการการสร้างบ้านหลังนี้  คิดที่จะสร้างบ้านเพื่อเป็นที่ระลึกเเด่คุณตาคุณยายจากไม้เก่าที่เหลือจากการรื้อบ้านเดิม เชื่อมโยงเเละส่งต่อความผูกพันจากบรรพบุรุษสู่ลูกหลาน จนเป็นที่มาของการตั้งชื่อบ้านว่า  “เรือนพินรัตน์” ซึ่งเป็นชื่อของคุณตาวิรัตน์ และคุณยายพิน ศิริธร นั่นเอง ฉะนั้นเรือนหลังนี้จึงเป็นเสมือนบ้านส่วนกลางของครอบครัวสำหรับเหล่าลูกหลานเมื่อได้มาที่พัทลุงก็มักจะมาพักอาศัยที่เรือนหลังนี้ได้ โดยมีพื้นที่ส่วนกลางขนาดใหญ่ใช้สำหรับรับประทานอาหาร หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ของครอบครัว โดยเจ้าของวางแผนไว้ว่าในอนาคตอันใกล้อาจจะปรับเปลี่ยนที่นี่ทำเป็นโฮมสเตย์ต่อไป แต่ในปัจจุบัน “เรือนพินรัตน์” ยังคงทำหน้าที่เป็นเรือนรับรองของครอบครัวรอดสุด ที่ทุกคนต่างมีความสุขทุกครั้งที่ได้มาเยือนเเละพักผ่อนร่วมกัน    แกะรอยความทรงจำ ก่อนหน้าที่จะเริ่มขั้นตอนออกแบบ คุณวิวัฒน์ได้มีการเก็บข้อมูลภาพรูปแบบบ้านพื้นถิ่นของพัทลุงไว้ ซึ่งมีทั้งแบบเก่าและแบบร่วมสมัย เพื่อนำมาใช้เป็นโจทย์ตั้งต้น […]

บ้านไทยใต้ถุนสูง

คืนชีวิตให้บ้านเก่ากลายเป็น บ้านไทยใต้ถุนสูงเจือกลิ่นโมเดิร์น

บ้านครึ่งปูนครึ่งไม้หลังนี้ เกิดจากการนำไม้เก่าของบ้านเดิมที่เริ่มทรุดโทรม มาสร้างใหม่บนที่ดั้งเดิมของบ้านเก่า โดยผนวกเข้ากับโครงสร้างปูน กลายเป็นบ้านร่วมสมัยไม่ทิ้งบุคลิก บ้านไทยใต้ถุนสูง อย่างที่เคยเป็นมาตามวิถีชาวบ้านริมคลอง