ไม้ไผ่ – บ้านและสวน

วิธีสร้างบ้านด้วยไม้ไผ่

วิธีการนำไม้ไผ่มาทำเสา ผนัง หลังคา และวิธีการมัดไม้ไผ่เข้าด้วยกัน มาดู วิธีสร้างบ้านไม้ไผ่ และการทำเป็นส่วนประกอบอาคาร การตั้งเสา วิธีการคล้ายการตั้งเสาไม้จริง อาจใช้ไม้ไผ่ลำเล็กหลายลำมัดรวมกัน หรือไม้ลำใหญ่ 5-7 นิ้ว แล้วทำฐานรากและตอม่อคอนกรีตหรือหินเพื่อความแข็งแรงและป้องกันไม้จากความชื้นในดิน หากเสาอยู่ใกล้ชายคา แนะนำให้ทำตอม่อสูงป้องกันฝนและแดดโดนเสา วิธีสร้างบ้านไม้ไผ่ การกรอกปูนเกราต์ ปูนเกราต์ คือ ปูนซิเมนต์สำเร็จรูปชนิดหนึ่งที่สามารถไหลไปตามซอกมุมต่างๆ ได้ดี มีการหดตัวน้อย มีกำลังอัดสูงและแข็งตัวเร็ว ใช้เสริมความแข็งแรงและเพิ่มแรงยึดเกาะกับโครงสร้างที่เสริมในปล้องไม้ไผ่ โดยเจาะรูกว้างประมาณ 4 เซนติเมตร กรอกปูนเกราต์ลงไป แล้วปิดรูด้วยไม้ให้สนิท การมัดไม้ไผ่ การมัดเป็นภูมิปัญญาแต่ละท้องถิ่น สามารถใช้ประกอบไม้ไผ่ได้เช่นกัน แต่ถ้าจะให้โครงสร้างแข็งแรง ควรยึดด้วยอุปกรณ์ต่างๆ ตามวิธีข้างต้นก่อน แล้วจึงมัดเพื่อช่วยให้ข้อต่อแน่นขึ้น ลดการฉีกขาดของเนื้อไม้ หรือเป็นการตกแต่งให้สวยงาม และยังใช้การมัดช่วยในการประกอบโครงไม้ โดยใช้ยางในรถหรือยางเส้นมัดชั่วคราว แล้วจึงยึดด้วยวัสดุต่างๆ ผนังไม้ไผ่ ผนังไม้ไผ่สามารถใช้ไม้ไผ่ลำ ไม้ไผ่สาน หรือผสมกับวัสดุอื่นๆ ได้ ซึ่งทำได้หลายวิธี วิธีสร้างบ้านไม้ไผ่ หลังคา การมุงหลังคาไม้ไผ่เหมือนกับการมุงหลังคาชิงเกิล คือ รองใต้หลังคาด้วยแผ่นกันซึมอีกชั้น หรืออาจมุงด้วยหลังคาปกติแล้วมุงหลังคาไม้ไผ่ทับอีกชั้นก็ได้เช่นกัน ก็จะไม่ต้องกังวลเรื่องการรั่วซึม […]

ประกอบไม้ไผ่อย่างไรให้สวยและแข็งแรงทนทาน

ไม้ไผ่แต่ละลำไม่ตรง หัวและปลายไม่เสมอกัน มีความโค้งงอ แอ่นตัว ซึ่งเป็นทั้งจุดอ่อนและจุดเด่นในตัวเอง การตัดและ การประกอบไม้ไผ่ จึงต้องมีเทคนิค การตัดไม้ไผ่ ก่อน การประกอบไม้ไผ่ หากต้องตัดและเจาะ ควรมีระยะห่างจากข้อไม้ไม่เกิน 8 เซนติเมตร เพื่อความแข็งแรง การประกอบไม้ไผ่ สามารถทำได้หลายวิธี เช่น ใช้นอต (Nut) และสลักเกลียว (Stud Bolt) โดยใช้สว่านเจาะรูนำก่อนเพื่อป้องกันไม้แตก ทั้งยังใช้ปืนลมในการยึดกับวัสดุต่างๆ ได้ แต่ไม่ควรใช้การตอกตะปูเพราะไม้จะแตก โดยมีตัวอย่างการประกอบไม้ไผ่ดังนี้ การประกบไม้ เนื่องจากลำไม้ไผ่มีโคนใหญ่ปลายเล็กและมีความโค้งงอ จึงมีวิธีการประกบไม้ที่แตกต่างจากไม้จริง สลับด้านหัวและปลายไม้เพื่อให้สมดุลกัน เลือกไม้ที่โค้งงอในทิศทางตรงข้ามเพื่อดึงรั้งกัน มัดและจัดให้ตรง ตอกลิ่มไม้ไผ่แนวทแยงทุกระยะ 50-60 เซนติเมตร เมื่ออยู่ดีแล้วสามารถแก้มัดได้ หมายเหตุ : เนื้อไม้ไผ่แข็งแรงน้อยกว่าไม้จริง ความสามารถในการรับแรงอัดน้อยกว่าวัสดุอื่น แต่รับแรงดึงได้มากกว่าเหล็ก การนำไปใช้งานสามารถใช้วิธีการก่อสร้างคล้ายงานไม้จริง แต่ต้องปรับเทคนิคการตัดและ การประกอบไม้ไผ่ ไปตามแต่ละกรณี ขอขอบคุณ บริษัท ธ.ไก่ชน จำกัด โทรศัพท์ 08-4100-0233   นิตยสารบ้านและสวน ฉบับเมษายน 2562 […]

CHATA THAMMACHART คาเฟ่ไม้ไผ่กลางผืนนา วิวอลังการกลางธรรมชาติ

ร้านอาหารในอาคารโครงสร้างไม้ไผ่ท่ามกลางผืนนากว่า 10 ไร่ ในอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม นำเสนอประสบการณ์การพักผ่อนที่เชื่อมโยงระหว่างผู้คน สถาปัตยกรรม และธรรมชาติ Chata Thammachart DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: ธ.ไก่ชน THAI Bamboo Architecture รูปทรงของตัวอาคารร้านอาหาร Chata Thammachart มีลักษณะคล้ายศาลาขนาดใหญ่ ล้วนเกิดจากเหตุผลด้านโครงสร้าง และแนวคิดการลดทอนโครงสร้างไม้ไผ่ให้เรียบง่าย มีความซับซ้อนน้อยที่สุด โดยปราศจากวัสดุเหล็กเสริมใด ๆโครงสร้างขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของอาคารที่เห็น เกิดจากระยะที่กว้างที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ระหว่างเสาแกนกลางกับเสาไม้ไผ่ที่รับโครงสร้างหลังคาโดยรอบ ทำให้เกิดพื้นที่ใช้งานโปร่งโล่งรอบเสากลาง ส่วนหลังคาไม้ไผ่สับฟาก มุงเหลื่อมซ้อนชั้นดูคล้ายหมวกทรงสูง ความชันของหลังคาช่วยลดการขังของน้ำฝน ลดการรั่วซึม ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ไม้ไผ่ผุเร็ว พื้นที่ในร้านประกอบด้วย 3 ส่วน หลัก ๆ ได้แก่ อาคารใหญ่ที่มีทั้งโซนคาเฟ่ในห้องปรับอากาศ และพื้นที่นั่งรับประทานอาหารกึ่งกลางแจ้ง เชื่อมต่อกับโซนอัฒจรรย์ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนได้นั่งชมความงามแห่งธรรมชาติที่แปรเปลี่ยนไปตามช่วงเวลา พื้นที่ส่วนเซอร์วิสและออฟฟิศในอาคารเล็กด้านหลังนอกเหนือไปจากสถาปัตยกรรมที่กลมกลืนไปกับธรรมชาติรอบข้าง เมนูอาหาร และกาแฟก็เน้นการใช้วัตถุดิบจากเกษตรกรในท้องถิ่น เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้ชีวิตท่ามกลางวิถีชุมชนอย่างสมบูรณ์แบบ ภายใต้แนวคิดการทดลองใช้ชีวิตในวิถีชุมชนภายใต้แนวคิด “อยู่กับธรรมชาติ อย่างเป็นธรรมชาติ” IDEA TO STEAL แม้จะเป็นโครงสร้างที่เรียบง่ายไร้การตกแต่ง แต่เส้นสายที่เกิดขึ้นจากลำไม้ไผ่ […]

บ้านไม้ไผ่ ในวิถีชีวิตชนบทแบบดั้งเดิม

เพราะไม้ไผ่ถือเป็นวัตถุดิบสารพัดประโยชน์ เจ้าของบ้านจึงนำมาเป็นวัสดุหลักของ บ้านไม้ไผ่ หลังเล็ก โดยนำรูปเเบบการวางผังเเละหน้าตาของเรือนเครื่องผูกของชาวเขามาปรับใช้ เพื่อเรียนรู้วิถีชีวิตชนบทแบบดั้งเดิมจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นชายคาที่ยื่นยาว หลังคายกสูงทำให้พื้นที่ภายในโปร่ง อากาศถ่ายเท บ้านจึงไม่ร้อน พร้อมๆไปกับการทำเกษตรแบบพึ่งพาตนเอง เจ้าของ – ออกแบบ : คุณชัชชัย นนทะเปารยะ บ้านไม้ไผ่หลังเล็ก  รถสองแถวคันใหญ่แล่นมาจอดข้างดงไม้ เสียงเบรกดังตามด้วยฝุ่นแดงๆ คลุ้ง ป้ายไม้ข้างทางบอกว่าถึง“สถานีบางไผ่” ผมกระโดดลงจากรถ เเบกของพะรุงพะรังข้ามฝั่งถนนมานั่งพักอยู่ที่เพิงสังกะสีหน้าร้านขายของชำเเละอุปกรณ์การเกษตร เหลือบมองนาฬิกาตอนนี้บ่ายสองโมงสามสิบห้า ไม่เป็นไร…ผมเลยเวลานัดมานิดเดียว (เนื่องจากการซ่อมถนนแถวแก่งคอยทำเอารถติดยาวเหยียดร่วมชั่วโมง) บ้านไม้ไผ่ หลังเล็ก ได้ยินเสียงรถเครื่องมาจอดเทียบข้างๆ ร้านพอดี คุณอ๊อด – ชัชชัย นนทะเปารยะ บุรุษหนวดงามร่างสันทัดวัยห้าสิบกว่าๆ ยิ้มทักทาย แล้วชวนผมซ้อนมอเตอร์ไซค์คู่ใจขับไต่เนินทางลูกรังและทุ่งมันสำปะหลังเข้าไปเยี่ยม “บ้าน” ของเขาที่เชิงเขา ระหว่างทางยังถามอย่างห่วงใยว่า “โน้ตบุ๊กชาร์จแบตแป๊บเดียวจะใช้พอเหรอ ที่บ้านผมไม่ใช้ไฟฟ้านะเต้” ผมเดินสำรวจรอบๆ บ้านบนเนินดินลาดกว้าง มีพื้นหลังเป็นภูเขาหัวตัดลูกโตเขียวชอุ่มกับท้องฟ้าใส ทั้งตัวบ้านทั้งของใช้ในบ้าน เเทบจะทำจากวัสดุชนิดเดียว คือ “ไม้ไผ่” เป็น บ้านไม้ไผ่หลังเล็ก ที่ดูเรียบง่ายและพอเพียง  “การออกเเบบเเละการใช้งานต่างๆ ในบ้านหลังนี้ส่วนใหญ่มีที่มาจากคุณสมบัติของไม้ไผ่ทั้งนั้น […]

Bamboo Box House บ้านไม้ไผ่บรรยากาศชนบทที่อยู่ในเมือง

บ้านไม้ไผ่ขนาดกะทัดรัดพื้นที่ 48 ตารางเมตร ที่ใช้เวลาสร้างเพียง 20 วัน ในงบ 4 แสนบาท ที่เปลี่ยนพื้นที่ในเมืองให้กลายเป็นบ้านบรรยากาศชนบทเรียบง่ายแต่น่าอยู่สุดๆ พร้อมทำแปลงปลูกผักไว้กินในครัวเรือนและแบ่งปันเพื่อนบ้าน ออกแบบและจัดสวน : Bambooboxhouse เจ้าของ : คุณพิษณุ สกุลโรมวิลาส “การได้นั่งรับลมเย็นๆบนแคร่ไม้ใต้ร่มไม้ใหญ่ในบรรยากาศชนบท แวดล้อมด้วยสีเขียวของธรรมชาติ ช่างเป็นความสุขที่หาได้ยากนักกับชีวิตของคนเมืองหลวงอย่างนี้” ใครจะเชื่อว่าสิ่งที่กล่าวถึงข้างต้น ได้เกิดขึ้นแล้วกลางใจเมือง โดย คุณพิษณุ และ คุณอาภาพร เจ้าของ Bamboo Box House บ้านไม้ไผ่ ท่ามกลางสวนผักหลังนี้ซึ่งจะมาถ่ายทอดเรื่องราวของบ้านให้เราฟังกัน แรงบันดาลใจจากบ้านกลางทุ่งนา ทั้งคู่ชอบบ้านไม้ แต่ที่เลือกไม้ไผ่เพราะความงามที่เป็นเอกลักษณ์ จึงตั้งใจเลือกไม้ไผ่ลำเล็กมาประกอบกันเป็นส่วนต่างๆของบ้าน ทั้งพื้น ผนัง รวมถึงโครงสร้างด้วย ถึงแม้จะมีข้อจำกัดและกระบวนการหลายขั้นตอน แต่ผลที่ได้คุ้มค่ามากเพราะไม้ไผ่ลำเล็กให้อารมณ์ความรู้สึกถึงบ้านไม้ไผ่ที่พักกลางทุ่งนา เหมือนแคร่หลังใหญ่ที่พร้อมต้อนรับแขกผู้มาเยือนหรือใช้สำหรับพักผ่อนหย่อนใจ เหตุผลที่เลือกไม้ไผ่แทนที่จะใช้เป็นไม้ชนิดอื่นซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าและคงทนกว่า เพราะไม้ไผ่มีคุณลักษณะเฉพาะตัว พื้นผิวมีสีสัน เป็นไม้ที่มีต้นทุนไม่สูง สามารถปลูกทดแทนได้เร็วเพียง 2 – 3 ปี ก็สามารถนำมาใช้งานได้แล้วจึงดีต่อสิ่งแวดล้อมด้วย บ้านเล็กในป่า(คอนกรีต)ใหญ่ บริเวณบ้านมีพื้นที่รวม […]

คุยกับ ANTON NEGODA ชาวรัสเซีย ผู้เชี่ยวชาญบ้านไม้ไผ่ บนเกาะพะงัน

บ้านไม้ไผ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าได้ไปปลูกสร้างบนเกาะสวย ๆ อย่างพะงันแล้วละก็ เชื่อว่าเป็นฝันของใครหลาย ๆ คนที่รักทะเลเป็นแน่แท้ วันนี้ room ได้มีโอกาสไปพูดคุยกับชาวรัสเซียที่ลงมือปลูกบ้านไม้ไผ่ด้วยตัวเอง จนกลายเป็นความเชี่ยวชาญในที่สุด บ้านไม้ไผ่ที่ปลูกเองได้ จนถึงวิธีการจัดการไม้ไผ่จะเป็นอย่างไร เลื่อนลงไปอ่านได้เลย Bamboo design : derived from passion “ผมไม่ได้เรียนเรื่องการก่อสร้าง แต่ผมจบด้านการทำอาหารมา ไม่น่าเชื่อว่าตอนนี้ผมกลับหลงใหลในการสร้างบ้านด้วยไม้ไผ่ เรียกว่าตอนนี้ผมปรุงไม้ไผ่แทนอาหารก็แล้วกัน“ Anton Negoda ชายหนุ่มชาวรัสเซีย เปิดบทสนทนากับเราได้น่ารักมาก ๆ เขาเริ่มหลงรักและสนใจในวัสดุไม้ไผ่เมื่อ 7 ปีที่แล้ว ตอนที่มาเกาะพะงันใหม่ ๆ “ตอนมาถึงที่นี่ครั้งแรก หลังจากเดินทางหลายประเทศในเอเชีย ผมมีความรู้สึกว่าที่นี่เป็นบ้าน รู้สึกอบอุ่น และถูกยอมรับจากพลังงานธรรมชาติบนเกาะ ในช่วงเริ่มแรกผมสนใจในการทำ dome สำหรับ Inipi ( sweat lodge ) ceremony ซึ่งมันคือพิธีกรรมโบราณของชาวอินเดียนแดง เพื่อชำระล้างจิตวิญญาณ กาย ใจ ให้บริสุทธิ์ ด้วยการเข้าไปนั่งในกระโจม หรือโดมที่มีหินร้อนอยู่ข้างใน คล้ายกับการซาวน่า หรือสตรีม ซึ่งรูปแบบของกระโจมก็เป็นตัวแทนของครรภ์มารดา  ซึ่งโครงสร้างของโดม หรือกระโจมนั้น ผมทำจากไม้ไผ่ ซึ่งขนาดที่ใช้ในพิธีกรรมไม่ได้ใหญ่มาก คนเข้าไปได้ประมาณ 10 คน หลังจากนั้นผมก็ทดลองทำขนาดที่ใหญ่ขึ้นในรูปทรงแบบโดมเหมือนเดิม แต่ปิดด้านนอกด้วยใบจาก ซึ่งโปรเจ็กต์แรกที่ทำ ผมสร้าง Play House ในโรงเรียนอนุบาล หลังจากนั้นผมก็ทดลองสร้างในขนาดที่ใหญ่ขึ้น กับรูปแบบการใช้งานที่ต่างออกไป ทั้งในศูนย์วิปัสสนา วัด โรงโยคะ โรงเรียนอนุบาล ไม่ใช่สำหรับ Sweat Lodge เท่านั้น ซึ่งในแต่ละครั้ง มันเหมือนเป็นการทดลอง ใน 2 ปีนี้ผมมีความเข้าใจและค้นพบเทคนิคต่าง ๆ ผ่านประสบการณ์การลองผิดลองถูกมากขึ้น และที่น่าประทับใจมาก ๆ ก็คือตอนนี้ผมมีลูกทีมถึง 6 คน ที่มาช่วยทำในโปรเจ็กต์ต่าง ๆ ซึ่งคนเหล่านี้ไม่เคยจับงานไม้ไผ่มาก่อนเลย พวกเขาถนัดแต่งานคอนกรีต แต่ว่าตอนนี้พวกเขากลับหลงรัก และได้แรงบันดาลใจในงานไม้ไผ่เหมือนผม” งานไม้ไผ่ช่วงแรกของ Anton ตอนที่เริ่มทำ Sweat Lodge เป็นไม้ไผ่ที่บาง แต่พอเขาขยับขึ้นมาทำงานที่ใหญ่ขึ้น เขาก็เริ่มหาข้อมูลการทำโครงสร้างไม้ไผ่ที่แข็งแรงและทนทาน อีกทั้งยังมีความยั่งยืน ใช้งานได้ยาวนาน ด้วยเทคนิคที่แตกต่างออกไป  “ หลายคนคิดว่างานไม้ไผ่ไม่คงทน เสียหายได้ง่ายจากสภาพอากาศและแมลง เพราะความคิดเหล่านี้ทำให้บ้านไม้ไผ่ไม่เป็นที่นิยม แต่ความจริงแล้วถ้าเราทรีตไม้ไผ่อย่างดี และสร้างถูกหลักการ โครงสร้างไม้ไผ่ก็สามารถอยู่เป็น 100 ปี ได้เช่นกัน  […]

WUYISHAN BAMBOO RAFT FACTORY โรงงานคอนกรีตเปลือยสำหรับผลิตแพไม้ไผ่

Wuyishan Bamboo Raft Factory อาคารคอนกรีต แห่งนี้ คือโรงงานผลิตและจัดเก็บแพไม้ไผ่สำหรับใช้ในการล่องแพของหมู่บ้าน Xingcun โดยมีแนวคิดในการใช้วัสดุเรียบง่าย

ศูนย์บำบัดผู้พิการที่สร้างจากดินและไม้ไผ่โดยฝีมือชาวบ้านในชุมชน

Anandaloy คือศูนย์สำหรับผู้พิการที่มีสตูดิโอขนาดเล็กสำหรับทำงานสิ่งทอรวมอยู่ด้วย ที่นี่โดดเด่นด้วยการก่อสร้างด้วยวัสดุเรียบง่ายอย่าง ดิน และ ไม้ไผ่ ออกแบบโดย Anna Heringer จาก Studio Anna Heringer ซึ่งเธอมีความเชื่อว่า “งานสถาปัตยกรรมคือเครื่องมือที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คน” เช่นเดียวกับโปรเจ็กต์อื่น ๆ ของเธอที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นในยุโรป แอฟริกา หรือเอเชีย ซึ่งล้วนแต่ใช้วัสดุหาง่ายในท้องถิ่นเป็นหลัก รวมไปถึงอาศัยฝีมือและแรงงานจากช่างท้องถิ่น เนื่องจากตัวอาคารทำจากดินเหนียวและ ไม้ไผ่ งบประมาณส่วนใหญ่จึงตกไปอยู่ที่ค่าแรงงานของช่างฝีมือหญิง ตัวอาคารนึ้จึงทำหน้าที่เป็นมากกว่างานสถาปัตยกรรม แต่ยังเป็นตัวเร่งให้เกิดการพัฒนาในระดับชุมชน โครงการนี้คือการนำประสบการณ์จาก 5 โครงการที่เคยทำมาก่อนหน้านี้ นำมาพัฒนาร่วมกับ Montu Ram Shaw ผู้รับเหมาชาวบังกลาเทศ และทีมทำโครงสร้างดินและไม้ไผ่จากในหมู่บ้าน รวมไปถึงผู้พิการบางคนที่ขอเข้ามามีส่วนร่วม สำหรับการถ่ายทอดองค์ความรู้ของ Studio Anna Heringer นับเป็นกุญแจสำคัญที่พิสูจน์ให้เห็นว่า ความรู้ด้านการออกแบบและก่อสร้างได้ถูกส่งต่อไปยังผู้คนและชุมชนอย่างหยั่งรากลึก บ่อยครั้งที่ความเป็นคนพิการของคนบังกลาเทศมักถูกมองว่าเป็นเพราะพวกเขาถูกลงโทษจากพระเจ้า ซึ่งความเชื่อเหล่านี้ทำให้พวกเขาต้องอยู่กันอย่างหลบ ๆ ซ่อน ๆ และถูกทิ้งให้ใช้ชีวิตตามลำพัง ในขณะที่คนอื่น ๆ ในบ้านต้องออกไปทำงานเพื่อหาเลี้ยงครอบครัว ภายใต้ปัญหาความยากจน พื้นที่สำหรับบำบัดเยียวคนพิการจึงแทบหาได้ยากมาก […]

ARROM ORCHID ชมกล้วยไม้ใต้สถาปัตยกรรมไม้ไผ่

จาก “สวนบัวแม่สา” แหล่งท่องเที่ยวสวนกล้วยไม้ขนาดใหญ่บนถนนสายแม่ริม-สะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ตอนนี้ได้รับการแปลงโฉมให้กลายเป็นร้านอาหารและคาเฟ่ในสวนกล้วยไม้ในชื่อ ARROM ORCHID (อารมณ์ ออร์คิด) เชียงใหม่นอกจากมีมนต์เสน่ห์ด้านวัฒนธรรม ขนมธรรมเนียมประเพณี และธรรมชาติสวย ๆ แล้ว อีกสิ่งที่น่าจดจำคืองานหัตถกรรม หรืองานคราฟต์ ที่ละเอียดลออ ผ่านสองมือของสล่า (ช่างพื้นบ้าน) โดยเฉพาะงานจักสานและไม้ไผ่ เมื่อถึงคราวปรับโฉมสวนบัวแม่สา มาเป็น “ARROM ORCHID” ไอเดียการรังสรรค์ความงามให้แก่ของพื้นที่รายล้อมไปด้วยธรรมชาติอย่างกล้วยไม้หลากหลายสายพันธุ์ พร้อมการนำเสนอตนเองเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชียงใหม่ นั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการเลือกใช้ไม้ไผ่เพื่อทำเป็นโครงสร้าง รวมกับความชำนาญในงานไม้ไผ่ของช่างท้องถิ่น เกิดโปรเจ็กต์งานออกแบบที่สวยงามสื่อถึงธรรมชาติอย่างกลมกลืน การออกแบบโดยรวมเป็นวางผังโดยได้คงโครงสร้างหลักที่เป็นเหล็กกาวาไนซ์เดิมไว้ และใช้วัสดุ “ไม้ไผ่” ซึ่งให้ความรู้สึกถึงความเป็นธรรมชาติ เเละมีน้ำหนักเบา เข้าไปติดตั้งร่วมกับโครงสร้างเดิมสำหรับตกแต่งในส่วนของฟาซาด ฝ้าเพดาน เเละผนัง โดยใช้ไม้ไผ่หลากหลายขนาดนำมาประกอบกันหลายรูปแบบ จนเกิดเเพตเทิร์นเเละเส้นสายเเสงเงาที่สวยงาม ยามเมื่อเเสงลอดผ่านลงมายังพื้นที่ด้านใน  การใช้ไม้ไผ่หลากหลายขนาดและรูปทรงมาประกอบการตกแต่งทั้งภายในร้านอาหารและภายนอกซึ่งเป็นสวนกล้วยไม้ขนาดใหญ่นั้น ทำให้ภาพของไม้ไผ่ดูทันสมัยขึ้น ทั้งจากเส้นสายลวดลายกราฟิกและแสงเงาที่ส่องผ่านเข้ามา อีกทั้งยังทำหน้าที่ช่วยกรองเเสง ดีทั้งกับลูกค้าผู้มาใช้บริการ รวมถึงบรรดากล้วยไม้หลากหลายสายพันธุ์ที่อยู่ในโรงเพาะชำ ซึ่งสถาปนิกได้จัดวางผังทางเดินใหม่ให้ลดเลี้ยวไปมา จึงสามารถเดินชมกล้วยไม้ที่ออกดอกบานสะพรั่งได้อย่างใกล้ชิด  เรียกว่ามาถึงที่นี่เเล้วได้ชมทั้งสวนกล้วยไม้ และรับประทานอาหารรสชาติอร่อยไปพร้อมกัน ครบจบในที่เดียว ที่ตั้ง 332 หมู่ที่ 1 […]

THE GUILD อาคารไม้ไผ่แบบโมเดิร์น ที่ผ่านการทดลองวัสดุกว่า 9 ชนิด

การผสมผสานระหว่างของใหม่กับของเก่า กับโปรเจ็กต์รีโนเวตโครงการ “The Guild” อาคารไม้ไผ่ ซึ่งตั้งอยู่ที่ Taman Villa Meruya โดยในโครงการประกอบไปด้วยห้องสมุด คลินิกทันตกรรม ที่พัก และออฟฟิศสถาปนิก Realrich Architecture Workshop (RAW Architecture) อาคารไม้ไผ่ นี้มีฟังก์ชันเดิมของคือห้องสมุด เมื่อมีการปรับปรุงจึงเริ่มทำในส่วนนี้ก่อนเริ่มจากการเพิ่มชั้นหนังสือ ร้านขายหนังสือ และแกลเลอรี่ แล้วทำการแบ่งพื้นที่ไพรเวตและพับลิกออกจากกันด้วยการแยกทางเข้าเป็นสองทาง ส่วนที่เพิ่มเข้ามาใหม่ตั้งอยู่ในฝั่งตะวันออก มีชื่อว่า GuhaBambu ออกแบบเป็นอาคารขนาด 7.5 x 26 เมตร แบ่งโครงสร้างออกเป็น 2 ชั้น เเละชั้นใต้ดิน เด่นด้วยโครงสร้างไม้ไผ่ ซึ่งเป็นเทคนิคการก่อสร้างไม้ไผ่งานทดลองของ alfa omega project ร่วมกับเหล็กตรงส่วนของโครงสร้างหลังคา ซึ่งการก่อสร้างในครั้งนี้ ทีมออกแบบใช้วัสดุถึง 9 ชนิดด้วยกันในการทดลองและพัฒนาร่วมกับช่างท้องถิ่น ได้แก่ เหล็ก ไม้ แก้ว โลหะ ยิปซัม ไม้ไผ่ พลาสติก หิน […]

ไม้ไผ่

ไผ่ ทางเลือกในการใช้ไม้อย่างยั่งยืนในอนาคต

“ไผ่” ทางเลือกในการใช้ไม้ในการสร้างเป็นบ้านเรือนสำหรับพักอาศัยอย่างยั่งยืนในอนาคต ในห้วงสถานการณ์ป่าไม้ในเมืองไทยที่ทำให้ทรัพยากรไม้ลดจำนวนลง

วิธีเลือกไม้ไผ่สำหรับใช้ในงานสร้างอาคาร

ทำความรู้จัก ไม้ไผ่ การทรีตเม้นต์ และการนำไปใช้งานให้มากขึ้น เพราะหัวใจสำคัญของงานออกแบบคือ การเข้าใจธรรมชาติของวัสดุและเลือกใช้ให้เหมาะสม