Araceae
วงศ์อะราซิอี้ (Araceae)
วงศ์อะราซิอี้ (Araceae) รู้จักกันในชื่อวงศ์บอน (Aroid Family) เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่พบกระจายพันธุ์ในเขตร้อนทั่วโลก มีสมาชิกมากกว่า 117 สกุล มากกว่า 3,000 ชนิด ซึ่งหลายชนิดนิยมปลูกเป็นไม้ประดับในปัจจุบัน ลักษณะเด่น เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี ทุกส่วนอวบน้ำ มีความหลากหลายทั้งรูปทรงของลำต้นและลักษณะการเจริญเติบโต ทุกส่วนมีน้ำยางใสที่มีผลึกแคลเซียมออกซาเลตซึ่งเป็นพิษกับผิวหนังมนุษย์และสัตว์ หากสัมผัสจะทำให้คันหรือบวมได้ มีลำต้นใต้ดินเป็นเหง้าหรือหัวแบบเผือกทำหน้าที่สะสมอาหาร ส่วนลำต้นเหนือดินมีทั้งเป็นลำตั้งตรง แตกกอได้ หรือมีลำต้นทอดเลื้อยเกาะอาศัยอยู่กับไม้ใหญ่ในธรรมชาติ และเติบโตบนผิวน้ำ หรือตามที่ชื้นแฉะ ใบเดี่ยว ออกเวียนสลับรอบต้น รูปใบหลากหลายทั้งรูปหัวใจ รูปใบหอก หรือหยักเว้าเป็นแฉก โคนก้านใบแผ่เป็นกาบ ช่อดอกออกตามซอกใบใกล้กับปลายยอด เป็นช่อดอกเชิงลดมีกาบ แต่ละช่อประกอบด้วยปลีดอก (spadix) และมีกาบรองดอก (spathe) หุ้มอีกชั้นหนึ่ง ผลมีเนื้อนุ่ม เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีส้มหรือสีแดง ภายในมีเมล็ดแข็ง 1-2 เมล็ด การปลูกเลี้ยง หลายสกุลเติบโตได้ดีในเมืองไทย และนิยมนำปลูกเป็นไม้ประดับ ได้แก่ สกุลอโกลนีมา (Aglaonema) หน้าวัว (Anthurium) บอนสี (Caladium) สาวน้อยประแป้ง (Dieffenbachia) […]
อัปเดต 9 อโลคาเซียตัวใหม่ๆ สายพันธุ์ที่มาแรง น่าสะสม
อโลคาเซีย (Alocasia) หรือที่หลายคนคุ้นเคยในชื่อ “แก้วหน้าม้า” หรือ “นางกวัก” เป็นไม้ใบสวยอีกสกุลหนึ่งในวงศ์ Araceae ที่ไม่พูดถึงคงไม่ได้ เพราะขณะนี้กำลังกลับมาเป็นที่นิยมของเหล่านักสะสมอีกครั้ง ฉบับนี้จึงรวบรวมต้นอโลคาเซียตัวใหม่ๆฮอตฮิตมาให้ชมกัน อโลคาเซียเป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี มีหัวสะสมอาหารอยู่ใต้ดิน ลำต้นเหนือดินเกิดจากกาบใบซ้อนกัน ใบเดี่ยวรูปหัวใจหรือลูกศร หลายชนิดได้รับการปรับปรุงพันธุ์ให้มีใบโดดเด่น สวยงามแปลกตา ปลูกเลี้ยงในกระถางใช้เป็นไม้ประดับตามระเบียง ริมหน้าต่าง หรือแม้แต่ในตัวบ้านได้ดี อโลคาเซียเป็นไม้ใบที่ปลูกเลี้ยงง่าย นิยมขยายพันธุ์ด้วยวิธีแยกหน่อ ชอบแสงรำไร ไม่ควรโดนแสงแดดจัดโดยตรงเพราะจะทำให้ใบไหม้ ชอบชื้นแต่ไม่แฉะ ดังนั้นสิ่งสำคัญก็คือวัสดุปลูกต้องเก็บความชื้น มีอินทรียวัตถุและระบายน้ำได้ดี หลีกเลี่ยงไม่ให้มีน้ำขังในจานรองกระถางเพื่อป้องกันรากเน่า หมั่นสำรวจและกำจัดหนอนผีเสื้อที่มักมากัดกินก้าน ใบ และอาจลามไปกินถึงเหง้า อย่างไรก็ตาม อโลคาเซียเกือบทุกชนิดมีสารแคลเซียมออกซาเลตที่ทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อบริเวณที่สัมผัส เช่น ทำให้ผิวหนังเป็นผื่นแดงและคัน ดังนั้นจึงควรปลูกให้ห่างบริเวณที่มีเด็ก สัตว์เลี้ยง หรือคนเดินผ่านไปมา เรื่อง: อังกาบดอย ภาพ: Botanic at Home ติดตามข้อมูลเกี่ยวกับไม้ใบหลากหลายชนิดได้เพิ่มเติมใน หนังสือ ไม้ใบ : Foliage Plants โดยสำนักพิมพ์บ้านและสวน
แนบอุรา ต้นไม้เลื้อยแห่งหัวใจที่คล้ายกัน จาก 2 สกุล Scindapsus และ Rhaphidophora
เมื่อพูดถึงไม้ใบที่เรียกกันว่า “แนบอุรา” หรือ “หัวใจแนบ”ภาพในความคิดของหลายคนคงหนีไม่พ้นไม้ใบรูปหัวใจที่มักจำหน่ายเป็นไม้กระถางต้นเจริญเกาะเลื้อยแนบชิดกับแผ่นไม้เรียบหลากหลายขนาดแผ่นใบมีลวดลายหลากหลายแต่ก็ล้วนสะดุดตาแค่เพียงนำไปวางตกแต่งในบ้านหรือประดับสวนก็ช่วยเพิ่มเสน่ห์ชวนมองได้ไม่แพ้ไม้ใบชนิดอื่นลงสวนฉบับนี้จึงพาไปรู้จักไม้ใบลายสวยสุดเก๋เหล่านี้กัน แนบอุรา หัวใจแนบ Scindapsus pictus Hassk. ‘Argyraeus’ ไม้เลื้อยขนาดเล็ก เลื้อยได้ไกล 1-3 เมตร มีรากออกจากลำต้นเพื่อพยุงต้นให้เติบโต ใบรูปหัวใจออกเรียงสลับซ้ายขวาในระนาบเดียวกัน ลักษณะเด่นของชนิดนี้คือ แผ่นใบหนาสีเขียวอมเทาเป็นกำมะหยี่ มีแต้มด่างสีบรอนซ์เงินหลากหลายรูปแบบ อาจเป็นแต้มเล็ก ๆ หรือเป็นปื้นทั่วใบ จึงมีชื่อสามัญว่า Satin Pothos, Silk Pothos, Silver Hilodendron เป็นไม้ประดับที่นิยมปลูกเลี้ยงในเมืองไทยมานานแล้ว นอกจากแนบอุราสกุลซินแด็ปซัส (Scindapsus) ยังมีไม้ใบในสกุลราฟิโดฟอรา (Rhaphidophora) บางชนิดที่เรียกแนบอุราเช่นกัน ลักษณะเป็นไม้เลื้อย มีรากออกตามข้อ เมื่อยังเล็กใบรูปหัวใจหรือใบรี แต่เมื่อโตขึ้นจะเปลี่ยนเป็นอีกรูปทรงหนึ่งซึ่งแตกต่างจากเดิมอย่างเห็นได้ชัดเจน นิยมนำมาเลี้ยงให้เลื้อยขึ้นบนแผ่นไม้ ผนัง หรือใส่ในตู้เทอร์ราเรียม ตัวอย่างเช่น แนบอุราชอบวัสดุปลูกโปร่งระบายน้ำได้ดีต้องการน้ำปานกลางความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศสูงแสงรำไรสามารถทนร่มได้ดีจึงปลูกเลี้ยงในบ้านได้แทบทุกชนิดเติบโตค่อนข้างช้านิยมปลูกเป็นไม้กระถางแขวนหรือเกาะกับหลักนำมาเลี้ยงให้เลื้อยขึ้นบนแผ่นไม้ผนังหรือลำต้นไม้ใหญ่ที่ชุ่มชื้นและเย็นหากได้รับแสงและความชื้นไม่เพียงพอรากและลำต้นจะไม่เกาะแนบกับพื้นผิววัสดุขยายพันธุ์ด้วยการปักชำกิ่ง เรื่อง: อังกาบดอย ภาพ: อภิรักษ์ สุขสัย, ธนกิตติ์ คำอ่อน ติดตามข้อมูลเกี่ยวกับไม้ใบหลากหลายชนิดได้เพิ่มเติมใน หนังสือ […]
รีวิวไม้ใบยอดฮิตทั้ง 14 สกุล ในวงศ์อราซีอี(Araceae) จากประสบการณ์จริง
หากคุณพึ่งเข้าสู่วงการต้นไม้ใบหรือต้องการปลูกต้นไม้ในบ้าน คุณต้องเริ่มต้นกับต้นไม้พวก อโกลนีมา บอนสี หน้าวัวใบ มอนสเตอรา หรือฟิโลเดนดรอน เหล่านี้คือต้นไม้พี่น้องกันในวงศ์อราซีอี(Araceae) ที่มีหลากหลายรูปทรงและสีสันของใบ ที่สำคัญปลูกไม่ยากและหลายชนิดเหมาะกับปลูกในบ้านได้สบายๆ แต่ต้นไม้แต่ละสกุลก็จะมีนิสัยเฉพาะตัวที่แตกต่างกันออกไป นำไปสู่การดูแลที่ต่างกันด้วยไปเล็กน้อย ผมไปร์ท-ปัญชัช ชั่งจันทร์ บรรณาธิการแผนกสวนจึงขอมารีวิวความต่าง นิสัย รวมไปถึงเคล็ดลับการดูแลจากประสบการณ์การปลูกจริงๆ ที่ผ่านมาครับ รู้จักกับวงศ์อราซีอี(Araceae) กันสักนิด วงศ์อราซีอี(Araceae) มีชื่อเรียกง่ายๆกันว่าวงศ์บอน ดังนั้นจึงจัดเป็นต้นไม้ล้มลุกอายุหลายปี ใบเลี้ยงเดียว มีลำต้นอยู่ใต้ดินในแบบเหง้าหรือหัวที่ช่วยสะสมอาหาร ส่วนที่อยู่บนดินจะมีลักษณะต่างกันตามสกุลต่างๆ เป็นต้นไม้อวบน้ำ ส่วนใหญ่จึงชอบความชุ่มชื้น ที่แฉะ และส่วนใหญ่สามารถเติบโตในน้ำได้ ช่อดอกออกตามซอกใบใกล้กับปลายยอด มีปลีดอกและกาบรองดอกเด่นชัด ส่วนใหญ่ไม่ค่อยโดดเด่นเท่าไหร่เพราะไม่ค่อยมีสีสันสวยงามเท่าไหร่ ยกเว้นดอกหน้าวัวในสกุลแอนทูเรียม ส่วนใหญ่ ผลมีเนื้อนุ่ม เมื่อสุกจะมีสีส้มหรือแดง ภายในมีเมล็ดแข็งที่สามารถเพาะได้ ทุกส่วนมียางใยที่มีพิษจากผลึกแคลเซียมออกซาเลต ส่วนผลให้ผิวหนังของทั้งคนและสัตว์เกิดอาการคันหรือบวมได้ สกุลอโลคาเซีย (Alocasia) ระดับความยาก : ยาก ที่ปลูก : หากปลูกในสวนควรเป็นบริเวณริมน้ำที่มีความชื้นสูง หากปลูกในบ้านควรอยู่บริเวณที่ได้รับแสงแดดช่วงเช้าอย่างริมหน้าต่างหรือระเบียง ต้นไม้ชนิดอื่น : แก้วหน้าม้า นางกวัก ม้าลาย […]
รวมเงินไหลมาและซิงโกเนียมชนิดต่างๆ เหล่าไม้ใบที่ปลูกง่ายที่สุด
สำหรับมือใหม่หัดปลูกต้นไม้ใบ คงไม่พลาดที่จะต้องหา ซิงโกเนียม (Syngonium) หรือที่หลายคนรู้จักกันในชื่อ เงินไหลมา ทองไหลมา หรือออมเพชร ซึ่งนับได้ว่าเป็นหนึ่งในชนิดของไม้ใบที่ปลูกง่ายที่สุด และเหมาะกับปลูกในห้องต่างๆภายในบ้าน อีกทั้งยังสามารถนำไปขยายพันธุ์ต่อได้ไม่ยาก ปัจจุบันเองก็มี ซิงโกเนียม ที่กำลังเป็นที่นิยมอีกมากมายที่น่ารู้จัก และลองมาเจาะลึกวิธีปลูกซิงโกเนียมชนิดต่างๆ ดังนี้ ซิงโกเนียม (Syngonium) เป็นชื่อสกุลหนึ่งในวงศ์ Araceae หรือบอน ได้ชื่อมาจากภาษากรีกที่หมายถึงลักษณะของรังไข่ในดอกที่เชื่อมติดกัน มีอยู่มากกว่า 35 ชนิด จัดเป็นไม้เลื้อย อายุหลายปี ต้นอวบน้ำ เลื้อยพันด้วยรากพิเศษที่ออกตามข้อใบ ลำต้นสีเขียวอมเทา ขนาดที่ยังเป็นต้นเล็กจะมีใบลักษณะรูปหัวใจ และเมื่อโตขึ้นมาขนาด รูปร่าง และลวดลายของใบจะเปลี่ยนไป มีทั้งที่เป็นใบเดี่ยวรูปหัวลูกศรและใบรูปมือ ก้านใบยาว ช่อดอกมีกาบหุ้มปลีดอกสีขาวครีมคล้ายดอกหน้าวัวออกตามซอกใบ มักจะมีดอกเมื่อต้นไต่ขึ้นต้นไม้ใหญ่หรือผนังและเติบโตได้เต็มที่ มักไม่ติดผล ซิงโกเนียมมีถิ่นกำเนิดบริเวณทวีปอเมริกาใต้จากเม็กซิโกถึงบราซิลและโบลิเวีย ส่วนใหญ่มักมีชื่อในภาษาไทยที่เป็นมงคล เชื่อว่าเมื่อปลูกแล้วจะนำพาโชคและทรัพย์สินมาให้กับผู้เป็นเจ้าของเหมือนลักษณะการเลื้อยทอดยาวของลำต้นและแตกออกเป็นต้นใหม่ จึงนิยมนำมาปลูกใส่กระถางหรือแช่น้ำในแจกันในบริเวณต่างๆของร้านค้าและบ้านเรือน อีกทั้งยังพบว่ามีประสิทธิภาพสูงในการช่วยลดมลพิษในอากาศ วิธีปลูกซิงโกเนียม ซิงโกเนียมปลูกง่ายมาก จะเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน ระบายน้ำได้ดี เช่นดินผสมใบก้ามปูหรือกาบมะพร้าว ชอบแสงแดดรำไร หากได้รับแดดจัดเกินไปใบจะไหม้ได้ง่าย ยกเว้นเมื่อต้นโตเต็มที่แล้วจนมีขนาดใหญ่แข็งแรง แผ่นใบจะหนาขึ้นจนทนสภาพแสงแดดจัดได้ นอกจากนั้นยังสามารถปลูกในน้ำได้อีกด้วย นิยมขยายพันธุ์โดยการปักชำ […]
ปลูกบอนที่ไม่ใช่บอนสี อโลคาเซีย(Alocasia)และโคโลคาเซีย(Colocasia) ที่น่าสะสม
เพราะกระแสต้นไม้ใบยังคงฮอตฮิตและไม่จางหายไปจากความสนใจของใครหลายๆคนง่ายๆ บางชนิดราคาถูกลง เปิดโอกาสให้เหล่านักสะสมหน้าใหม่สามารถเริ่มหามาปลูกได้สบายกระเป๋า และหลายชนิดกำลังกลับมาเป็นที่นิยมและสนใจของเหล่านักสะสมไม้ใบในขณะนี้ รวมอโลคาเซีย (Alocasia) หรือที่คนไทยส่วนใหญ่คุ้นเคยในชื่อบอนกระดาด แก้วหน้าม้า หรือ นางกวัก และโคโลคาเซีย (Colocasia) ได้แก่ เผือก หรือบอนแกง ซึ่งสำหรับใครที่พึ่งเคยได้ยินหรือไม่รู้จัก ลองมารู้จักต้นไม้กลุ่มบอนเหล่านี้ที่น่าสนใจกัน รู้จักอโลคาเซีย และ โคโลคาเซีย อโลคาเซียและโคโลคาเซียเป็นสกุลหนึ่งในวงศ์ ARACEAE จึงมีลักษณะที่คล้ายกับญาติในวงศ์ตัวอื่นๆอย่างบอนสี อโกลนีมา ฟิโลเดนดรอน หน้าวัวใบ ฯลฯ โดยเฉพาะรูปทรงของดอกและรูปร่างของใบ อโลคาเซียที่เรามักนำใช้ประโยชน์และพบเห็นได้ทั่วไป คือบอนกระดาดที่เรานิยมนำมาปลูกประดับในสวนสไตล์ทรอปิคัล นอกจากนั้นยังมีไม้กอขนาดย่อมๆที่เรานิยมนำมาปลูกในกระถางตั้งไว้เพื่อความเป็นสิริมงคลอย่างนางกวัก แก้วหน้าม้า หรือแก้วสารพัดนึก ส่วนโคโลคาเซียจะนิยมปลูกไว้บริโภค มีว่านมเหศวรและว่านลิงค์ดำที่เป็นต้นไม้มงคลเช่นกัน อโลคาเซียและโคโลคาเซียเป็นต้นไม้ล้มลุกอายุหลายปี พบได้ในธรรมชาติแถบเอเชียและออสเตรเลีย มักขึ้นในป่าดิบชื้นหรือตามริมแหล่งน้ำ หลายชนิดจะเหลือเพียงเหง้าหรือกอเล็กๆในช่วงฤดูหนาว หลายคนเข้าใจผิดหรือแยกไม่ออกระหว่างต้นไม้ในสกุลอโลคาเซีย กับ โคโลคาเซีย (Colocasia) ได้แก่ เผือก บอนแกง บอนห้วย ฯลฯ ซึ่งกลายเป็นที่มาของชื่อ Alocasia ที่แปลว่า “ไม่ใช่โคโลคาเซีย” จุดสังเกตที่ชัดที่สุดของต้นไม้สองสกุลนี้คือลักษณะของหัว อโลคาเซียจะมีลำต้นอยู่ใต้ดินในลักษณะของเหง้ายาว มีลำต้นเหนือดินที่เกิดจากการซ้อนกันของกาบใบ […]
พลูปีกนก
พลูใบย่น/พลูระเบิด/มอนสเตอรา ‘คาร์สตีเนียนัม’/บลูเบิร์ด ชื่อวิทยาศาสตร์: Monstera sp. ‘Karstenianum’ วงศ์: Araceae ประเภท: ไม้เลื้อย อายุหลายปี ลำต้น: ลำต้นเล็กทรงกระบอก มีข้อปล้อง รากออกตามข้อปล้อง ใบ: ใบเดี่ยวเรียงเวียน รูปรีถึงรูปไข่กว้าง ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ เห็นเส้นใบชัดเจนจนดูเหมือนผิวใบย่น แผ่นใบหนาสีเขียวอมเหลือง ดอก: ดอกออกเป็นช่อแบบช่อเชิงลดมีกาบ ดอกย่อยขนาดเล็ก ไม่มีก้านดอก อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลางถึงเร็ว ดิน: ชอบวัสดุปลูกระบายน้ำดี ไม่ชอบน้ำขังแฉะ แสงแดด: แสงแดดรำไร น้ำ: ปานกลางถึงมาก การขยายพันธุ์: ปักชำลำต้น การใช้งานและอื่นๆ: นิยมปลูกเป็นไม้กระถาง ปลูกเลี้ยงง่าย ทนต่อทุกสภาพอากาศ ใช้ตกแต่งบ้านได้ดี นิยมปล่อยให้เลื้อยขึ้นหลัก เกร็ดน่ารู้: ถิ่นกำเนิดในเวเนซุเอลา รู้จักกันแพร่หลายในชื่อ Monstera karstenianum ซึ่งเป็นชื่อไม่เป็นทางการ ตลาดต่างประเทศรู้จักกันในชื่อ Monstera spp. ‘Peru’ คาดกันว่าน่าจะเป็น […]
ฟิโลใบมะละกอ
ฟิโลใบมะละกอ ฟิโลเดนดรอน ไบพินนาติฟิดัม ชื่อวิทยาศาสตร์: Philodendron bipinnatifidum Schott ex Endl. วงศ์: Araceae ประเภท: ไม้อิงอาศัย อายุหลายปี ลำต้น: ลำต้นมีรากอากาศ ทุกส่วนของลำต้นมีน้ำยางใสที่มีกลิ่นเฉพาะตัว ใบ: ใบเดี่ยวเรียงเวียน รูปไข่ ปลายใบเรียวแหลม โคนเว้ารูปหัวใจ ขอบใบหยักเว้าเป็นแฉกเกือบถึงโคนใบมี 5 แฉก แฉกรูปแถบกว้าง ปลายแต่ละแฉกแหลมถึงมน แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง สีเขียวเข้มเป็นมัน ก้านใบรูปทรงกระบอกเรียวแคบไปทางปลาย ปลอกหุ้มยอดสีเขียวอ่อน ดอก: ดอกออกเป็นช่อเชิงลดมีกาบ อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง ดิน: ชอบดินร่วนระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดรำไร น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด ปักชำยอด และแยกหน่อ การใช้งานและอื่นๆ: ปลูกเป็นไม้กระถางประดับในอาคาร ปลูกประดับสวน และเป็นไม้ตัดใบ เกร็ดน่ารู้: มีถิ่นกำเนิดในบราซิล
ฟิโลหูช้าง
บอนหูช้าง ฟิโลเดนดรอนหูช้าง /ฟิโลเดนดรอน ไจแอนเตียม/Giant Philodendron ชื่อวิทยาศาสตร์: Philodendron giganteum Schott วงศ์: Araceae ประเภท: ไม้อิงอาศัย อายุหลายปี ลำต้น: ลำต้นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3 เซนติเมตร มีรากอากาศ ใบ: ใบเดี่ยวเรียงเวียน รูปหัวใจ ปลายใบแหลมถึงเรียวแหลม โคนเว้ารูปหัวใจ ขอบใบเว้าเป็นคลื่น แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง สีเขียวเข้ม เส้นกลางใบด้านล่างนูนเด่นชัด ก้านใบรูปทรงกระบอกเรียวแคบไปทางปลาย ปลอกหุ้มยอดสีเขียวอมเหลือง ดอก: ดอกออกเป็นช่อเชิงลดมีกาบ อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง ดิน: ชอบดินร่วนระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดรำไร น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด ปักชำยอด และตอนกิ่ง การใช้งานและอื่นๆ: ปลูกเป็นไม้กระถางประดับในอาคาร ปลูกประดับสวน และเป็นไม้ตัดใบ นอกจากนี้ยังมีฟิโลหูช้าง (ด่าง) Philodendron giganteum (Variegated) ด้วย เกร็ดน่ารู้: […]
ว่านสบู่เหล็ก
ว่านสามพันตึง ชื่อวิทยาศาสตร์: Xanthosoma nigrum (Vell.) Mansf. วงศ์: Araceae ประเภท: ไม้ล้มลุก อายุหลายปี ลำต้น: สูงประมาณ 2 เมตร มีลำต้นใต้ดินคล้ายเผือก แตกหน่อและไหลสั้นๆ รอบต้นแม่จำนวนมาก ใบ: ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปสามเหลี่ยม กว้างประมาณ 10-15 เซนติเมตร ยาวกว่า 15 เซนติเมตร โคนใบเงี่ยงลูกศร ปลายใบแหลม แผ่นใบหนา สีเขียวคล้ำ เห็นเส้นใบสีเขียวเทา และมีนวลปกคลุม ใต้ใบสีเขียวเทา ก้านใบกลม สีม่วงคล้ำ ดอก: ช่อดอกออกที่ซอกใบแบบช่อเชิงลดมีกาบ ใบประดับรองรับช่อดอกสีเขียวอมม่วง ตอนบนสีขาว ปลีดอกสีขาวนวล อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง ดิน: ชอบดินร่วนระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดครึ่งวันถึงตลอดวัน น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: แยกหน่อ แยกไหล การใช้งานและอื่นๆ: ปลูกเป็นไม้ประดับ […]
ว่านพญาหอกหัก
ตะพิด ชื่อวิทยาศาสตร์: Typhonium flagelliforme (Lodd.) Blume วงศ์: Araceae ประเภท: ไม้ล้มลุก อายุหลายปี ลำต้น: สูงประมาณ 15-20 เซนติเมตร มีลำต้นใต้ดินคล้ายหัวเผือก รูปทรงกลม ใบ: ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปใบหอกแคบ โคนใบรูปหัวลูกศร ปลายใบแหลม ก้านใบกลมยาวสีเขียว ดอก: ช่อดอกออกที่ซอกใบแบบช่อเชิงลดมีกาบ ใบประดับคล้ายกาบรองรับช่อดอกสีเขียว ปลายสีแดงอ่อน ปลีดอกสีเหลือง อัตราการเจริญเติบโต: ช้า ดิน: ชอบดินร่วนระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดรำไร พักตัวในฤดูหนาว น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: แยกหน่อ การใช้งานและอื่นๆ: ใช้เป็นสมุนไพรแก้โรคผิวหนัง เชื่อว่าเป็นว่านทางคงกระพันชาตรี หากกินจะรู้สึกคันมากเหมือนมีอะไรมาแทงลิ้น เนื่องจากสารแคลเซียมออกซาเลตที่อยู่ในต้นนั่นเอง
ว่านปรอท
ชื่อวิทยาศาสตร์: Typhonium sp. วงศ์: Araceae ประเภท: ไม้ล้มลุก อายุหลายปี ลำต้น: สูงประมาณ 20 เซนติเมตร มีลำต้นใต้ดินคล้ายหัวเผือก รูปทรงกลมขนาดเล็ก ใบ: ใบเดี่ยว เรียงเวียน รูปไข่กว้างหรือรูปหัวใจ เนื้อใบค่อนข้างหนา สีเขียวเข้ม เส้นใบเด่นชัด ดอก: ช่อดอกออกที่ซอกใบแบบช่อเชิงลดมีกาบ ใบประดับคล้ายกาบรองรับช่อดอกสีขาวนวล มีจุดประสีแดง ปลีดอกสีเหลือง อัตราการเจริญเติบโต: ช้า ดิน: ชอบดินร่วนระบายน้ำดี แสงแดด: แสงแดดรำไร น้ำ: ปานกลาง การขยายพันธุ์: แยกหน่อ การใช้งานและอื่นๆ: ปลูกเป็นไม้ประดับ ในทางสมุนไพรใช้เป็นยาถอนพิษ ฝี และอาการปวดแสบปวดร้อนจากน้ำร้อนลวกหรือไฟลวก โดยนำหัวหรือใบมาตำให้ละเอียดผสมกับเหล้าขาว พอกบริเวณที่เกิดอาการจะช่วยบรรเทาอาการลงได้ แต่หัวว่านนี้เมื่อกินเข้าไปแล้วจะคันมาก เนื่องจากมีสารแคลเซียมออกซาเลตในเนื้อ หมายเหตุ: ว่านปรอทที่ปลูกเลี้ยงกันในปัจจุบันมีหลายพันธุ์ แต่ส่วนใหญ่เป็นต้นที่เรียกว่า ว่านตะพิดเล็ก หรือ อุตพิดเล็ก (Typhonium sp.) ซึ่งเป็นพืชอีกชนิดหนึ่ง นอกจากนี้ว่านปรอทในบางตำราก็เป็นพืชในวงศ์ขิงด้วย