© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
สภาวิศวกรแห่งใหม่ ที่วางตัวเป็นพื้นที่สาธารณะของเมือง เชิดชูงานออกแบบวิศวกรรม ผ่านภาษาทางสถาปัตยกรรมอันแยบยล โดย AATTN8A สภาวิศวกร หรือ Council of Engineers Thailand คือองค์กรที่อาจเรียกได้ว่าเป็นกระดูกสันหลังของอุตสาหกรรมมากมายในประเทศไทย โดยเฉพาะเครื่องกล และโยธา หรืองานก่อสร้างที่เราคุ้นปากกันนี่เอง เมื่อถึงเวลาที่ต้องขยับขยาย และปรับเปลี่ยนอาคารหลังเก่าสู่ถนนลาดพร้าว พื้นที่ใหม่ ติดรถไฟฟ้าหลังนี้ การประกวดแบบจึงเกิดขึ้น และ ativich โดยคุณ วิชญ์-อติวิชญ์ กุลงามเนตร ก็คือผู้ที่ชนะการประกวดแบบในครั้งนี้ไปด้วยคอนเซ็ปต์ “อาคารรัฐที่ถูกปรับเป็นพื้นที่สาธารณะของเมือง” อย่างไม่ทิ้งความภาคภูมิของงานวิศวกรรมไทย งานออกแบบอาคารหลังนี้ได้นำเอาความเป็นเลิศทางการออกแบบวิศวกรรมทุกแขนงเข้าไว้ในทุกองค์ประกอบ ตั้งแต่การออกแบบโครงสร้างที่มาการยื่น การถ่ายเทน้ำหนักอย่างตื่นตาท้าทาย ผ่านโครงสร้างเหล็กของ SYS Steel งานระบบต่าง ๆ วัสดุที่ล้ำสมัย และการเดินระบบโชว์เปลือยแต่สุดแสนจะลงตัว เรียกว่ามาที่นี่ ได้เห็นโชว์เคสล้ำ ๆ เป็นตัวอย่าง และแรงบันดาลใจได้อย่างดีแน่นอน แต่มากกว่านั้น อาคารหลังนี้ เกิดจากความพยายามเปลี่ยนภาพจำของ “สถาบันที่เปิดรับแต่คนใน” ให้กลายเป็น “พื้นที่สาธารณะของเมืองสำหรับเชื่อมโยงวิชาชีพสู่บุคคลทั่วไป” หรือเรียกง่าย ๆ ว่าอาคาร และกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นต่อจากนี้จะช่วยสร้างความเข้าใจ “งานวิศวกรรม” […]
ทุกวันอันแสนรื่นรมย์ เมื่อได้อยู่ท่ามกลางธรรมชาติของเขาใหญ่ ที่ บ้าน ทั้งหลังยังออกแบบมาอย่างหมดจด ไม่ต่างอะไรกับงานศิลป์ประติมากรรมที่อยู่อาศัยได้กับ PG HOUSE หลังนี้ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: AAd – Ayutt and Associates Design บ้านหลังนี้มีโจทย์เริ่มต้นจากความต้องการในการสร้างเรือนสำหรับงานอดิเรกเพิ่มขึ้นอีกหลังในที่ดินเดิมของเจ้าของบ้าน การสะสมรถซุปเปอร์คาร์ งานศิลปะ Studio สำหรับซ้อมเต้น และมิกซ์เพลง รวมทั้งยังเป็นเหมือนห้องรับแขกไปในตัวอีกด้วย และนั่นจึงทำให้บ้านหลังนี้ มีความพิเศษที่แตกต่างอย่างลงตัว ซุปเปอร์คาร์และงานศิลป์ท่ามกลางทิวเขา “เราตั้งใจให้การขับรถเข้ามานั้น จะรู้สึกว่าได้เข้ามาจอดท่ามกลาง Scene ของทิวเขาเหล่านี้ ในบรรยากาศที่พิเศษ ในพื้นที่พิเศษ” นั่นจึงทำให้บ้านหลังนี้ดูแตกต่างจากความเป็นอู่รถ หรือ โชว์รูม แต่คือเวทีที่รถทุกคันจะได้มีพื้นที่พิเศษของตัวเอง การเปิดพื้นที่วิวรับกับจุดจอดรถแต่ละคันล้วนถูกคิดคำนึงมาเป็นอย่างดี ทั้งการให้แสง และจังหวะของการจอดก็เช่นกัน ด้วยเหตุนี้เองบ้านหลังนี้จึงต้องใส่ใจกับความเป็นศิลป์ในพื้นที่เป็นพิเศษ เพื่อให้ในทุกจังหวะของมุมมอง สามารถเชื่อมโยงความชอบ บ้านสีดำที่รับเอาวิวทิวทัศน์เข้าไว้กับตัวสังเกตได้ว่า การออกแบบบ้านหลังนี้มีการใช้สีในโทนมืดมากกว่าสว่าง ซึ่งสาเหตุที่เลือกใช้โทนดำเป็นหลักก็เพื่อให้บรรยากาศภายในบ้านนั้น ไม่รบกวนทิวทัศน์โดยรอบของบ้านหลังนี้ เมื่อมองจากภายในสู่ภายนอก ทัศนียภาพโดยรอบจึงมีความสว่างมากกว่าพื้นที่ภายใน อีกทั้งการที่บ้านมีการเปิดรับมุมมองในรอบทิศทางด้วยกระจกใส หากตกแต่งด้วยโทนสว่างอาจทำให้แสงสว่างที่เข้าสู่ภายในเจิดจ้าจนเกินสภาวะน่าสบายได้ โทนสีดำนี้จึงเป็นเหมือนการคุมความสบายให้อยู่ในระดับที่พอดีไปพร้อมกัน นอกจากนี้ การที่พื้นที่ภายในออกแบบให้เป็นโทนดำ ยังทำให้เมื่อมองจากภายนอกแล้ว วิวเขาจะเกิดการสะท้อนกับอาคาร […]
Road Show เทศกาลงานสถาปัตยกรรมระดับโลก โดยสถาปนิก เพื่อสถาปนิก ครั้งแรกในประเทศไทย หากจะมีเทศกาลงานใดสักงานที่จะจัดขึ้นเพื่อปลุกพลังความสร้างสรรค์ของสถาปนิกได้จากเบื้องลึก “World Architecture Festival” หรือที่รู้จักกันในนาม “WAF” ย่อมเป็นหนึ่งในงานอันดับแรกสุด เพราะเป็นเทศกาลที่รวมประเด็นและกิจกรรมเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมได้อย่างกว้างขวางที่สุด ครบครันและเข้มข้นที่สุด ด้วยจุดมุ่งหมายเพื่อให้เป็นงานที่เพื่อนร่วมวิชาชีพจากทั่วโลกมาพบปะกันได้มากที่สุด เพื่อยกระดับวิชาชีพและการทำงานให้กว้างไกลไปสู่ระดับสากล งาน World Architecture Festival (WAF) จัดขึ้นครั้งแรก 15 ปีที่แล้วในปี 2008 โดยออกแบบให้งานในแต่ละปีเป็นเวทีที่เวียนเรื่อยไปในแต่ละประเทศ เพื่อเข้าหาและเชื่อมโยงสถาปนิกจากมุมโลกต่าง ๆ โดยความเปิดกว้างและทรงเกียรติของ WAF เปรียบได้กับรางวัล Academy Awards หรือ Oscar ในโลกของสถาปัตยกรรมที่การแข่งขันและเชิดชูเกียรติบนเวทีของ WAF จะเป็นแรงบันดาลใจและสร้างพลังให้สถาปนิกทุกคนได้สร้างผลงานอันเป็นที่ประจักษ์ต่อเพื่อนร่วมวิชาชีพบนเวทีโลก โดย WAF มี โกรเฮ่ (GROHE) หนึ่งในพาวเวอร์แบรนด์ของลิกซิล ซึ่งเป็นแบรนด์ชั้นนำระดับโลกที่นำเสนอโซลูชันสำหรับห้องน้ำและอุปกรณ์ฟิตติ้งสำหรับห้องครัวอย่างครบครันเป็นพันธมิตรผู้ร่วมก่อตั้ง (Founder Partner) ทั้งคู่มีจุดมุ่งหมายร่วมกันคือเชื่อมโยงชุมชนนักออกแบบทั่วทุกภูมิภาคเข้าหากัน และยกระดับอุตสาหกรรมการออกแบบให้กว้างขวางและเป็นสากลมากขึ้น สำหรับ WAF ปี 2023 ที่กำลังจะเกิดขึ้นในวันที่ […]
บ้านหน้าแคบ สีดำ ที่มีโจทย์สำคัญคือการทำให้บ้านยิ่งอยู่ต้องยิ่งสวย มีการออกแบบฟังก์ชันพร้อมกับการแก้สารพัดปัญหาที่ดินและโครงสร้าง ด้วยเพราะเป็นที่ดินหน้าแคบ มีรูปร่างสี่เหลี่ยมคางหมู ประกอบกับบ้านหันหน้าไปทางทิศตะวันตกที่แดดร้อน จึงเป็นความท้าทายในการค้นหาวิธีที่ลงตัวที่สุดโดยใช้การออกแบบที่ดีมาช่วยแก้ปัญหาต่างๆ DESIGNER DIRECTORY : ออกแบบ : B24 DESIGN สถาปัตยกรรม : B24 DESIGN โดยคุณศิริพร แน่นหนา โทรศัพท์ 08-2491-2424 ออกแบบตกแต่งภายใน : บริษัทสองห้าอินทีเรียส์ จำกัด โดยคุณวรกิตต์ ศรีธิมากุล โทรศัพท์ 08-6325-2525 เจ้าของ : คุณกมลนาถ – คุณนกุล เตชะพุทธพงศ์ บ้านหน้าแคบ สีดำ ที่ตั้งเด่นอยู่หัวมุมในซอยย่านลาดพร้าว อาจไม่มีใครคิดว่าภายในเงาดำนั้นได้ซุกซ่อนแง่มุมความงามที่เกิดจากการตกตะกอนความคิด เพื่อแก้ปัญหาที่ดิน ฟังก์ชันและโครงสร้าง ซึ่งทำให้การออกแบบกลายเป็นความท้าทายของทั้งเจ้าของบ้าน คุณเก๋-กมลนาถ และ คุณนกุล เตชะพุทธพงศ์ มัณฑนากร คุณลิ – วรกิตต์ ศรีธิมากุล แห่ง 25 […]
สถาปัตยกรรม 3 รูปแบบ ซึ่งเป็นทั้งโรงงานน้ำแข็ง สำนักงาน และบ้านพักอาศัย ที่นำสายลม แสงแดด และธรรมชาติกลับมาใช้ประโยชน์อย่างเข้าใจ
สถาปัตยกรรมพร้อมอาศัยในวันที่ “บ้าน” ไม่เพียงพอสำหรับทุกคน บทความพิเศษจาก Room Books : The Annual Property Issue ฉบับเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2560 (ตอนที่ 9)
สถาปัตยกรรมพร้อมอาศัยในวันที่ “บ้าน” ไม่เพียงพอสำหรับทุกคน บทความพิเศษจาก Room Books : The Annual Property Issue ฉบับเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2560 (ตอนที่ 8)
สถาปัตยกรรมพร้อมอาศัยในวันที่ “บ้าน” ไม่เพียงพอสำหรับทุกคน บทความพิเศษจาก Room Books : The Annual Property Issue ฉบับเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2560 (ตอนที่ 7)
สถาปัตยกรรมพร้อมอาศัยในวันที่ “บ้าน” ไม่เพียงพอสำหรับทุกคน บทความพิเศษจาก Room Books : The Annual Property Issue ฉบับเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2560 (ตอนที่ 6)
สถาปัตยกรรมพร้อมอาศัยในวันที่ “บ้าน” ไม่เพียงพอสำหรับทุกคน บทความพิเศษจาก Room Books : The Annual Property Issue ฉบับเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2560 (ตอนที่ 5)
สถาปัตยกรรมพร้อมอาศัยในวันที่ “บ้าน” ไม่เพียงพอสำหรับทุกคน บทความพิเศษจาก Room Books : The Annual Property Issue ฉบับเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2560 (ตอนที่ 4)
สถาปัตยกรรมพร้อมอาศัยในวันที่ “บ้าน” ไม่เพียงพอสำหรับทุกคน บทความพิเศษจาก Room Books : The Annual Property Issue ฉบับเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2560 (ตอนที่ 3)