© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
“บ้านหลังนี้หากดูเผินๆ จะเหมือนถังน้ำมันที่กำลังกลิ้งตกเขา เมื่อเข้าไปข้างใน อาจจะรู้สึกเหมือนกำลังเดินเข้าถ้ำ แต่ถ้ามองออกมานอกหน้าต่างกลับรู้สึกเหมือนอยู่บนบ้านต้นไม้”
แม้บ้านนี้จะดูลอยเด่นด้วยรูปทรงที่ค่อนข้างแปลก แต่ความเคารพต่อธรรมชาติที่แวดล้อมก็มีอยู่ในใจอย่างเต็มเปี่ยม เราให้ความสำคัญกับทิศทางของแสงและลมในแต่ละช่วงเวลา เราศึกษาถึงช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ และที่สำคัญที่สุดก็คือการเปิดรับทิวทัศน์ของท้องทะเล เพราะนี่คือบ้านตากอากาศ
“การรวมบ้านสองหลังให้กลายเป็นบ้านหลังเดียว ต้องอาศัยการวางผังภายในที่ดี และการวางกลุ่มก้อนของตัวอาคารที่ลงตัว ซึ่งผมคิดว่ายากกว่าการออกแบบบ้านใหม่เสียอีก นอกจากนี้เรายังต้องคำนึงถึงการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมเก่าอีกด้วย” ผืนน้ำและเส้นขอบฟ้าของเมืองซิดนีย์คือสิ่งที่เจ้าของบ้านหลังนี้มองเห็นทุกเช้าจากหน้าต่างภายในห้องนอน สามีเป็นกราฟิกดีไซเนอร์ใช้เวลาขับรถไปทำงานในย่านดาวน์ทาวน์เพียงวันละไม่กี่นาที ส่วนภรรยาเป็นทนายความอิสระ มีห้องทำงานอยู่ในบ้านติดกับห้องของเล่นของลูกๆ ทุกอย่างที่พวกเขาต้องการอยู่ไม่ไกลจากบ้าน ความสะดวกสบายคือเสน่ห์ของชีวิตในเมือง ซึ่งทำให้พวกเขาเลือกที่จะอยู่ในบ้านหลังนี้ วิวสวย สะดวกสบาย แต่คับแคบอาจเป็นลักษณะของบ้านในเมืองใหญ่ที่เราคิดกัน สองข้อแรกตรงกับบ้านนี้อย่างที่ผมเล่าไปแล้ว จริงๆบ้านหลังนี้ก็เคยคับแคบ (ดูจากรูปแล้ว คุณผู้อ่านคงสงสัยว่าไม่เห็นจะแคบเลย ออกจะใหญ่ปานนี้) พื้นที่ใช้สอยในบ้านหลังนี้เคยมีขนาดหนึ่งในสามของที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ก่อนที่จะมีลูกๆ พวกเขาอาศัยอยู่ในบ้านเดี่ยวชั้นเดียวหลังเล็กได้อย่างสบายๆ แต่เมื่อลูกๆ(สามคน)เริ่มโตขึ้น ความต้องการพื้นที่ก็มีมากขึ้น เจ้าของบ้านจึงบอกกับสถาปนิกว่า “จะให้ขายแล้วย้ายออกไปอยู่บ้านใหญ่นอกเมือง คงทำไม่ลง เราอยากต่อชั้นสอง” เรื่องราวหลังจากนี้จะเป็นอย่างไร กว่าจะมาเป็นบ้านหลังนี้ พวกเขาต้องทำอะไรกันบ้าง คุณแอนดรูว์ นิมโม่ สถาปนิกที่เราเคยนำเสนอผลงานมาแล้วกำลังจะเล่าให้เราฟังเป็นฉากๆครับ “ที่ไม่พอก็ต้องต่อเติม” ฟังดูเหมือนเป็นการแก้ปัญหาบ้านคับแคบที่ง่ายที่สุด คุณแอนดรูว์เท้าความถึงจุดเริ่มต้นของโปรเจ็คท์นี้ว่า “ลูกค้าโทรศัพท์มาปรึกษาเรื่องการต่อเติมชั้นสองของบ้านชั้นเดียวที่ทั้งแคบทั้งเก่า ผมได้ยินแล้วรู้สึกสนใจ และคิดว่าน่าจะเป็นโอกาสทำให้บ้านเก่าหลังนี้กลับมากระชุ่มกระชวยอีกครั้ง “เมื่อออกแบบคอนเซ็ปต์เสร็จเรียบร้อย ผมก็นำแปลนไปขออนุญาตที่สำนักงานเขตเทศบาล แต่น่าเสียดายที่คณะกรรมการตรวจสอบไม่อนุมัติการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของบ้าน เพราะบ้านหลังนี้อยู่ในเขตอนุรักษ์สถาปัตยกรรมเก่า เราก็เลยคอตก อกหัก แต่ก็เข้าใจ” “ปรับปรุงได้ แต่ห้ามเปลี่ยนแปลง” แม้จะถูกปฏิเสธกลับมาด้วยคำพูดนี้ แต่ทั้งสถาปนิกและลูกค้าก็ยังไม่ยอมแพ้ กลับมานั่งประชุมโต๊ะกลม […]