© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
23 กรกฎาคม 2567 – กรุงเทพมหานคร, นิปปอนเพนต์ ในฐานะผู้ผลิตและจำหน่ายสีรายใหญ่อันดับ 1 ของเอเชียและอันดับ 4 ของโลก จากประเทศญี่ปุ่น ที่มุ่งมั่นคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมสีทาอาคารจากความต้องการของผู้บริโภคอย่างแท้จริง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมอยู่เสมอ โดยหนึ่งในปณิธานของแบรนด์เกิดจากความต้องการที่พร้อมเป็นส่วนหนึ่งเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนและสังคมให้ดีและน่าอยู่มากขึ้น การเข้าร่วมโครงการปรับภูมิทัศน์ของกรุงเทพมหานคร ภายใต้กิจกรรมจิตอาสา “เราทำความ ดี ด้วยหัวใจ” บูรณะสะพานกว่า 300 แห่งทั่วกรุงเทพฯ ที่มีสภาพทรุดโทรมจากการใช้งานต่อเนื่องหลายปี ไม่ว่าจะเป็นสะพานข้ามทางแยกสำหรับรถยนต์ สะพานลอยคนข้ามถนน สะพานข้ามคลอง และราวกั้นทางเดิน โดยนอกจากจะช่วยให้ภูมิทัศน์เมืองสวยงาม เป็นระเบียบ ปลอดภัย และน่าอยู่สำหรับทุกคนแล้ว ยังสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของแบรนด์อย่างชัดเจน นิปปอนเพนต์จึงพร้อมมอบผลิตภัณฑ์สีคุณภาพสูงสุดที่ออกแบบโดยคำนึงถึงความทนทานด้านการใช้งาน รวมมูลค่าทั้งสิ้น 10 ล้านบาท ให้แก่ กทม. โดยกิจกรรม CSR ทำความดีตอบแทนสังคมนี้ จัดขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 72 พรรษา ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2567 ความร่วมมือกับกรุงเทพฯ ในครั้งนี้ มุ่งเน้นเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงในวงกว้าง ทั้งในด้านการปรับภูมิทัศน์ของเมืองให้น่าอยู่รวมทั้งความปลอดภัยที่ได้จากคุณสมบัติของสี พร้อมยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้คนให้มีสุขภาพกายและใจที่ดี […]
Madgrey สตูดิโอสักลาย และคาเฟ่ ที่รีโนเวตจากอาคารพาณิชย์เก่า ลบภาพจำเดิมๆของวัฒนธรรมการสักที่น่ากลัว สู่บรรยากาศเรียบนิ่งแบบ Futuristic Minimal DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: TasteSpace ไม่มีอีกแล้วกับบรรยากาศอึมครึมของร้านสัก แผ่นภาพร่างแปะเต็มผนัง เพราะนั่นอาจเป็นภาพจำของร้านสักในความคุ้นชิน แต่ด้วยฝีมือของ Tastespace.co การออกแบบประสบการณ์ของการสักจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป #ดิบแต่เนี้ยบ ที่ Madgrey เราจะไม่ได้เห็นความรก เพราะทุกสัดส่วนพื้นที่ถูกคิดมาอย่างเหมาะเจาะลงตัวแล้ว ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการเข้าไปใช้พื้นที่ซึ่งเป็นอาคารพาณิชย์เก่าย่านซอยอารีย์ทำให้การจัดการกับงานระบบ และโครงสร้างเดิม ต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบของพื้นที่ให้เพียงพอต่อความต้องการการใช้งานที่เปลี่ยนไป สังเกตได้ว่าในส่วนที่ไม่ได้สัมผัส หรือเข้าถึงการใช้งาน เช่น ฝ้าเพดาน หรือเสาโครงสร้าง องค์ประกอบเหล่านี้จะถูกรื้อออกและปล่อยเปลือยไว้อย่างจงใจ เพื่อให้ได้พื้นที่มากขึ้นสำหรับการใช้งาน ก่อนงานระบบใหม่จะเดินลอยผ่านไปยังการใช้งานที่ได้ถูกจัดวางและออกแบบใหม่ให้ลงตัว เกือบทุกส่วนของร้าน ได้รับการออกแบบให้เป็นเหมือนพื้นที่เก็บของ และโชว์สินค้าในตัวเอง ทั้งชั้นวาง ลิ้นชัก และชั้นโชว์ ทั้งนี้ก็เพื่อให้พื้นที่ทั้งหมดเพียงพอต่อการใช้งาน เป็นระเบียบ ดูสะอาด สมกับที่ร้านสักควรจะเป็น และปลอดโปร่งน่าไว้ใจ ด้วยเหตุนี้พื้นผิวของวัสดุเกือบทั้งหมดจึงเป็นวัสดุประเภทสเตนเลสทำความสะอาดง่ายนั่นเอง การปล่อยเปลือยในส่วนโครงสร้างเดิม และเลือกใช้วัสดุมันวาวขัดด้านในส่วนใช้งาน ยังช่วยขับเน้นให้พื้นที่ที่ถูกใช้ดูเนี้ยบยิ่งขึ้นไปอีก สะท้อนถึงภาพลักษณ์ และบุคลิกของร้านที่แตกต่างจากร้านสักอื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี แต่ก็ยังคุมโทนความอบอุ่นไว้ด้วยพื้นไม้เทียมสีอ่อน รับกันดีกับไฟสีวอร์มไวท์ในทุกบริเวณ #เปิดช่องรับแสงธรรมชาติ ส่วนสำคัญของการรีโนเวตในครั้งนี้ที่พลิกบรรยากาศจากความทึบตันเดิมของอาคาร […]
บ้านหลังนี้ได้เก็บโครงสร้างเดิมไว้ ทั้งคอนกรีต และไม้บางส่วน เพื่อนำมาใช้บอกเล่าเรื่องราวที่ยังคงดำเนินต่อไป เพราะเดิมทีบ้านหลังนี้เป็นบ้านที่คุณพ่อของเจ้าของบ้านได้ออกแบบสร้างเอาไว้ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ : Collage Design Studio การยังคงไว้ซึ่งโครงสร้างตามที่คุณพ่อได้คิดก่อสร้างไว้ก็เปรียบได้กับการคงจิตวิญญาณดั้งเดิมของบ้านเอาไว้ แต่นำพาสู่บทใหม่ด้วยการออกแบบตกแต่ง และปรับเปลี่ยนการใช้งานในหลาย ๆ ส่วน และ แนวทางการปรับปรุง คือการผสานกลิ่นอายร่วมสมัยเข้ากับโครงสร้าง สร้างที่พักอันทันสมัยสำหรับเจ้าของบ้าน พร้อมด้วยสระว่ายน้ำ และบาร์กลางแจ้งสำหรับการสังสรรค์ จึงทำให้ปรับบ้านหลังนี้เป็นบ้านล้อมคอร์ตซึ่งเป็นสระว่ายน้ำ มีใต้ถุนเป็นพื้นที่ที่สามารถเปิดหากันได้ตลอด และชั้นบนที่มีความเป็นส่วนตัว ในด้านองค์ประกอบโครงสร้างนั้น ผู้ออกแบบได้เลือกใช้โครงไม้ดั้งเดิมที่ส่วนใหญ่ยังคงสภาพสมบูรณ์อย่างน่าทึ่ง โดยมีแผ่นพื้นกว้างและทนทานซึ่งหาได้ยากในปัจจุบัน ด้วยการใช้โอกาสในการอนุรักษ์องค์ประกอบอันเป็นที่รักเหล่านี้ จึงตัดสินใจย้ายบันไดออกไปด้านนอก และเปลี่ยนสำนักงานเก่าที่ทรุดโทรมของคุณพ่อให้กลายเป็นบริเวณสระว่ายน้ำ เมื่อการรื้อถอนเริ่มต้นขึ้นก็มีสิ่งปรากฏออกมา นั่นคือเสาและคานคอนกรีตเสริมเหล็กคงสภาพแข็งแรง ซึ่งออกแบบโดยผู้เป็นพ่อเอง โดยมีทั้งความทนทาน และเต็มไปด้วยร่องรอยของเรื่องราวในอดีต ด้วยแรงบันดาลใจจากการค้นพบที่ไม่คาดคิด การออกแบบจึงพัฒนาเพื่อรวมองค์ประกอบของโครงสร้างดั้งเดิม โดยมีสระว่ายน้ำอยู่ใต้ส่วนโค้งอันสง่างาม ในส่วนของความเป็นส่วนตัว อันเป็นที่มาของชื่อบ้านนั้น เกิดจากข้อกังวลเรื่องความเป็นส่วนตัวกระตุ้นให้เกิดการสร้างแนวกั้นป้องกัน ซึ่งเป็นแนวกำแพงที่เพิ่มขึ้นจากส่วนที่เหลือของสำนักงานเดิม ผนังไฟเบอร์ซีเมนต์พับเก็บอย่างสวยงามเป็นรูปตัวเอส (s) พร้อมปกปิดและเปิดเผยให้เห็นในคราวเดียวกัน ทำหน้าที่เป็นสัญลักษณ์ด้านหน้าบ้านสำหรับบ้านที่มีชีวิตชีวา พาร์ทิชั่นคดเคี้ยวนี้แบ่งพื้นที่ในขณะที่ช่วยเสริมการเชื่อมต่อ โดยผสมผสานระหว่างความเก่ากับใหม่ ผนังชั้นล่างเป็นอิฐและปูนฉาบแข็งในสมัยก่อน ช่วยให้พื้นที่อยู่อาศัยเปิดโล่งและสว่าง ชวนให้นึกถึง “ใต้ถุน” พื้นที่เปิดโล่งใต้บ้านทรงไทย ที่ผสมผสานพื้นที่ในร่มและกลางแจ้งได้อย่างลงตัว ส่วนห้องนอนใหญ่ชั้นบนสะท้อนถึงการนำวัสดุผนังใหม่มาวางทับโครงสร้างเก่า […]
“ตำหนิ” คือร่องรอยอันเป็นสิ่งยืนยันการข้ามผ่านกาลเวลาของสิ่งหนึ่งๆ เป็นร่องรอยที่สร้างเอกลักษณ์อันแตกต่างให้กับสิ่งๆนั้น เพราะฉะนั้น “Tamni Hostel” จึงเหมือนเป็นภาพแทนของร่องรอยสิ่งที่เป็นชุมชนในพื้นที่ซอยพระยาสิงหเสนีแห่งนี้นั่นเอง เดิมทีพื้นที่แห่งนี้เป็นที่ดินของเจ้าของโรงแรม Tamni Hostel ในปัจจุบัน แต่หากย้อนกลับไป 30-50 ปีที่แล้ว การแบ่งพื้นที่เพื่อปล่อยเช่าคือคำตอบของธุรกิจในตอนนั้น จนกระทั่งผ่านกาลเวลา และพื้นที่ในซอยพระยาสิงหเสนี ได้ตกมาถึงคุณ ธัญ สิงหเสนี เจ้าของโรงแรมแห่งนี้ การนำพาพื้นที่แห่งนี้ให้ไปสู่ยุคสมัยถัดไปจึงเป็นเหมือนโจทย์สำคัญที่ทำให้ Tamni Hostel เกิดขึ้น การออกแบบ Tamni Hostel นั้น มีขึ้นเพื่อสร้างให้ชุมชนได้กลับมาคึกคักดังเช่นวันวานมากกว่าจะเป็นในแง่ของธุรกิจ เพราะเมื่อลักษณะของชุมชนที่ทำธุรกิจโรงกลึงขนาดเล็ก และค้าเหล็กเป็นสำคัญ เริ่มที่จะตามยุคสมัยไม่ทัน การเพิ่มความเป็นไปได้ใหม่ๆจึงเป็นเหมือนทางออกหนึ่งที่จะสร้างให้ชุมชนกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง Hostel, Cafe และพื้นที่สำนักงานผสมกับ AirBnb เป็นเหมือนกับห้องรับแขกของชุมชนที่ทำให้คนจากพื้นที่ต่างๆเดินทางเข้ามามากขึ้น เมื่อพื้นที่แห่งนี้กลับมาเป็น Destination ที่น่าสนใจ การต่อยอดไปในอนาคตก็คงไม่ไกลเกินจะเกิดขึ้นได้จริง ในส่วนของงานออกแบบนั้น อาคารทั้งหมดได้ถูกออกแบบจากโครงสร้างเดิมของ “หมู่ตึกแถว” ในซอยพระยาสิงหเสนี แห่งนี้ ผสานกับการเลือกใช้องค์ประกอบอาคารเดิมมาผสมผสานในการใช้งานใหม่ ซึ่งคอนเซปต์ในคำว่า “ตำหนิ” นั้นยังคงมีอยู่อย่างเต็มเปี่ยม ไม่ว่าจะการปรับใช้องค์ประกอบอาคารเดิมในรูปแบบใหม่นั้น เปรียบเสมือนชุมชนที่ต้องมีการปรับตัวไปตามยุคสมัย และมากกว่านั้น […]
ย่านสาทรเป็นโลเคชั่นที่มีความหลากหลายและมีชีวิตชีวามากที่สุดอีกย่านหนึ่งในกรุงเทพฯ เพราะมีทั้งโซนที่พักอาศัย ร้านอาหาร สำนักงาน สปา สถานศึกษา ศาสนสถาน ฟู้ดสตรีทต่าง ๆ ที่แสดงถึงวิถีชีวิตผู้คนบอกท้องถนน ซึ่งเป็นความตั้งใจของ ASAI Bangkok Sathorn ที่ต้องการผสานความหลากหลายนี้ เข้ากับตัวโรงแรมเพื่อให้กลมกลืนไปกับบริบทของชุมชน โดยตีความการใช้ชีวิตของคนเมืองแบบใหม่ สู่การพักผ่อนในอีกหนึ่งแง่มุมที่น่าสนใจ
สำหรับคนที่ชอบการกินดีอยู่ดี ถ่ายภาพกับสเปซดีไซน์เท่ๆ แถมชอบความร่มรื่นของธรรมชาติเป็นพิเศษ นี่คือสถานที่ดื่มกินพร้อมสูดกลิ่นธรรมชาติที่ห้ามพลาดกับ 8 ร้านอาหารและคาเฟ่ในวงล้อมของต้นไม้
Food Truck ร้านอาหารเคลื่อนที่สุดเท่สำหรับคนยุคใหม่ซึ่งแต่ละร้านมีสไตล์ในการออกแบบที่ไม่ซ้ำกัน ตั้งแต่การลงรายละเอียดในการตกแต่งร้าน ไปจนถึงเมนูอาหารสุดเจ๋ง
เปิดตัว อาคารมหานคร อย่างยิ่งใหญ่ กับ Light Show สุดอลังการเทคโนโลยีเทียบเท่าพิธีเปิดโอลิมปิก!
72 COURTYARD คอมมูนิตีมอลล์ใหม่ล่าสุดของย่านทองหล่อ สถาปัตยกรรมจากการรวมตัวดีไซเนอร์สุดเจ๋งจากหลายสาขา
ทาวน์โฮมรูปแบบใหม่ที่สามารถรวมออฟฟิศและบ้านไว้ในที่เดียวกัน จากประสบการณ์ของสถาปนิกมือฉมัง
ค้นหาความหมายใหม่ของซอยเก่าในเมืองใหญ่ อย่างซอยนานา บนถนนไมตรีจิตต์ วงเวียน 22 กรกฎา ไปพร้อมกัน