BETTERISM
เฟอร์นิเจอร์จากใย กัญชง อัด ทำเองได้ง่ายนิดเดียว สู่การใช้งานใหม่ที่หลากหลายยิ่งขึ้น
Hannah Segerkrantz นักศึกษาจาก Design Academy Eindhoven ประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้เลือกทำวิทยานิพนธ์ซึ่งต่อยอดวัสดุ Hempcrete หรือก้อนอิฐจากใยกัญชงอัด ให้กลายเป็นเฟอร์นิเจอร์ในหลากหลายการใช้งาน โดยมาพร้อมคุณสมบัติที่ทนทาน ปลอดภัย ใช้งานง่าย เข้ากับทุกการตกแต่ง ทั้งยังกันน้ำได้อีกด้วย ด้วยวิธีที่การเหมือนจะง่าย(แต่จริง ๆ แล้วไม่ง่ายเท่าไหร่) Hannah เลือกที่จะออกแบบเฟอร์นิเจอร์เหล่านี้จากรูปทรงพื้นฐานคล้ายรูปถ้วย 6 ขนาด ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะจำกัดขนาดของแม่พิมพ์ให้ไม่มากจนเกินไป รูปถ้วยเหล่านี้นอกจากจะเป็นรูปทรงที่มั่นคงแล้ว ยังสะดวกต่อการเข้าพิมพ์และแกะออกจากพิมพ์อีกด้วย พิมพ์ที่ใช้นั่นเป็นแม่พิมพ์ผ้าซึ่งใช้วิธีรัดเข้าให้พอดี จากนั้นจึงกรอกใยกัญชงที่ผสมน้ำแล้วลงไป และนำแม่พิมพ์สองชิ้นที่เลือกมาประกบกัน ด้วยวิธีการนี้เมื่อใยกัญชงจากทั้งสองพิมพ์เชื่อมติดกัน เราจะได้ผลลัพธ์คือเฟอร์นิเจอร์สำหรับการใช้งานที่แตกต่างกันถึง 15 แบบ ตั้งแต่เก้าอี้ทรงเตี้ย ไปจนถึงโต๊ะข้างทรงเตี้ย หรือแท่นวางของ Hannah ตั้งใจให้ HEMP-IT-YOURSELF เป็นวิธีการที่เปิดกว้างที่จะช่วยผลักดันให้ใครก็ตามที่ได้ทดลองได้ตระหนักถึงความเป็นไปได้จากวัสดุธรรมชาติ รวมทั้งคุณค่าของรูปทรงเรียบง่ายที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้ร่วมออกแบบบรรยากาศโดยรอบของเฟอร์นิเจอร์เหล่านี้เอง สำหรับใครที่สนใจและอยากลองทำเฟอร์นิเจอร์จากใยกัญชงแบบ Hannah ดูบ้าง ลองเข้าไปศึกษาได้ที่ https://hannahsegerkrantz.com/hemp-it-yourself-process ข้อมูลเพิ่มเติม https://hannahsegerkrantz.com ภาพ: Luca Tichelman, Hannah Segerkrantzเรื่อง: Wuthikorn Sut […]
The Growing Pavilion สถาปัตยกรรมจากเห็ดรา
ช่วงนี้ฝนตกบ่อยอากาศอับชื้น มองไปที่โต๊ะก็พบว่า ขนมปังที่ซื้อมาวันก่อนราขึ้นไปเสียแล้ว หลังจากนำไปทิ้งก็เลยคิดขึ้นมาได้ว่า ในโลกของงานออกแบบเราสามารถนำเห็ดรามาทำประโยชน์อะไรได้บ้าง? แล้วก็ไปเจอผลงานหนึ่งที่เคยจัดแสดงเมื่อปี 2019 ในงาน Dutch Design Week 2019 ซึ่งมีชื่อว่า The Growing Pavilion ความพิเศษของอาคารนี้ไม่ธรรมดาเพราะใช้ “เห็ดรา” เป็นวัสดุหลักในการก่อสร้างกันเลยทีเดียว เจ้าเห็ดราที่ว่านี้เรียกว่า Mycelium ซึ่งแปลตรงตัวว่า “เส้นใยเห็ด” เจ้าเส้นใยนี่แหละที่ค่อยช่วยให้เห็ดหรือราสามารถยึดเกาะอยู่บนพื้นผิวเช่นผนังหรือตามพื้นที่ต่าง ๆ ได้ คล้ายรากของพืชไม้เลื้อย และด้วยการวิจัยกว่า 2 ปีของทีมงาน Company New Heroes ผลลัพธ์ที่ได้จึงเป็นพันธุ์ที่มี Mycelium หนาแน่นแข็งแรงคล้ายแผ่นโฟมอย่างที่เห็น เป็นวัตกรรมที่จะพลิกโฉมวงการวัสดุเพราะไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ย่อยสลายได้ง่าย และในอนาคตอาจจะสามารถผลิตได้ในราคาที่ย่อมเยาว์อีกด้วย อาคารแห่งนี้มีโครงสร้างหลักเป็นไม้รีไซเคิลที่นำมาทำเป็นโครงรูปทรงกระบอก จากนั้นจึงติดตั้งแผ่น Mycelium ลงไปตามช่องว่างของโครงสร้าง โดยที่แผ่นเห็ดราเหล่านี้ก็ยังสามารถเติบโตต่อไปได้ หากเกิดความเสียหายสามารถเลี้ยงต่อให้ซ่อมแซมตัวเองได้เช่นเดียวกัน ซึ่งในอนาคตไม่แน่เราอาจได้เห็นอาคารที่ใช้เห็ดราเหล่านี้ ทำหน้าที่เป็นทั้งโครงสร้างและพื้นผิวอาคารไปพร้อมกันเลยก็เป็นได้ และสำหรับใครที่อยากสัมผัสของจริง เรามีข่าวดีเพราะ The Growing Pavilion จะไปจัดแสดงอีกครั้งที่ Floriade Expo […]
กากกาแฟ สู่แก้วดีไซน์สวย KAFFEEFORM
จาก “กาก” สู่ “แก้ว” ใช้ซ้ำดี รีไซเคิลได้ เกิดขึ้นจากสิ่งที่รู้กันว่าในทุก ๆ เช้า ชาวโลกไม่ว่าจะชาติใดต่างก็ต้องการ “กาแฟ” แก้วแรกกันอยู่เสมอ ซึ่งนั่นก็ทำให้เกิดผลสืบเนื่องอันเป็นขยะปริมาณมหาศาลในทุกเช้าด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะจากแก้วกาแฟใช้แล้วทิ้ง หรือสิ่งอื่น ๆ เช่น หลอด และไม้คนกาแฟ KAFFEEFORM บริษัทจากประเทศเยอรมนี จึงเกิดความคิดที่จะสร้างแก้วกาแฟที่ย่อยสลายได้ง่ายขึ้น และผลิตจากเศษเหลือในอุตสาหกรรมร้านกาแฟ เพื่อให้เกิด Close Loop หรือการหมุนเวียนทรัพยากรอย่างสมบูรณ์ใน Circular Economy และสิ่งที่ถูกเลือกมาใช้เป็นวัสดุนั่นก็คือ “กากกาแฟ” นั่นเอง กว่า 3 ปี ที่ KAFFEEFORM ได้ทดลองสูตรลับเฉพาะในการขึ้นรูปแก้วกาแฟจากกากกาแฟให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีพอ น่าใช้ และดูดีเป็นมิตรต่อนักดื่ม ผลลัพธ์ที่ได้จึงกลายมาเป็นแก้วที่มีผิวสัมผัสเรียบเนียนแต่ผสมไปด้วยเส้นใยจากกากกาแฟ สามารถฉีดขึ้นรูปได้หลากหลาย ตั้งแต่แก้วที่ล้อเลียนมาจากแก้วใช้แล้วทิ้ง แก้ว Espresso แก้ว Cappucino และ แก้ว Latte มีความทนทาน ทั้งสามารถใส่ของร้อนได้ และตกไม่แตกอีกด้วย ซึ่งผลิตภัณฑ์นี้ใช้สูตรลับที่เป็น Plant […]
Schoonschip ชุมชนลอยน้ำอัจฉริยะ ยั่งยืนด้วยพลังงานหมุนเวียน
ในเมื่อผืนน้ำกินพื้นที่กว่า 70% ของโลก ถ้าเรามองหาแนวทางที่จะอยู่ร่วมกับน้ำได้อย่างยั่งยืน ก็น่าจะเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อในเขตเมืองนับวันยิ่งมีอัตราการอยู่อาศัยที่หนาแน่นขึ้นเรื่อย ๆ Schoonschip จึงเป็นหนึ่งในโครงการนำร่องชุมชนลอยน้ำอัจฉริยะ ที่ออกแบบทางเลือกใหม่ของการใช้ชีวิตบนน้ำของผู้คนสำหรับโลกยุคอนาคต Schoonschip ชุมชนลอยน้ำอัจฉริยะ ตั้งอยู่ในคลอง Johan van Hasselt ทางเหนือของกรุงอัมสเตอร์ดัม ออกแบบโดย Space&Matter สำนักงานสถาปนิกสัญชาติเนเธอแลนด์ ด้วยความตั้งใจที่จะออกแบบผังเมืองที่ตอบโจทย์การอยู่อาศัยยุคใหม่ พวกเขาร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขา และผู้อยู่อาศัยท้องถิ่น เพื่อร่วมกันสร้างสรรค์ชุมชนต้นแบบแห่งนี้ ซึ่งประกอบด้วย 30 ยูนิตลอยน้ำ โดยแต่ละยูนิตอยู่ร่วมกัน 2 ครอบครัว รวมบ้าน 46 หลังสำหรับสมาชิกชุมชนกว่าร่วม 100 คน โดยเริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2011 และบ้านหลังสุดท้ายจะแล้วเสร็จในปีนี้ เจ้าของบ้านสามารถร่วมออกแบบกับสถาปนิกที่ตนเลือก ส่งผลให้บ้านแต่ละหลังแตกต่างกัน ทั้งด้วยวัสดุ และรูปแบบเฉพาะตัว นอกจากนี้ แต่ละยูนิตของบ้านลอยน้ำ Schoonschip สามารถใช้เรือเคลื่อนย้ายไปก่อสร้างในพื้นที่อื่น โดยไม่ทำให้เกิดมลภาวะทางเสียง รบกวนเพื่อนบ้านรอบข้าง Space&Matter สำนักงานสถาปนิกสัญชาติเนเธอแลนด์ ที่ทำงานออกแบบมากกว่าแค่งานสถาปัตยกรรม แต่ยังรวมไปถึงงานผังเมือง และการวางแผนพัฒนา เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมการอยู่อาศัยที่ดีขึ้น […]
เปลี่ยนแก้วพลาสติกเหลือใช้ เป็นอาคารทรงล้ำ PEA ECO-PAVILION
เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการลด Carbon Foot Print PEA Plastic cup Eco-Pavilion จึงเกิดขึ้น โดยมีโจทย์คือการให้ชีวิตที่สองกับขยะและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่หมดประโยชน์ในทุก ๆออฟฟิศสำนักงาน และในนิทรรศการที่จัดให้กับ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค PEA ณ สำนักงานใหญ่นี้ Context Studio ได้รับแรงบันดาลใจจากแก้วพลาสติกที่ใช้แล้ว ซึ่งมีลักษณะที่ใสและแข็งแรงทนทาน ยากต่อการย่อยสลายของพลาสติกเหมาะสมมากกับการนำมาใช้เป็นวัสดุภายนอกของ Green office Pavilion ที่ต้องอยู่ภายนอกอาคาร และต้องทนทานต่อแดดและฝนตลอดระยะเวลา 4 เดือนที่จัดแสดง เพราะพลาสติกไม่ใช่ผู้ร้ายเสมอไป หากรู้จักใช้และเข้าใจในคุณลักษณะของพลาสติก ถ้าย่อยสลายได้ยาก ก็แปลว่ามันทนทาน ลักษณะของอาคารที่มีรูปทรงโค้งมนเป็นโดมขนาดใหญ่ 3 อาคาร มารวมกัน ซึ่งถูกกำหนดมาจาก Geometry ทรงโคนของแก้วพลาสติก สร้างให้เกิดทัศนคติที่ดีต่อการใช้พลาสติก โดยสามารถนำมาปรับใช้ในฟอร์มที่ดูคล้ายฟอร์มจากสิ่งมีชีวิต ทั้งยังโดดเด่นแตกต่างจากบริบทอาคารที่ดูแข็งและทึบตันรอบข้าง ภายในอาคารได้จัดนิทรรศการกรีนออฟฟิศ ส่งเสริมการนำวัสดุเหลือใช้จากออฟฟิศต่าง ๆ มาประดิษฐ์เป็นผลิตภัณฑ์ DIY โครงสร้างของนิทรรศการทำมาจาก นั่งร้านเหล็กสีขาวที่สามารถปรับได้ตามความเหมาะสมบางส่วนของบอร์ดนิทรรศการได้ทำมาจากท็อปโต๊ะสำนักงานที่ชำรุดแล้ว ในส่วนของพื้นภายในนิทรรศการได้ตั้งใจใช้กรวดแม่น้ำสีขาว มีเสียงเบา ๆ ระหว่างเดินรอบนิทรรศการ […]
SOAPBOTTLE ขวดสบู่ที่ทำมาจากสบู่
ละลายจนหมด ไม่เหลือเป็นขยะ กับสบู่ที่มีขวดทำมาจากสบู่อีกที แนวคิดแหวกแนวที่ใช้ได้จริง SOAPBOTTLE เริ่มต้นจากการตั้งคำถามถึงบรรจุภัณฑ์ที่เราใช้กับสิ่งของในชีวิตประจำวันที่มักลงเอยกลายเป็นขยะอย่างเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นสบู่ ยาสระผม น้ำยาล้าง หรือที่เราเรียกรวม ๆ ว่าเป็น Daily Use Product เพราะใช้ทุกวันนั่นก็คือเรากำลังก่อขยะมากขึ้นในทุกวันนั่นเอง อีกทั้งบรรจุภัณฑ์สำหรับของเหลวเหล่านี้ก็เป็นเรื่องยากเหลือเกินที่จะทำขึ้นจากวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พูดง่าย ๆ คือ Recycle ได้ยากนั่นแหละ Jonna Breitenhuber จึงได้เริ่มต้นโครงการนี้เป็นวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทของเธอ ก่อนจะขยายผลโดยการร่วมทุนใน Kickstarter และด้วยผู้สนับสนุนที่มีแนวคิดรักษ์โลกเช่นเดียวกับเธอ SOAPBOTTLE จึงได้เริ่มต้นวางจำหน่ายจริงในที่สุด การออกแบบนั้นได้แนวคิดมาจากอุตสาหกรรมอาหาร ที่มักจะเห็นการบรรจุอาหารลงในสิ่งที่สามารถรับประทานได้ เช่น เนื้อในขนมปังกลายเป็นแฮมเบอร์เกอร์ หรือไอศกรีมที่นำไปใส่ในเวเฟอร์เป็นไอศกรีมโคน ความจริงแล้วทั้งขนมปังและเวเฟอร์นั้นเป็นบรรจุภัณฑ์แบบหนึ่ง และอันตรธานหายไปเมื่อเรารับประทานจนหมด ถ้าอย่างนั้นสำหรับผลิตภัณฑ์ความสะอาดส่วนตัว เราจะใช้วิธีเดียวกันได้หรือไม่? หลักการของ SOAPBOTTLE นั้นง่ายมาก คือ บรรจุผลิตภัณฑ์เหลวไว้ในขวดที่ทำมาจากผลิตภัณฑ์เดียวกันในเวอร์ชั่นที่คงรูปกว่า เมื่อต้องการใช้ก็เพียงตัดเปิดบรรจุภัณฑ์ที่มุมขวด จากนั้นก็สามารถจะเทของเหลวออกมาเมื่อต้องการใช้ SOAPBOTTLE มีคลิปสำหรับใช้ตัดและปิดฝาในตัวเองแยกจำหน่าย คลิปนี้สามารถนำกลับมาใช้อีกได้ตลอดไป จนเมื่อเราใช้ส่วนที่เป็นของเหลวจนหมด ก็สามารถนำเอาบรรจุภัณฑ์นั้นมาถูใช้เป็นเหมือนสบู่ก้อน(หรือยาสระผมแบบก้อน)ได้ต่อ สุดท้ายแล้วผลิตภัณฑ์เหล่านี้จึงไม่เหลือขยะใด ๆ เลยในที่สุด ปัจจุบัน […]
ร้านขายผัก ที่ออกแบบโดย Nendo มาเพื่อช่วยกระจายผลผลิตโดยตรงจากเกษตรกร
ร้านขายผัก หน้าตาเหมือนร้านค้าริมทางที่ขายผักคุณภาพดี แต่หน้าตาไม่ดี ช่วยเติมเต็มเศรษฐกิจให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ โปรเจ็กต์ ร้านขายผัก ริมทางเล็ก ๆ นี้ มีที่มาจากการมองเห็นปัญหาผักไม่สวย หรือแค่รูปร่างไม่ได้มาตรฐาน มักต้องกลายเป็นเศษเหลือทิ้งอย่างเปล่าประโยชน์ ด้วยมาตรฐานการขนส่งของอุตสาหกรรมการเกษตรในประเทศญี่ปุ่น แต่ผักไม่สวย ไม่ได้แปลว่าจะด้อยคุณภาพ ดังนั้นเพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกร ให้ได้รับค่าตอบแทนจากผลผลิตอย่างเต็มที่ nendo บริษัทออกแบบชื่อดังจึงได้เข้ามามองหากลไกใหม่ ๆ เพื่อนำพาผักเหล่านี้ให้ได้มีทางออกไปสู่มือผู้บริโภคได้ดีขึ้นในราคาย่อมเยา nendo ได้นำเสนองานออกแบบแผงขายผักที่ทำขึ้นอย่างง่าย ๆ ซึ่งเป็นระบบการประกอบที่สามารถปรับเปลี่ยนรูปร่าง และการใช้งานได้ตามผลผลิตที่ต้องการนำมาวางขาย ก่อนนำไปให้เกษตรกรจัดวางไว้ตามริมถนนใกล้กับพื้นที่ทางการเกษตร ที่มาของผลผลิตเหล่านั้น ทุก ๆ คนเมื่อเดินทางผ่านพื้นที่เกษตรเหล่านั้น ก็จะสามารถซื้อและจ่ายเงินได้ผ่านกล่องรับเงินที่ติดตั้งไว้ตามราคาบนแผ่นป้าย หรือจะยิง QR CODE จ่ายก็ทำได้เช่นกัน วิธีการนี้จะทำให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนโดยตรง ไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง โดยผู้บริโภคจะได้ผักสดใหม่(ใหม่จริงเพราะปลูกแล้วก็ถอนมาวางเลย) ในราคาย่อมเยา ที่สำคัญผู้ผลิตก็จะได้ระบายผลผลิตที่ส่งเข้าระบบ Modern Trade ไม่ได้ ให้มีทางออก ไม่ต้องนำไปทิ้งโดยเปล่าประโยชน์ จากตัวอย่างดี ๆ นี้ ลองหันกลับมามองที่เมืองไทย เราอาจคุ้นเคยกับแผงขายผักเช่นนี้ตามริมทางขณะขับรถไปต่างจังหวัด แต่ถ้าลองพัฒนาให้เข้าระบบ E-Commerce ปรับปรุงระบบ QR […]
งานทดลองวัสดุ ใหม่จากดอกไม้ใบหญ้าเหลือทิ้ง LUKYANG MATERIAL TESTING NO.1
งานทดลองวัสดุ ที่ทีมนักออกแบบลุกขึ้นมาทำการทดลอง ด้วยการเลือกวัสดุจากธรรมชาติที่อยู่รอบ ๆ ตัวมาหาความเป็นไปได้ใหม่ ๆ เพื่อเป็นการลดปัญหาสิ่งแวดล้อมจึงเลือกวัสดุธรรมชาติเหลือทิ้งในกลุ่มพืชล้มลุกและเปลือกผลไม้ มาแปรรูปแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน ทั้งยังเป็นการรณรงค์ในการช่วยกันลดของเสียในครัวเรือน โดยการนำกลับมาแปรรูปใหม่อีกครั้ง สำหรับชุดการทดลองครั้งแรก ได้หยิบวัสดุธรรมชาติมาทั้งหมด 5 ชนิด ได้แก่ ดอกดาวเรือง ต้นปอเทือง ดอกอัญชัน ดอกกล้วยไม้แห้ง และเปลือกมังคุด ซึ่งวัสดุแต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป 1.ดอกอัญชัน ดอกไม้ที่คุ้นเคยในการนำมาสกัดเป็นสีธรรมชาติ เมื่อตัวดอกดูดซับน้ำแล้วจะเกิดการพองตัว ด้านคุณสมบัติมีความโปร่ง แต่เปราะบางและไม่ยืดหยุ่น เหมาะนำไปทำผลิตภัณฑ์ที่ต้องการการย่อยสลายง่าย 2.ต้นปอเทือง พืชที่มักเห็นได้ตามท้องนาเนื่องจากมีคุณสมบัติในการบำรุงและรักษาหน้าดินในช่วงฤดูพักปลูกข้าว เมื่อทดลองพบว่ามีคุณสมบัติยืดหยุ่นได้ในระดับหนึ่งคล้ายนกระดาษสาและแข็งแรง เหมาะนำไปทำผลิตภัณฑ์ประเภทกระดาษ หรือผลิตภัณฑ์ที่ต้องการความโปร่งแสง 3.ดอกกล้วยไม้แห้ง ดอกไม้ที่พบในตลาดอุตสาหกรรม สีสันสวยงาม อยู่ได้นาน เมื่อทดลองพบว่ามีคุณสมบัติโปร่งแสง แต่เปราะบางและไม่คงรูป เหมาะนำไปทำผลิตภัณฑ์ที่ต้องการการย่อยสลายง่าย 4.เปลือกมังคุด วัสดุที่ถูกทิ้งเป็นจำนวนมาก เมื่อทดลองพบว่ามีคุณสมบัติความแข็งแรงในระดับหนึ่ง แต่ยืดหยุ่นน้อย มีความทึบแสง เหมาะสำหรับนำไปทำผลิตภัณฑ์ประเภทกระดาษ 5.ดอกดาวเรือง หากคุณเป็นสายไหว้พระ คงพบว่ามีดอกดาวเรืองเหลือทิ้งเต็มไปหมด ตัวดอกมีเส้นใยสูง เมื่อแห้งแล้วสีของดอกยังคงติดทนนาน เมื่อทดลองพบว่ามีคุณสมบัติยืดหยุ่นได้ระดับหนึ่ง เหมาะนำไปทำผลิตภัณฑ์ประเภทกระดาษ หรือผลิตภัณฑ์ที่ต้องการความโปร่งแสง หลังจากทดลองและทราบคุณสมบัติของวัสดุแต่ละชนิดแล้ว จึงนำไปสู่การทดลองออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์เชิงดีไซน์ […]
วัสดุบ้านๆ ปรับใช้ในแนวใหม่ “DOMESTIC ALTERNATIVE MATERIALS” by THINKK Studio
วัสดุบ้านๆ เปลือกหอย กระดองปู ขวดแก้ว ผักตบชวา กากกาแฟ ใยมะพร้าว กะลามะพร้าว กาบหมาก และเศษผ้า เป็นเพียงส่วนหนึ่งของวัสดุที่ถูกนำมาพัฒนาขึ้นรูปเป็นแท่งสี่เหลี่ยม คล้ายกับท่อนโลหะรูปพรรณ หรือไม้แปรรูปในท้องตลาด เพื่อหาแนวทางการนำไปใช้ทดแทน หรือใช้ร่วมกับวัสดุต่างชนิดกัน อย่างการนำเสนอเป็นเฟอร์นิเจอร์ และโคมไฟ เพื่อทดสอบและท้าทายศักยภาพของวัสดุให้ได้มากที่สุด โดยโปรเจ็กต์นี้เป็นภาพใหญ่และทิศทางที่สำคัญหนึ่งของ THINKK Studio ในปัจจุบันและอนาคต โดยการเริ่มต้นครั้งนี้ ได้มีน้อง ๆ Graduate Internship คือ แนน-ชนิกานต์ จรัล ,โฟน-กิตติภณ โสดาตา และ เจด-เจษฎา สุพรรณโอชากุล มาช่วยในการทดลอง และจัดทำต้นแบบวัสดุร่วมกับทางสตูดิโอด้วย Domestic Alternative Materials เป็นการเสาะหา ค้นคว้าทดลอง เพื่อหาวัสดุทางเลือกในประเทศ จากเศษวัสดุเหลือใช้ต่าง ๆ มาสร้างเอกลักษณ์และตัวตนใหม่อีกครั้ง ก่อนพัฒนาศักยภาพสู่การแข่งขันในเวทีโลก รวมทั้งลดการใช้ทรัพยากรใหม่ที่เริ่มขาดแคลนลงทุกที “DOMESTIC” ในมุมมองที่สนใจ หรือนึกถึงเป็นอันดับแรกคือศักยภาพของประเทศในแง่มุมที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของสตูดิโอ ซึ่ง “วัสดุ” น่าจะเป็นสิ่งแรกที่ต้องเลือกใช้ในการผลิต และสร้างสิ่งต่าง […]
Recycle เศษวัสดุก่อสร้าง ให้เป็นแผ่นวัสดุอเนกประสงค์สไตล์สัจวัสดุ
ด้วยตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการขยะ SEMBA บริษัทก่อสร้างจากประเทศญี่ปุ่น จึงได้เริ่มโครงการ Recycle เศษวัสดุก่อสร้าง SEMBA ethical design thinking โดยมี we+ ทีมดีไซเนอร์หัวก้าวหน้า เข้ามาช่วยจุดประกายในโครงการนี้ จนออกมาเป็นวัสดุที่น่าสนใจในวิธีการใช้งานที่ยืดหยุ่น และที่สำคัญ “มันเคยเป็นขยะ” เนื่องจากอาคารในประเทศญี่ปุ่น มักมีอายุการใช้งานประมาณ 5-10 ปี ตั้งแต่ก่อสร้างจนถูกทุบทำลาย we+ จึงมองเห็นว่ามันช่างเป็นอายุการใช้งานที่สั้น ซึ่งส่งผลไปถึงปัญหา “ขยะ” ที่เกิดจากการทุบทำลาย โดยเศษวัสดุเหล่านั้นแทบไม่มีค่าไปกว่าการนำถมที่ดินเลย ดังนั้นการหาทางออกให้กับการจัดการขยะจากอาคารเก่าจึงเริ่มต้นขึ้น เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับเศษวัสดุให้สามารถนำกลับมาใช้งานได้ใหม่ ทั้งตัวของวัสดุ และวิธีการความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ของกระบวนการออกแบบก่อสร้าง “Link” คือชื่อของโปรเจ็กต์นี้ ด้วยการออกแบบวัสดุอเนกประสงค์ชนิดแผ่น ที่สามารถนำมาต่อเข้าด้วยกันนี้ ซึ่งเกิดจากการศึกษาความเป็นไปได้อันหลากหลายผ่านวัสดุที่มาจากซากตึก ตั้งแต่เศษไม้ อิฐ หิน และเหล็ก ตลอดจนวัสดุอย่าง เศษพรม ผ่านม่าน หรือแม้แต่แผ่นปูพื้น โดย we+ ได้นำซากวัสดุมาผสมรวมกันด้วยการบดให้กลายเป็นชิ้นเล็ก ๆ ก่อนจะหลอมและเทวัสดุประสาน รวมทั้งเศษวัสดุต่าง ๆ ลงไปในแม่พิมพ์ […]
THAIS ECOLEATHERS ความงามจากเศษหนังสู่วัสดุใหม่
THAIS ECOLEATHERS (อ่านว่า ธา-อิส) หนึ่งในแบรนด์ไทยจากโครงการ Talent Thai โดย DITP หรือ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ที่เราอยากแนะนำ เพราะไม่เพียงแค่ผลิตภัณฑ์ที่มีลวดลายและพื้นผิวที่น่าสนใจ หรือการนำไปใช้ที่หลากหลายเพียงเท่านั้น แต่การได้มาซึ่งวัสดุอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแบรนด์นั่นก็คือ “หนังรีไซเคิล” ซึ่งเรียกได้ว่ามีความโดดเด่นและมีเพียงเจ้าเดียวในโลกที่สามารถผลิตสิ่งนี้ได้ จึงทำให้เราสนใจแบรนด์เครื่องหนังที่ชูวัสดุรักษ์โลกแบรนด์นี้เป็นพิเศษของคุณธันย์-ธันยวัฒน์ ทั่งตระกูล และคุณเม-พัณณ์ชิตา ธราดลศิริฐิติกุล จุดเริ่มต้น ถ้าพูดถึงจุดเริ่มของTHAIS ECOLEATHERS“เราเริ่มจากเป็นคนชอบเครื่องหนัง ชอบจนถึงขนาดที่อยากจะหัดทำเครื่องหนังด้วยตัวเอง” คุณธันย์เริ่มต้นเล่าให้เราฟัง “พอเราเริ่มทำหนังไปเรื่อย ๆ เราก็ค้นพบว่าสิ่งที่กวนใจเราคือ เศษหนัง ที่เหลือจากการผลิต จะเอาไปทิ้งก็เสียดาย พอจะนำเศษเหล่านั้นมาลองเย็บเป็นกระเป๋าแล้วเอาไปวางขายในอินเทอร์เน็ตก็ค้นพบว่า มันแทบจะไม่ได้ราคา เหมือนเป็นความคาใจจนเราเริ่มศึกษาลงไปว่า คนอื่นเขาจัดการกับเศษหนังกันอย่างไร และก็ค้นพบว่าเศษเหลือเหล่านี้มีอยู่มากมายในอุตสาหกรรมเครื่องหนัง และไทยเราเองก็เป็นประเทศส่งออกหนังอันดับที่ 4 ของโลก ถ้าอย่างนั้นก็แปลว่า ปัญหาเศษเหลือเหล่านี้ ต้องมีอยู่มากมายเช่นเดียวกัน“ “พอเราเริ่มสนใจในปัญหาเศษเหลือเราก็ค้นพบว่า โรงงานส่วนใหญ่ต้องจ้างให้นำไปทิ้ง เป็นมูลค่าที่สูงพอสมควรเลยทีเดียว สิ่งที่ทำได้คือนำฝังกลบ หรือนำไปเผาทำลาย” คุณเมเล่าต่อ “ซึ่งเราอาจเคยได้ยินว่า มีการนำเศษหนังมาทำเป็นวัสดุใหม่ แต่นั่นไม่ใช่เศษหนังในขั้นตอนสุดท้ายแบบที่เป็นเศษเหลือแบบนี้ สิ่งเหล่านั้นคือเศษหนังที่มาจากขั้นตอนการผลิต คือหลังจากการฟอกเสียมากกว่า เราก็เลยคิดกันว่า […]
เจาะลึกปัญหาขยะพลาสติกทางทะเล กับ ศ.ดร.ธรรมรัตน์ คุตตะเทพ
ปัญหาขยะพลาสติกทางทะเล เกิดขึ้นได้อย่างไร เรามีส่วนก่อปัญหานี้แค่ไหน ร้ายแรงและส่งผลกระทบต่อเราหรือไม่ และมีแนวทางป้องกันแก้ไขอย่างไร ท่านผู้อ่านเคยสงสัยกันบ้างไหม? วันนี้ room หาคำตอบมาให้แล้ว ปัญหาขยะพลาสติกทางทะเล เป็นอีกปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เริ่มมีการตื่นตัวมากขึ้นในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเพราะภาพข่าวของสัตว์ทะเลที่ได้รับผลกระทบจากขยะพลาสติกซึ่งย่อยสลายยากเหล่านี้ ภาพของเกาะขยะกลางทะเลขนาดใหญ่เท่าประเทศย่อม ๆ หรือแม้แต่ไมโครพลาสติกที่กลับมาสู่คนเมืองในรูปการปนเปื้อนทางอาหาร แต่ปัญหาเหล่านี้มีสาเหตุมาจากที่ใด เรามีส่วนกับการก่อปัญหานี้มากแค่ไหน และเราจะมีแนวทางในการป้องกัน และแก้ไขได้ปัญหานี้ได้อย่างไร วันนี้ room จึงได้มาพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านนี้โดยตรงอย่าง ศ.ดร.ธรรมรัตน์ คุตตะเทพ หัวหน้า หัวหน้าสาขาวิชาการจัดการขยะพลาสติกในทะเล (Marine Plastics Abatement หรือ MPA) คณะสิ่งแวดล้อม ทรัพยากร และการพัฒนา (SERD) สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มาอธิบายและไขข้อสงสัยให้กับเราอย่างหมดเปลือก ปัญหาขยะพาสติกทางทะเล ปัญหาที่ใกล้ตัวกว่าที่คิด room : ปัญหาขยะพาสติกทางทะเล บางครั้งอาจจะดูเป็นเรื่องไกลตัว แท้จริงแล้วเกี่ยวข้องกับใครบ้าง? ศ.ดร.ธรรมรัตน์ : “จริง ๆ ปัญหาขยะทางทะเล ไม่ได้เกิดขึ้นจากกิจกรรมในทะเลอย่างเดียว มีการศึกษาว่า 80% นั้นมาจากขยะบนบกแทบทั้งสิ้น ซึ่งเป็นผลพวงมาจากปัญหาขยะทางบกก่อนแล้วไหลลงสู่ทะเล โดยเฉพาะในพื้นที่ประเทศในทวีปเอเชียนั้นเป็นประเทศที่ปล่อยขยะลงทะเลมากที่สุดในโลก” room […]
CHAIR 1:1 เก้าอี้ที่ผลิตง่าย ขายคล่อง ลดขยะ ตอบโจทย์วิถีร่วมสมัย
แนวคิดของเก้าอี้ CHAIR 1:1 เริ่มต้นจากการพยายามค้นหาเก้าอี้ที่เหมาะกับยุคร่วมสมัยอย่างแท้จริง ทั้งในแง่ของเทคโนโลยีการผลิต การขาย และการใช้งาน ทำอย่างไรเราถึงจะสร้างสรรค์เก้าอี้ที่เป็นตำนาน เข้าถึงง่าย ขายผ่านช่องทางออนไลน์ได้จำนวนมาก เพื่อให้เกิดผลกำไรคืนสู่ช่างฝีมือ รวมถึงคำนึงถึงการขนส่ง และการใช้งานจริงอีกด้วย หลังจากผ่านกระบวนการออกแบบที่ยาวนานกว่า 5 ปี MARTINELLI VENEZIA สตูดิโอออกแบบจากอิตาลีก็เปิดตัว CHAIR 1:1 ที่เสร็จสมบูรณ์ในรูปแบบของเก้าอี้แบบถอดประกอบได้ ทุกชิ้นส่วนได้รับการผลิตโดยแม่พิมพ์ชุดเดียว โดยออกแบบให้ใช้แม่พิมพ์อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เพิ่มความเร็วในการผลิต รวมถึงลดกระบวนการผลิตขยะในกระบวนการผลิตให้มากที่สุด หลังจากออกจากแม่พิมพ์ เก้าอี้แต่ละชุดก็พร้อมส่งขายได้ทันที ข้ามขั้นตอนอื่น ๆ และยกกระบวนการผลิตขั้นสุดท้ายให้ผู้ใช้งานเป็นผู้ประกอบเก้าอี้ของตัวเอง และนั่นจึงนำมาสู่แนวคิด Hyper-seriality หรือการให้ความสำคัญกับการผลิตเป็นชุดๆ มองดูเผิน ๆ นี่อาจทำให้เรานึกถึงแผงชิ้นส่วนของเล่นที่แถมมาในถุงขนมตอนเด็ก ๆ ซึ่งไม่ต้องใช้น็อตหรือสกรูในการประกอบ ทั้งยังประกอบได้รวดเร็ว สนุกและง่ายดาย เก้าอี้ตัวนี้ก็เช่นกัน โดยใช้เวลาประกอบเพียง 1 นาที โดยไม่ต้องใช้เครื่องมืออื่นช่วย และเมื่อประกอบเสร็จก็แทบไม่เห็นที่มาของกระบวนการผลิต การประกอบเก้าอี้เองจะทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกเชื่อมโยงกับวัตถุ มองเห็นคุณค่า และสร้างสายสัมพันธ์บางอย่าง ที่ทำให้พวกเขาใช้งานมันนานขึ้น และด้วยดีไซน์เรียบง่าย นี่จึงเป็นเก้าอี้ที่เหมาะกับแทบทุกบ้าน นอกจากนี้ การผลิตเก้าอี้รูปแบบนี้ยังช่วยให้สามารถจัดเก็บสต๊อกได้ง่ายขึ้น […]
BETTERISM DESIGN TALK งานเสวนาของนักออกแบบเจ้าของแนวคิดที่อยากให้โลกดีขึ้น
กิจกรรม DESIGN TALK กลับมาอีกครั้งในงาน “ บ้านและสวนแฟร์ select 2020 ” วันศุกร์ที่ 21 ถึงอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์นี้ ณ ROOM SHOWCASE เสาเลขที่ 27 ฮอลล์ 9 อิมแพ็ค เมืองทองธานี