Yellow House บทกวีที่เรียกว่า “บ้าน”

บ้านที่ออกแบบสร้างเพื่อเชื่อมโยงบริบทโดยรอบสู่การใช้ชีวิต โดยคงไว้ซึ่งลักษณะดั้งเดิมของพื้นที่ รวมถึงต้นไม้ที่ยังอยู่แต่เดิมด้วย เปิดรับธรรมชาติผ่านมุมมองทางสถาปัตยกรรมในหลากรูปแบบซึ่งล้วนแต่งดงาม ดั่งบทกวีที่เรียงร้อยขึ้นด้วยสถาปัตยกรรม DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: JOYS Architects Yellow House คือ บ้านที่เหมือนเป็นภาคต่อของ Yellow Submarine และ Yellow Mini คาเฟ่เรียบเท่ในพื้นที่เขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา นั่นจึงทำให้บ้านหลังนี้ต้องมีการออกแบบที่ทั้งเปิดรับบริบทธรรมชาติโดยรอบเพื่อการอยู่อาศัยที่ดี แต่ก็ยังต้องสร้างความเป็นส่วนตัวจากพื้นที่คาเฟ่ไปพร้อมกัน #จัดวางธรรมชาติร่วมกับการอยู่อาศัย การออกแบบบ้านในระบบกริดตาราง ทำให้บ้านหลังนี้มีการจัดวางพื้นที่อยู่อาศัย สลับกับคอร์ตที่แตกต่างไปในแต่ละส่วน บ้างก็เป็นสวน บ้างก็เป็นต้นไม้ เนินดิน หรือสระน้ำ คอร์ตเหล่านี้ถูกจัดวางเอาไว้ในสี่ทิศของผังอาคาร ทำให้ในทุกห้องที่เหลือ สามารถมองเห็นทิวทัศน์ และรับบรรยากาศในแต่ละคอร์ตได้อย่างทั่วถึง โดยมีห้องนอนที่ส่วนกลางบ้านเป็นห้องที่รับวิวทุกคอร์ตได้ในห้องเดียว #บ้านเล่นระดับร่วมกับธรรมชาติ ตัวบ้านเลือกที่จะอยู่ร่วมกับระดับที่ต่างกันของผืนที่ดินแต่เดิม โดยไม่ได้ปรับเปลี่ยนระดับของพื้นที่มากนัก ขั้นตอนการออกแบบจึงต้องทำการบ้านกับระดับที่ต่างกันไปในแต่ละส่วน เป็นผลให้ทั้งช่องเปิด หรือการใช้งานมีลักษณะเฉพาะที่น่าสนใจ แทบไม่ซ้ำกันในแต่ละส่วนเลย #ร่องรอยที่เชื่อมโยงภายนอกและภายใน เมื่อพิจารณาถึงวัสดุของบ้านหลังนี้ คอนกรีตเปลือย และไม้ ทำหน้าที่เป็นเหมือนภาพสะท้อนบริบท หิน และต้นไม้โดยรอบ หากแต่คือการแปรความผ่านภาษาทางสถาปัตยกรรม โดยถูกกำหนดหน้าที่ใช้งานทั้งโครงสร้าง หรือองค์ประกอบที่กลายเป็นผนัง และเฟอร์นิเจอร์ที่จัดแบ่งรูปแบบการใช้ชีวิตในแต่ละพื้นที่ได้เป็นอย่างดี และนี่คืออีกหนึ่งบ้านที่น่าสนใจในรูปแบบที่เชื่อมโยงกับธรรมชาติอย่างลึกซึ้ง เป็นตัวอย่างของบ้านต่างจังหวัดที่น่าสนใจอีกหลังหนึ่งเลยทีเดียว […]

House C กึ่งกลางระหว่างธรรมชาติ และพื้นที่ส่วนตัว

จะเป็นอย่างไรเมื่อ “บ้าน” อยู่ท่ามกลางธรรมชาติ และผืนดินอย่างแท้จริง นี่คือบ้านในเชียงใหม่ ที่ตั้งใจสัมผัสธรรมชาติอย่างไร้รอยต่อ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Bangkok Tokyo Architecture House C บ้านหลังนี้ ในเชียงใหม่ โดยเป็นความต้องการของเจ้าของบ้านที่อยากให้การอยู่อาศัยนั้นมีอิสระ และผสานเข้ากับความเป็นธรรมชาติโดยรอบผ่านองค์ประกอบเรียบง่ายของตัวอาคาร บ้านหลังนี้มีห้องรับแขกที่พื้นเป็นดินอัด มีห้องทุกห้องที่เห็นกันได้หมด มีโครงสร้างที่แทบไร้การปรุงแต่ง และนั่นคือหน้าที่ของสถาปัตยกรรมที่เลือกจะทำหน้าที่ในการเป็นที่อยู่อาศัยที่ปรุงแต่งน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้อย่างถึงที่สุด #ออกแบบโดยผสานธรรมชาติเข้าเป็นส่วนหนึ่งอย่างไร้รอยต่อ บ้านหลังนี้มีโจทย์ตั้งแต่แรกเริ่มคือการออกแบบเพื่อการอยู่อาศัยผสานไปกับธรรมชาติโดยรอบ การออกแบบโครงสร้างทั้งหมดจึงถูกคิดขึ้นโดยไม่ยัดเยียดองค์ประกอบที่มาจนไปกลบความสัมพันธ์โดยรอบเกินไป ทั้ง ผืนดิน ร่มไม้ สัตว์น้อยใหญ่ และธรรมชาติโดยรอบล้วนเป็นองค์ประกอบสำคัญของสถาปัตยกรรมหลังนี้ด้วยเช่นกัน เป็นที่อยู่อาศัยที่สามารถปรับตัวไปตามสภาวะอากาศได้ ด้วยความเรียบง่ายของโครงสร้าง และความยืดหยุ่นของผังการใช้งานอาคาร บ้านหลังนี้จึงช่วยสร้างความเป็นไปได้ที่น่าสนใจให้การใช้ชีวิตของผู้อยู่อาศัย เรียงร้อยไปกับสิ่งแวดล้อมโดยรอบตามที่ตั้งใจไว้ เพราะเมื่อมองจากภายนอก บ้านหลังนี้จะดูแอบซ่อนเรียบเกลี้ยงเหมือนกล่องที่ถูกปิดไว้ แต่เมื่อเปิดผนังที่ทำหน้าที่เป็นประตูใหญ่ออก พื้นดินลานกลางบ้าน แม่น้ำ ธรรมชาติ และถนนจะต่อเชื่อมหลอมรวมเป็นพื้นที่เดียวกันอย่างไร้รอยต่อเลยทีเดียว #สัมผัสผืนดิน ห้องรับแขก หรือพื้นที่อเนกประสงค์ ณ ลานกลางบ้าน อาจเรียกได้ว่าเป็น Gathering Space ตามศัพท์สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ และในบ้านหลังนี้นั้น พื้นที่ระหว่าง สองปีกของตัวบ้าน คือพื้นดินที่ใช้เทคนิคการอัดดินให้กลายเป็นชานบ้านแบบญี่ปุ่นที่เรียกกันว่า โดมะ […]