Burmanniaceae
หญ้าข้าวก่ำ
ชื่อวิทยาศาสตร์: Burmannia disticha L. วงศ์: Burmanniaceae ประเภท: พืชล้มลุก/วัชพืช ลำต้น: เป็นเหง้าสั้น ใบ: ใบออกเวียนสลับเป็นกระจุกที่โคนต้น รูปรีถึงไข่กว้าง ขนาด 4-6×7-10 เซนติเมตร ปลายแหลม ขอบบิดเป็นคลื่น ดอก: ก้านช่อดอกยาว 30-60 เซนติเมตร มีใบขนาดเล็กรูปแถบแกมใบหอกหุ้มอยู่เป็นระยะ ช่อดอกอยู่ที่ปลายก้านและแตกแขนงออกเป็น 2 แถว แต่ละดอกมีใบเล็กๆ รองรับ 1 ใบ กลีบดอกชั้นนอก 3 กลีบเชื่อมติดกัน แล้วแผ่ออกเป็นปีกบางๆ สีม่วงถึงม่วงอมน้ำเงิน เกสรเพศผู้สีเหลือง ดอกย่อยคล้ายกับดอกสรัสจันทร (Burmannia coelestris) ออกดอกฤดูฝน-ต้นฤดูหนาว อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว ดิน: ดินทั่วไป น้ำ: ปานกลาง-มาก แสงแดด: ตลอดวัน การใช้งานและอื่นๆ: ในธรรมชาติมักพบตามลานหินหรือดินที่ชื้นแฉะ อากาศค่อนข้างเย็น ขึ้นปะปนกับหญ้าอื่นๆ ในช่วงฤดูฝน
สรัสจันทร
กล้วยมือนาง/ดอกดิน/หญ้าหนวดเสือ ชื่อวิทยาศาสตร์: Burmannia coelestis D.Don วงศ์: Burmanniaceae ประเภท: ไม้ล้มลุก ไม่มีคลอโรฟิลล์ ต้องพึ่งพาเชื้อราในการเจริญเติบโต ความสูง: สูง 10 – 40 เซนติเมตร ลำต้น: คล้ายหญ้า ใบ: ใบเดี่ยว รูปหอกหรือแถบ ยาว 0.5 – 2 เซนติเมตร ดอก: เป็นช่อกระจุก ช่อละ 1-8 ดอก แต่ละดอกมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 7 – 8 มิลลิเมตร ยาว 1 – 1.5 เซนติเมตร สีม่วงอมฟ้าหรือม่วงคราม ปลายกลีบบนสีขาว เกสรเพศผู้สีเหลือง 3 อัน รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ ออกดอกเดือนตุลาคม – ธันวาคม ผล: รูปไข่ ภายในมีเมล็ดเล็กๆ จำนวนมาก […]