cafe
กากกาแฟ สู่แก้วดีไซน์สวย KAFFEEFORM
จาก “กาก” สู่ “แก้ว” ใช้ซ้ำดี รีไซเคิลได้ เกิดขึ้นจากสิ่งที่รู้กันว่าในทุก ๆ เช้า ชาวโลกไม่ว่าจะชาติใดต่างก็ต้องการ “กาแฟ” แก้วแรกกันอยู่เสมอ ซึ่งนั่นก็ทำให้เกิดผลสืบเนื่องอันเป็นขยะปริมาณมหาศาลในทุกเช้าด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะจากแก้วกาแฟใช้แล้วทิ้ง หรือสิ่งอื่น ๆ เช่น หลอด และไม้คนกาแฟ KAFFEEFORM บริษัทจากประเทศเยอรมนี จึงเกิดความคิดที่จะสร้างแก้วกาแฟที่ย่อยสลายได้ง่ายขึ้น และผลิตจากเศษเหลือในอุตสาหกรรมร้านกาแฟ เพื่อให้เกิด Close Loop หรือการหมุนเวียนทรัพยากรอย่างสมบูรณ์ใน Circular Economy และสิ่งที่ถูกเลือกมาใช้เป็นวัสดุนั่นก็คือ “กากกาแฟ” นั่นเอง กว่า 3 ปี ที่ KAFFEEFORM ได้ทดลองสูตรลับเฉพาะในการขึ้นรูปแก้วกาแฟจากกากกาแฟให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีพอ น่าใช้ และดูดีเป็นมิตรต่อนักดื่ม ผลลัพธ์ที่ได้จึงกลายมาเป็นแก้วที่มีผิวสัมผัสเรียบเนียนแต่ผสมไปด้วยเส้นใยจากกากกาแฟ สามารถฉีดขึ้นรูปได้หลากหลาย ตั้งแต่แก้วที่ล้อเลียนมาจากแก้วใช้แล้วทิ้ง แก้ว Espresso แก้ว Cappucino และ แก้ว Latte มีความทนทาน ทั้งสามารถใส่ของร้อนได้ และตกไม่แตกอีกด้วย ซึ่งผลิตภัณฑ์นี้ใช้สูตรลับที่เป็น Plant […]
82 District จุดเริ่มของชุมชนครีเอทีฟแห่งใหม่ย่านเจริญกรุง 82
เมื่อสำนักงาน คาเฟ่ ร้านค้า และม็อกเทลบาร์แห่งใหม่ได้สร้างความเคลื่อนไหวล่าสุดให้กับหัวมุมซอยเจริญกรุง 82 ที่นี่จึงได้ชื่อว่า 82 District ย่านใหม่ของชุมชนนักสร้างสรรค์ ที่ดูเหมือนจะมีจุดเริ่มต้นมาจากการขยับขยายสำนักงานใหม่ของ Trimode Studio หนึ่งในสตูดิโอออกแบบแนวหน้าของไทย อาจกล่าวได้ว่า การย้ายสำนักงานมายังอาคารแห่งใหม่ของ Trimode พร้อม ๆ กับการเปิดตัว Tangible ซึ่งเป็นทั้งพื้นที่คาเฟ่ และไลฟ์สไตล์ช็อปในที่เดียวกันคือจุดเริ่มต้นสำคัญ ที่ช่วยปลุกบรรยากาศของปากซอยเจริญกรุง 82 หรือ 82 District ให้เริ่มคึกคัก ทีมงานจึงอยากต่อยอด พร้อมความตั้งใจที่จะส่งเสริมความเป็นย่านสร้างสรรค์ เป็นพื้นที่ใหม่ให้ผู้คนมาเยี่ยมเยือน พร้อมเสพงานดีไซน์ดี ๆ “ตั้งแต่มีร้าน Tangible คนก็เริ่มมาเดินเล่นในซอยกัน เราเลยนึกถึงโมเดลในต่างประเทศ ที่ร้านรวงต่าง ๆ จะช่วยสร้างความเป็นย่าน จึงพยายามดึงงานดีไซน์ หรือศิลปะมาสร้างจุดสนใจให้ย่านนี้” คุณชินภานุ อธิชาบดี หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Trimode Studio เริ่มต้นเล่าให้เราฟังว่าเมื่อผู้เช่าอาคารพาณิชย์ฝั่งตรงข้ามของร้าน Tangible ย้ายออกไปพอดี ทางทีมงานจึงทำการขยับขยายให้ภาพของย่านสร้างสรรค์แห่งนี้ชัดเจนขึ้น โดยปรับเปลี่ยนชั้นล่างของอาคารใหม่แห่งนี้ ให้กลายเป็นงานออกแบบร้านค้าหรือพื้นที่เชิงพาณิชย์ในแบบที่ Trimode ไม่เคยทำมาก่อน […]
Speciality Caffee Shop ยกจัตุรัสกลางเมืองบัวโนสไอเรส มาไว้ในคาเฟ่
Speciality Caffee Shop คาเฟ่กลางบัวโนสไอเรส ที่ออกแบบผ่านเส้นสายเรียบง่ายอย่างรูปทรงเรขาคณิตดูกลมกลืนไปกับโทนสีกลาง หิน พรรณไม้ และประติมากรรม
YIJIAN CAFE SHANGHAI คาเฟ่กล่องไม้ท่ามกลางป่าคอนกรีต
YIJIAN CAFE SHANGHAI คาเฟ่ขนาดเล็ก ที่มีพื้นที่เพียง 30 ตารางเมตรในรูปลักษณ์ของกล่องไม้สุดอบอุ่นที่ซ่อนตัวอยู่ในป่าคอนกรีต
House Becomes Cafe – เปลี่ยนบ้านเก่าเป็นคาเฟ่
เนื้อหาแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1. กรณีศึกษาคาเฟ่ 17 แห่ง ทั้งในไทยและต่างประเทศ โดยเน้นการนำเสนอเนื้อหาเชิงลึกของแต่ละกรณีศึกษาเพื่อให้ผู้อ่านสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง 2. ส่วนข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการออกแบบ ปรับเปลี่ยนพื้นที่พักอาศัยให้กลายเป็นพื้นที่ธุรกิจร้านกาแฟ ข้อกำหนด ข้อกฏหมาย และเทคนิคข้อมูลเชิงลึกในการออกแบบ ผู้เขียน : กองบรรณาธิการนิตยสาร Room สำนักพิมพ์ : บ้านและสวน ราคา : 425.00 บาท
FLAT+WHITE CAFE คาเฟ่ขาวนวลมินิมัลในย่านทองหล่อ
ถ้าถามว่าเมนูกาแฟอะไรคือเอกลักษณ์ของออสเตรเลีย ประเทศต้นกำเนิดกระแสกาแฟ Thrid Wave ก็คงบอกได้ทันทีว่าคือ Flat White ประกอบกับที่เจ้าของร้าน(และบ้านที่ชั้นบน) เคยไปใช้ชีวิตอยู่ที่เมืองเมลเบิร์น ออสเตรเลีย เมื่อกลับมาไทยเขาจึงเปิดร้านกาแฟของตัวเองขึ้น โดยใช้ชื่อว่า Flat+White Cafe เพื่อบ่งบอกตัวตนและความผูกพันกับกาแฟที่นั่น “ความนุ่มละมุนจากครีมนม” คือคอนเซ็ปต์ที่ถูกนำมาใช้ สองส่วนหลักที่เห็นได้ชัดคือ “สีสันบรรยากาศ” และ “เส้นสายโค้งรับต่อเนื่อง” ตลอดทั้งโครงการ การเลือกใช้ “สีขาว” เป็นหลักนี้ เพื่อสื่อถึงความนวลเนียนของนมบนกาแฟที่ถูกเจือด้วยสีน้ำตาลอ่อน ๆ ผนวกกับพื้นผิวที่ใช้เทคนิคปูนปั้นสร้างความนูนต่ำเกิดเป็นแสงเงาคล้ายคลื่นบาง ๆ ทำให้รู้สึกถึงความนุ่มละมุนมากยิ่งขึ้น เปรียบได้กับการที่เมื่อเข้าไปใช้บริการร้านแห่งนี้ ก็เหมือนได้เข้าไปอยู่ในครีมนมอันนวลเนียน อีกส่วนคือ “เส้นสายต่อเนื่อง” ที่ถูกใช้ตั้งแต่ฟาซาดภายนอก จนไหลเข้าสู่ภายในนั้นเปรียบเหมือนเทคนิค Latte Art ของการเทแบบ Free Pouring การสร้างลวดลายที่เกิดจากการซ้อนทับของชั้นเลเยอร์จากนม เมื่อถูกเทลงไปแล้วส่ายสะบัดจนเกิดเป็นลวดลาย ภายนอกนั้นใช้สเตนเลสแผ่นทำสีขาวด้านซ้อนเรียงกันและโค้งรับขับเน้นบริเวณทางเข้าไหลเข้าสู่ภายใน ทุกพื้นที่มีการเน้นด้วยเส้นและการซ้อนกันของฝ้าเพดาน สร้างความต่อเนืองโค้งมนช่วยลบความรู้สึกเป็นเหลี่ยมของอาคาร “เมื่อจะออกแบบร้านการแฟร้านนี้ ผมอยากให้มันร้อยเรียงเป็นเรื่องเดียวกันไปตลอดทั้งอาคาร ตั้งแต่แรกเห็นที่จากภายนอกจนเข้าสู่ภายใน ไปจนถึงทุก ๆ องค์ประกอบ เช่น ลวดลาย สีสัน […]
TERRA BEAN TO BAR คาเฟ่ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากป่าดงดิบต้นกำเนิดแห่งโกโก้
TERRA BEAN TO BAR คาเฟ่ที่จำลองบรรยากาศความเขียวชอุ่มแบบป่าดงดิบซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของวัตถุดิบชั้นเลิศอย่างโกโก้มาไว้ในร้านเพื่อให้รู้สึกถึงความเป็นธรรมชาติ
The Roof Cafe Roiet คาเฟ่ทรงหลังคา(เมทัลชีท) ที่ไม่ธรรมดาด้วยพื้นที่สอดแทรกธรรมชาติอย่างลงตัวในจังหวัดร้อยเอ็ด
หลังคา เมทัลชีท ที่เป็นมากกว่าหลังคา เพราะนี่คือคาเฟ่ที่อาจเรียกได้ว่าแนวที่สุดในจังหวัดร้อยเอ็ดก็ว่าได้ในวันนี้ กับ The Roof Cafe Roiet เพราะด้วยโจทย์ของเจ้าของที่มาจากธุรกิจจัดจำหน่ายแผ่นหลังคาเมทัลชีท โดย Sangthai Metal Sheet ทำให้ คุณกัน-ธุวานนท์ เรืองกนกศิลป์ แห่ง YIN + D Studio ต้องตีความ “พื้นที่ที่จะแสดงตัวตนของหลังคาเมทัลชีท” ออกมาให้ได้มากกว่าแค่ภาพจำเดิม ๆ “ เมทัลชีท = หลังคา” การตีความที่ล้อเลียนภาพจำ ทำให้เกิดคำถามเมื่อผู้มาเยือนได้เริ่มเดินเข้าไปในคาเฟ่แห่งนี้ สถาปนิกตั้งใจออกแบบโดยสร้างภาพของหลังคาขนาดใหญ่ขึ้น เนื่องจากที่ตั้งของคาเฟ่อยู่ริมถนนไฮเวย์รอบตัวเมืองจังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อให้เป็นที่จดจำของรถราที่เดินทางผ่านเส้นทางนี้ได้โดยง่าย รูปฟอร์มที่จดจำได้ง่ายและบอกเล่าต่อกันได้ด้วยคำ ๆ เดียวถือเป็นสิ่งสำคัญ “คาเฟ่หลังคาเมทัลชีต” จึงเกิดขึ้น แต่เมทัลชีทในคาเฟ่กลับถูกใช้หลากหลายกว่านั้น ไม่ว่าจะเป็นแนวกำแพง หรือผนัง ไปจนถึงเคาน์เตอร์กาแฟ ทั้งหมดได้รับการออกแบบขึ้นโดยใช้เมทัลชีทเป็นวัสดุหลัก สถาปนิกเลือกลอนของเมทัลชีทที่เป็นแบบลอนเรียบ และเว้นจังหวะของสัดส่วนช่องเปิดต่าง ๆ ให้พอดีกับลักษณะลอน ทำให้จังหวะแพตเทิร์นที่มาจากรูปแบบลอนนั้น กลายเป็นจังหวะและสัดส่วนที่ร้อยรัดพื้นที่ทั้งหมดให้กลายเป็นภาษาเดียวกัน ในส่วนของบรรยากาศภายใน นอกจากกำหนดพื้นที่ใช้งานหลัก ๆ เช่น […]
party / space / design สตูดิโอออกแบบในบรรยากาศคาเฟ่
party / space / design สตูดิโอออกแบบที่เชี่ยวชาญด้านการออกแบบพื้นที่ธุรกิจร้านอาหารและคาเฟ่ ที่สร้างประสบการณ์ใหม่เหนือความคาดหมายให้แก่ผู้ใช้งาน
ร้านกาแฟข้างตึกของ BLUE BOTTLE COFFEE ที่แก้ข้อจำกัดพื้นที่แคบและยาวด้วยการออกแบบ
Blue Bottle Coffee NEWoManYOKOHAMA Cafe Stand ร้านกาแฟในรูปแบบ Grab and Go สาขาใหม่ล่าสุดจาก Blue Bottle Coffee ในประเทศญี่ปุ่น ที่เพิ่งเปิดบริการไปในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา
LAZE BKK คาเฟ่ที่ให้มากกว่าเวลาที่ดี
LAZE BKK คาเฟ่ที่ตั้งอยู่ท่ามกลางความวุ่นวายของย่านสะพานควาย ด้วยความต้องการสร้างพื้นที่พิเศษสำหรับการหยุดพักให้แก่คนเมือง จึงเกิดเป็นคาเฟ่ที่รีโนเวตจากตึกแถวเก่าอายุ 60 ปี อันโดดเด่นด้วยการผสมผสานพื้นที่สีเขียวเข้ากับสถาปัตยกรรมได้อย่างลงตัว “LAZE ไม่ใช่คาเฟ่ แต่ LAZE เริ่มต้นด้วยการนำเสนอตัวเองผ่านความเป็น Cafe” คือสิ่งที่คุณคิม-กิตติกร คุ้มสิริพิทักษ์ Founder ของ LAZE BKK ได้บอกกับเรา “คอนเซ็ปต์ของ LAZE มันเป็นเรื่องของพื้นที่ที่อนุญาตให้เราได้ ‘หยุด’ เพื่อที่จะได้ปล่อยทิ้งเวลาเสียบ้าง ทำตัวให้อยู่ในบรรยากาศสบาย ๆ อยู่กับตัวเองให้มากขึ้น เหมือนกับคำว่า LAZE ที่เป็นชื่อร้านเลยครับ คือการเกียจคร้านอย่างมีคุณภาพ ฟังดูเหมือนจะไม่ได้อะไร แต่ในความวุ่นวายของชีวิตประจำวันเช่นนี้ การได้นิ่งสงบลงบ้างก็เป็น Quality Time ที่หาได้ยากยิ่ง” ร้าน LAZE แห่งนี้ เกิดจากความตั้งใจของคุณคิม ที่ต้องการอยากจะถ่ายทอดประสบการณ์ความประทับใจจากการดื่มกาแฟในช่วงเวลาที่เหนื่อยล้า การได้นั่งจิบกาแฟรสชาติดีในบรรยากาศสงบนั้นสามารถเยียวยาผู้คนได้เป็นอย่างดี จากจุดนั้นเองที่ทำให้คุณคิมตัดสินใจลาออกจากงานประจำและเริ่มต้นโปรเจ็กต์ LAZE BKK จนกระทั่งเราได้เห็นเป็นรูปร่างอย่างในปัจจุบัน “เราเริ่มต้นจากกาแฟซึ่งเป็นสิ่งที่ผมอยากแบ่งปันประสบการณ์นั้นออกไป แต่ก็จะมีเรื่องอื่น ๆ ตามมา เราพยายามทำทีละเรื่องให้ดีที่สุดก่อนครับ อย่างตอนนี้ก็มีกาแฟ […]
SAWO COFFEE & ROASTERY คาเฟ่ที่อินโดนีเซียในบรรยากาศกึ่งเอ๊าต์ดอร์
Sawo Coffee & Roastery คาเฟ่ที่อินโดนีเซีย บนถนนบราก้า กลางเมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซีย เมืองที่มีเอกลักษณ์ทางมรดกที่แข็งแรง ซึ่งอาคารหลังนี้ดูโดดเด่นออกจากบริบทโดยรอบด้วยรูปแบบของความเป็นบล็อกอาคารสไตล์โมเดิร์นเพียงหนึ่งเดียว ที่ตั้งอยู่ริมทางเท้าเชื่อมถนนคนเดิน ผู้ออกแบบจาก Oi Architect ได้ทำการปรับช่องเปิดขนาดใหญ่ด้านหน้า ที่เดิมทีเป็นกระจกติดฟิล์มดำทั้งผืนให้เหลือเพียงครึ่งบาน เพื่อนำแสงธรรมชาติเข้าสู่ภายใน เอื้อต่อการเจริญเติบโตของต้นไม้ในพืนที่กึ่งเอ๊าต์ดอร์ ทั้งยังช่วยดึงดูดความสนใจของผู้ที่สัญจรผ่านไปมาให้เห็นความเคลื่อนไหวภายในอาคารได้เป็นอย่างดี พื้นที่ภายในอาคารแบ่งออกเป็น 3 โซนหลัก ๆ คือ พื้นที่กึ่งเอ๊าต์ดอร์ พื้นที่อินดอร์ และส่วนเซอร์วิส ไล่จากทางเข้าด้านหน้าเป็นลำดับ ภายในตกแต่งสไตล์มินิมัล ในโทนสีขาวสะอาดตาเข้าคู่กับเฟอร์นิเจอร์ไม้ และเพิ่มความรู้สึกอบอุ่นด้วยไฟแบบวอร์มไวท์ เลือกวางเฟอร์นิเจอร์แบบโต๊ะตัวยาวให้ลูกค้านั่งทำงาน ประชุม หรือว่าแฮ้งเอ๊าต์ในยามเย็น อีกส่วนหนึ่งสำหรับคนที่มาคนเดียวหรืออยากนั่งคุยกับบาริสต้า ในส่วนของโต๊ะบาร์ที่คุมโทนสีขาวกลืนไปกับผนังด้านหลังให้ดูเรียบง่ายที่สุด แล้วเพิ่มจุดโฟกัสไปที่โคมไฟเหนือเคาน์เตอร์แทน องค์ประกอบทั้งหมดที่อยู่รวมกันทำให้ที่นี่กลายเป็นจุดหมายของผู้ที่ต้องการความสดชื่น พักผ่อน และเชิญชวนให้ผู้คนเเวะเวียนเข้ามาทำความรู้จัก ออกแบบ: Oi Architect ภาพ: KIE เรียบเรียง: BRL OTTOMAN’S COFFEE BREWERS คาเฟ่สีหวานละมุนตาในอินโดนีเซีย CAPELLA UBUD HOTEL เต็นท์กลางป่าฝนลึกลับจากตำนานของนักเดินทางชาวดัทช์