Yellow House บทกวีที่เรียกว่า “บ้าน”

บ้านที่ออกแบบสร้างเพื่อเชื่อมโยงบริบทโดยรอบสู่การใช้ชีวิต โดยคงไว้ซึ่งลักษณะดั้งเดิมของพื้นที่ รวมถึงต้นไม้ที่ยังอยู่แต่เดิมด้วย เปิดรับธรรมชาติผ่านมุมมองทางสถาปัตยกรรมในหลากรูปแบบซึ่งล้วนแต่งดงาม ดั่งบทกวีที่เรียงร้อยขึ้นด้วยสถาปัตยกรรม DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: JOYS Architects Yellow House คือ บ้านที่เหมือนเป็นภาคต่อของ Yellow Submarine และ Yellow Mini คาเฟ่เรียบเท่ในพื้นที่เขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา นั่นจึงทำให้บ้านหลังนี้ต้องมีการออกแบบที่ทั้งเปิดรับบริบทธรรมชาติโดยรอบเพื่อการอยู่อาศัยที่ดี แต่ก็ยังต้องสร้างความเป็นส่วนตัวจากพื้นที่คาเฟ่ไปพร้อมกัน #จัดวางธรรมชาติร่วมกับการอยู่อาศัย การออกแบบบ้านในระบบกริดตาราง ทำให้บ้านหลังนี้มีการจัดวางพื้นที่อยู่อาศัย สลับกับคอร์ตที่แตกต่างไปในแต่ละส่วน บ้างก็เป็นสวน บ้างก็เป็นต้นไม้ เนินดิน หรือสระน้ำ คอร์ตเหล่านี้ถูกจัดวางเอาไว้ในสี่ทิศของผังอาคาร ทำให้ในทุกห้องที่เหลือ สามารถมองเห็นทิวทัศน์ และรับบรรยากาศในแต่ละคอร์ตได้อย่างทั่วถึง โดยมีห้องนอนที่ส่วนกลางบ้านเป็นห้องที่รับวิวทุกคอร์ตได้ในห้องเดียว #บ้านเล่นระดับร่วมกับธรรมชาติ ตัวบ้านเลือกที่จะอยู่ร่วมกับระดับที่ต่างกันของผืนที่ดินแต่เดิม โดยไม่ได้ปรับเปลี่ยนระดับของพื้นที่มากนัก ขั้นตอนการออกแบบจึงต้องทำการบ้านกับระดับที่ต่างกันไปในแต่ละส่วน เป็นผลให้ทั้งช่องเปิด หรือการใช้งานมีลักษณะเฉพาะที่น่าสนใจ แทบไม่ซ้ำกันในแต่ละส่วนเลย #ร่องรอยที่เชื่อมโยงภายนอกและภายใน เมื่อพิจารณาถึงวัสดุของบ้านหลังนี้ คอนกรีตเปลือย และไม้ ทำหน้าที่เป็นเหมือนภาพสะท้อนบริบท หิน และต้นไม้โดยรอบ หากแต่คือการแปรความผ่านภาษาทางสถาปัตยกรรม โดยถูกกำหนดหน้าที่ใช้งานทั้งโครงสร้าง หรือองค์ประกอบที่กลายเป็นผนัง และเฟอร์นิเจอร์ที่จัดแบ่งรูปแบบการใช้ชีวิตในแต่ละพื้นที่ได้เป็นอย่างดี และนี่คืออีกหนึ่งบ้านที่น่าสนใจในรูปแบบที่เชื่อมโยงกับธรรมชาติอย่างลึกซึ้ง เป็นตัวอย่างของบ้านต่างจังหวัดที่น่าสนใจอีกหลังหนึ่งเลยทีเดียว […]

BLOCK WALL HOUSE บ้านบล็อกช่องลมกลางป่า ที่สร้างด้วยคอนกรีตรักษ์โลก

บ้านช่วยโลก เมื่อบ้านของเราสร้างจากวัสดุที่สามารถดักจับคาร์บอนไดออกไซด์เอาไว้ได้! นี่คือบ้านท่ามกลางธรรมชาติ ซึ่งเป็นต้นแบบของวัสดุก่อสร้างที่ยั่งยืนแห่งอนาคตอันใกล้ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: nendo บล็อกช่องลมที่สร้างจากวัสดุ CO2-SUICOM จำนวน 2,050 ก้อน ได้รับการนำมาใช้ในการสร้างแนวผนังของบ้านหลังนี้ โดยวัสดุนี้เป็นส่วนผสมครึ่งต่อครึ่งระหว่างปูนซีเมนต์กับวัตถุดิบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะสร้างให้เกิดกระบวนการดักจับ CO2 ในขั้นตอนของการแข็งตัวของซีเมนต์ เป็นผลให้วัสดุ CO2-SUICOM สามารถช่วยลดภาวะโลกร้อนได้เป็นอย่างดี โดยวัสดุนี้เป็นการพัฒนาที่เกิดจากความร่วมมือของบริษัท Kajima, The Chugoku Electric Power Co., Denka, และ Landes Co. จนเกิดเป็นคอนกรีตที่สามารถดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ได้เป็นครั้งแรกของโลก บ้านหลังนี้ตั้งอยู่ในจังหวัดนากาโนะ ประเทศญี่ปุ่น ท่ามกลางธรรมชาติอันไร้ซึ่งสิ่งรบกวน ความโดดเด่นของบ้านหลังนี้ คือแนวผนังที่ใช้อิฐบล็อกก่อเป็นบล็อกช่องลมที่มีการหันแนวช่องเปิดแตกต่างกันไปในแต่ละช่วงของอาคาร สัมพันธ์ไปกับรูปแบบการใช้งานในส่วนต่าง ๆ ทั้งยังช่วยพรางอาคารทั้งหลังให้กลมกลืนไปกับผืนป่ารอบด้านได้อย่างดี ช่องเปิดเหล่านี้ เป็นตัวกำหนดมุมมอง และแนวลมที่ไหลผ่านตัวบ้านไปพร้อมกัน ในส่วนที่ต้องการความเป็นส่วนตัวจะมีแนวกำแพงซ้อนกันสองชั้นเพื่อให้มุมมองที่ดูเหลื่อมซ้อนกัน สร้างให้เกิดความจำเพาะของตำแหน่งที่มองทะลุผ่านได้ แม้จะช่วยปิดกั้นสร้างความเป็นส่วนตัว แต่ก็ยังรู้สึกปลอดโปร่ง ไม่อึดอัด แม้วัสดุ CO2-SUICOM ที่นำมาใช้ก่อสร้างบ้านหลังนี้ ยังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนา แต่คาดว่าจะสามารถออกสู่ท่องตลาดได้จริงก่อนปี 2030 อย่างแน่นอน เพื่อแก้ปัญหามลพิษจากอุตสาหกรรมก่อสร้าง […]