“sacit Craft Power” SACIT The Future of Crafts : Guru Panel 

สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ sacit จัดงานระดมความคิดขับเคลื่อนแนวทางการพัฒนาสินค้าศิลปหัตถกรรมไทย เพื่อให้ตรงกับความต้องการของตลาดโลก สร้างสรรค์งานศิลปหัตถกรรมไทย ให้เผยแพร่ไปในระดับสากล และเกิดการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายแวดวงผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปหัตถกรรมไทย มาร่วมประชุมเสวนา “sacit Craft Power” SACIT The Future of Crafts : Guru Panel เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ณ โรงแรม อีสติน แกรนด์ กรุงเทพ การประชุมเสวนาในครั้งนี้ sacit  เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปหัตถกรรมไทย 9 ท่าน มาแสดงความ คิดเห็น ใน 3 ด้าน คือ Unseen Craft, Thainess และ Craft Power ได้แก่ ศาสตราจารย์เกียรติคุณวิบูลย์ ลี้สุวรรณ ราชบัณฑิต ประเภทวิชาวิจิตรศิลป์ สาขาวิชาจิตรกรรมราชบัณฑิตยสภา / […]

สรุปงานสัมมนา SACICT Craft Trend Guru Panel 2021

โดยงานนี้เป็นงานสัมนา Craft Trend ที่จัดเป็นประจำในทุกปี เพื่อจะได้พาเหล่ากูรูชั้นแนวหน้าจากหลากหลายสาขาที่เกี่ยวข้องมาพูดคุยสรุปแนวทางการทำงาน และวางนโยบายการส่งเสริมงานหัตถศิลป์ หรืองานคราฟต์ ของไทยร่วมกัน เพื่อพัฒนาทิศทางและต่อยอดแนวคิดให้ก้าวไกลสู่ระดับประเทศและระดับโลก ซึ่งแน่นอนที่สุดที่ baanlaesuan.com ไม่พลาดนำเสนอเนื้อหา โดยสรุปจากงาน Craft Trend Guru Panel 2021 มาฝากทุกท่านเหมือนเช่นเคย

Kamon Indigo : ความแสบสันของผ้าย้อมสีธรรมชาติที่กล้าใส่แบบไม่เขิน

แม้จังหวัดแพร่จะขึ้นชื่อเรื่องของการย้อมฮ่อม หนึ่งในกรรมวิธีการสร้างสีครามลงบนผืนผ้าของชาวเหนือ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาช้านาน แต่สำหรับ กมลชนก แสนโสภา เด็กสาวอายุ 18 ที่กำลังจะก้าวเท้าเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยในตอนนั้น เธอรู้เพียงแค่ว่าฮ่อมคือสีย้อมผ้าที่ใช้สวมใส่ในช่วงวันสงกรานต์ และเมื่อโดนน้ำสีจากผ้าจะตกจนเปรอะเปื้อนร่างกาย “ความไม่รู้” ที่เธอมีในตอนนั้น เหมือนเป็นประตูบานใหญ่ที่ทำให้หญิงสาวย้อนกลับมาหาคำตอบกับสิ่งใกล้ตัวที่เคยมองข้ามไป ซึ่งการมองย้อนกลับไปค้นหาภูมิปัญญาเรื่อง “ฮ่อม” พืชที่อยู่คู่กับชุมชนของเธอมานาน ได้นำมาสู่ต้นกำเนิดของสตูดิโอเล็ก ๆ ที่เปลี่ยนจากโรงเลี้ยงหมาหลังบ้าน กลายเป็นห้องเรียนเรื่องสีธรรมชาติ และทำให้ Kamon Indigo เดินหน้าขึ้นมาเป็นงานคราฟต์ที่ทำให้คนรุ่นใหม่กล้าสวมใส่ผ้าย้อมสีธรรมชาติกันมากขึ้น เริ่มต้นที่สตูดิโอหลังบ้าน “ตรงนี้เคยเป็นบ้านหมามาก่อนค่ะ แต่พอเราคิดจะทำงานนี้อย่างจริงจังหลังเรียนจบก็เลยเปลี่ยนมาเป็นโรงย้อม ช็อปจำหน่ายสินค้า และสตูดิโอสำหรับเวิร์กชอป ใครอยากเรียนรู้วิธีย้อมสีธรรมชาติก็มาเจอเราที่นี่ได้เลย” กมลชนกเล่าถึงสถานที่ที่เป็นจุดเริ่มต้นของ Kamon Indigo อย่างติดอารมณ์ขัน “สิ่งที่ทำให้เราหันมาสนใจเรื่องย้อมสี เริ่มจากความไม่รู้ก่อนค่ะ ตอนสอบสัมภาษณ์เข้ามหาวิทยาลัยเราตอบคำถามง่าย ๆ ของอาจารย์ที่ถามว่าใครคือศิลปินแห่งชาติคนแรกของจังหวัดแพร่ไม่ได้ ซึ่งเป็นบ้านเกิดของเราเองเเท้ ๆ เพราะตอนนั้นมัวแต่ไปหาความรู้เรื่องอื่น แต่สิ่งใกล้ตัวเเบบนี้กลับตอบไม่ได้ เราเลยกลับมาหาคำตอบและเรียนรู้จากผู้ที่อยู่ในวงการจนได้รู้จักกับคุณป้าท่านหนึ่งซึ่งแกย้อมฮ่อมขาย เราเองก็อยากหารายได้พิเศษ จึงไปขอเรียนรู้งานตรงนั้น  “ตอนนั้นเราไม่รู้จักฮ่อมเลย ทั้ง ๆ ที่เราเป็นคนจังหวัดแพร่ จังหวัดที่ขึ้นชื่อเรื่องฮ่อม  เรารู้แค่ว่าเสื้อย้อมฮ่อมมักนิยมใส่กันในช่วงวันสงกรานต์ และสีจะตกเลอะตัวตอนเล่นน้ำ  เรารู้แค่นั้น เเต่พอได้มาทำความรู้จักลึก […]

Run Ga Run เทคนิคแพรวพราวของงานคราฟต์ที่กล้าใช้หัวหอมแดงมาย้อมสีผ้า

พาไปชมโรงย้อมผ้าสีธรรมชาติของแบรนด์ Run Ga Run งานคราฟต์ที่เต็มไปด้วยลูกเล่นและเทคนิคย้อมสีใหม่ๆ และตามไปดูไร่ครามออร์แกนิกแบบ 100%

งานทดลองที่เปลี่ยนกระสอบและกระดาษให้กลับมาเป็นถุงใส่ของ

คุณบาส-ศิรวิชญ์ ชัยอภิสิทธิ์ เจ้าของผลงานและผู้ก่อตั้งแบรนด์ Dhammada Garden ช่วยยืนยันความคิดนี้อีกที เมื่อเขาเล่าว่า “ผมชอบความธรรมดาสามัญซึ่งมีความพอดี

ซอสพริกศรีราชาพานิช ตำนานที่มีชีวิตกว่า 80 ปี

ในบรรดาซอสพริกที่ขึ้นชื่อในบ้านเรา ผมเชื่อเหลือเกินว่า ซอสพริกศรีราชาพานิช นั้นเป็นยี่ห้อที่คนไทยส่วนใหญ่รู้จักและคุ้นเคยกันดี ถึงขั้นมีติดประจำครัวเสียด้วยซ้ำไป

ละมุนละไม สองนักปั้นเซรามิกที่หยิบดอกไม้มงคลมาปั้นเป็นจานชาม

ใครที่ชอบเดินดูของในโซน Art Market จะต้องคุ้นหน้าคุ้นตาศิลปินคู่นี้และผลงานที่สุดแสนน่ารักของพวกเขาเป็นอย่างดี แม้ปัจจุบันจะมีงาน เซรามิก

SACICT Signature Collection 2019 แสงไฟที่ส่องสว่างให้งานเบญจรงค์โชติช่วงอีกครั้ง

SACICT Signature Collection 2019 งานเบญจรงค์ที่ได้ลบความคิดเหล่านั้นไปจนสิ้น ซึ่งเราจะพาไปชมกันว่าผลงาน ทั้ง 10 ชิ้นนั้นมีรูปลักษณ์เป็นเช่นใด

La Rocca แบรนด์เสื้อผ้าไทยจากชุมชนกลางกรุง

La Rocca แบรนด์เสื้อผ้าดัง ของ นิ – รุ่งโรจน์ จันทร์กระจ่าง ชายหนุ่มวัยสี่สิบต้นๆ มีจุดเด่นที่การนำถุงผ้าเก่าที่ผ่านการใช้งานแล้วมาเป็นวัตถุดิบในการตัดเย็บ

สำริดศิลป์ บ้านช่างหล่อ

บ้านช่างหล่อ คือชุมชนช่างกลางกรุงที่มีเรื่องราวความเป็นมากว่าร้อยปี ตั้งอยู่ในเขตบางกอกน้อย บริเวณเชิงสะพานข้ามคลองบ้านขมิ้น – คลองคูเมือง

“เส้ง ซอย 7” ตำนาน เวสป้า เมืองไทย

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่หลงใหลและมีรถเวสป้าในครอบครอง คุณต้องรู้จักผู้ชายคนนี้ “เส้ง ซอย 7” หรือ คุณวีระ ธีรเกตุ ชายไทยเชื้อสายจีนอายุเจ็ดสิบปีต้นๆ ผมขาวท่าทางทะมัดทะแมงสมเป็นนักเลงเวสป้า

เปลี่ยน เครื่องปั้นดินเผา ธรรมดาให้มีค่ามากกว่าเดิม

จังหวัดนนทบุรีไม่ได้มีเพียงแค่วัดเก่านามระบือ เลื่องลือทุเรียนนนท์ น่ายลศูนย์ราชการ หากแต่ยังเป็นแหล่งงานศิลปะ เครื่องปั้นดินเผา ที่เก่าแก่และน่าสนใจ

อิฐโบราณทำมือฝาแฝดที่พลัดพรากของอิฐมอญ

การทำ อิฐโบราณ ประดับเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น เพราะเชื่อกันว่าดินจากท้องนาที่จังหวัดอ่างทองนั้นดีและเหมาะกับการทำอิฐมากที่สุด

โหมโรง…สมชัย ดนตรีไทย อาวุธแห่งกวี ดนตรีแห่งแผ่นดิน

โหมโรง… สมชัย ดนตรีไทย อาวุธแห่งกวี ดนตรีแห่งแผ่นดิน ย้อนกลับไปเมื่อ 14 ปีก่อน ภาพยนตร์ไทยเรื่อง “โหมโรง” ได้ปลุกกระแสให้ดนตรีไทยกลับมา…

10 ดีไซเนอร์ไทยที่ต่อยอดงานคราฟต์ชุมชนสู่งานดีไซน์อินเตอร์

10 ดีไซเนอร์ไทย ที่เลือกสรรมาช่วยบอกเล่ามุมมองของงานคราฟต์ และแนวทางการร่วมมือกับชุมชน ไปจนถึงความคิดที่จะต่อยอดภูมิปัญญาล้ำค่าในทุกแขนงให้สืบทอดไปได้

บ้านพุมเรียง ตำนานผ้าไทยที่รอการสืบสาน

ผมเคยได้ยินชื่อเสียงด้านการทอผ้าของ “ บ้านพุมเรียง ” มานานแล้ว แม้ตัวเองจะไม่ได้ เป็นนักสะสมผ้าไทย เพียงแต่อยากรู้ว่าถ้าเราจะไปท่องเที่ยว…

กระจูดวรรณี งานคราฟต์พื้นบ้านที่ดีไซน์ให้หยิบใช้แบบไม่เขิน

กระจูดวรรณี หัตถกรรมพื้นบ้านสู่ตลาดสากล “กระจูด” เป็นวัชพืชที่พบได้มากในแถบภาคใต้ของบ้านเรา จัดเป็นพืชตระกูลเดียวกับ “กก” …

ขลุ่ยบ้านลาว ประวัติศาสตร์ทางดนตรีที่ยังมีลมหายใจ

ชุมชนเหล่านี้มักเป็นพระเอกให้พูดถึงเสมอๆ ครั้งนี้ก็เช่นกันที่ผมจะขอพูดถึง “ชุมชนบ้านลาว” แหล่งผลิต “ ขลุ่ยบ้านลาว ” ที่ทรงคุณค่าแห่งหนึ่งของฝั่งธนบุรี