crafter
Kamon Indigo : ความแสบสันของผ้าย้อมสีธรรมชาติที่กล้าใส่แบบไม่เขิน
แม้จังหวัดแพร่จะขึ้นชื่อเรื่องของการย้อมฮ่อม หนึ่งในกรรมวิธีการสร้างสีครามลงบนผืนผ้าของชาวเหนือ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาช้านาน แต่สำหรับ กมลชนก แสนโสภา เด็กสาวอายุ 18 ที่กำลังจะก้าวเท้าเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยในตอนนั้น เธอรู้เพียงแค่ว่าฮ่อมคือสีย้อมผ้าที่ใช้สวมใส่ในช่วงวันสงกรานต์ และเมื่อโดนน้ำสีจากผ้าจะตกจนเปรอะเปื้อนร่างกาย “ความไม่รู้” ที่เธอมีในตอนนั้น เหมือนเป็นประตูบานใหญ่ที่ทำให้หญิงสาวย้อนกลับมาหาคำตอบกับสิ่งใกล้ตัวที่เคยมองข้ามไป ซึ่งการมองย้อนกลับไปค้นหาภูมิปัญญาเรื่อง “ฮ่อม” พืชที่อยู่คู่กับชุมชนของเธอมานาน ได้นำมาสู่ต้นกำเนิดของสตูดิโอเล็ก ๆ ที่เปลี่ยนจากโรงเลี้ยงหมาหลังบ้าน กลายเป็นห้องเรียนเรื่องสีธรรมชาติ และทำให้ Kamon Indigo เดินหน้าขึ้นมาเป็นงานคราฟต์ที่ทำให้คนรุ่นใหม่กล้าสวมใส่ผ้าย้อมสีธรรมชาติกันมากขึ้น เริ่มต้นที่สตูดิโอหลังบ้าน “ตรงนี้เคยเป็นบ้านหมามาก่อนค่ะ แต่พอเราคิดจะทำงานนี้อย่างจริงจังหลังเรียนจบก็เลยเปลี่ยนมาเป็นโรงย้อม ช็อปจำหน่ายสินค้า และสตูดิโอสำหรับเวิร์กชอป ใครอยากเรียนรู้วิธีย้อมสีธรรมชาติก็มาเจอเราที่นี่ได้เลย” กมลชนกเล่าถึงสถานที่ที่เป็นจุดเริ่มต้นของ Kamon Indigo อย่างติดอารมณ์ขัน “สิ่งที่ทำให้เราหันมาสนใจเรื่องย้อมสี เริ่มจากความไม่รู้ก่อนค่ะ ตอนสอบสัมภาษณ์เข้ามหาวิทยาลัยเราตอบคำถามง่าย ๆ ของอาจารย์ที่ถามว่าใครคือศิลปินแห่งชาติคนแรกของจังหวัดแพร่ไม่ได้ ซึ่งเป็นบ้านเกิดของเราเองเเท้ ๆ เพราะตอนนั้นมัวแต่ไปหาความรู้เรื่องอื่น แต่สิ่งใกล้ตัวเเบบนี้กลับตอบไม่ได้ เราเลยกลับมาหาคำตอบและเรียนรู้จากผู้ที่อยู่ในวงการจนได้รู้จักกับคุณป้าท่านหนึ่งซึ่งแกย้อมฮ่อมขาย เราเองก็อยากหารายได้พิเศษ จึงไปขอเรียนรู้งานตรงนั้น “ตอนนั้นเราไม่รู้จักฮ่อมเลย ทั้ง ๆ ที่เราเป็นคนจังหวัดแพร่ จังหวัดที่ขึ้นชื่อเรื่องฮ่อม เรารู้แค่ว่าเสื้อย้อมฮ่อมมักนิยมใส่กันในช่วงวันสงกรานต์ และสีจะตกเลอะตัวตอนเล่นน้ำ เรารู้แค่นั้น เเต่พอได้มาทำความรู้จักลึก […]
Run Ga Run เทคนิคแพรวพราวของงานคราฟต์ที่กล้าใช้หัวหอมแดงมาย้อมสีผ้า
พาไปชมโรงย้อมผ้าสีธรรมชาติของแบรนด์ Run Ga Run งานคราฟต์ที่เต็มไปด้วยลูกเล่นและเทคนิคย้อมสีใหม่ๆ และตามไปดูไร่ครามออร์แกนิกแบบ 100%
ผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติจากคีรีวงที่บินตรงสู่เลสเตอร์ ซิตี้
ฉากเปิดตัวนักเตะของสโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ ซิตี้ ที่สวมเสื้อแจ็กเก็ตผ้ามัดย้อมสีน้ำเงิน-เหลืองทอง ในพิธีเปิดการแข่งขันวัน Boxing Day (วันที่ 26 ธันวาคมที่ผ่านมา) ไม่เพียงเรียกเสียงเชียร์จากแฟนบอลรอบสนาม เเต่ยังถือเป็นการเปิดตัวสินค้าที่ระลึกคอลเล็กชั่นใหม่ของสโมสรฯประจำปี 2020 อย่างเป็นทางการไปพร้อมกัน ผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ เสื้อแจ็กเก็ตของเหล่านักเตะทีมเลสเตอร์ ซิตี้ที่เห็นอยู่นั้น คือคอลเล็กชั่นพิเศษที่ใช้ชื่อว่า “From Leaves to Lively Thai Dye Collection” โดยกลุ่มบริษัท คิง พาวเวอร์ ได้ออกแบบร่วมกับทีมครีเอทีฟของสโมสรเลสเตอร์ ซิตี้ โดยนำภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทยอย่างการมัดย้อมสีธรรมชาติมาสร้างสรรค์ให้เกิดลวดลายพิเศษ โดดเด่นด้วยสองโทนสี หลัก ๆ ซึ่งเกิดจากการ Collaborate ระหว่างเทคนิคการย้อมสีธรรมชาติของภาคใต้ จากชุมชนหมู่บ้านคีรีวง ตำบลกำโลน อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ใช้ใบหูกวางมาย้อมผ้าเพื่อให้เกิดเป็นสีเหลืองทอง กับเทคนิคการย้อมผ้าของทางภาคเหนือ จากชุมชนตะเคียนปม อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน ซึ่งใช้เทคนิคการย้อมคราม จนได้เนื้อผ้าโทนสีน้ำเงิน ก่อนนำมาตัดเย็บเป็นเสื้อเเจ็กเก็ต พร้อมด้วยของที่ระลึกต่าง ๆ อันเป็นส่วนหนึ่งของคอลเล็กชั่นนี้ โดยคอลเล็กชั่นนี้ถือเป็นสินค้า Ready-to-wear รุ่น Limited […]
“สาธุ” : ฝ้าย-ใยกัญชง-สีธรรมชาติ สู่เสื้อผ้าที่ถักทอจากสัญชาตญาณ
สาธุ แบรนด์เสื้อผ้าปลอดสารเคมี ทักทอจากใยธรรมชาติ ฝ้าย และ กัญชง ย้อมสีธรรมชาติจากเปลือกไม้ ทอมือและตัดเย็บโดยชาวเขา สู่การสวมใส่ในรูปแบบศิลปะ
คม ศรีราช วิศวกรที่กลับบ้านเกิดเพื่อสร้างแหล่งท่องเที่ยวแบบ Local Experiences ให้ชุมชน
บ้านบางหมาก เป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ อยู่ห่างจากตัวเมืองจังหวัดชุมพรเพียง 3 กิโลเมตร เเต่รายล้อมด้วยธรรมชาติซึ่งเเทบไม่มีเค้าของชุมชนเมืองให้เราเห็นเลยสักนิด เงาต้นปาล์มเรียงรายเป็นแถวยาวตลอดเเนวสวน กิ่งมะพร้าวโบกปลิวตามแรงลมพัดเป็นระยะ บ้านแต่ละหลังตั้งอยู่ห่างกันอย่างสันโดษ ทำให้หมู่บ้านแห่งนี้ดูคล้ายกับซุกตัวอยู่อย่างเงียบ ๆ ภายใต้สวนบรรยากาศเขียวครึ้มขนาดใหญ่ ตัดผ่านด้วยถนนคอนกรีตเล็ก ๆ สองข้างทางเราจะได้ยินเสียงร้องของลิงกังสอดเเทรกสลับกับเสียงรถยนต์เป็นระยะ บรรยากาศโดยรวมของชุมชนบ้านบางหมากจึงยังคงความเรียบง่ายเเละเนิบช้า เป็นเสน่ห์ให้คนเมืองหลวงโหยหา เเละอยาก(กลับ)มาสัมผัส เช่นเดียวกับ คุณคม ศรีราช อดีตวิศวกรหนุ่มจากเมืองกรุงฯ ที่ย้อนกลับมายังที่นี่อีกครั้งในวัยสามสิบต้น ๆ ซึ่งกำลังก้าวหน้าในหน้าที่การงานที่ร่ำเรียนมา ด้วยใจที่มองเห็นว่าบ้านเกิดของเขานั้นมีเสน่ห์ไม่ต่างจากถิ่นฐานอื่นที่เคยไปพบเห็นเเละท่องเที่ยว ไม่ใช่เรื่องเเปลกหากเราจะชื่นชมวัฒนธรรมเเละธรรมชาติในดินเเดนอื่น เเต่จะมีสักกี่คนที่มองย้อนกลับมามองบ้านเกิดของตนเอง เเล้วพัฒนาให้ที่นั่นเกิดความพิเศษ เชื้อเชิญให้ผู้คนจากต่างถิ่นอยากเข้ามาสัมผัส เเละเก็บเกี่ยวประสบการณ์ที่น่าประทับใจกลับไปดูบ้าง ดังนั้นเมื่อตั้งใจ “กลับบ้าน” ภารกิจแรกของวิศวกรหนุ่มผู้นี้ คือการเปลี่ยนสวนมะพร้าวบนที่ดินของครอบครัวให้เป็นที่พักของนักท่องเที่ยว โดยมีจุดขายคือวิถีชีวิตเกษตรกรรมของคนในชุมชนบางหมาก พร้อมกับคำนิยามสั้น ๆ ที่ทุกคนจะได้รับคือ “Local Experiences” เรียกว่าใครที่มาเยือนจะต้องได้รับประสบการณ์ที่แตกต่างกลับไป และทั้งหมดเป็นต้นกำเนิดของ วิลล่า วาริช รีสอร์ทเล็ก ๆ แห่งนี้ “ตอนที่บอกครอบครัวว่าจะทำโรงแรมเล็ก ๆ และทำที่นี่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ครอบครัวก็คัดค้านครับ ไม่มีใครเชื่อว่าเราจะทำได้ มองไม่ออกว่าจะไปทิศทางไหน แต่ผมก็ยืนยันที่จะทำ เพราะมองเห็นว่าทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนนั้นเป็นจุดขายที่ไม่เหมือนที่อื่น […]
พานิช ชูสิทธิ์ กับไร่กาแฟออร์แกนิกที่ไม่มีชื่อ แต่เป็นที่รู้จักทั่วชุมพร
ระยะทาง 67 กิโลเมตร จากตัวอำเภอฯ เมือง จังหวัดชุมพร สู่จุดหมายคือ บ้านธรรมเจริญ ในอำเภอท่าแซะ ไม่อาจทำให้ใจเต้นรัว แรง และเร็วคล้ายไม่เป็นจังหวะ ได้เท่ากับระยะทางอีก 10 กิโลเมตร จากเขตชุมชน ไปยัง “ไร่กาแฟ ที่ไม่มีชื่อ” ซึ่งตั้งอยู่บนเนินเขาอันเป็นป่าต้นน้ำของแม่น้ำท่าตะเภา ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากด่านทัพต้นไทร (เนิน 491) พื้นที่รอยต่อระหว่างพรมแดนไทยและสหภาพเมียนมาร์ “ไร่กาแฟ ที่ไม่มีชื่อ” คืออีกหนึ่ง Hidden Place ของ จังหวัดชุมพร ที่คนต่างถิ่นไม่ค่อยมีใครได้ไปสัมผัสนัก เช่นเดียวกับคนในพื้นที่ที่ต่างปรารถนาอยากไปรู้จักไร่กาแฟแห่งนี้ด้วยตนเอง ทั้งจากชื่อเสียงเรียงนามของเจ้าของไร่ ซึ่งเป็นบุคคลกว้างขวางเเละเป็นผู้อยู่เบื้องหลังวงการกาแฟของจังหวัดชุมพร เเต่ด้วยระยะทางที่ไกล บวกกับถนนหนทางมีความยากลำบาก บนระดับความสูง 200 เมตร จากระดับน้ำทะเล ทำให้เราไม่รู้ด้วยซ้ำว่าการเดินทางที่ได้ลงแรงลงใจไปนั้นจะคุ้มค่าหรือไม่ แต่แค่เพียงคำว่า “ไร่กาแฟออร์แกนิก บนแปลงปลูกที่อยู่สูงที่สุดของจังหวัดชุมพร” ได้กลายเป็นแม่เหล็ก เปลี่ยนให้ถนนลูกรังที่เต็มไปด้วยหลุมบ่อที่ทั้งแคบเเละขรุขระ กับระยะทางอีกหลายกิโลเมตรที่แสนยาวนาน ไม่ได้ทำให้เราเกิดความวิตกกังวลเลยอย่างใด เพราะใจที่จดจ่อไปยังจุดหมายปลายทางนั้น ได้ช่วยให้เราลืมความเหน็ดเหนื่อยเป็นปลิดทิ้ง พานิช ชูสิทธิ์ คือเจ้าของไร่กาแฟที่ไม่มีชื่อแห่งนี้ เราเรียกเขาสั้น ๆ ว่าพี่พานิช เช่นเดียวกับที่คนในพื้นที่เรียกขาน […]
ชาวประมงรุ่นใหม่กับปูที่หายไป ก่อนก่อตั้งชมรมอนุรักษ์พันธุ์ปู ปากน้ำชุมพร
“วางอวนไว้ 3 วันแล้วมีปูติดมา 2 ตัว อวนตั้ง 10 ผืน 20 ผืนแต่แทบจะจับปูไม่ได้เลย” จากคำบอกเล่าของน้องอุ้ม สาวน้อยวัย 23 ปี ผู้ก่อตั้งชมรมอนุรักษ์พันธุ์ปู แห่งนี้
ภวพล นักสะสมต้นไม้สู่เส้นทางน้ำหมึก 400 หน้าในหนังสือแคคตัสที่สมบูรณ์ที่สุดในเมืองไทย
ก่อนจะมาเป็นนักเลี้ยงแคคตัสหรือ กระบองเพชร ที่มีผลงานเป็นหนังสือแคคตัสฉบับสมบูรณ์ ที่สุดในไทยด้วยความหนาเกือบ 400 หน้า คุณ โอห์ม-ภวพล ศุภนันทนานนท์ ยังเคยเป็นนักเลี้ยง แอฟริกันไวโอเลต กล้วยไม้ และสับปะรดสีมาก่อนด้วย เพราะชอบต้นไม้มาตั้งแต่เด็ก จึงหัดเลี้ยงต้นนั้นต้นนี้มาเรื่อย รู้ตัวอีกที โอห์ม-ภวพล ศุภนันทนานนท์ ก็หลงรักบรรดา กระบองเพชร และต้นไม้เหล่านี้ กลายเป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีผลงาน หนังสือไม้ประดับกับสำนักพิมพ์บ้านและสวนอยู่หลายเล่ม แม้จะบอกว่าทำเป็นงานอดิเรก แต่เมื่อ ได้ทำสิ่งที่หลงรักอย่างเต็มที่โดยไม่คิดถึงปลายทาง ผลลัพธ์มักเหนือความคาดหมายเสมอ เหมือนอย่างที่เขากำลังทำหนังสือไม้อวบน้ำที่สมบูรณ์แบบไม่แพ้หนังสือแคคตัสให้เหล่าสาวก ได้ติดตามกัน เพื่อนใหม่ที่รู้จักกันตอน ป.5 และกลายเป็นเพื่อนสนิทจนปัจจุบัน “จำได้ว่าตอนเด็กๆ เห็นคุณตาเลี้ยงต้นโป๊ยเซียนโดยที่ผมเป็นลูกมือคอยช่วยหยิบกระถางหยิบดินให้มาตลอด จนโต มาช่วงป. 5 -ป. 6 ก็เริ่มอยากปลูกต้นไม้เองบ้าง เลยลองซื้อต้น แอฟริกันไวโอเลตซึ่งเป็นที่นิยมในยุคนั้นมาเลี้ยงดู ผมชอบรูปทรงของต้นไม้และชอบสีของดอกไม้ที่ดูพิเศษ พอช่วงจังหวะที่ย้ายมาอยู่บ้านใหม่ซึ่งมีพื้นที่กว้างขึ้น ผมก็เริ่มซื้อกล้วยไม้มาเลี้ยงเพิ่มเติม” ช่วงแรกที่คุณโอห์มหัดเลี้ยงต้นไม้ยังไม่มีแหล่งข้อมูลแบ่งปันทางอินเทอร์เน็ต จึงต้องอาศัยการซักถามจากผู้ขายบ่อยๆ จน คุ้นเคยและได้ความรู้สะสมมาเรื่อยๆ ความสนุกในการเลี้ยงต้นไม้ จึงเริ่มขยายต่อไปถึงพรรณไม้อื่นอย่างสับปะรดสีและกระบองเพชร ทำให้ตัดสินใจเลิกเลี้ยงแอฟริกันไวโอเลตไป เพราะไม่มีเวลาเพียงพอที่จะดูแล “ผมว่าเป็นเรื่องธรรมดานะที่เวลาเราเลี้ยงอะไรแล้วมัน อาจไม่ประสบความสำเร็จ […]
งานทดลองที่เปลี่ยนกระสอบและกระดาษให้กลับมาเป็นถุงใส่ของ
คุณบาส-ศิรวิชญ์ ชัยอภิสิทธิ์ เจ้าของผลงานและผู้ก่อตั้งแบรนด์ Dhammada Garden ช่วยยืนยันความคิดนี้อีกที เมื่อเขาเล่าว่า “ผมชอบความธรรมดาสามัญซึ่งมีความพอดี
ซอสพริกศรีราชาพานิช ตำนานที่มีชีวิตกว่า 80 ปี
ในบรรดาซอสพริกที่ขึ้นชื่อในบ้านเรา ผมเชื่อเหลือเกินว่า ซอสพริกศรีราชาพานิช นั้นเป็นยี่ห้อที่คนไทยส่วนใหญ่รู้จักและคุ้นเคยกันดี ถึงขั้นมีติดประจำครัวเสียด้วยซ้ำไป
ละมุนละไม สองนักปั้นเซรามิกที่หยิบดอกไม้มงคลมาปั้นเป็นจานชาม
ใครที่ชอบเดินดูของในโซน Art Market จะต้องคุ้นหน้าคุ้นตาศิลปินคู่นี้และผลงานที่สุดแสนน่ารักของพวกเขาเป็นอย่างดี แม้ปัจจุบันจะมีงาน เซรามิก
SACICT Signature Collection 2019 แสงไฟที่ส่องสว่างให้งานเบญจรงค์โชติช่วงอีกครั้ง
SACICT Signature Collection 2019 งานเบญจรงค์ที่ได้ลบความคิดเหล่านั้นไปจนสิ้น ซึ่งเราจะพาไปชมกันว่าผลงาน ทั้ง 10 ชิ้นนั้นมีรูปลักษณ์เป็นเช่นใด
La Rocca แบรนด์เสื้อผ้าไทยจากชุมชนกลางกรุง
La Rocca แบรนด์เสื้อผ้าดัง ของ นิ – รุ่งโรจน์ จันทร์กระจ่าง ชายหนุ่มวัยสี่สิบต้นๆ มีจุดเด่นที่การนำถุงผ้าเก่าที่ผ่านการใช้งานแล้วมาเป็นวัตถุดิบในการตัดเย็บ
สำริดศิลป์ บ้านช่างหล่อ
บ้านช่างหล่อ คือชุมชนช่างกลางกรุงที่มีเรื่องราวความเป็นมากว่าร้อยปี ตั้งอยู่ในเขตบางกอกน้อย บริเวณเชิงสะพานข้ามคลองบ้านขมิ้น – คลองคูเมือง
“เส้ง ซอย 7” ตำนาน เวสป้า เมืองไทย
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่หลงใหลและมีรถเวสป้าในครอบครอง คุณต้องรู้จักผู้ชายคนนี้ “เส้ง ซอย 7” หรือ คุณวีระ ธีรเกตุ ชายไทยเชื้อสายจีนอายุเจ็ดสิบปีต้นๆ ผมขาวท่าทางทะมัดทะแมงสมเป็นนักเลงเวสป้า
เปลี่ยน เครื่องปั้นดินเผา ธรรมดาให้มีค่ามากกว่าเดิม
จังหวัดนนทบุรีไม่ได้มีเพียงแค่วัดเก่านามระบือ เลื่องลือทุเรียนนนท์ น่ายลศูนย์ราชการ หากแต่ยังเป็นแหล่งงานศิลปะ เครื่องปั้นดินเผา ที่เก่าแก่และน่าสนใจ
อิฐโบราณทำมือฝาแฝดที่พลัดพรากของอิฐมอญ
การทำ อิฐโบราณ ประดับเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น เพราะเชื่อกันว่าดินจากท้องนาที่จังหวัดอ่างทองนั้นดีและเหมาะกับการทำอิฐมากที่สุด
โหมโรง…สมชัย ดนตรีไทย อาวุธแห่งกวี ดนตรีแห่งแผ่นดิน
โหมโรง… สมชัย ดนตรีไทย อาวุธแห่งกวี ดนตรีแห่งแผ่นดิน ย้อนกลับไปเมื่อ 14 ปีก่อน ภาพยนตร์ไทยเรื่อง “โหมโรง” ได้ปลุกกระแสให้ดนตรีไทยกลับมา…