crafts
Kamon Indigo : ความแสบสันของผ้าย้อมสีธรรมชาติที่กล้าใส่แบบไม่เขิน
แม้จังหวัดแพร่จะขึ้นชื่อเรื่องของการย้อมฮ่อม หนึ่งในกรรมวิธีการสร้างสีครามลงบนผืนผ้าของชาวเหนือ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาช้านาน แต่สำหรับ กมลชนก แสนโสภา เด็กสาวอายุ 18 ที่กำลังจะก้าวเท้าเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยในตอนนั้น เธอรู้เพียงแค่ว่าฮ่อมคือสีย้อมผ้าที่ใช้สวมใส่ในช่วงวันสงกรานต์ และเมื่อโดนน้ำสีจากผ้าจะตกจนเปรอะเปื้อนร่างกาย “ความไม่รู้” ที่เธอมีในตอนนั้น เหมือนเป็นประตูบานใหญ่ที่ทำให้หญิงสาวย้อนกลับมาหาคำตอบกับสิ่งใกล้ตัวที่เคยมองข้ามไป ซึ่งการมองย้อนกลับไปค้นหาภูมิปัญญาเรื่อง “ฮ่อม” พืชที่อยู่คู่กับชุมชนของเธอมานาน ได้นำมาสู่ต้นกำเนิดของสตูดิโอเล็ก ๆ ที่เปลี่ยนจากโรงเลี้ยงหมาหลังบ้าน กลายเป็นห้องเรียนเรื่องสีธรรมชาติ และทำให้ Kamon Indigo เดินหน้าขึ้นมาเป็นงานคราฟต์ที่ทำให้คนรุ่นใหม่กล้าสวมใส่ผ้าย้อมสีธรรมชาติกันมากขึ้น เริ่มต้นที่สตูดิโอหลังบ้าน “ตรงนี้เคยเป็นบ้านหมามาก่อนค่ะ แต่พอเราคิดจะทำงานนี้อย่างจริงจังหลังเรียนจบก็เลยเปลี่ยนมาเป็นโรงย้อม ช็อปจำหน่ายสินค้า และสตูดิโอสำหรับเวิร์กชอป ใครอยากเรียนรู้วิธีย้อมสีธรรมชาติก็มาเจอเราที่นี่ได้เลย” กมลชนกเล่าถึงสถานที่ที่เป็นจุดเริ่มต้นของ Kamon Indigo อย่างติดอารมณ์ขัน “สิ่งที่ทำให้เราหันมาสนใจเรื่องย้อมสี เริ่มจากความไม่รู้ก่อนค่ะ ตอนสอบสัมภาษณ์เข้ามหาวิทยาลัยเราตอบคำถามง่าย ๆ ของอาจารย์ที่ถามว่าใครคือศิลปินแห่งชาติคนแรกของจังหวัดแพร่ไม่ได้ ซึ่งเป็นบ้านเกิดของเราเองเเท้ ๆ เพราะตอนนั้นมัวแต่ไปหาความรู้เรื่องอื่น แต่สิ่งใกล้ตัวเเบบนี้กลับตอบไม่ได้ เราเลยกลับมาหาคำตอบและเรียนรู้จากผู้ที่อยู่ในวงการจนได้รู้จักกับคุณป้าท่านหนึ่งซึ่งแกย้อมฮ่อมขาย เราเองก็อยากหารายได้พิเศษ จึงไปขอเรียนรู้งานตรงนั้น “ตอนนั้นเราไม่รู้จักฮ่อมเลย ทั้ง ๆ ที่เราเป็นคนจังหวัดแพร่ จังหวัดที่ขึ้นชื่อเรื่องฮ่อม เรารู้แค่ว่าเสื้อย้อมฮ่อมมักนิยมใส่กันในช่วงวันสงกรานต์ และสีจะตกเลอะตัวตอนเล่นน้ำ เรารู้แค่นั้น เเต่พอได้มาทำความรู้จักลึก […]
Run Ga Run เทคนิคแพรวพราวของงานคราฟต์ที่กล้าใช้หัวหอมแดงมาย้อมสีผ้า
พาไปชมโรงย้อมผ้าสีธรรมชาติของแบรนด์ Run Ga Run งานคราฟต์ที่เต็มไปด้วยลูกเล่นและเทคนิคย้อมสีใหม่ๆ และตามไปดูไร่ครามออร์แกนิกแบบ 100%
งานทดลองที่เปลี่ยนกระสอบและกระดาษให้กลับมาเป็นถุงใส่ของ
คุณบาส-ศิรวิชญ์ ชัยอภิสิทธิ์ เจ้าของผลงานและผู้ก่อตั้งแบรนด์ Dhammada Garden ช่วยยืนยันความคิดนี้อีกที เมื่อเขาเล่าว่า “ผมชอบความธรรมดาสามัญซึ่งมีความพอดี
ละมุนละไม สองนักปั้นเซรามิกที่หยิบดอกไม้มงคลมาปั้นเป็นจานชาม
ใครที่ชอบเดินดูของในโซน Art Market จะต้องคุ้นหน้าคุ้นตาศิลปินคู่นี้และผลงานที่สุดแสนน่ารักของพวกเขาเป็นอย่างดี แม้ปัจจุบันจะมีงาน เซรามิก
10 ดีไซเนอร์ไทยที่ต่อยอดงานคราฟต์ชุมชนสู่งานดีไซน์อินเตอร์
10 ดีไซเนอร์ไทย ที่เลือกสรรมาช่วยบอกเล่ามุมมองของงานคราฟต์ และแนวทางการร่วมมือกับชุมชน ไปจนถึงความคิดที่จะต่อยอดภูมิปัญญาล้ำค่าในทุกแขนงให้สืบทอดไปได้
“ บ้านบาตร ”ชุมชนของคนทำบาตรพระ
บ้านบาตร เป็นชุมชนเก่าแก่ที่โยกย้ายถิ่นฐานมาจากกรุงศรีอยุธยา โดยเมื่อครั้งที่ สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสถาปนากรุงเทพมหานครขึ้นเป็นราชธานี
“ดินสอพอง”เนื้อดินที่ไม่ได้มีดีแค่เสริมความงามให้หญิงไทย
หากเอ่ยถึงเมืองลพบุรี นอกจากลิงแสนซนแล้ว “ ดินสอพอง ” ก็ถือเป็นผลิตภัณฑ์ขึ้นชื่อของจังหวัดนี้ โดยเฉพาะที่ชุมชนบ้านหินสองก้อน ในตำบลทะเลชุบศร
คราฟต์ นิดๆอย่างมีรสนิยม
ดึงกลิ่นอายของงาน คราฟต์ มาเล่าใหม่ให้แตกต่าง โดยใช้กับเทคนิคดั้งเดิม เช่น งานสานสวยๆ ที่ลดทอนเส้นสายให้ดูเรียบง่ายหรือลวดลายผ้าจากงานมัดย้อม
จับงานคราฟต์มาแต่งบ้านอย่างไรให้โดดเด่น
จากยุคโมเดิร์น ส่งต่อมาที่สไตล์ลอฟท์ และสุดท้ายปีนี้จบลงที่งานคราฟท์ ศิลปะการแต่งบ้านในเชิงงานฝีมือ ที่สะท้อนคุณค่างานหัตถศิลป์ หยิบเอาเรื่องราวและวิธีการผลิตแบบดั้งเดิมมาสร้างสรรค์ให้ดูร่วมสมัยและใช้แต่งบ้านให้ดูน่าอยู่ในไอเดียเก๋สะดุดตา
THE LITTLE CRAFT BRANDS 6 แบรนด์ของใช้งานคราฟต์ที่แต่งบ้านได้ด้วย
6 แบรนด์งานคราฟท์ที่ก่อร่างสร้างตัวจากพื้นที่เล็ก ๆ ผลิตชิ้นงานจากความคิดสร้างสรรค์…