- Home
- DITP
DITP
DITP ดัน 60 แบรนด์นักออกแบบรุ่นใหม่ สู่ตลาดโลก ชูเอกลักษณ์ท้องถิ่นผสานดีไซน์ร่วมสมัย ผ่านโครงการ Designers’ Room / Talent Thai & Creative Studio Promotion 2023
หากกล่าวถึงเรื่องของการออกแบบ ไม่ว่าจะเป็นบ้าน สวน หรือข้าวของเครื่องใช้ ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ นอกจากความสวยงาม แน่นอนเลยว่าต้องใช้งานได้ดี มีดีไซน์ตอบโจทย์ เข้ากับไลฟ์สไตล์ของคนในยุคสมัย ยิ่งไปกว่านั้น เทรนด์งานออกแบบโลกยังเข้ามาช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ให้กับผู้คนและสังคมได้หลากหลายแง่มุม เช่น ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาขยะ ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ปัญหาการศึกษา เป็นต้น ด้วยความสำคัญของงานออกแบบที่ช่วยสร้างคุณค่าให้กับสิ่งต่าง ๆ จึงได้นำมาสู่ โครงการส่งเสริมนักออกแบบไทยสู่ตลาดโลก ปี 2566 หรือ Designers’ Room / Talent Thai & Creative Studio Promotion 2023 ที่จัดขึ้นโดย กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ DITP มายาวนานกว่า 20 ปี โดยปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “Keep an eye on : The Creative Power Of The New […]
Taya Living งานคราฟต์อเนกประสงค์ สะท้อนวิถีเรียบง่ายและยั่งยืน
Taya Living นำเสนอผลิตภัณฑ์คราฟต์ดีไซน์เรียบง่ายในหมวดโฮมโปรดักต์และแฟชั่น ที่แตกต่างด้วยฟังก์ชั่นอเนกประสงค์ ตอบโจทย์วิถีชีวิตยุคใหม่ แบรนด์เล็กๆ เริ่มต้นจากตัวตนของ คุณณัฐฑยา สวาทสุต ผู้ประกอบการสาวไฟแรง ที่กลั่นกรองทั้งความหลงใหลและประสบการณ์ เพื่อสร้างสรรค์ธุรกิจใหม่ให้เป็นเหมือนคอมมูนิตี้ของสาวๆ พร้อมกับการให้ความสำคัญกับแนวคิดด้านความยั่งยืน และนี่คืออีกหนึ่งในแบรนด์ไทยน่าจับตาจากโครงการ Talent Thai โดย DITP หรือ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ จากเจ้าของร้านค้าแฟชั่นออนไลน์ แอร์โฮสเตส และและนักพัฒนาธุรกิจคุณณัฐฑยานำพาประสบการณ์ทั้งหมดมาพลิกไลฟ์สไตล์ส่วนตัวให้กลายเป็น Taya Living แบรนด์ทางเลือกใหม่สำหรับสินค้าในชีวิตประจำวัน ที่ยังคงกลิ่นอายความเรียบง่าย และเสน่ห์ของงานคราฟต์ไว้อย่างกลมกลืน “แบรนด์นี้เกิดจากไลฟ์สไตล์และความชื่นชอบของณัฐเอง เราชอบกระเป๋าสาน ชอบไปทะเล และชอบบ้านสไตล์สแกนดิเนเวียน кредитные займы онлайнถ้าเกิดจะไปเที่ยวก็จะนึกถึงเกาะไมโคนอส (Mykonos) ในกรีซ ซึ่งพอเราชื่นชอบสิ่งเหล่านี้ มันก็เลยกลายเป็นจุดเริ่มต้นของแบรนด์ที่สะท้อนตัวตนของเรา” พลิกโฉมพลาสติกใกล้ตัวสู่คราฟต์ที่แตกต่าง เมื่อตั้งใจจะสร้างแบรนด์ใหม่ นอกเหนือจากดีไซน์ วัสดุก็เป็นอีกปัจจัยที่จะช่วยสร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ได้อย่างแท้จริง คุณณัฐฑยาออกตามหาวัสดุใหม่ ที่ตอบโจทย์ทั้งด้านการใช้งาน และกระบวนการผลิต ซึ่งตั้งใจให้ Taya Living คงกลิ่นอายของงานหัตถกรรมงานจักสานท้องถิ่นไว้ “ถึงจะชอบกระเป๋าสานมาก แต่ด้วยความที่มักทำมาจากวัสดุธรรมชาติเลยมีอายุการใช้งานสั้น และดีไซน์ก็ยังไม่ได้ถูกใจเท่าไหร่ หรือถ้าเป็นสไตล์แฟชั่นหน่อยก็จะมีการตกแต่งที่ยังไม่ถูกใจเรา […]
103PAPER ของตกแต่งที่สร้างความหมายใหม่ให้เศษกระดาษไร้ค่า
คอลเล็กชั่นประติมากรรมจาก 103PAPER โดยคุณวิทยา ชัยมงคล และคุณอัจฉรา ตันนี นำเสนอแนวทางใหม่ของผลิตภัณฑ์ตกแต่งบ้าน ด้วยวัสดุเรียบง่ายอย่างดินกระดาษ ที่ทำมาจากเศษกระดาษใช้แล้ว ผสานกับความงามเชิงศิลป์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ตอบโจทย์ผู้บริโภคเฉพาะกลุ่มได้อย่างน่าสนใจ และนี่คืออีกหนึ่งในแบรนด์ไทยน่าจับตาจากโครงการ Talent Thai โดย DITP หรือ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ หลังจากจบการศึกษาจากคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร คุณวิทยาทำงานในอุตสาหกรรมภาพยนตร์มาตลอด เขาคือผู้กำกับศิลป์ที่อยู่เบื้องหลังหนังดังหลายเรื่องไปจนถึงภาพยนตร์โฆษณามากมาย และเมื่ออาร์ตไดเร็กเตอร์หันมาสร้างแบรนด์ของตกแต่งบ้านจากงานอดิเรกที่เขาหลงใหล 103PAPER จึงเป็นเหมือนคอลเล็กชั่นงานศิลปะ ที่ถ่ายทอดแนวคิด และตัวตนของคุณวิทยาได้อย่างชัดเจน ก่อนเกิด 103PAPER “สิบกว่าปีก่อน ตอนที่ทำงานฟรีแลนซ์เป็นอาร์ตไดเร็กเตอร์ พอมีเวลาว่าง ผมมักหาพื้นที่แสดงออกด้านศิลปะของตัวเอง ลองหางานอดิเรกที่เราสนใจ ซึ่งช่วงนั้นผมสนใจงานปั้นเป็นพิเศษ แต่อย่างเซรามิกเราก็พอเข้าใจกระบวนการอยู่แล้ว เพียงแต่ไม่มีทักษะ ก็เลยลองหาวัสดุที่ทำงานง่ายกว่านั้น” เมื่อโจทย์เริ่มต้นคืองานอดิเรก คุณวิทยาจึงเลือกทำงานปั้นด้วยวัสดุที่หาง่ายใกล้ตัวอย่างกระดาษใช้แล้วหลากหลายชนิด โดยนำมาทดลองหาส่วนผสม เพื่อขึ้นรูปเป็นรูปทรงต่าง ๆ หลังจากลองผิดลองถูก และสนุกกับงานอดิเรกนี้อยู่หลายปี จนเกิดผลงานจำนวนหนึ่ง พาให้เขาลองหาแนวทางใหม่ในเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรก “ย้อนกลับไปตอนนั้นเราไม่ได้คิดหรอกว่าทำแล้วจะขายได้ เพราะเราไม่ได้ตั้งใจสร้างสรรค์เพื่อการตลาด ไม่ได้โฟกัสเลยว่าคนซื้อจะชอบอะไร เราแค่ทำในแบบที่เราชอบไปเรื่อย ๆ พองานเริ่มเยอะเลยลองเอาไปวางขายดู ที่แรกเป็นตลาดกลางคืน […]
ISAN CUBISM หยิบศิลปะคิวบิสม์จากแดนอีสาน สู่ผลิตภัณฑ์ร่วมสมัยบอกเล่าอัตลักษณ์ไทย
“ISAN Cubism” หยิบศิลปะคิวบิสม์จากแดนอีสานพัฒนาสู่โปรดักต์ดีไซน์ ที่มีต้นทุนมาจากวัฒนธรรมการทอผ้าลายขิด งานไม้ และฮูปแต้มในสิม เพื่อบอกเล่าภูมิปัญญาชาวบ้านที่น่าทึ่ง ในการสร้างสรรค์ลวดลายอย่างง่าย ผ่านรูปทรงเรขาคณิตอันเต็มไปด้วยเสน่ห์ จากคุณค่าดังกล่าวได้รับการบอกเล่าผ่าน ดร.ขาม จาตุรงคกุล และ ผศ.ดร. ณัฏฐพงศ์ พรหมพงศธร ภายใต้แบรนด์ ISAN Cubism หนึ่งในแบรนด์ไทยจากโครงการ Talent Thai โดย DITP หรือ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ จุดเริ่มต้น ดร.ขาม จาตุรงคกุล และ ผศ.ดร. ณัฏฐพงศ์ พรหมพงศธร ทั้งคู่คืออาจารย์ผู้สอนด้าน Industrial design สาขาวิชาการออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จากอุดมการณ์ร่วมกันที่อยากให้งานดีไซน์รับใช้ท้องถิ่น โดยเฉพาะนักศึกษาที่มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ ได้มีความเข้าใจและภูมิใจ ในวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของตน นำมาสู่แนวทางการสอนและการลงมือทำจริง อันเป็นจุดเริ่มต้นของแบรนด์ “ISAN Cubism” “เรามีความคิดกันว่าจะสอนอะไรพวกเขาดี เพราะในกรุงเทพฯ เราจะเห็นงานดีไซน์ที่มีความเป็นสากล แต่พอมาอยู่ที่อีสาน ผมมองว่านักศึกษาที่เรียนออกแบบในพื้นที่ พวกเขามีวัตถุดิบ ไม่ค่อยมีคนดีไซด์งานใหม่ ๆ […]
THAIS ECOLEATHERS ความงามจากเศษหนังสู่วัสดุใหม่
THAIS ECOLEATHERS (อ่านว่า ธา-อิส) หนึ่งในแบรนด์ไทยจากโครงการ Talent Thai โดย DITP หรือ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ที่เราอยากแนะนำ เพราะไม่เพียงแค่ผลิตภัณฑ์ที่มีลวดลายและพื้นผิวที่น่าสนใจ หรือการนำไปใช้ที่หลากหลายเพียงเท่านั้น แต่การได้มาซึ่งวัสดุอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแบรนด์นั่นก็คือ “หนังรีไซเคิล” ซึ่งเรียกได้ว่ามีความโดดเด่นและมีเพียงเจ้าเดียวในโลกที่สามารถผลิตสิ่งนี้ได้ จึงทำให้เราสนใจแบรนด์เครื่องหนังที่ชูวัสดุรักษ์โลกแบรนด์นี้เป็นพิเศษของคุณธันย์-ธันยวัฒน์ ทั่งตระกูล และคุณเม-พัณณ์ชิตา ธราดลศิริฐิติกุล จุดเริ่มต้น ถ้าพูดถึงจุดเริ่มของTHAIS ECOLEATHERS“เราเริ่มจากเป็นคนชอบเครื่องหนัง ชอบจนถึงขนาดที่อยากจะหัดทำเครื่องหนังด้วยตัวเอง” คุณธันย์เริ่มต้นเล่าให้เราฟัง “พอเราเริ่มทำหนังไปเรื่อย ๆ เราก็ค้นพบว่าสิ่งที่กวนใจเราคือ เศษหนัง ที่เหลือจากการผลิต จะเอาไปทิ้งก็เสียดาย พอจะนำเศษเหล่านั้นมาลองเย็บเป็นกระเป๋าแล้วเอาไปวางขายในอินเทอร์เน็ตก็ค้นพบว่า มันแทบจะไม่ได้ราคา เหมือนเป็นความคาใจจนเราเริ่มศึกษาลงไปว่า คนอื่นเขาจัดการกับเศษหนังกันอย่างไร และก็ค้นพบว่าเศษเหลือเหล่านี้มีอยู่มากมายในอุตสาหกรรมเครื่องหนัง และไทยเราเองก็เป็นประเทศส่งออกหนังอันดับที่ 4 ของโลก ถ้าอย่างนั้นก็แปลว่า ปัญหาเศษเหลือเหล่านี้ ต้องมีอยู่มากมายเช่นเดียวกัน“ “พอเราเริ่มสนใจในปัญหาเศษเหลือเราก็ค้นพบว่า โรงงานส่วนใหญ่ต้องจ้างให้นำไปทิ้ง เป็นมูลค่าที่สูงพอสมควรเลยทีเดียว สิ่งที่ทำได้คือนำฝังกลบ หรือนำไปเผาทำลาย” คุณเมเล่าต่อ “ซึ่งเราอาจเคยได้ยินว่า มีการนำเศษหนังมาทำเป็นวัสดุใหม่ แต่นั่นไม่ใช่เศษหนังในขั้นตอนสุดท้ายแบบที่เป็นเศษเหลือแบบนี้ สิ่งเหล่านั้นคือเศษหนังที่มาจากขั้นตอนการผลิต คือหลังจากการฟอกเสียมากกว่า เราก็เลยคิดกันว่า […]