Family home
เตรียมห้องครัวให้คุณตาคุณยายใช้งาน
นอกจากการออกแบบพื้นที่ส่วนตัวให้สะดวกแล้ว ก็ต้องจัดเตรียมพื้นที่ส่วนอื่นๆ ที่คุณตาคุณยายหรือสมาชิกวัยอื่นๆ ในบ้านได้ใช้งานร่วมกันตามแบบฉบับครอบครัวอบอุ่น เรามาเริ่มต้นที่ห้องครัวกัน ในบ้านที่คุณตาคุณยายชอบทำอาหารเอง นอกเหนือไปจากการออกแบบครัวที่จัดวางตามหลักการออกแบบที่มักวางอุปกรณ์หลัก 3 อย่างคือ อ่างล้าง เตา และตู้เย็นเป็นรูปสามเหลี่ยมแล้ว ก็ต้องให้ความสำคัญกับความสะดวกและปลอดภัยในการใช้งานเป็นพิเศษ ดังนี้ 1 มีที่นั่งพัก คุณตาคุณยายมักยืนไม่ได้นานเหมือนคนหนุ่มสาว จึงควรทำที่นั่งพักหรือใช้นั่งเตรียมอาหาร เช่น ปอกหัวหอม เด็ดยอดตำลึง โดยทำเป็นตู้สูง 45-50 ซม.ที่สามารถนั่งด้านบนได้ จะช่วยให้ทำครัวสะดวกมากขึ้น 2 ก้มน้อย หยิบง่าย คุณตาคุณยายที่มีอายุมากๆ มักยกแขนได้สูงน้อยลงและก้มตัวลำบาก จึงควรออกแบบห้องครัวให้หยิบใช้ง่ายโดยไม่ต้องก้มหรือเหยียดแขนมากเกินไป เช่น ที่คว่ำจานควรสูงไม่เกินระดับเอว ชั้นวางของควรเลื่อนเข้า-ออกได้ เป็นต้น 3 เครื่องช่วยผ่อนแรง หากมีของที่ต้องหยิบหรือย้ายบ่อยๆ เช่น เครื่องปรุงหรือเครื่องครัว อาจทำชั้นวางแบบมีล้อเลื่อน พร้อมเตรียมพื้นที่ใต้เคานเตอร์ให้เลื่อนไปเก็บได้จะได้ไม่เกะกะ 4 หยิบของสูงไม่ต้องเขย่ง หากในครัวมีตู้สูงเกินเอื้อม ควรเตรียมบันไดเตี้ยไว้ใช้ก็จะปลอดภัยกว่าการปีนเก้าอี้ เพราะช่วงก้าวที่สูงจะทำให้ตกลงมาได้ง่าย 5 เพิ่มประโยชน์ใช้สอย บ่อยครั้งที่ครัวต้องรับบทหนัก พื้นที่ไม่พอวางของ ถ้าทำที่วางของรางเลื่อนซ่อนไว้ใต้เคานเตอร์ ก็จะมีพื้นที่โดยไม่ต้องเดินไปวางไกลๆ 6 ของร้อนต้องสังเกตเห็นชัด […]
เตรียมห้องครัวให้คุณตาคุณยายใช้งาน
นอกจากการออกแบบพื้นที่ส่วนตัวให้สะดวกแล้ว ก็ต้องจัดเตรียมพื้นที่ส่วนอื่นๆ ที่คุณตาคุณยายหรือสมาชิกวัยอื่นๆ ในบ้านได้ใช้งานร่วมกันตามแบบฉบับครอบครัวอบอุ่น เรามาเริ่มต้นที่ห้องครัวกัน ในบ้านที่คุณตาคุณยายชอบทำอาหารเอง นอกเหนือไปจากการออกแบบครัวที่จัดวางตามหลักการออกแบบที่มักวางอุปกรณ์หลัก 3 อย่างคือ อ่างล้าง เตา และตู้เย็นเป็นรูปสามเหลี่ยมแล้ว ก็ต้องให้ความสำคัญกับความสะดวกและปลอดภัยในการใช้งานเป็นพิเศษ ดังนี้ 1 มีที่นั่งพัก คุณตาคุณยายมักยืนไม่ได้นานเหมือนคนหนุ่มสาว จึงควรทำที่นั่งพักหรือใช้นั่งเตรียมอาหาร เช่น ปอกหัวหอม เด็ดยอดตำลึง โดยทำเป็นตู้สูง 45-50 ซม.ที่สามารถนั่งด้านบนได้ จะช่วยให้ทำครัวสะดวกมากขึ้น 2 ก้มน้อย หยิบง่าย คุณตาคุณยายที่มีอายุมากๆ มักยกแขนได้สูงน้อยลงและก้มตัวลำบาก จึงควรออกแบบห้องครัวให้หยิบใช้ง่ายโดยไม่ต้องก้มหรือเหยียดแขนมากเกินไป เช่น ที่คว่ำจานควรสูงไม่เกินระดับเอว ชั้นวางของควรเลื่อนเข้า-ออกได้ เป็นต้น 3 เครื่องช่วยผ่อนแรง หากมีของที่ต้องหยิบหรือย้ายบ่อยๆ เช่น เครื่องปรุงหรือเครื่องครัว อาจทำชั้นวางแบบมีล้อเลื่อน พร้อมเตรียมพื้นที่ใต้เคานเตอร์ให้เลื่อนไปเก็บได้จะได้ไม่เกะกะ 4 หยิบของสูงไม่ต้องเขย่ง หากในครัวมีตู้สูงเกินเอื้อม ควรเตรียมบันไดเตี้ยไว้ใช้ก็จะปลอดภัยกว่าการปีนเก้าอี้ เพราะช่วงก้าวที่สูงจะทำให้ตกลงมาได้ง่าย 5 เพิ่มประโยชน์ใช้สอย บ่อยครั้งที่ครัวต้องรับบทหนัก พื้นที่ไม่พอวางของ ถ้าทำที่วางของรางเลื่อนซ่อนไว้ใต้เคานเตอร์ ก็จะมีพื้นที่โดยไม่ต้องเดินไปวางไกลๆ 6 ของร้อนต้องสังเกตเห็นชัด […]
จัดมุมทำงานในบ้านตามไลฟ์สไตล์
นอกจากการใช้ชีวิตในบ้านตามปกติแล้ว คุณพ่อบ้านแม่บ้านบางคนก็ยังต้องทำงานนอกบ้าน บางครั้งต้องหอบงานมาทำต่อที่บ้าน ในขณะที่หลายคนอาจเป็นฟรีแลนซ์ ใช้บ้านเป็นที่ทำงาน เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ก็ควรออกแบบมุมทำงานไว้ในบ้านให้เหมาะสม การจัดมุมทำงาน ขึ้นอยู่กับพื้นที่และลักษณะการทำงาน โดยทั่วไปมีวิธีจัดการพื้นที่ 3 แบบคือ I-Shape เป็นมุมทำงานที่ใช้พื้นที่น้อยที่สุด ถ้างานที่ใช้สมาธิควรวางหันเข้าหาผนัง ถ้าชอบมุมมองโล่งๆ หรือใช้นั่งคุยงาน ก็วางด้านข้างชิดผนังหรือวางโต๊ะกลางห้อง L-Shape เป็นมุมทำงานที่มีอุปกรณ์ใช้งานค่อนข้างมาก เช่น คอมพิวเตอร์ พริ้นเตอร์ และสแกนเนอร์ ใช้วิธีวางทำงานกับโต๊ะ/ตู้วางอุปกรณ์ไว้ด้านหนึ่ง U-Shape เหมาะกับคนที่ทำงานอยู่กับบ้านและต้องการพื้นที่ทำงานกว้าง หรือมีคนมาติดต่ออยู่เสมอ โดยจัดวางพื้นที่ทำงานหรือโต๊ะทำงานให้หันหน้าออก เพื่อให้คนที่เข้ามาติดต่อเข้าพบได้สะดวก ด้านหลังและด้านข้างจัดวางอุปกรณ์และเก็บเอกสารต่างๆ มาดูตัวอย่างการจัดมุมทำงานแบบต่างๆ กัน Life Style 1 : ฉันทำงานอิสระ อยากใช้บ้านเป็นกองบัญชาการเล็กๆ คนที่ใช้บ้านเป็นทำงานแบบจริงจัง ควรแยกพื้นที่ทำงานออกจากพื้นที่บ้าน เพื่อให้เกิดสมาธิ ทำงานได้สะดวก และเป็นสัดส่วน สมาชิกในบ้านหรือผู้มาติดต่อจะได้ไม่รบกวนกัน ทำให้ได้ภาพของความเป็นมืออาชีพ น่าเชื่อถือ 01 มุมพักคอย ปรับมุมหน้าบ้านเป็นที่นั่งพักผ่อนและใช้เป็นมุมพักคอยแบบสบายๆ 02 โถงทางเข้า เป็นส่วนที่แยกที่ทำงานและที่พักอาศัยให้เป็นสัดส่วน 03 ห้องอเนกประสงค์ […]
จัดมุมทำงานในบ้านตามไลฟ์สไตล์
นอกจากการใช้ชีวิตในบ้านตามปกติแล้ว คุณพ่อบ้านแม่บ้านบางคนก็ยังต้องทำงานนอกบ้าน บางครั้งต้องหอบงานมาทำต่อที่บ้าน ในขณะที่หลายคนอาจเป็นฟรีแลนซ์ ใช้บ้านเป็นที่ทำงาน เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ก็ควรออกแบบมุมทำงานไว้ในบ้านให้เหมาะสม การจัดมุมทำงาน ขึ้นอยู่กับพื้นที่และลักษณะการทำงาน โดยทั่วไปมีวิธีจัดการพื้นที่ 3 แบบคือ I-Shape เป็นมุมทำงานที่ใช้พื้นที่น้อยที่สุด ถ้างานที่ใช้สมาธิควรวางหันเข้าหาผนัง ถ้าชอบมุมมองโล่งๆ หรือใช้นั่งคุยงาน ก็วางด้านข้างชิดผนังหรือวางโต๊ะกลางห้อง L-Shape เป็นมุมทำงานที่มีอุปกรณ์ใช้งานค่อนข้างมาก เช่น คอมพิวเตอร์ พริ้นเตอร์ และสแกนเนอร์ ใช้วิธีวางทำงานกับโต๊ะ/ตู้วางอุปกรณ์ไว้ด้านหนึ่ง U-Shape เหมาะกับคนที่ทำงานอยู่กับบ้านและต้องการพื้นที่ทำงานกว้าง หรือมีคนมาติดต่ออยู่เสมอ โดยจัดวางพื้นที่ทำงานหรือโต๊ะทำงานให้หันหน้าออก เพื่อให้คนที่เข้ามาติดต่อเข้าพบได้สะดวก ด้านหลังและด้านข้างจัดวางอุปกรณ์และเก็บเอกสารต่างๆ มาดูตัวอย่างการจัดมุมทำงานแบบต่างๆ กัน Life Style 1 : ฉันทำงานอิสระ อยากใช้บ้านเป็นกองบัญชาการเล็กๆ คนที่ใช้บ้านเป็นทำงานแบบจริงจัง ควรแยกพื้นที่ทำงานออกจากพื้นที่บ้าน เพื่อให้เกิดสมาธิ ทำงานได้สะดวก และเป็นสัดส่วน สมาชิกในบ้านหรือผู้มาติดต่อจะได้ไม่รบกวนกัน ทำให้ได้ภาพของความเป็นมืออาชีพ น่าเชื่อถือ 01 มุมพักคอย ปรับมุมหน้าบ้านเป็นที่นั่งพักผ่อนและใช้เป็นมุมพักคอยแบบสบายๆ 02 โถงทางเข้า เป็นส่วนที่แยกที่ทำงานและที่พักอาศัยให้เป็นสัดส่วน 03 ห้องอเนกประสงค์ […]
โลกใบเล็กของเด็กน้อย : การจัดห้องเด็ก
เมื่อเด็กเติบโตมาจนถึงช่วงอายุหนึ่ง พ่อแม่ก็ควรให้เด็กๆ มีห้องหับเป็นของตัวเอง เพื่อสอนให้เด็กๆ ได้รู้จักดูแลตัวเองในเรื่องต่างๆ รวมถึงสอนให้รู้จักจัดเก็บข้าวของให้เข้าที่ ห้องนอนเด็กแม้จะเป็นพื้นที่เล็กๆ แต่ก็มีการใช้งานที่ไม่ต่างจากผู้ใหญ่ เรามาดูรายละเอียดของพื้นที่ต่างๆ กัน 1. พื้นที่นอน ในกรณีที่เด็กยังเล็กอยู่ เราอาจวางเตียงชิดมุมผนังด้านใดด้านหนึ่ง ถ้าใช้เตียงแบบสองชั้นควรมีแผงกั้นเพื่อป้องกันเด็กดิ้นตกลงมา เมื่อเด็กเริ่มโตขึ้นค่อยจัดวางเตียงไว้กลางห้อง ส่วนเฟอร์นิเจอร์อื่นๆ ควรเป็นแบบที่ลบมุมแล้ว หรือใช้ที่ครอบมุม ก็จะช่วยลดการบาดเจ็บในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ 2. พื้นที่เก็บของ ควรมีชั้นวางหรือกล่องเก็บของต่างๆ เพื่อทำให้ห้องดูเรียบร้อย ทั้งยังสอนเรื่องการจัดระเบียบไปด้วย โดยทำป้ายหรือสติ๊กเกอร์รูปสิ่งของที่จัดเก็บไว้บนกล่อง หากชั้นวางเป็นแบบโปร่งก็อาจทำม่านบัง หากมีพื้นที่จำกัด อาจทำเป็นตู้เก็บเสื้อผ้าที่สามารถเก็บของเล่นไปด้วยก็ได้ 3. พื้นที่เล่น นอกจากการวิ่งเล่นกลางแจ้งแล้ว เด็กๆ ก็มักมีกิจกรรมสนุกสนานอื่นๆ มากมาย การจัดพื้นที่ว่างประมาณหนึ่งในสี่ของห้อง เพื่อให้เด็กๆ ได้ต่อเลโก้ อ่านการ์ตูน ฟังเพลง ฯลฯ ได้ อาจเตรียมเบาะแบบพับเก็บไว้ใต้เตียงให้นำมารองนั่งหรือนอนเอกเขนกได้ 4. พื้นที่ทำการบ้าน ใช้โต๊ะเขียนหนังสือแบบทั่วไป โต๊ะแบบล้อเลื่อนหรือโต๊ะแบบพับเก็บได้ เพื่อประหยัดพื้นที่ อาจเพิ่มชั้นวางหนังสือเล่มโปรดหรือตำราเรียน แต่ไม่ควรมีมาก เพราะฝุ่นจากกระดาษอาจก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ได้ นอกจากนี้ควรมีกล่องเก็บเครื่องเขียนหรือมีลิ้นชักเก็บของมีค่า เช่น ไดอะรี่ หรือของรักของหวงอื่นๆ เพื่อสร้างความเป็นส่วนตัวและเป็นระเบียบเรียบร้อย ข้อมูลจาก คู่มือการจัดและตกแต่ง Family […]
โลกใบเล็กของเด็กน้อย : วัยกับการตกแต่ง
การวางแผนตกแต่งห้องให้เหมาะกับเด็กในแต่ละช่วงวัยเป็นเรื่องสำคัญ ทั้งนี้เพราะเด็กในแต่ละช่วงอายุจะมีพัฒนาการที่แตกต่างกัน เรามาเรียนรู้ช่วงอายุและการตกแต่งที่เหมาะสมไปพร้อมๆ กันค่ะ วัยแรกเกิด (0-3 ปี) เป็นวัยที่ต้องดูแลเอาใจใส่แบบไม่คลาดสายตา คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยชงนม เปลี่ยนผ้าอ้อม เด็กวัยนี้จึงต้องนอนในห้องเดียวกับพ่อแม่ คุณก็แค่เพิ่มเตียงหรือเปลเข้าไปในห้อง หรือปูเบาะบนเตียงที่คุณนอน และอาจเพิ่มชั้นวางของหรือโต๊ะเล็กๆ ที่มีล้อเลื่อนได้ สำหรับวางเครื่องใช้ เช่น ตระกร้าผ้าอ้อม อุปกรณ์ชงนม ถังขยะไว้ใกล้ๆ เพื่อความสะดวกในการใช้งาน วัยเรียนรู้ (4-8 ปี) วัยนี้อยู่ชั้นอนุบาลถึงประถมต้น เด็กๆ จะเรียนรู้ จดจำ เลียนแบบและซึมซับกับสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัว การตกแต่งห้องจึงควรเน้นพื้นที่โล่ง ให้เด็กๆ ได้เล่น ตกแต่งห้องด้วยสีสันที่สดใสและลวดลายการ์ตูนตัวโปรด ใช้เฟอร์นิเจอร์ลอยตัวที่ไม่มีเหลี่ยมมุม ขนาดเล็กพอๆกับตัวเด็ก เพื่อให้เคลื่อนย้ายง่ายและไม่เป็นอันตราย ถ้ามีของตกแต่งอื่นๆ ก็ควรติดไว้บนผนังสูงๆ เพื่อไม่ให้เด็กเอื้อมถึง ช่วงประถมวัย ( 9-14 ปี) คือช่วงที่เรียนประถมปลายถึงมัธยมต้น ช่วงนี้เด็กๆ จะเริ่มสนใจเรื่องราวเฉพาะตัว เช่น เด็กผู้ชายจะเล่นกีฬาและเข้ากลุ่มกับเพื่อนๆ เด็กผู้หญิงจะสนใจเรื่องความสวยความงามหรือมีไอดอลในดวงใจ เด็กๆ มักต้องการผนังสำหรับแปะโปสเตอร์ศิลปินหรือนักกีฬาคนโปรด การตกแต่งห้องจึงควรให้เด็กๆ ได้มีส่วนร่วม อาจใช้สีที่นุ่มนวลตา ส่วนเฟอร์นิเจอร์ก็ยังคงเป็นแบบลอยตัว สัดส่วนเฟอร์นิเจอร์บางอย่างอาจเป็นแบบผู้ใหญ่ เพราะเด็กสมัยนี้โตไว […]
โลกใบเล็กของเด็กน้อย : วัยกับการตกแต่ง
การวางแผนตกแต่งห้องให้เหมาะกับเด็กในแต่ละช่วงวัยเป็นเรื่องสำคัญ ทั้งนี้เพราะเด็กในแต่ละช่วงอายุจะมีพัฒนาการที่แตกต่างกัน เรามาเรียนรู้ช่วงอายุและการตกแต่งที่เหมาะสมไปพร้อมๆ กันค่ะ วัยแรกเกิด (0-3 ปี) เป็นวัยที่ต้องดูแลเอาใจใส่แบบไม่คลาดสายตา คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยชงนม เปลี่ยนผ้าอ้อม เด็กวัยนี้จึงต้องนอนในห้องเดียวกับพ่อแม่ คุณก็แค่เพิ่มเตียงหรือเปลเข้าไปในห้อง หรือปูเบาะบนเตียงที่คุณนอน และอาจเพิ่มชั้นวางของหรือโต๊ะเล็กๆ ที่มีล้อเลื่อนได้ สำหรับวางเครื่องใช้ เช่น ตระกร้าผ้าอ้อม อุปกรณ์ชงนม ถังขยะไว้ใกล้ๆ เพื่อความสะดวกในการใช้งาน วัยเรียนรู้ (4-8 ปี) วัยนี้อยู่ชั้นอนุบาลถึงประถมต้น เด็กๆ จะเรียนรู้ จดจำ เลียนแบบและซึมซับกับสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัว การตกแต่งห้องจึงควรเน้นพื้นที่โล่ง ให้เด็กๆ ได้เล่น ตกแต่งห้องด้วยสีสันที่สดใสและลวดลายการ์ตูนตัวโปรด ใช้เฟอร์นิเจอร์ลอยตัวที่ไม่มีเหลี่ยมมุม ขนาดเล็กพอๆกับตัวเด็ก เพื่อให้เคลื่อนย้ายง่ายและไม่เป็นอันตราย ถ้ามีของตกแต่งอื่นๆ ก็ควรติดไว้บนผนังสูงๆ เพื่อไม่ให้เด็กเอื้อมถึง ช่วงประถมวัย ( 9-14 ปี) คือช่วงที่เรียนประถมปลายถึงมัธยมต้น ช่วงนี้เด็กๆ จะเริ่มสนใจเรื่องราวเฉพาะตัว เช่น เด็กผู้ชายจะเล่นกีฬาและเข้ากลุ่มกับเพื่อนๆ เด็กผู้หญิงจะสนใจเรื่องความสวยความงามหรือมีไอดอลในดวงใจ เด็กๆ มักต้องการผนังสำหรับแปะโปสเตอร์ศิลปินหรือนักกีฬาคนโปรด การตกแต่งห้องจึงควรให้เด็กๆ ได้มีส่วนร่วม อาจใช้สีที่นุ่มนวลตา ส่วนเฟอร์นิเจอร์ก็ยังคงเป็นแบบลอยตัว สัดส่วนเฟอร์นิเจอร์บางอย่างอาจเป็นแบบผู้ใหญ่ เพราะเด็กสมัยนี้โตไว […]