© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
สำหรับผู้ที่มีพื้นที่จำกัด หากต้องการปลูกพืชผักกินได้ ลองมองหาพื้นที่แนวตั้งบริเวณที่แสงแดดส่องถึง แล้วออกแบบเป็น สวนกระถางแนวตั้ง นอกจากประหยัดพื้นที่ ยังช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวและลดความร้อนให้กับผนังได้อีกทางหนึ่ง หากอยากลองปลูกพืชผักสมุนไพรใน สวนกระถางแนวตั้ง แบบเคลื่อนย้ายได้ ลองดูตัวอย่าง “สวนครัวขั้นบันได” กับขั้นตอนการทำที่ไม่ยุ่งยากเลยสักนิด เตรียมวัสดุอุปกรณ์ ไม้โครงขนาดหน้า 1 x 2 นิ้ว / เลื่อยตัดไม้ / ค้อน / ตะปู / ตลับเมตร / ไม้ฉาก / กระถางพลาสติกทรงสี่เหลี่ยม Step by Step 1.นำไม้โครงท่อน A ขนาด 1 x2 นิ้ว ตัดให้ได้ความยาว 1.25 เมตร จำนวน 2 ท่อน นำกระบะพลาสติกที่เตรียมไว้ มาวัดระยะห่างระหว่างโครงสองเสา ซึ่งในที่นี้วัดได้ 21 เซนติเมตร จากนั้นตัดไม้ท่อน B ตามที่วัดได้ […]
การสร้างโรงเรือนปลูกผัก ในปัจจุบันมีวัตถุประสงค์เพื่อดูแลต้นกล้า กิ่งตอน กิ่งชำ ปลูกผัก ไม้ดอกไม้ประดับต่าง ๆ ที่ต้องการดูแลเป็นพิเศษ
หลากหลายไอเดียการทำ แปลงปลูกผักสวนครัว จากหลายวัสดุที่มีทั้งข้อดี และข้อจำกัด รวมทั้งราคา งบประมาณในการทำแต่ละแบบ
อีกหนึ่งตัวอย่างของการทำเกษตรในเมืองที่เมื่อมองจากภายนอก แทบไม่น่าเชื่อว่าอาคารพาณิชย์หลังหนึ่งในซอยเพชรเกษม 48 คือที่ตั้งของ ฟาร์มเห็ด แต่เมื่อได้เข้าไปเยือนจะพบว่า คุณนัท – กิตติพงศ์ กีรติเตชะนันท์ หรือ Mushroom Man ผู้เขียนหนังสือ My Little Farm Vol.10 ปลูกเห็ดแบบคนเมือง ฟาร์มเห็ด แห่งนี้ได้ปรับห้องว่างด้านบนอาคารให้เป็นห้องปลูกเห็ดมิลกี้ (Milky Mushroom) หรือเห็ดหิมาลัย ส่วนด้านล่างมีครัวเล็ก ๆ สำหรับเสิร์ฟอาหารที่ปรุงสุกใหม่จากวัตถุดิบที่ดี ในชื่อว่า “ครัวเล็ก ๆ ของมัชรูมแมน” แม้มีพื้นที่น้อยแต่ความน่าสนใจด้านวิธีคิดและการลงมือทำของเขาไม่น้อยตามพื้นที่เลย เมื่อกล่าวถึงอาหารเพื่อสุขภาพ เชื่อว่าต้องมี “เห็ด” อยู่ในรายชื่อนั้นอย่างแน่นอน เนื่องจากเห็ดจัดเป็นอาหารกลุ่มพืชผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยเฉพาะมีโปรตีน วิตามิน และเส้นใยอาหารมาก ทั้งยังมีไขมันต่ำ เหมาะกับคนทุกเพศทุกวัย จึงไม่แปลกที่หลายคนหันมาสนใจรับประทานเห็ดกันมากขึ้น นอกจากความสนใจบริโภคแล้วยังขยับมาลงมือปลูกเห็ดด้วยตัวเอง ทั้งเพื่อบริโภคในครอบครัวและต่อยอดเป็นอาชีพเสริม ทำความรู้จักเห็ดมิลกี้ เห็ดมิลกี้หรือเห็ดหิมาลัย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Calocybe indica มีถิ่นกำเนิดทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย ปัจจุบันนอกจากพบมากในตลาดท้องถิ่นอินเดีย ยังพบในจีน มาเลเซีย สิงคโปร์ […]
เยี่ยมชม สวนครัวในกระถาง หน้าบ้านจัดสรร ของคุณปูเป้ สุพัตรา อุสาหะ หญิงสาวที่ทำทั้งอาหาร ของกิน ของใช้ ออร์แกนิก พึ่งพาตนเอง
เยี่ยมฟาร์มโกติ๊ก ฟาร์มผักที่ปลูกผักสลัดไฮโดรโปนิกส์ สู้วิกฤติในยุคนี้ ที่จังหวัดภูเก็ต พร้อมกับปลูกเห็ด สร้างรายได้
ขั้นตอนการทำโต๊ะปลูกผัก อีกหนึ่งไอเดียที่น่าสนใจของสวนข้างบ้าน โดยได้ไอเดียมาจากการศึกษาดูงาน ใช้วัสดุหาได้ง่าย ราคาไม่สูง แต่ใช้งานได้ดี
รวมสูตร 3 น้ำหมัก จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ทำเอง ตัวช่วยบำรุงผัก ใบ-ดอก-ผล สำหรับปลูกผักออร์แกนิก ทำง่าย ไม่สิ้นเปลือง
ไอเดียการออกแบบแปลงผักยกสูง การใช้งานแบบง่าย ๆ จาก ตาวีฟาร์ม เขาใหญ่ ที่ปลูกผักและเลี้ยงไก่ไปพร้อมๆ กัน ช่วยให้ทำงานง่ายไม่ต้องก้ม
พาเยี่ยมชมแปลงผักข้างบ้านในแบบเกษตรในเมือง ในสวนผักขนาดเล็กที่ผ่านการทดลอง ลงมือทำจนประสบผลสำเร็จ ทั้งปลูกผักและเลี้ยงไก่ไข่
การ ออกแบบฟาร์ม นอกจากให้สะดวกสำหรับใช้งานแล้ว หากเพิ่มความสุนทรีย์ด้วยการตกแต่งและสร้างสรรค์บรรยากาศให้สะอาดตาและน่ามอง ยิ่งเพิ่มความสุขทางใจให้กับการใช้ชีวิตในฟาร์ม วันนี้จะพามาตามชมไอเดียการ ออกแบบฟาร์ม ที่ “ไร่กาลเวลา Organic Farm” ที่ อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี ซึ่งภายในฟาร์มปลูกพืชผักสมุนไพร ไม้ผล เลี้ยงไก่ไข่ ฯลฯ รวมพื้นที่ทั้งหมดกว่า 12 ไร่ เมื่อ 7 ปีก่อน คุณทอส-สฤษฎ์ แดงจันทร์ ได้ผันตัวเองจากงานประจำ มาสานต่ออาชีพเกษตรกรรมต่อจากรุ่นบรรพบุรุษ ซึ่งแต่เดิมเคยทำไร่ข้าวโพด เขาเลือกเดินตามแนวทางเกษตรอินทรีย์ โดยเรียนรู้และนำแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่มาปรับใช้กับความรู้ดั้งเดิม และปรับเปลี่ยนพื้นที่จากไร่ข้าวโพด มาเป็นพืชผัก ไม้ผล และเลี้ยงไก่ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค และที่สำคัญยังต่อยอดพื้นที่แห่งนี้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว ดูงาน เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมด้วย ซึ่งมีหัวเรือใหญ่ คือ คุณอาอย่าง คุณเอก – พิศิษฐ์ ศรีสุขวงศ์ เป็นผู้วางแปลนพื้นที่ และวางแนวคิดในการออกแบบร่วมกัน ทั้งคู่ได้หวนรำลึกถึงวันเวลาเก่าๆ และความสนุกเมื่อครั้งยังเป็นเด็กบนผืนดินที่สืบทอดกันมาตั้งแต่รุ่นปู่ทวด จึงเลือกเก็บบรรยากาศและวิถีดั้งเดิมไว้ โดยประยุกต์รูปแบบให้เข้ากับวิถีของคนรุ่นใหม่ อย่าง ต้นไม้หลายๆ ต้นของที่นี่ที่มีอายุมากกว่า […]
จุดเด่นของ บอนโคโลคาเซีย หลายคนสงสัยว่า ต้นไหนเป็นโคโลคาเซียต้นไหนเป็นอะโลคาเซีย สังเกตได้จากแผ่นใบ สะดือใบ และช่อดอก