global design update
อาคารเรียนสร้างสรรค์ ที่ใชัวัสดุธรรมดาสามัญมาสรรสร้างเป็นพิเศษ
5 อาคารเรียนสร้างสรรค์ ที่ใชัวัสดุธรรมดาสามัญมาสรรสร้างเป็นพิเศษ จากประเทศเวียดนาม กัมพูชา ไทย สาธารณรัฐวานูอาตู และคอสตาริกา แต่ละแห่งนั้นไอเดียไม่ธรรมดาทีเดียว
SANGAM ELEMENTARY SCHOOL โรงเรียนอนุบาลที่ออกแบบให้เด็กได้วิ่ง เล่น เลอะ สไลด์ และเรียนรู้
ตั้งแต่อดีตกาลที่เรานั่งเรียนหนังสือกันใต้ต้นไม้ ซึ่งส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะที่หลากหลาย ทั้งการวิ่ง กระโดด สไลด์ เเละเลอะเทอะท่ามกลางพื้นที่ธรรมชาติ ทำให้เด็ก ๆ ได้ค้นหาตัวตนในหนทางที่ต่างออกไป นี่คือแรงบันดาลใจมาสู่การออกแบบ โรงเรียนอนุบาล แห่งนี้ โรงเรียนอนุบาล นี้ตั้งอยู่ที่รัฐราชาสถาน ประเทศอินเดีย สถาปนิกได้ให้ความสำคัญด้านการออกแบบ โดยเน้นลงไปที่บรรดาเด็กนักเรียนให้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างอาคารและสภาพเเวดล้อม ซึ่งเป็นหนึ่งในคีย์เวิร์ดของการเรียนรู้ รูปฟอร์มของอาคารได้แรงบันดาลใจมาจากก้อนชีสที่มีรูขนาดเล็กรอบด้านเหมือนภาพที่เห็นในการ์ตูน ผิวของอาคารเต็มไปด้วยช่องเปิดที่วางตัวอย่างไม่เป็นระเบียบ เพื่อเชื่อมมุมมองไปยังธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยรอบ ขนาดของหน้าต่างออกแบบให้มีขนาดเล็กเพื่อความปลอดภัยเวลาเปิด-ปิด และวางในระดับความสูง เด็ก ๆ จึงสามารถมองเห็นวิวภายนอกได้ในขณะที่นั่งเรียนอยู่ที่โต๊ะของแต่ละชั้นภายในอาคาร ซึ่งแทรกไปด้วยกระถางต้นไม้ขนาดเล็กตามมุมของตึกที่ออกแบบรูปทรงเเบบเป็นธรรมชาติ ฝั่งหนึ่งของตึกออกแบบเป็นพื้นที่สโลปขนาดใหญ่ เหมือนเป็นอัฒจันทร์สำหรับทำกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมสวดมนต์ตอนเช้า เเละเล่นละคร ส่วนที่ไม่ได้เป็นพื้นที่ราบได้ออกแบบเป็นลู่จักรยาน โดยพื้นที่สโลปแต่ละชั้นสามารถเชื่อมต่อเข้าไปภายในตึกได้ทุกชั้น พื้นที่สโลปช่วงแรกประกอบไปด้วยสไลเดอร์ขนาดใหญ่สองอัน ช่วงที่สองเป็นช่วงสโลปที่ยาวที่สุดทำเป็นเครื่องกีดขวางฝึกทักษะ และช่วงที่สามเป็นส่วนที่มีแสงแดดเพียงพอ จึงได้ออกแบบเป็นที่ปลูกผักสวนครัว ที่แต่ละห้องเรียนสามารถมาปลูกผักและดอกไม้เป็นของตัวเอง กลายเป็นการสร้างความใกล้ชิดระหว่างเด็กกับธรรมชาติอย่างแยบยล และชั้นบนสุดเป็นสนามเด็กเล่นที่มองเห็นวิวเมืองได้แบบสุดลูกหูลูกตา อาคารแห่งนี้ มีขนาด 3 ชั้น ภายในแทรกไว้ด้วยคอร์ต 2 คอร์ต ที่เป็นช่องให้แสงธรรมชาติเข้าสู่พื้นที่คอริดอร์ภายในอาคาร ซึ่งคอร์ตนี้ทำหน้าที่ช่วยลดความร้อนไม่ให้เข้ามาสู่พื้นที่ภายในอาคารและช่วยระบายอากาศ ทั้งยังกรองแสงแดดจากด้านบนทำให้อุณหภูมิภายในเย็นสบายขึ้น ห้องเรียนไม่ใช่ห้องเรียนสี่เหลี่ยมอย่างทั่ว ๆ ไป เพราะถูกออกแบบพิเศษเป็นรูปทรงออร์แกนิกและดับเบิ้ลสเปซที่มีชั้นลอยให้เด็ก ๆ […]
ORIGAMI HOUSE บ้านโอริกามิในหมู่บ้านกลางภูเขา
บ้านโมเดิร์น บนที่ดินที่มีภูเขาล้อมรอบในจังหวัดมิเอะ ประเทศญี่ปุ่น ออกแบบให้สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลทั้งสี่ในญี่ปุ่น
GUAIANAZ HOUSE บ้านระหว่างตึกที่ความเป็นส่วนตัวเกิดขึ้นกลางที่ดินปิดล้อมด้วยตึก
บ้านอิฐบล็อก ของนักปรัชญาสองชีวิต ตั้งอยู่ในบริบทที่แวดล้อมด้วยเนินเขา และอาคารบ้านเรือนคละขนาด และความสูงต่างกันไปรอบทิศ ในเมืองเซา เปาโล ประเทศบราซิล
TILE ROOF HOUSE บ้านอยู่สบายในสภาพอากาศแบบมรสุมเขตร้อน
บ้านอยู่สบาย Tile Roof House คือบ้านที่ใช้ความลาดเอียงของหลังคาทรงจั่ว ซึ่งพบได้บ่อยในบ้านพื้นถิ่นดั้งเดิมของเวียดนาม เป็นจุดเริ่มต้นทางความคิดในการออกแบบ บ้านอยู่สบาย ในสภาพอากาศแบบมรสุมเขตร้อน เพื่อให้บ้านสอดรับไปกับสภาพอากาศแบบมรสุมเขตร้อน ตามพื้นที่ตั้งอย่างกรุงโฮจิมินห์ อันประกอบด้วยสองฤดูกาล คือ ฤดูฝนกับฤดูร้อน “K59atelier” ทีมสถาปนิกท้องถิ่น ผู้ออกแบบสถาปัตยกรรมสำหรับการอยู่อาศัยหลังนี้ซึ่งบรรจุความต้องการของครอบครัวที่ประกอบด้วยสมาชิกสามรุ่นเอาไว้ จึงออกแบบหลังคากระเบื้องดินเผาผืนใหญ่ครอบทับพื้นที่ใช้สอยทั้งหมดเอาไว้อย่างมีนัย หนึ่งเพื่อทำให้บ้านดูกลมกลืนบริบท และสองเพื่อให้บ้านปรับตัวตามสภาพอากาศ และทิศทางของแสงอาทิตย์ที่ส่องปะทะตัวอาคารในแต่ละช่วงเวลาของวัน โดยหลังคากระเบื้องขนาดใหญ่จะครอบคลุมพื้นที่ทึบหนาสำหรับพักผ่อนนอนหลับทางด้านทิศตะวันออก และพื้นที่โปร่งเบาสำหรับนั่งเล่นทางด้านทิศตะวันตก ซึ่งการเลือกใช้รูปแบบหลังคาที่มีความลาดชันสูงนี้ ประกอบกับการเลือกใช้ประตูและหน้าต่างไม้ระแนง ยังช่วยให้แสงลอดผ่านและเกิดลมไหลเวียนเข้าออกได้ดี มีอากาศถ่ายเททั่วถึงทั้งบ้านอีกด้วย ออกแบบ: K59 atelier ทีมออกแบบ: Phan Lâm Nhật Nam, Trần Cẩm Linh, Nguyễn Phương Thảo, Võ Ngọc Thanh Tuấn ภาพ: K59 atelier
ROLL-UP & DUO ECOBAG กระเป๋าผ้าสะดวกใช้สำหรับร้านสะดวกซื้อ LAWSON
คนรักษ์โลกถูกใจสิ่งนี้! นี่คือกระเป๋าสองแบบจากไอเดียสร้างสรรค์ของ nendo ที่ออกแบบมาให้ใช้ซ้ำได้โดยไม่ต้องพึ่งถุงพลาสติก ซึ่งได้รับการผลิตมาสำหรับร้านสะดวกซื้อยักษ์ใหญ่ในญี่ปุ่นอย่าง Lawson
COFFEE NAP ROASTERS 2ND ดื่มกาแฟบนเนินอิฐ กับคาเฟ่ที่ไม่มีโต๊ะแม้แต่ตัวเดียว!
ด้วยคอนเซ็ปต์หลักคือ “พื้นที่” สำหรับ “นั่ง” โดยไม่ต้องมีโต๊ะ หรือเก้าอี้ มาขวางหูขวางตา การรวมเฟอร์นิเจอร์ วัสดุ และพื้นที่ใช้งานของร้านกาแฟให้กลายเป็นสิ่งเดียวกัน จึงได้ผลลัพธ์เป็นร้านกาแฟที่ดูแปลกตาแห่งนี้
MAGGIE’S LEEDS CENTRE คลินิกรักษาโรคมะเร็งที่ใช้ธรรมชาติช่วยบำบัด
Maggie’s Leeds Centre คลินิกรักษาโรคมะเร็ง ภายในวิทยาเขตของโรงพยาบาลแห่งมหาวิทยาลัยเซนต์เจมส์ ในเมืองลีดส์ ทางตอนเหนือของประเทศอังกฤษ ภายใต้โจทย์ที่ไม่เหมือนสถาบันรักษาฟื้นฟูผู้ป่วยมะเร็งทั่วไป เพื่อให้สถานที่แห่งนี้มีส่วนช่วยสร้างกำลังใจเเละความหวังระหว่างการรักษาให้แก่ผู้ป่วยหายจากอาการ
KIENTRUC O OFFICE สำนักงานออกแบบสถาปัตยกรรมที่เปิดรับธรรมชาติอย่างเต็มอิ่ม
KIENTRUC O OFFICE ออฟฟิศสถาปนิกที่ออกแบบสอดคล้องกับภูมิอากาศเวียดนาม ไร้เส้นแบ่งภายในและภายนอก เปิดรับธรรมชาติอย่างเต็มอิ่ม
BÓ MON PRESCHOOL อาคารเรียนที่สร้างด้วยแผ่นหลังคาลอนเล็กยกหลัง
Bó Mon Preschool เป็นโรงเรียนเล็ก ๆ ในแถบชนบทของเวียดนาม ที่สร้างขึ้นด้วยงบประมาณอันจำกัด โดยความร่วมมือและสนับสนุนขององค์กรไม่แสวงผลกำไร “MT Community” และโครงการระดมทุน “Pay It Forward Fund” โดยมีสำนักงานสถาปัตยกรรม “KIENTRUC O” เป็นทีมผู้ออกแบบ
TORIGUCHI SANCI บ้านไม้และคลินิกกายภาพบำบัดในงบประมาณจำกัด
“TORIGUCHI SANCI” คือบ้านและ seitai clinic ซึ่งตั้งอยู่ในอาคารที่พัฒนาขึ้นใหม่ใน Tama New Town ล้อมรอบด้วยอาคารซึ่งส่วนใหญ่มีลักษณะคล้ายกันด้วยการกรุวัสดุภายนอกที่มีความมันวาว หน้าต่างรูปแบบคล้าย ๆ กันทั้งหมด เนื่องจากสร้างโดยซัพพลายเออร์ผู้ผลิตบ้านสำเร็จรูปตามข้อกำหนดและกลไกของราคาในตลาดในพื้นที่
THINK LAB SOLO-WORK SPACE โต๊ะทำงานในฝันของคนอยากนั่งทำงานเงียบ ๆ
ขอฉันนั่งทำงานเงียบ ๆ ได้ไหมเนี่ย? สิทธิ์นั้นจะเป็นของคุณทันที หากมาใช้บริการที่ “Think Lab Shiodome” เพราะที่นี่คือพื้นที่ทำงานแบบ Solo-Work Space แห่งแรกซึ่งตั้งอยู่ที่ Caretta Shiodome อันเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่บริษัท Dentsu ในประเทศญี่ปุ่น
% ARABICA KUWAIT ABU AL HASANIYA คาเฟ่ไร้เก้าอี้ในคูเวตจากฝีมือ NENDO
จากสาขาดั้งเดิมที่ฮิกาชิยามะในเกียวโต ก่อนมาถึงสาขาล่าสุดในไทยที่ไอคอนสยาม ขอพาย้อนไปดูอีกหนึ่งสาขาของ % ARABICA ที่สร้างภาพจำของความน้อยนิ่งและเรียบหรูให้เกิดขึ้นในคูเวตมาก่อนหน้านี้กันบ้าง
RICCO BURGER ร้านเบอเกอร์บล็อกแก้ว ที่เชื่อมเมืองกับสวนสาธารณะเข้าไว้ด้วยกัน
RICCO BURGER ร้านเบอเกอร์ ที่ใช้เวลาในการทำเพียง 4 เดือน ด้วยงบประมาณและเวลาก่อสร้างอันจำกัด สถาปนิกถึงพยายามใช้โครงสร้างและสิ่งที่มีอยู่เดิมให้มากที่สุด ผู้ออกแบบให้ความสำคัญกับความเชื่อมต่อของพื้นที่หน้ ร้านเบอเกอร์ RICCO BURGER ซึ่งเป็นถนนและสวนสาธารณะด้านหลัง ตัวอาคารของร้านจึงทำหน้าที่เป็นตัวประสานพื้นที่ทั้งสองเข้าด้วยกัน โดยให้ร้านเปรียบเสมือน “ตัวกรอง” มลภาวะเเละความวุ่นวายทางสายตาต่าง ๆ ออกไป บรรยากาศของพื้นที่ฝั่งสวนสาธารณะใช้โครงเหล็กและบันไดที่จะนำไปสู่พื้นที่ร้านอาหารชั้น 1 และเมื่อเข้ามาในร้าน ลูกค้าจะได้รับความรู้สึกเหมือนกำลังนั่งกินเบอเกอร์อยู่ในห้องน้ำ ด้วยผนังกรุกระเบื้องแผ่นเล็กของห้องน้ำเดิมยังคงอยู่โดยถูกดัดแปลงให้กลายเป็นส่วนของห้องครัว ผนังที่เหลือถูกกระเทาะออกทั้งหมด เหลือไว้เพียงพื้นไม้เดิมที่ยังคงเก็บรักษาไว้ อีกหนึ่งรูปแบบที่เชื่อมพื้นที่ทั้งหมดเข้าด้วยกันคือขนาดของวัสดุ 20×20 เซนติเมตร ทั้งในส่วนของกระเบื้องสีขาว แผ่นปูพื้น และบล็อกแก้ว ส่วนพื้นที่ที่ทำขึ้นมาใหม่ของร้านนี้ ก็คือส่วนของเคาน์เตอร์เตรียมอาหาร และที่นั่งแบบหล่อในที่ ฝ้าเพดานถูกรื้อออกหมด เพื่อโชว์โครงสร้างเผยผิววัสดุตามเเบบที่เรียกว่าสัจวัสดุ ซึ่งตรงกับคอนเซ็ปต์ของร้านที่ว่าใช้วัตถุดิบเรียบง่ายเป็นธรรมชาติ และเน้นไปที่กระบวนการเตรียมอาหาร พื้นที่ในร้านชั้น 1 และทางเท้าเลือกใช้วัสดุปูพื้นชนิดเดียวกัน เพื่อเชื่อมพื้นที่ให้ดูลื่นไหล ต่อเนื่อง ผนังด้านหน้าและหลังร้านกั้นด้วยบล็อกแก้วที่ใช้โครงสร้างเหล็ก ด้วยคุณสมบัติของบล็อกแก้วที่ยอมให้แสงธรรมชาติเข้าสู่พื้นที่ในร้าน แต่ยังคงความเป็นส่วนตัวให้กับพื้นที่ภายใน อีกทั้งช่วยสร้างเอฟเฟ็กต์ของแสงสียามค่ำคืน สร้างความน่าสนใจสำหรับใครที่ผ่านไปมา ออกแบบ : BLOCO Arquitetos ภาพ : […]
HOUSE IN CHAU DOC บ้านสังกะสีในพื้นที่น้ำท่วม
สังกะสี ไม้แดง ลวดตะแกรง และฉากเหล็ก เมื่อพูดถึงวัสดุเหล่านี้ขึ้นมา หลายคนคงนึกถึงบ้านพักชั่วคราวของคนงานในไซต์ก่อสร้าง แต่ด้วยฝีมือการออกแบบของ Shunri Nishizawa เขากลับสามารถนำวัสดุที่กล่าวถึงไปข้างต้น มาออกแบบเป็นบ้านดีไซน์สุดล้ำ ที่ก้าวผ่านนิยามที่เเสนธรรมดาเเบบที่เราเคยคุ้นชินไปได้ไกลหลายปีแสงเลยทีเดียว
THE NẮNG SUITES ที่พักเมืองดานัง นอนสบายเหมือนอยู่บ้านท่ามกลางธรรมชาติ
The Nắng Suites ที่พักเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม ที่สถาปนิกตั้งใจออกแบบบรรยากาศให้อยู่สบายเเหมือนอยู่บ้าน ไม่ว่าจะมาพักในระยะสั้น หรือระยะยาว โดยหัวใจสำคัญของที่นี่คือคอร์ตกลางอาคารที่เปิดโล่งจากชั้นแรกทะลุถึงท้องฟ้า เกิดเป็นพื้นที่เปิดโล่งและวิวของที่พัก ซึ่งช่วยแก้ปัญหาเรื่องแสงธรรมชาติและความอึดอัดของตึกที่มีลักษณะเป็นอาคารสูงแคบได้อย่างดี ที่พักเมืองดานัง แห่งนี้พื้นที่ทั้ง 4 ชั้น ถูกแบ่งออกเป็น 2 โซนหลัก ๆ คือ พื้นที่พักผ่อนแบบไพรเวตในชั้นบนจำนวน 8 ห้อง และพื้นที่ส่วนกลางที่ประกอบด้วยพื้นที่นั่งเล่น ห้องครัว ส่วนรับประทานอาหาร เล้านจ์ ห้องสมุด ห้องดูหนัง ห้องซักรีด และที่จอดรถ ในส่วนของฟาซาด สร้างจังหวะให้กับอาคารด้วยแผงไม้ และหน้าต่างเต็มบานที่มีความสูงจากพื้นจรดฝ้าเพดาน สร้างความรู้สึกทั้งปิดทึบและปลอดโปร่งด้วยเเสงสว่าง โดยแผงไม้ทำเป็นรูปแบบของไม้สาน ช่วยในการนำแสงธรรมชาติเข้าสู่ภายในเเละระบายอากาศ ทั้งยังช่วยกรองแสงแดดได้ในตัว และเมื่อคุณเดินเข้ามาจะเจอกับคอร์ตตรงกลางทำหน้าที่เสมือนสะพานเชื่อมระหว่างพื้นที่ภายในกับภายในเข้าด้วยกัน การตกแต่งภายในได้แรงบันดาลใจมาจากยุค 1960s และทำให้ดูร่วมสมัยสไตล์คอนเทมโพรารี โดยใช้คีย์สีหลักอย่าง แดง เขียว และน้ำเงิน เพิ่มความอบอุ่นด้วยไม้วอลนัทสีเข้มที่ทำเพียงเคลือบใสเพื่อเผยผิวธรรมชาติ เพิ่มผิวสัมผัสความเป็นธรรมชาติด้วยหินขัดในส่วนของห้องน้ำ และเพื่อเป็นการเชื่อมโยงกับบริบทโดยรอบที่เป็นภูเขา จึงยกไม้แบบทรอปิคัลมาไว้ในส่วนต่าง ๆ ของที่พัก ไม่ว่าจะเป็นระเบียงด้านหน้า หรือคอร์ตด้านใน นอกจากจะเพิ่มความสดชื่นแล้ว […]
ADVENTUROUS GLOBAL SCHOOL อาคารเรียนที่ใช้ล็อกเกอร์เป็นทั้งผนังและที่เก็บของ
นี่คือ อาคารเรียน ในหมู่บ้านที่พระตะบอง ประเทศกัมพูชา โดย Orient Occident Atelier สำนักงานออกแบบจากฮ่องกงต้องการให้ที่นี่ไม่ได้เป็นเพียงอาคารเรียนแบบเน้นการบรรยายทั่วไป แต่ใช้สำหรับเป็นพื้นที่เรียนรู้ด้านการออกแบบ ก่อสร้าง รวมไปถึงความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งในระหว่างกระบวนการก่อสร้างนั้นเด็ก ๆ จะได้มีส่วนร่วมในการออกแบบพื้นที่ ผ่านการทำกิจกรรมร่วมกับทีมสถาปนิกด้วย อาคารเรียน มีลักษณะสองชั้น ชั้นล่างออกแบบให้เป็นพื้นที่เเบบใต้ถุนสูง ซึ่งเป็นลักษณะบ้านเรือนดั้งเดิมของชาวกัมพูชา โดยประยุกต์เป็นห้องเรียนแบบเปิดโล่งสามารถเชื่อมต่อกับชุมชนและวิวท้องนารอบ ๆ ที่จะใช้เป็นพื้นที่ทำกิจกรรมการเรียนรู้ เอื้อให้เกิดปฏิสัมพันธ์กันระหว่างชาวบ้านให้ได้รับรู้ถึงกิจกรรมต่าง ๆ ของเด็ก ๆ ที่เกิดขึ้นภายในโรงเรียน ทั้งยังสามารถเข้ามามีส่วนร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้นั้น ๆ ได้ตลอดเวลาโดยไม่รู้สึกเคอะเขิน พื้นที่ชั้นสอง ออกแบบเป็นห้องสองฝั่งแบบโอเพ่นสเปซ สามารถใช้งานได้อย่างยืดหยุ่น โดยมีผนังที่เรียกว่า “Griddy” ผนังโครงเหล็กสองชั้นกรุด้วยแผ่นไม้สลับกับแผ่นพอลิคาร์บอเนตทำหน้าที่เป็นทั้งผนังอาคาร ล็อกเกอร์ และชั้นวางของ โครงสร้างอาคารแบบยกสูง นอกจากจะเกิดเป็นพื้นที่ใช้งานแบบใต้ถุนแล้ว ยังช่วยป้องกันเรื่องน้ำท่วม และเป็นการเก็บรักษาภูมิปัญญาดั้งเดิมด้านการอยู่อาศัยไว้ ในส่วนของกระบวนการก่อสร้าง สถาปนิกได้เลือกใช้วิธีการและวัสดุแบบท้องถิ่น อย่างการใช้อิฐและไม้ที่หาได้ง่ายในพื้นที่ ซึ่งเป็นการประหยัดค่าก่อสร้าง ทั้งยังแป็นวัสดุที่ช่างพื้นถิ่นคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ในแง่ของการออกแบบใช้กระบวนการการมีส่วนร่วมแบบ Bottom-up ทำให้อาคารที่ออกมายังสะท้อนถึงบริบทของชุมชน เพราะทีมผู้ออกแบบเชื่อว่าอาคารเรียนที่ดีต้องเกิดจากความร่วมมือของครูผู้สอน เด็กนักเรียน และคนในชุมชนร่วมกับผู้ออกแบบ ถึงจะได้พื้นที่ใช้งานที่ทั้งถูกต้องและถูกใจ […]
SIERRA FRIA บ้านกล่องคอนกรีตที่มีดาดฟ้าเป็นมุมนั่งเล่นตากอากาศ
บ้านคอนกรีตสุดเท่หลังนี้ตั้งอยู่ในประเทศเม็กซิโก เป็น บ้านทรงกล่อง ที่ออกแบบให้มีดาดฟ้าเป็นมุมนั่งเล่นตากอากาศ เคล้าบริบทที่แวดล้อมไปด้วยต้นไม้ใหญ่และบ้านใกล้เรือนเคียง ที่สำคัญคือมีความเป็นส่วนตัวสูงและฟังก์ชนตอบโจทย์เจ้าของบ้าน ซึ่งผ่านกระบวนการคิดเพื่อการอยู่อาศัยที่ดีจากทีมสถาปนิกมากฝีมือนั่นเอง