© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
บ้านที่ออกแบบสร้างเพื่อเชื่อมโยงบริบทโดยรอบสู่การใช้ชีวิต โดยคงไว้ซึ่งลักษณะดั้งเดิมของพื้นที่ รวมถึงต้นไม้ที่ยังอยู่แต่เดิมด้วย เปิดรับธรรมชาติผ่านมุมมองทางสถาปัตยกรรมในหลากรูปแบบซึ่งล้วนแต่งดงาม ดั่งบทกวีที่เรียงร้อยขึ้นด้วยสถาปัตยกรรม DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: JOYS Architects Yellow House คือ บ้านที่เหมือนเป็นภาคต่อของ Yellow Submarine และ Yellow Mini คาเฟ่เรียบเท่ในพื้นที่เขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา นั่นจึงทำให้บ้านหลังนี้ต้องมีการออกแบบที่ทั้งเปิดรับบริบทธรรมชาติโดยรอบเพื่อการอยู่อาศัยที่ดี แต่ก็ยังต้องสร้างความเป็นส่วนตัวจากพื้นที่คาเฟ่ไปพร้อมกัน #จัดวางธรรมชาติร่วมกับการอยู่อาศัย การออกแบบบ้านในระบบกริดตาราง ทำให้บ้านหลังนี้มีการจัดวางพื้นที่อยู่อาศัย สลับกับคอร์ตที่แตกต่างไปในแต่ละส่วน บ้างก็เป็นสวน บ้างก็เป็นต้นไม้ เนินดิน หรือสระน้ำ คอร์ตเหล่านี้ถูกจัดวางเอาไว้ในสี่ทิศของผังอาคาร ทำให้ในทุกห้องที่เหลือ สามารถมองเห็นทิวทัศน์ และรับบรรยากาศในแต่ละคอร์ตได้อย่างทั่วถึง โดยมีห้องนอนที่ส่วนกลางบ้านเป็นห้องที่รับวิวทุกคอร์ตได้ในห้องเดียว #บ้านเล่นระดับร่วมกับธรรมชาติ ตัวบ้านเลือกที่จะอยู่ร่วมกับระดับที่ต่างกันของผืนที่ดินแต่เดิม โดยไม่ได้ปรับเปลี่ยนระดับของพื้นที่มากนัก ขั้นตอนการออกแบบจึงต้องทำการบ้านกับระดับที่ต่างกันไปในแต่ละส่วน เป็นผลให้ทั้งช่องเปิด หรือการใช้งานมีลักษณะเฉพาะที่น่าสนใจ แทบไม่ซ้ำกันในแต่ละส่วนเลย #ร่องรอยที่เชื่อมโยงภายนอกและภายใน เมื่อพิจารณาถึงวัสดุของบ้านหลังนี้ คอนกรีตเปลือย และไม้ ทำหน้าที่เป็นเหมือนภาพสะท้อนบริบท หิน และต้นไม้โดยรอบ หากแต่คือการแปรความผ่านภาษาทางสถาปัตยกรรม โดยถูกกำหนดหน้าที่ใช้งานทั้งโครงสร้าง หรือองค์ประกอบที่กลายเป็นผนัง และเฟอร์นิเจอร์ที่จัดแบ่งรูปแบบการใช้ชีวิตในแต่ละพื้นที่ได้เป็นอย่างดี และนี่คืออีกหนึ่งบ้านที่น่าสนใจในรูปแบบที่เชื่อมโยงกับธรรมชาติอย่างลึกซึ้ง เป็นตัวอย่างของบ้านต่างจังหวัดที่น่าสนใจอีกหลังหนึ่งเลยทีเดียว […]
ทุกวันอันแสนรื่นรมย์ เมื่อได้อยู่ท่ามกลางธรรมชาติของเขาใหญ่ ที่ บ้าน ทั้งหลังยังออกแบบมาอย่างหมดจด ไม่ต่างอะไรกับงานศิลป์ประติมากรรมที่อยู่อาศัยได้กับ PG HOUSE หลังนี้ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: AAd – Ayutt and Associates Design บ้านหลังนี้มีโจทย์เริ่มต้นจากความต้องการในการสร้างเรือนสำหรับงานอดิเรกเพิ่มขึ้นอีกหลังในที่ดินเดิมของเจ้าของบ้าน การสะสมรถซุปเปอร์คาร์ งานศิลปะ Studio สำหรับซ้อมเต้น และมิกซ์เพลง รวมทั้งยังเป็นเหมือนห้องรับแขกไปในตัวอีกด้วย และนั่นจึงทำให้บ้านหลังนี้ มีความพิเศษที่แตกต่างอย่างลงตัว ซุปเปอร์คาร์และงานศิลป์ท่ามกลางทิวเขา “เราตั้งใจให้การขับรถเข้ามานั้น จะรู้สึกว่าได้เข้ามาจอดท่ามกลาง Scene ของทิวเขาเหล่านี้ ในบรรยากาศที่พิเศษ ในพื้นที่พิเศษ” นั่นจึงทำให้บ้านหลังนี้ดูแตกต่างจากความเป็นอู่รถ หรือ โชว์รูม แต่คือเวทีที่รถทุกคันจะได้มีพื้นที่พิเศษของตัวเอง การเปิดพื้นที่วิวรับกับจุดจอดรถแต่ละคันล้วนถูกคิดคำนึงมาเป็นอย่างดี ทั้งการให้แสง และจังหวะของการจอดก็เช่นกัน ด้วยเหตุนี้เองบ้านหลังนี้จึงต้องใส่ใจกับความเป็นศิลป์ในพื้นที่เป็นพิเศษ เพื่อให้ในทุกจังหวะของมุมมอง สามารถเชื่อมโยงความชอบ บ้านสีดำที่รับเอาวิวทิวทัศน์เข้าไว้กับตัวสังเกตได้ว่า การออกแบบบ้านหลังนี้มีการใช้สีในโทนมืดมากกว่าสว่าง ซึ่งสาเหตุที่เลือกใช้โทนดำเป็นหลักก็เพื่อให้บรรยากาศภายในบ้านนั้น ไม่รบกวนทิวทัศน์โดยรอบของบ้านหลังนี้ เมื่อมองจากภายในสู่ภายนอก ทัศนียภาพโดยรอบจึงมีความสว่างมากกว่าพื้นที่ภายใน อีกทั้งการที่บ้านมีการเปิดรับมุมมองในรอบทิศทางด้วยกระจกใส หากตกแต่งด้วยโทนสว่างอาจทำให้แสงสว่างที่เข้าสู่ภายในเจิดจ้าจนเกินสภาวะน่าสบายได้ โทนสีดำนี้จึงเป็นเหมือนการคุมความสบายให้อยู่ในระดับที่พอดีไปพร้อมกัน นอกจากนี้ การที่พื้นที่ภายในออกแบบให้เป็นโทนดำ ยังทำให้เมื่อมองจากภายนอกแล้ว วิวเขาจะเกิดการสะท้อนกับอาคาร […]
บ้านช่วยโลก เมื่อบ้านของเราสร้างจากวัสดุที่สามารถดักจับคาร์บอนไดออกไซด์เอาไว้ได้! นี่คือบ้านท่ามกลางธรรมชาติ ซึ่งเป็นต้นแบบของวัสดุก่อสร้างที่ยั่งยืนแห่งอนาคตอันใกล้ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: nendo บล็อกช่องลมที่สร้างจากวัสดุ CO2-SUICOM จำนวน 2,050 ก้อน ได้รับการนำมาใช้ในการสร้างแนวผนังของบ้านหลังนี้ โดยวัสดุนี้เป็นส่วนผสมครึ่งต่อครึ่งระหว่างปูนซีเมนต์กับวัตถุดิบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะสร้างให้เกิดกระบวนการดักจับ CO2 ในขั้นตอนของการแข็งตัวของซีเมนต์ เป็นผลให้วัสดุ CO2-SUICOM สามารถช่วยลดภาวะโลกร้อนได้เป็นอย่างดี โดยวัสดุนี้เป็นการพัฒนาที่เกิดจากความร่วมมือของบริษัท Kajima, The Chugoku Electric Power Co., Denka, และ Landes Co. จนเกิดเป็นคอนกรีตที่สามารถดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ได้เป็นครั้งแรกของโลก บ้านหลังนี้ตั้งอยู่ในจังหวัดนากาโนะ ประเทศญี่ปุ่น ท่ามกลางธรรมชาติอันไร้ซึ่งสิ่งรบกวน ความโดดเด่นของบ้านหลังนี้ คือแนวผนังที่ใช้อิฐบล็อกก่อเป็นบล็อกช่องลมที่มีการหันแนวช่องเปิดแตกต่างกันไปในแต่ละช่วงของอาคาร สัมพันธ์ไปกับรูปแบบการใช้งานในส่วนต่าง ๆ ทั้งยังช่วยพรางอาคารทั้งหลังให้กลมกลืนไปกับผืนป่ารอบด้านได้อย่างดี ช่องเปิดเหล่านี้ เป็นตัวกำหนดมุมมอง และแนวลมที่ไหลผ่านตัวบ้านไปพร้อมกัน ในส่วนที่ต้องการความเป็นส่วนตัวจะมีแนวกำแพงซ้อนกันสองชั้นเพื่อให้มุมมองที่ดูเหลื่อมซ้อนกัน สร้างให้เกิดความจำเพาะของตำแหน่งที่มองทะลุผ่านได้ แม้จะช่วยปิดกั้นสร้างความเป็นส่วนตัว แต่ก็ยังรู้สึกปลอดโปร่ง ไม่อึดอัด แม้วัสดุ CO2-SUICOM ที่นำมาใช้ก่อสร้างบ้านหลังนี้ ยังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนา แต่คาดว่าจะสามารถออกสู่ท่องตลาดได้จริงก่อนปี 2030 อย่างแน่นอน เพื่อแก้ปัญหามลพิษจากอุตสาหกรรมก่อสร้าง […]
Mr. New’s Cabin บ้านชั้นเดียวตั้งอยู่ที่อำเภอแม่ริม จังหวัด เชียงใหม่ ออกแบบโดย Housescape Design Lab เป็นบ้านที่ผู้ออกแบบนิยามว่าเป็น “กระท่อม” ของเจ้าของที่เป็นคนกรุงเทพฯ ที่สร้างเป็นบ้านสำหรับพักผ่อนตากอากาศในช่วงเวลาสั้นๆ ซึ่งตั้งใจให้บ้านเชื่อมต่อกับธรรมชาติโดยรอบด้วยการทำช่องเปิดรอบบ้าน และรับวิวน้ำหรือ Lake ที่อยู่หลังบ้าน สร้างด้วยวัสดุเกือบทั้งหมดที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Housescape Design Lab ตั้งคำถามต่อสถาปัตยกรรมผ่านการออกแบบ ข้อความที่สถาปนิกตั้งใจสื่อสารลงไปในบ้านหลังนี้ คือ การออกแบบรูปทรงคล้ายหินจริง แต่สร้างด้วยวัสดุคอนกรีต ครอบเสานอกบ้าน และในบ้านที่ใต้อ่างล้างจาน เป็นการสร้างสิ่งคล้ายธรรมชาติให้เกิดคำถามถึงการมีอยู่ระหว่าง “ของจริง” และ “ของสังเคราะห์” ที่มนุษย์สร้างขึ้นมา ซึ่งปัจจุบันทั้งสองอย่างนั้นผสมกลมกลืนจนกลายเป็นสิ่งเดียวกันไปแล้วในอาคารหลังหนึ่ง เช่น ในอาคารใหญ่อย่างห้างสรรพสินค้า ผนังที่กรุด้วยวัสดุหน้าตาเหมือนกับหินจริง แต่ความจริงแล้วกลับเป็นวัสดุสังเคราะห์ขึ้นมาให้ดูเหมือนกับของจริง แต่ในความรับรู้ของคนที่ใช้งานเข้าใจว่านั่นคือหินจริง เป็นการตั้งคำถามที่เกิดจากความสงสัยของสถาปนิก ที่ออกแบบเป็นรูปทรงเหมือนหิน ให้ความรู้สึกเหมือนกับเป็นวัสดุธรรมชาติอยู่ภายในบ้าน แต่เป็นวัสดุอื่นที่ผ่านการสังเคราะห์ขึ้นมา ซึ่งเมื่อคนมาเห็นก้อนวัตถุนั้น จะเรียกสิ่งนั้นว่าอะไร คราฟต์บ้านด้วยวัสดุและช่างจากท้องถิ่นในบ้านหลังนี้ ผู้ออกแบบได้ทดลองเทคนิคการผลิตที่มากขึ้นจากผลงานก่อนหน้านี้ นอกจากหลังคา และคอนกรีตที่ใช้เป็นวัสดุจากโรงงาน วัสดุอื่นนอกจากสองอย่างนี้ใช้ของที่มีอยู่โดยรอบในรัศมี 10 กิโลเมตรทั้งสิ้น รวมไปถึงรายละเอียดอย่างประตู […]
บ้าน กลางป่าปลูกส่วนตัวบนเนื้อที่ 12 ไร่ ในจังหวัดนครปฐมที่นั่งอยู่มุมไหน ก็กลมกลืนไปกับธรรมชาติได้อย่างลงตัว #องค์ประกอบพื้นถิ่นในภาษาโมเดิร์นบ้านสวนหลังนี้ ออกแบบด้วยวิธีคิดแบบสมัยใหม่ แต่ใช้องค์ประกอบแบบบ้านพื้นถิ่นเข้ามาช่วยให้พื้นที่ชีวิตของบ้านนั้นสามารถใช้งานร่วมกับบริบทธรรมชาติโดยรอบอย่างลงตัว ไม่ว่าจะเป็นหน้าจั่วที่รับลมระบายความร้อนออกจากตัวบ้าน หรือชายคายื่นยาวที่กลายเป็นเฉลียง และชานบ้าน ที่ไม่เพียงเพิ่มพื้นที่กึ่งเอาต์ดอร์เท่านั้น แต่ยังช่วยให้แดดไม่สาดเข้าสู่พื้นที่อาศัยโดยตรงอีกด้วย #เชื่อมโยงพื้นที่ด้วย Grey area พื้นที่กึ่งร่มกึ่งแดด รอบตัวบ้านนั้น ทำหน้าที่เป็นพื้นที่เปลี่ยนผ่านจากภายในสู่ภายนอก (Transition area) และบานเปิดขนาดใหญ่นั้น ก็ทำให้ผู้อยู่อาศัยสามารถเปิดรับวิวธรรมชาติของสวนโดยรอบได้ในทุกฤดูกาล ชายคาที่ยื่นยาว และชานบ้านเหล่านี้ ช่วยป้องกัน แดด ฝน ให้แก่พื้นที่ใช้งานด้านใน จะนั่งทำงาน หรือนอนเล่นเอกเขนกที่โซฟา ก็อยู่ในสภาวะสบายได้ตลอดทั้งวัน #บ้านชั้นเดียวกับผังเปิดและความเป็นส่วนตัวบ้านหลังนี้เป็นบ้านยกสูง แต่ก็ยังเป็นบ้านชั้นเดียวในแนวราบ การสร้างให้เกิดพื้นที่ส่วนตัวจึงเป็นโจทย์สำคัญ ผู้ออกแบบเลือกใช้การวางผังอาคารแยกออกเป็น 2 หลัง โดยมีอาคารจอดรถติดกับห้องเก็บของ และส่วนพักอาศัยขนาด 2 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ นั้นจะแบ่งพื้นที่อีกส่วนเป็นพื้นที่ นั่งเล่น และครัวที่ถูกดันออกมายังพื้นที่ติดกับชานบ้าน เพื่อเป็นพื้นที่กิจกรรมของครอบครัว การออกแบบเป็นผังเปิดแบบ Open Plan ทำให้สามารถจัดวางเฟอร์นิเจอร์ต่างๆได้อย่างลงตัว สามารถปรับเปลี่ยนให้เกิดความต่อเนื่องออกไปยังชานภายนอกได้อย่างยืดหยุ่น และเป็นอิสระ […]
สำหรับใครชอบดูรูปบ้านสวยหลากหลายสไตล์ ดีไซน์ที่แตกต่าง ไม่ว่าจะเป็นคันทรี โมเดิร์น ทรอปิคัล มินิมัล ลอฟต์ ติดตามที่ Instagram บ้านและสวน ได้เลย
บ้านตากอากาศในเวียดนาม หลังบ้านติดภูเขา วิวหน้าบ้านหันสู่ทิศตะวันออก รับแสงอาทิตย์ยามรุ่งอรุณ นี่คือ Tam Dao Villa วิลล่าตากอากาศที่ตั้งอยู่ในเมือง Tam Dao ประเทศเวียดนาม โดย Tropical Space ด้วยรูปทรงที่เหลี่ยมง่าย เป็นกล่องด้านเท่าขนาด 22m x 22m เปิดพื้นที่กึ่งกลางขนาด 6.5m x 6.5 เมตร ซ้อนกันสามชั้น จึงทำให้บ้านหลังนี้ไม่เพียงเปิดมุมมองสู่ภายนอก แต่ยังเชื่อมโยงพื้นที่ภายในเข้าหากันได้อย่างลงตัว โดยเฉพาะการเปิดรับแสงธรรมชาติเข้าสู่แต่ละส่วนของตัวบ้านอย่างพอดิบพอดี ผ่านการวางตัวแบบ Interlocking ของห้องต่างๆภายในบ้านที่หลบเยื้องให้ทุกห้องต่างได้รับ “บรรยากาศที่ดี” ถ้วนทั่วกัน เริ่มจากหน้าบ้าน สระว่ายน้ำที่ทอดยาว ไม่เพียงใช้สำหรับพักผ่อนหย่อนใจ แต่ยังช่วยสร้างอากาศเย็นให้พัดผ่านเข้าไปในตัวบ้านผ่านคอร์ตกลางที่เปิดโล่ง ทางเข้านั้นหลบตัวอยู่ด้านข้างของบ้านที่ต้องเดินผ่านแปลงผักรูปขั้นบันไดซึ่งทำหน้าที่เป็นบันไดขึ้นบ้าน ก่อนจะเปิดเข้าสู่พื้นที่ภายในที่คอร์ตกลาง ทั้งนี้ก็เพื่อให้ไม่บดบังบริบทของเชิงเขาด้านหลังนั่นเอง พื้นที่ภายในนั้นมีชานและ Common Area ให้เลือกพักผ่อนได้หลากหลายเพื่อเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศในการมาพักผ่อนตามสภาพอากาศแต่ละช่วงเวลาได้อย่างเหมาะสม อาจจะนั่งริมชานในวันอากาศดี หรือจิบชาอุ่นๆในโถงด้านในสำหรับวันฝนพรำ ทั้งหมดล้วนแต่ถูกคิดเผื่อมาแล้วให้สมกับที่เป็นวิลล่าตากอากาศ สุดท้ายคือพื้นที่ดาดฟ้าที่ตั้งใจออกแบบให้เป็นพื้นที่สังสรรค์ในแบบ Wooden Deck Camp Ground สำหรับจัดปาร์ตี้สไตล์แคมปิ้ง หรือจะนั่งเล่นพักผ่อนในบรรยากาศเงียบสงบ ยามเช้าและยามเย็นก็เหมาะสม […]
บ้านพื้นถิ่นอีสานร่วมสมัย น่าสนใจในการเลือกใช้วัสดุและการตีความวิถีคนในถิ่นอีสานปรับพื้นที่ใต้ถุนแปรเปลี่ยนเป็นการจัดวางพื้นที่ต่อเนื่องกัน
บ้านไทยพื้นถิ่น ในแต่ละภูมิภาคมีลักษณะที่แตกต่างออกไปตามลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งในปัจจุบันมรดกทางสถาปัตยกรรมเหล่านี้อาจมีเหลือให้ชมไม่มากนัก มาทำความรู้จักกับเอกลักษณ์ของเรือนไทยแต่ละภาคกัน บ้านไทยพื้นถิ่น คืออะไร ความหมายของ บ้านไทยพื้นถิ่น อาจอ้างอิงได้จากงานเขียนของ Bernard Rudofsky นักเขียนและนักประวัติศาสตร์ผู้เป็นที่รู้จักผ่านข้อเขียน “Architecture Without Architects: A Short Introduction to Non-Pedigreed Architecture” ซึ่งเป็นตำราเล่มสำคัญของแนวคิดสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในพ.ศ. 2507 ได้กล่าวถึงสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น หรือ Vernacular Architecture ว่าเป็นสิ่งปลูกสร้างที่ไม่ได้ผ่านมือสถาปนิก เช่น หมู่บ้านบ้านดินที่สร้างแฝงไปในภูเขาของชนเผ่าในประเทศแถบแอฟริกา หมู่บ้านใต้ดินของชุมชนในประเทศจีน เต็นท์ของกลุ่มคนพเนจรในทะเลทราย แม้แต่เรือนแพของชุมชนผู้อาศัยบนน้ำในนครเซี่ยงไฮ้ จึงสรุปได้ว่า บ้านไทยพื้นถิ่น คือสิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะแปรไปตามสภาพแวดล้อม เกิดจากการหยิบใช้วัสดุใกล้ตัว เเละใช้เทคนิควิธี หรือภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่น เพื่อตอบสนองสภาพแวดล้อมและการดำเนินชีวิตของคนในท้องถิ่นนั้น ทั้งยังเป็นตัวแทนบ่งบอกวิถีชีวิตสภาพแวดล้อม การแก้ปัญหา และการปรับตัวของผู้คนในท้องถิ่นต่าง ๆ เป็นเหตุให้ทุกวันนี้ มีผู้สนใจศึกษาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นมากขึ้นเรื่อย ๆ และสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นก็มีบทบาทในการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมร่วมสมัยของคนยุคปัจจุบันมากขึ้นเช่นกัน สำหรับในประเทศไทยนั้น แต่ละภูมิภาคมีลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นแตกต่างกัน จึงทำให้ภาคเหนือ […]
กลางห้องนั่งเล่นไม่จำเป็นต้องแขวนชานเดอเลียร์เสมอไป! room นำตัวอย่างไอเดียและรูป แบบห้องนั่งเล่น ที่ตกแต่งด้วยโคมไฟแบบต่าง ๆ มาให้ชมกัน
บ้านที่แทรกตัวอยู่บนเนินเขาของป่าสน มาพร้อมทัศนียภาพสีเขียวสดชื่นของต้นไม้ใบหญ้า ในขณะเดียวกันก็ยังคงรักษาความเป็นส่วนตัวและตั้งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติได้อย่างลงตัว
10 บ้านต่อไปนี้ คือบ้านที่ผู้อ่านชอบมากที่สุด โดยวัดจากยอดไลค์ - แชร์ในแฟนเพจเฟซบุ๊ค และจำนวนผู้เข้าอ่านในเว็บไซต์ของเรา มาดูกันว่าจะมีหลังไหนบ้าง