Houses
House C กึ่งกลางระหว่างธรรมชาติ และพื้นที่ส่วนตัว
จะเป็นอย่างไรเมื่อ “บ้าน” อยู่ท่ามกลางธรรมชาติ และผืนดินอย่างแท้จริง นี่คือบ้านในเชียงใหม่ ที่ตั้งใจสัมผัสธรรมชาติอย่างไร้รอยต่อ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Bangkok Tokyo Architecture House C บ้านหลังนี้ ในเชียงใหม่ โดยเป็นความต้องการของเจ้าของบ้านที่อยากให้การอยู่อาศัยนั้นมีอิสระ และผสานเข้ากับความเป็นธรรมชาติโดยรอบผ่านองค์ประกอบเรียบง่ายของตัวอาคาร บ้านหลังนี้มีห้องรับแขกที่พื้นเป็นดินอัด มีห้องทุกห้องที่เห็นกันได้หมด มีโครงสร้างที่แทบไร้การปรุงแต่ง และนั่นคือหน้าที่ของสถาปัตยกรรมที่เลือกจะทำหน้าที่ในการเป็นที่อยู่อาศัยที่ปรุงแต่งน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้อย่างถึงที่สุด #ออกแบบโดยผสานธรรมชาติเข้าเป็นส่วนหนึ่งอย่างไร้รอยต่อ บ้านหลังนี้มีโจทย์ตั้งแต่แรกเริ่มคือการออกแบบเพื่อการอยู่อาศัยผสานไปกับธรรมชาติโดยรอบ การออกแบบโครงสร้างทั้งหมดจึงถูกคิดขึ้นโดยไม่ยัดเยียดองค์ประกอบที่มาจนไปกลบความสัมพันธ์โดยรอบเกินไป ทั้ง ผืนดิน ร่มไม้ สัตว์น้อยใหญ่ และธรรมชาติโดยรอบล้วนเป็นองค์ประกอบสำคัญของสถาปัตยกรรมหลังนี้ด้วยเช่นกัน เป็นที่อยู่อาศัยที่สามารถปรับตัวไปตามสภาวะอากาศได้ ด้วยความเรียบง่ายของโครงสร้าง และความยืดหยุ่นของผังการใช้งานอาคาร บ้านหลังนี้จึงช่วยสร้างความเป็นไปได้ที่น่าสนใจให้การใช้ชีวิตของผู้อยู่อาศัย เรียงร้อยไปกับสิ่งแวดล้อมโดยรอบตามที่ตั้งใจไว้ เพราะเมื่อมองจากภายนอก บ้านหลังนี้จะดูแอบซ่อนเรียบเกลี้ยงเหมือนกล่องที่ถูกปิดไว้ แต่เมื่อเปิดผนังที่ทำหน้าที่เป็นประตูใหญ่ออก พื้นดินลานกลางบ้าน แม่น้ำ ธรรมชาติ และถนนจะต่อเชื่อมหลอมรวมเป็นพื้นที่เดียวกันอย่างไร้รอยต่อเลยทีเดียว #สัมผัสผืนดิน ห้องรับแขก หรือพื้นที่อเนกประสงค์ ณ ลานกลางบ้าน อาจเรียกได้ว่าเป็น Gathering Space ตามศัพท์สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ และในบ้านหลังนี้นั้น พื้นที่ระหว่าง สองปีกของตัวบ้าน คือพื้นดินที่ใช้เทคนิคการอัดดินให้กลายเป็นชานบ้านแบบญี่ปุ่นที่เรียกกันว่า โดมะ […]
S Wall House รีโนเวตบ้างครึ่งตึกครึ่งไม้ย่านลาดพร้าวให้กลายเป็นบ้าน Modern Loft
บ้านหลังนี้ได้เก็บโครงสร้างเดิมไว้ ทั้งคอนกรีต และไม้บางส่วน เพื่อนำมาใช้บอกเล่าเรื่องราวที่ยังคงดำเนินต่อไป เพราะเดิมทีบ้านหลังนี้เป็นบ้านที่คุณพ่อของเจ้าของบ้านได้ออกแบบสร้างเอาไว้ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ : Collage Design Studio การยังคงไว้ซึ่งโครงสร้างตามที่คุณพ่อได้คิดก่อสร้างไว้ก็เปรียบได้กับการคงจิตวิญญาณดั้งเดิมของบ้านเอาไว้ แต่นำพาสู่บทใหม่ด้วยการออกแบบตกแต่ง และปรับเปลี่ยนการใช้งานในหลาย ๆ ส่วน และ แนวทางการปรับปรุง คือการผสานกลิ่นอายร่วมสมัยเข้ากับโครงสร้าง สร้างที่พักอันทันสมัยสำหรับเจ้าของบ้าน พร้อมด้วยสระว่ายน้ำ และบาร์กลางแจ้งสำหรับการสังสรรค์ จึงทำให้ปรับบ้านหลังนี้เป็นบ้านล้อมคอร์ตซึ่งเป็นสระว่ายน้ำ มีใต้ถุนเป็นพื้นที่ที่สามารถเปิดหากันได้ตลอด และชั้นบนที่มีความเป็นส่วนตัว ในด้านองค์ประกอบโครงสร้างนั้น ผู้ออกแบบได้เลือกใช้โครงไม้ดั้งเดิมที่ส่วนใหญ่ยังคงสภาพสมบูรณ์อย่างน่าทึ่ง โดยมีแผ่นพื้นกว้างและทนทานซึ่งหาได้ยากในปัจจุบัน ด้วยการใช้โอกาสในการอนุรักษ์องค์ประกอบอันเป็นที่รักเหล่านี้ จึงตัดสินใจย้ายบันไดออกไปด้านนอก และเปลี่ยนสำนักงานเก่าที่ทรุดโทรมของคุณพ่อให้กลายเป็นบริเวณสระว่ายน้ำ เมื่อการรื้อถอนเริ่มต้นขึ้นก็มีสิ่งปรากฏออกมา นั่นคือเสาและคานคอนกรีตเสริมเหล็กคงสภาพแข็งแรง ซึ่งออกแบบโดยผู้เป็นพ่อเอง โดยมีทั้งความทนทาน และเต็มไปด้วยร่องรอยของเรื่องราวในอดีต ด้วยแรงบันดาลใจจากการค้นพบที่ไม่คาดคิด การออกแบบจึงพัฒนาเพื่อรวมองค์ประกอบของโครงสร้างดั้งเดิม โดยมีสระว่ายน้ำอยู่ใต้ส่วนโค้งอันสง่างาม ในส่วนของความเป็นส่วนตัว อันเป็นที่มาของชื่อบ้านนั้น เกิดจากข้อกังวลเรื่องความเป็นส่วนตัวกระตุ้นให้เกิดการสร้างแนวกั้นป้องกัน ซึ่งเป็นแนวกำแพงที่เพิ่มขึ้นจากส่วนที่เหลือของสำนักงานเดิม ผนังไฟเบอร์ซีเมนต์พับเก็บอย่างสวยงามเป็นรูปตัวเอส (s) พร้อมปกปิดและเปิดเผยให้เห็นในคราวเดียวกัน ทำหน้าที่เป็นสัญลักษณ์ด้านหน้าบ้านสำหรับบ้านที่มีชีวิตชีวา พาร์ทิชั่นคดเคี้ยวนี้แบ่งพื้นที่ในขณะที่ช่วยเสริมการเชื่อมต่อ โดยผสมผสานระหว่างความเก่ากับใหม่ ผนังชั้นล่างเป็นอิฐและปูนฉาบแข็งในสมัยก่อน ช่วยให้พื้นที่อยู่อาศัยเปิดโล่งและสว่าง ชวนให้นึกถึง “ใต้ถุน” พื้นที่เปิดโล่งใต้บ้านทรงไทย ที่ผสมผสานพื้นที่ในร่มและกลางแจ้งได้อย่างลงตัว ส่วนห้องนอนใหญ่ชั้นบนสะท้อนถึงการนำวัสดุผนังใหม่มาวางทับโครงสร้างเก่า […]
บ้านล้อมคอร์ต ที่สร้างพื้นที่รื่นรมย์ด้วยไม้ใหญ่ และกำแพงช่องลม
บ้านล้อมคอร์ต ชานเมืองที่เลือกสร้างพื้นที่ส่วนตัวล้อมสวนทรงชะลูดที่ทำงานกับการอยู่อาศัยในแนวสูงได้เป็นอย่างดี บ้านหลังนี้ ออกแบบโดย INchan Atelier เป็นบ้านขนาด 4 ชั้น ที่สร้างบนที่ดินติดกับบ้านของพ่อแม่เจ้าของบ้าน ด้วยลักษณะพื้นที่เป็นที่ดินจัดสรรย่านชานเมืองทำให้ต้องคำนึงถึงความเป็นส่วนตัวของการอยู่อาศัยเป็นพิเศษ แต่ก็ยังต้องสร้างความรู้สึกปลอดโปร่ง สบายตา ไม่อึดอัดทึบตันให้แก่ผู้อยู่อาศัยไปพร้อมกันด้วย โดยผู้ออกแบบได้เลือกใช้บล็อกช่องลมในการสร้างพื้นที่กึ่งปิดเพื่อให้เกิดเป็นคอร์ตสวนทรงชะลูดที่กลางบ้าน และแจกพื้นที่สีเขียวไปยังทุกส่วนของบ้านอย่างมีประสิทธิภาพ #กำแพงโปร่งสร้างความเป็นส่วนตัวแต่ไม่ปิดกั้นแดดลม โครงสร้างที่ก่อตัวขึ้นสูงจากพื้น จนถึงชั้นที่สาม เป็นกรอบคอนกรีตที่ช่วยพยุงรับบล็อกช่องลมที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ บล็อกเหล่านี้มีสองรูปแบบความทึบด้วยกัน ปรับใช้ตามแต่การเปิดรับแสง และความต้องการความเป็นส่วนตัวที่แตกต่างกัน ในด้านหน้าของบ้านนั้น จะเป็นบล็อกที่มีขีดกลางคั่น ส่วนด้านติดกับบ้านของพ่อแม่จะเป็นบล็อกจัตุรัสที่โปร่งกว่า ขอบกำแพงที่เกิดจากบล็อกช่องลมนี้ ช่วยสร้างให้เกิดความเป็นส่วนตัวได้อย่างดีสำหรับผู้อยู่อาศัย ไม่รู้สึกประจันกับเพื่อนบ้านมากจนเกินไป ทั้งยังเป็นมิตรกับบริบทโดยรอบมากกว่ากำแพงทึบตันในขณะเดียวกัน นอกจากนี้ การออกแบบที่เลือกใช้กำแพงโปร่งอย่างบล็อกช่องลม ยังมีประโยชน์ในการเปิดให้แสงแดดเข้าถึงสวนที่ภายในได้มากอีกด้วย ทำให้พื้นที่สีเขียวมีระบบนิเวศที่สามารถเติบโตได้ และยังเปิดรับลมในทิศทางที่เหมาะสมตามความโปร่งทึบของบล็อกแต่ละด้าน เป็นการออกแบบเพื่อการอยู่อาศัยแบบ Passive Climate ที่ดีไปพร้อมกัน #สวนแนวสูงสู่ทุกพื้นที่ของบ้าน จุดเด่น และความสะดุดตาของบ้านหลังนี้ อยู่ที่ภายใน เพียงเดินผ่านแนวกำแพงบล็อกช่องลมเข้ามา เราจะได้พบกับสวนเล่นระดับที่มีไม้ใหญ่คือต้นขานาง ที่สูงชะลูดตั้งแต่ชั้น 1 จนถึงดาดฟ้าที่ชั้น 4 เลยทีเดียว นอกจากการวางผังของสวนที่เอื้อต่อความเชื่อมโยงของบ้านหลังนี้ และบ้านของพ่อแม่แล้ว พื้นที่สีเขียวเหล่านี้ยังช่วยสร้างความเป็นส่วนตัว และความรู้สึกของพื้นที่เฉพาะสำหรับสมาชิกแต่ละคนในบ้านได้เป็นอย่างดี โดยทำหน้าที่เป็นตัวกรองให้แต่ละห้องมีวิวสวนเป็นของตัวเอง […]
FESTUS HOUSE เฉลิมฉลองความสุขผ่านสวนกลางบ้าน
แบบบ้านโมเดิร์น ที่ออกแบบให้มี “สวน” เป็นพื้นที่หัวใจของบ้านที่เป็นศูนย์รวมของสมาชิกได้ออกมาทำกิจกรรม แต่ยังคงความเป็นส่วนตัวไว้
JARUN 69 บ้านหลังเล็ก ดีเทลลึก
บริบทร่วมสมัยของย่านฝั่งธนฯ ขับเน้นให้ บ้านหลังเล็ก เส้นสายเฉียบเรียบดูโดดเด่นเป็นพิเศษ ประตูรั้วเหล็กฉีกสีขาวโปร่ง เป็นเหมือนเลเยอร์บางๆ ที่ช่วยกรองสายตาผู้คนที่ผ่านไปมา โดยไม่ทำให้พื้นที่ด้านหน้าดูอึดอัดจนเกินไป แม้ตัวบ้านจะดูเรียบง่าย แต่กว่าจะออกมาเหมาะเจาะลงตัวทั้งรูปลักษณ์ และการใช้งาน ย่อมผ่านการคิดออกแบบมาอย่างลงลึกในทุกดีเทล เมื่อสองปีก่อน คุณปิยะบุตร ซุ่นทรัพย์ วางแผนสร้างเรือนหอหลังใหม่บนที่ดินขนาด 47 ตารางวาในซอยเล็กๆ บนถนนจรัญสนิทวงศ์ จึงปรึกษาเพื่อนสถาปนิกอย่าง คุณกาจวิศว์ ริเริ่มวนิชย์ จาก Physicalist ผู้รับหน้าที่ถ่ายทอดทุกความละเอียดความต้องการให้ บ้านหลังเล็ก หลังนี้กลายเป็นรูปธรรมอย่างสมบูรณ์ “ตอนแรกเจ้าของบ้านทำโมเดลสามมิติมาเรียบร้อยเพื่อให้ดูรูปแบบที่อยากได้ แต่ด้วยความที่ที่ดินแปลงนี้มีขนาดค่อนข้างเล็ก และเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู แบบร่างเบื้องต้นเลยมีหลายจุดที่ผิดกฎหมายควบคุมอาคาร จึงต้องนำฟังก์ชั่นที่ต้องการทั้งหมดมาจัดวางใหม่” เมื่อโจทย์หลักคือการจัดสรรสเปซภายในให้กว้างขวางที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ในพื้นที่จำกัด โดยไม่ขัดต่อกฎหมาย สถาปนิกจึงเริ่มต้นจากการกำหนด “แนวผนังทึบ” ที่เว้นระยะจากแนวเขตที่ดินรูปสี่เหลี่ยมคางหมูโดยรอบด้านละ 50 เซนติเมตร* เพื่อกำหนดขอบเขตพื้นที่ใช้สอยภายใน บ้านหลังเล็ก ให้ใหญ่ที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ในกรณีนี้ ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมอาคาร พ.ศ. 2544 บ้านพักอาศัยที่มีพื้นที่ไม่เกิน 300 ตารางเมตร ให้ก่อสร้างผนังทึบห่างจากแนวเขตที่ดินอย่างน้อย 50 […]