leed
บ้านและอาคารเขียวสำคัญอย่างไร? พูดคุยกับ 4 ผู้เชี่ยวชาญจาก TGBI
บ้านและอาคารเขียว เป็นเรื่องไกลตัวจริงหรือไม่ และเราจะมีส่วนร่วมได้อย่างไรบ้าง มาร่วมหาคำตอบไปพร้อมกันกับ 4 ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันอาคารเขียวไทย หลายๆ คนน่าจะเคยได้ยินคำว่า อาคารเขียว และมีความเข้าใจต่อคำคำนี้ในภาพที่แตกต่างกันออกไป บ้างอาจเข้าใจว่าเป็นอาคารที่เน้นประหยัดพลังงาน บ้างอาจนึกภาพถึงอาคารที่ปกคลุมด้วยสวนแนวตั้งจนดูเป็นสีเขียวไปทั้งตึก บ้างอาจเข้าใจว่าเป็นอาคารที่มีค่าดำเนินการสูงจนยากที่คนทั่วไปจะเอื้อมถึงได้ แต่จริงๆ แล้วอาคารเขียวหมายถึงอะไร มีความสำคัญแค่ไหน แล้วบ้านของเราจะสามารถมีส่วนร่วมกับเทรนด์อาคารเขียวที่กำลังเป็นที่สนใจนี้ได้อย่างไรบ้าง คราวนี้ Home Expert จึงได้พูดคุยกับ 4 ผู้เชี่ยวชาญจาก สถาบันอาคารเขียวไทย หรือ TGBI เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองต่างๆ ที่จะทำให้ บ้านและอาคารเขียว ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเราอีกต่อไป อาคารเขียวคืออะไร อาคารเขียว คือ อาคารที่ได้รับการออกแบบโดยคำนึงถึง 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี ตามที่ รองศาสตราจารย์ ดร.ชนิกานต์ ยิ้มประยูร หัวหน้าภาควิชานวัตกรรมอาคาร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อธิบายว่า “เน้นใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่จำกัดให้น้อยและเกิดคุณค่ามากที่สุดค่ะ ทั้งพลังงาน น้ำ วัสดุก่อสร้าง และทำให้ผู้อยู่อาศัยมีคุณภาพชีวิตที่ดี นอกจากนั้น ในปัจจุบันยังมีการคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมรอบข้าง และความเป็นไปได้ในการลงทุนควบคู่กันด้วย” […]
สนทนากับ รศ.ดร.อรรจน์ เศรษฐบุตร ถึงเรื่อง ‘อาคารเขียว’ จากเทรนด์สู่วิถีชีวิตยุคใหม่
อาคารเขียว ไม่ใช่ เทรนด์หรือแนวโน้มความนิยมด้านการออกแบบมากมาย ที่มาแล้วก็ผ่านไปแต่คือแนวคิด ‘เทคโนโลยีอาคาร’ ที่มีใจความสำคัญเกี่ยวกับการประหยัดพลังงาน รวมถึงเรื่องของสิ่งแวดล้อม เนื่องด้วยการเปลี่ยนแปลงของโลกด้านสิ่งแวดล้อมที่นับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ กลายเป็นแรงผลักดันให้เราทุกคนต้องหันมาให้ความสำคัญกับประเด็นเหล่านี้อย่างจริงจัง room ได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.อรรจน์ เศรษฐบุตร อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกรรมการผู้จัดการบริษัท แอฟริคัส จำกัด ( Africvs )มาร่วมพูดคุยให้ความรู้และความเข้าใจถึงแนวทางอันเหมาะสมในการประยุกต์เรื่องอาคารเขียวให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตในยุคปัจจุบัน “ความสุขในการทำงานของเราคือการอยู่แวดล้อมด้วยคนที่มีความเข้าใจในเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อม แต่ก่อนคิดว่าต้องทำอะไรยิ่งใหญ่แบบก้าวกระโดด แต่ถึงตอนนี้เรารู้ว่าต้องทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป ถึงจะช่วยเปลี่ยนโลกได้ ถ้าเราใจร้อน ไม่มีความสุข เราทำงานตรงนี้ไม่ได้” จุดเริ่มต้นความสนใจใน ‘อาคารเขียว’ “จริง ๆ เรื่องของการประหยัดพลังงานมีมานานแล้ว สมัยผมจบปริญญาตรีแล้วมาทำงานสถาปัตย์ฯ ตอนนั้นเรารู้สึกว่าทำไมเราถึงไม่มีการเรียนการสอนเรื่องพวกนี้เลย แต่ว่าในระดับการศึกษาเดียวกันในต่างประเทศ เขามีการพูดถึงเรื่องการประหยัดพลังงานไปไกลแล้ว เลยตัดสินใจไปเรียนต่อที่อเมริกาทางด้านเทคโนโลยีอาคาร แล้วรู้สึกว่าเปิดมุมมองใหม่ให้เรามาก หลังจากเรียนจบทางด้านนั้นมา ผมก็เรียนต่อปริญญาเอกด้านอาคารสิ่งแวดล้อม ที่อเมริกาหรือในยุโรปเขาศึกษากันเรื่องของอาคารเขียว ซึ่งมาจากเรื่องของการประหยัดพลังงาน เรื่อยมาจนถึงเรื่องการประหยัดวัสดุ และการรักษาสภาพแวดล้อม ระหว่างนั้นก็ได้มีโอกาสทำงานเกี่ยวกับอาคารเขียวตอนอยู่ที่อเมริกาเพราะเรียนปริญญาเอกอยู่ที่นั่น 5 ปี มีเรื่องของการเข้าไปตรวจวัดประสิทธิภาพ การประเมินอาคาร แล้วมีระบบเกณฑ์การประเมินอาคารเขียวพ่วงเข้ามา พอเรียนจบผมก็กลับมาเป็นอาจารย์ที่จุฬาฯ ประจวบเหมาะกับว่ามีการประกวดแบบอาคารของปตท. ซึ่งเขาเขียนไว้ว่าต้องเป็นอาคารเขียว ตอนนั้นสถาปนิกบ้านเรายังไม่ค่อยรู้ว่ามันคืออะไร […]