- Home
- Orient Occident Atelier
Orient Occident Atelier
หอเก็บน้ำจากภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่พระตะบอง
เมื่อ “น้ำดื่มสะอาด” กลายเป็นของหายาก จึงเป็นที่มาของ หอเก็บน้ำ ที่ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านมาก่อสร้าง หอเก็บน้ำ ในหมู่บ้านที่เมืองพระตะบอง ประเทศกัมพูชา แห่งนี้ ทำหน้าที่เป็นแหล่งน้ำดื่มสะอาดของหมู่บ้านที่ปลอดภัย ให้แก่พื้นที่ขาดแคลนและด้อยโอกาส ทั้งยังกลายมาเป็นแหล่งพบปะสังสรรค์ของคนในชุมชน ทั้งการเฉลิมฉลองและเทศกาลสำคัญต่าง ๆ เเต่กว่าหอเก็บน้ำนี้จะกลายเป็นฮับของชุมชน ในระหว่างกระบวนออกแบบทีมสถาปนิก Orient Occident Atelier ได้ลงพื้นที่และเข้ามาเก็บข้อมูล จนค้นพบเทคนิคและเอกสารเกี่ยวกับการก่อสร้างที่ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น กระทั่งนำมาสู่แรงบันดาลใจการสร้างหอเก็บน้ำภายใต้รูปเเบบสถาปัตยกรรมโมเดิร์นอย่างที่เห็นขึ้น โดยหมู่บ้านที่เป็นสถานที่ตั้ง ตั้งอยู่ในเขตชานเมืองของพระตะบอง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เคยได้รับความเสียหายจากทุ่นระเบิดในยุคสงครามเขมรแดง วิถีชีวิตชาวบ้านต้องอาศัยน้ำจากทะเลสาบเป็นแหล่งอุปโภคบริโภคหลัก เเต่ก็ไม่ปลอดภัยนัก เพราะแหล่งน้ำที่ว่านี้ปนเปื้อนไปด้วยสารพิษจากโรงงานในพื้นที่ใกล้เคียง เเถมยังต้องเผชิญกับปัญหาภัยเเล้งเเละน้ำท่วมในบางปี เพื่อแก้ปัญาหาการขาดแคลนน้ำอย่างยั่งยืนให้แก่ชาวบ้าน ทีมงานจึงช่วยกันระดมทุนเพื่อสร้างหอเก็บน้ำไว้สำหรับกักเก็บน้ำฝนและจากทะเลสาบใกล้เคียง ซึ่งมีระบบการกรองน้ำที่มีคุณภาพ จนได้น้ำที่ทั้งสะอาดเเละปลอดภัยสำหรับทุกคนในหมู่บ้าน จะว่าไปหอเก็บน้ำนี้เป็นเหมือนฮีโร่พาชาวบ้านทั้งหมู่บ้านผ่านพ้นวิกฤตปัญหาน้ำเเละภัยแล้งที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ไปได้ นี่จึงถือเป็นอีกหนึ่งสถาปัตยกรรมที่ออกแบบมาเพื่อผู้คนอย่างเเท้จริง ออกแบบ : Orient Occident Atelier (http://ooa.design ภาพ : Magic Kwan, Kenrick Wong เรียบเรียง : BRL Adventurous Global School อาคารเรียนที่ใช้ล็อกเกอร์เป็นทั้งผนังและที่เก็บของ
ADVENTUROUS GLOBAL SCHOOL อาคารเรียนที่ใช้ล็อกเกอร์เป็นทั้งผนังและที่เก็บของ
นี่คือ อาคารเรียน ในหมู่บ้านที่พระตะบอง ประเทศกัมพูชา โดย Orient Occident Atelier สำนักงานออกแบบจากฮ่องกงต้องการให้ที่นี่ไม่ได้เป็นเพียงอาคารเรียนแบบเน้นการบรรยายทั่วไป แต่ใช้สำหรับเป็นพื้นที่เรียนรู้ด้านการออกแบบ ก่อสร้าง รวมไปถึงความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งในระหว่างกระบวนการก่อสร้างนั้นเด็ก ๆ จะได้มีส่วนร่วมในการออกแบบพื้นที่ ผ่านการทำกิจกรรมร่วมกับทีมสถาปนิกด้วย อาคารเรียน มีลักษณะสองชั้น ชั้นล่างออกแบบให้เป็นพื้นที่เเบบใต้ถุนสูง ซึ่งเป็นลักษณะบ้านเรือนดั้งเดิมของชาวกัมพูชา โดยประยุกต์เป็นห้องเรียนแบบเปิดโล่งสามารถเชื่อมต่อกับชุมชนและวิวท้องนารอบ ๆ ที่จะใช้เป็นพื้นที่ทำกิจกรรมการเรียนรู้ เอื้อให้เกิดปฏิสัมพันธ์กันระหว่างชาวบ้านให้ได้รับรู้ถึงกิจกรรมต่าง ๆ ของเด็ก ๆ ที่เกิดขึ้นภายในโรงเรียน ทั้งยังสามารถเข้ามามีส่วนร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้นั้น ๆ ได้ตลอดเวลาโดยไม่รู้สึกเคอะเขิน พื้นที่ชั้นสอง ออกแบบเป็นห้องสองฝั่งแบบโอเพ่นสเปซ สามารถใช้งานได้อย่างยืดหยุ่น โดยมีผนังที่เรียกว่า “Griddy” ผนังโครงเหล็กสองชั้นกรุด้วยแผ่นไม้สลับกับแผ่นพอลิคาร์บอเนตทำหน้าที่เป็นทั้งผนังอาคาร ล็อกเกอร์ และชั้นวางของ โครงสร้างอาคารแบบยกสูง นอกจากจะเกิดเป็นพื้นที่ใช้งานแบบใต้ถุนแล้ว ยังช่วยป้องกันเรื่องน้ำท่วม และเป็นการเก็บรักษาภูมิปัญญาดั้งเดิมด้านการอยู่อาศัยไว้ ในส่วนของกระบวนการก่อสร้าง สถาปนิกได้เลือกใช้วิธีการและวัสดุแบบท้องถิ่น อย่างการใช้อิฐและไม้ที่หาได้ง่ายในพื้นที่ ซึ่งเป็นการประหยัดค่าก่อสร้าง ทั้งยังแป็นวัสดุที่ช่างพื้นถิ่นคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ในแง่ของการออกแบบใช้กระบวนการการมีส่วนร่วมแบบ Bottom-up ทำให้อาคารที่ออกมายังสะท้อนถึงบริบทของชุมชน เพราะทีมผู้ออกแบบเชื่อว่าอาคารเรียนที่ดีต้องเกิดจากความร่วมมือของครูผู้สอน เด็กนักเรียน และคนในชุมชนร่วมกับผู้ออกแบบ ถึงจะได้พื้นที่ใช้งานที่ทั้งถูกต้องและถูกใจ […]