outdoor camping
คู่มือเก็บกระเป๋าไปแคมปิ้งสไตล์คนรักสวนและธรรมชาติ
นี่คือคู่มือแคมปิ้งฉบับพึ่งเริ่มต้นสำหรับเหล่าผู้รักการผจญภัยหรือหลงใหลในเสน่ห์ของธรรมชาติที่มีให้เราค้นพบไม่จบสิ้น เพราะการแคมปิ้งเป็นการนําตัวเองกลับไปสู่วิถีชีวิตที่ใกล้เคียงกับชีวิตของชาวป่าหรือมนุษย์เมื่อครั้งอดีต ซึ่งอยู่อาศัยและพึ่งพิงธรรมชาติกันอย่างอ่อนน้อม ขณะเดียวกันก็เหมือนเป็นการหลบหลีกตัวเองจากวิถีชีวิตปกติและเรื่องเครียดในที่ทํางาน เพื่อปลดปล่อยหัวใจให้ไหลไปกับวิวทิวทัศน์และความสวยงามของธรรมชาติที่อยู่รอบตัวแทน เริ่มต้นออกเดินทาง ก้าวแรกของการเดินทางคือการมองไปให้ถึงจุดหมายปลายทาง ปัจจุบันอุทยานแห่งชาติก็เริ่มกลับมาเปิดให้บริการตามปกติ ในบ้านเรามีภูมิประเทศและป่ามากมายที่มีเสน่ห์เฉพาะตัว หากสามารถเดินทางได้มากกว่า2วันขึ้นไปก็เหมาะกับการเดินทางบนเส้นทางธรรมชาติตามป่าเขาในอุทยานแห่งชาติ ซึ่งเส้นทางเดินป่าแต่ละเส้นก็จะมีระดับความยากง่ายและระยะเวลาในการเดินแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับระยะทาง ความห่างไกลชุมชน อุปสรรค และศักยภาพของผู้เดินป่า ควรศึกษาข้อมูลดังกล่าวให้ดีก่อนออกเดินทาง หากมีเวลาไม่มากควรเลือกจุดกางเต็นท์หรืออุทยานแห่งชาติที่มีจุดพักกางเต็นท์ในบริเวณที่รถยนต์สามารถเข้าถึงได้เลยหรือที่เรียกว่าคาร์แคมป์ เพื่อประหยัดเวลาในการเดินทาง ขณะเดียวกันก็สามารถพักผ่อนได้เต็มที่ไม่ต่างจากการกางเต็นท์บนเส้นทางเดินป่าเท่าใดนัก ปัจจุบันสามารถจองการเข้าใช้บริการอุทยานแห่งชาติผ่านแอพพลิเคชั่นQueQ รวมถึงต้องลงทะเบียนเข้า-ออกผ่านแอพพลิเคชั่นไทยชนะทุกครั้ง โดยที่นักท่องเที่ยวไม่จําเป็นต้องโทรศัพท์ไปจองกับอุทยานโดยตรง เพื่อควบคุมจํานวนนักท่องเที่ยวไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19ด้วย เตรียมสัมภาระใส่เป้ เพราะสัมภาระคือภาระของการเดินป่าเช่นกัน สําหรับผู้ที่เพิ่งเดินป่าครั้งแรกควรเตรียมไปเฉพาะสิ่งของที่จําเป็น อย่างอาหาร ยา เครื่องนุ่งห่มอุปกรณ์ค้างแรม รวมทั้งผลิตภัณฑ์ทําความสะอาด อีกทั้งควรเตรียมของใช้ที่เผื่อสําหรับเหตุการณ์ไม่คาดฝันหรือสภาพอากาศที่อาจเปลี่ยนแปลงไปในอนาคตด้วยเช่นกัน เช่น ร่ม เสื้อกันฝน หรือชุดกันหนาว สิ่งสําคัญอีกอย่างที่ไม่ควรหลงลืมคือ เมื่อนําสัมภาระอะไรเข้าป่าไปแล้ว ก็ต้องนําของทุกอย่างรวมทั้งขยะติดกลับมาด้วย โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ทําจากวัสดุย่อยสลายยากอย่างพลาสติกหรือโฟม ควรนําไปในปริมาณที่น้อยที่สุด กระเป๋าสําหรับใส่อุปกรณ์ควรเป็นเป้ที่ทําจากวัสดุแข็งแรงแน่นหนา สะพายได้คล่องตัวและมีน้ําหนักเบา ขนาดที่แนะนําสําหรับการเดินป่าในประเทศไทยที่ใช้บริการลูกหาบช่วยแบกอาหารหรืออุปกรณ์กางเต็นท์ สามารถใช้เป้ขนาดความจุ35-45ลิตรแต่สําหรับผู้ที่ต้องแบกอุปกรณ์เดินป่าชุดเล็กและข้าวของเครื่องใช้ในการดํารงชีพไปเอง ควรเตรียมเป้ขนาด40-55ลิตร ซึ่งเป็นขนาดมาตรฐานที่นักเดินป่าในประเทศไทยนิยมใช้ ส่วนเป้ขนาด50-55ลิตรขึ้นไปจะเหมาะกับผู้ที่เดินป่าระยะไกลเป็นเวลาหลายวันด้วยอุปกรณ์เดินป่าครบชุด รวมถึงเครื่องครัว อาหาร และเสื้อผ้าสําหรับป้องกันความหนาว ที่หลับที่นอน ที่อยู่อาศัยในป่าก็คือเต็นท์ ซึ่งมีให้เลือกใช้หลากหลายรูปแบบตามความต้องการของนักท่องเที่ยวและสถานที่ตั้งแคมป์ ส่วนใหญ่จะแยกเป็นเต็นท์สําหรับผู้เดินป่าแบบแบ็กแพ็คที่มีน้ําหนักเบาเป็นพิเศษและมีขนาดสําหรับ1-2คน […]
แคมป์ปิ้งให้ชิคต้อง CAMP MEATING
“Camp Meating” แคมป์ปิ้งท่ามกลางบรรยากาศเอ้าต์ดอร์สบายๆในช่วงวันว่าง กับบาร์บีคิวปาร์ตี้ที่ได้ลงมือปิ้งย่างเอง