© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
คาเฟ่อินโดนีเซีย Tanatap Wall Garden ร้านอาหารกึ่งคาเฟ่และบาร์ในสวน พร้อมผนังสีขาวที่สร้างสุนทรียะและเอกลักษณ์ในงานออกแบบ สอดรับจินตภาพทางความงามของจังหวัด Central Java ในอินโดนีเซีย คลื่นของผนังสีขาวที่สร้างพื้นผิวอย่างมีสุนทรียะดังเช่นบทกวี คือเอกลักษณ์ของ คาเฟ่อินโดนีเซีย ในโปรเจ็กต์ Tanatap Wall Garden ซึ่งได้รับการจัดวางตำแหน่งให้เกิดความเคลื่อนไหวอ่อนช้อยและเป็นเอกลักษณ์ คดโค้งไปตามพุ่มไม้สีเขียวทำให้เกิดมิติของธรรมชาติ ทั้งยังทำหน้าที่ช่วยแบ่งพื้นที่โซนคาเฟ่ ร้านอาหาร และบาร์ให้เป็นสัดส่วนได้อย่างแยบยล บนพื้นที่ใช้สอยกว่า 2,500 ตารางเมตร ซึ่งมีต้นไม้สีเขียวปลูกเรียงราย ถูกเสริมด้านฟังก์ชันให้กลายเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ที่คลุกเคล้าประโยชน์ใช้สอยทั้งคาเฟ่ ร้านอาหาร และบาร์ในแง่ที่กลมกลืนไปกับธรรมชาติ สะท้อนมาจากคอนเซ็ปต์ที่ขมวดโดย RAD+ar สถาปนิกผู้รับโจทย์ในโปรเจ็กต์ Tanatap Wall Garden ซึ่งเกิดจากการฟื้นฟูพื้นที่จอดรถเก่าใจกลางย่านพาณิชย์ ปรับเปลี่ยนให้กลายเป็นพื้นที่หลากหลายประโยชน์ใช้สอยที่กลมกลืนอย่างเป็นธรรมชาติกับภูมิทัศน์ดั้งเดิม โดยการตั้งต้นจากองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมอย่างง่าย คือ ‘ผนัง’ ที่พัฒนามาจากเส้นตรง 3 เส้น นำมาจัดวางให้แยกออกจากกันอยู่กลางสเปซ ย่อขยายให้เกิดความสูง-ต่ำที่ต่างกัน หมุนอย่างมีลูกเล่นไปตามพุ่มไม้เดิมที่แทรกอยู่เป็นหย่อม ๆ จนมีผลต่อการสร้างฟังก์ชันในการปรับแต่งรูปร่างของสเปซและผสมผสานกันกลายเป็นสวนผนังที่เจาะช่องเปิดให้อากาศถ่ายเท นอกจากนั้น สวนผนังยังทำหน้าที่เป็นพื้นที่ให้ร่มเงาเพื่อลดการใช้พลังงานภายในตัวอาคารที่ตั้งอยู่ในเขตภูมิศาสตร์ร้อนชื้น ขับเน้นให้ร้านอาหารกึ่งบาร์และคาเฟ่แห่งนี้เกิดความสวยงามและฟังก์ชันที่ดำรงไว้ซึ่งความยั่งยืน บริเวณทางเข้ามีสวนสีเขียวต้อนรับและสามารถเดินไปพักผ่อนที่สวนบริเวณด้านหลัง เมื่อลัดเลาะจากสวนด้านหน้าจะมองเห็นเงาสะท้อนของแมกไม้จากบ่อน้ำขนาด 800 ตารางเมตร […]
Bioclimatic Community Mosque of Pamulang มัสยิด ที่ดึงแสงธรรมชาติเข้าสู่พื้นที่ภายในผ่านอิฐบล็อกกว่า 30,000 ก้อน
โปรโตไทป์ขนาดเล็กในการออกแบบ พื้นที่สีเขียว แบบต่างระดับทั้งยกขึ้นและกดลงเพื่อสร้างสเปซของหลังคาเดินได้ ภายใต้โครงสร้างแบบของอัฐจันทร์
โปรเจ็กต์การทดลองจาก RAD + ar กับการตั้งคำถามถึงวิธีที่ดีที่สุดในการสร้างบ้าน ที่จำเป็นต้องหันหน้าเผชิญกับแสงแดดจากทิศตะวันออกและตะวันตก ว่าจะทำอย่างไรให้บ้านออกมาสวยงามน่าอยู่ พร้อม ๆ กับการปกป้องพื้นที่ด้านในจากความร้อนของแสงแดด นำมาสู่การเลือกใช้ “บล็อกแก้ว” มาออกแบบเป็นองค์ประกอบของเปลือกอาคารขนาดใหญ่ จากปัญหาตำแหน่งที่ตั้งซึ่งขวางอยู่ระหว่างทิศตะวันออกกับทิศตะวันตก แน่นอนว่าด้วยสภาพภูมิอากาศของประเทศอินโดนีเซีย ย่อมต้องเจอะเจอกับแสงแดดจัดจ้าและความร้อนตลอดทั้งวัน ไม่อำนวยต่อการเปิดรับแสงธรรมชาติโดยตรงสักเท่าไหร่นัก จึงต้องคิดหาวิธีว่าจะทำอย่างไรให้การออกแบบผนังส่วนหน้าบ้านและหลังบ้าน สามารถป้องกันแสงแดดและลดความร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยคุณสมบัติของ บล็อกแก้ว ที่ช่วยหักเหแสง กันความร้อน กันเสียง และไม่ทำให้บ้านทึบ วัสดุชนิดนี้จึงกลายเป็นคำตอบเพื่อให้บรรลุถึงความยั่งยืน ด้วยการนำบล็อกแก้วมาออกแบบเป็นผนังทั้งส่วนหน้าบ้านและหลังบ้าน สำหรับทำหน้ากันแสงแดดและลดความร้อนให้บ้าน โดยยังยอมให้แสงสว่างส่องลึกเข้าไปยังตัวบ้านด้านในได้ ทั้งนี้พื้นที่ระหว่างเปลือกอาคารบล็อกแก้วกับพื้นที่ใช้งานภายในบ้าน สถาปนิกได้ออกแบบให้มีระเบียงขนาดใหญ่คั่นอยู่ตรงกลางเพื่อใช้พักผ่อน โดยการเว้นสเปซดังกล่าวนี้ เผื่อไว้ในเวลากลางคืนที่ความร้อนจะถูกปล่อยออกมาจากบล็อกแก้ว จึงไม่กระทบกับการอยู่อาศัยมากนัก ขณะเดียวกันห้องต่าง ๆ ที่หันหน้าไปยังหน้าบ้าน ก็จะรับแสงสว่างได้อย่างเพียงพอในช่วงกลางวัน จนแทบไม่ต้องเปิดไฟใด ๆ เลย ขยับเข้ามายังพื้นที่ใช้งานด้านใน ออกแบบให้มีคอร์ตยาร์ดขนาดเล็กอยู่ตรงกลาง โอบล้อมด้วยผนังบล็อกแก้วทั้งสามด้าน สร้างความร่มรื่นด้วยการปลูกไม้ฟอร์มสวยอย่าง ต้นแปรงล้างขวด ซึ่งมีดอกสีแดง และกิ่งก้านห้อยระย้า ช่วยสร้างเส้นสายพลิ้วไหว ตัดกับความดิบกระด้างของวัสดุ และโครงสร้างของบ้านได้อย่างดี โดยที่แสงธรรมชาติจากคอร์ตยอร์ดยังส่องผ่านไปยังผนังบล็อกแก้ว ช่วยให้พื้นที่บ้านชั้นในดูสว่างขึ้นได้อีกทาง นับเป็นการออกแบบบ้านที่ทำความเข้าใจกับสภาพแวดล้อมของที่ตั้งได้อย่างแยบยล […]