คืนสมดุลให้โลกและชีวิตด้วย นวัตกรรมความยั่งยืน

เมื่อแนวทางการตั้งรับเรื่องความยั่งยืน (Sustainability) แบบเดิมอาจไม่เพียงพอแล้ว จึงควรหาทางการแก้ปัญหาเชิงรุกที่เห็นผลเร็วในระยะสั้นทำควบคู่กันไปด้วย นวัตกรรมความยั่งยืน บ้านและสวน จึงชวนมาคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านความยั่งยืน รองศาสตราจารย์ ดร.สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าคณะที่ปรึกษา ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (Research & Innovation for Sustainability Center; RISC) ทั้งยังเป็นสถาปนิก และหัวหน้าศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม ภาควิชานวัตกรรมอาคาร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อให้ทุกคนเห็นแนวทางใหม่ๆที่จะแก้ปัญหาด้านความยั่งยืนด้วย นวัตกรรมความยั่งยืน ในอนาคต ซึ่งมีทั้งเรื่องใหญ่ไกลตัวที่ควรรู้ไว้ และเรื่องเล็กใกล้ตัวที่ทำแล้วได้ทั้งประโยชน์ ประหยัดเงิน และมีความสุขด้วย รู้จักความยั่งยืน (Sustainability) แบบเข้าใจง่ายฉบับอาจารย์สิงห์ “ความยั่งยืน” มีหลายคำนิยามมาก สรุปเป็นใจความง่ายๆ คือ “สิ่งต่างๆที่เราทำนั้นต้องไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือส่งผลกระทบน้อยแบบที่ยังกลับคืนสู่สภาพเดิมได้ และสามารถส่งต่อสู่รุ่นต่อไปในอนาคตได้ ด้วยคุณภาพที่เทียบเท่ากับสิ่งที่เราได้ในปัจจุบัน” เพื่อให้ลูกหลานเรายังดำรงอยู่บนโลกด้วยคุณภาพชีวิตที่ดีต่อๆไป และเราควรสร้างวิถียั่งยืนของตัวเอง ถ้ามองความยั่งยืนในมุมกว้างขึ้นว่าคืออะไร ในอดีตนิยามว่าประกอบด้วย 3 ด้าน คือ สิ่งแวดล้อมดี เศรษฐกิจเติบโตได้  และเป็นสังคมที่ทำให้คนมีความสุข ต่อมามี SDGs 17 […]

กำจัดยุง ด้วยวิธีชีวภาพและเคมีอย่างปลอดภัย

ยุงเป็นต้นเหตุของโรคระบาด รบกวนการอยู่อาศัยและใช้ชีวิตของคนมาอย่างต่อเนื่อง เราไม่อาจ กำจัดยุง ให้หมดสิ้นได้ แต่สามารถควบคุมปริมาณยุงได้ ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน Research & Innovation for Sustainability Center (RISC) ได้ศึกษาวิธีการ กำจัดยุง และควบคุมประชากรยุงในหลายมิติทั้งทางกายภาพ ทางเคมี และทางชีวภาพ เพื่อนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมแต่ละกรณีได้อย่างปลอดภัย เพื่อช่วยสร้างคุณภาพชีวิตการอยู่อาศัยให้มีสุขภาวะที่ดี ยุงต้นเหตุโรคระบาด ยุง หนึ่งในสิ่งมีชีวิตที่เป็นต้นเหตุของโรคระบาดที่มีความรุนแรง โรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะทำให้ประชากรกว่า 1 ล้าน ยุง หนึ่งในสิ่งมีชีวิตที่เป็นต้นเหตุของโรคระบาดที่มีความรุนแรง โรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะทำให้ประชากรกว่า 1 ล้านคนทั่วโลกเสียชีวิตทุกปี เช่น โรคไข้เลือดออก ไข้มาลาเรีย เชื้อไวรัสซิกา โรคติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา และโรคไข้สมองอักเสบ ในประเทศไทยมีจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกและไข้มาลาเรียในหลายปีที่ผ่านมาจำนวนมาก จากข้อมูลงานวิจัยของสำนักระบบาดวิทยา กรมควบคุมโรค พบว่า ในปี 2557- 2561พบผู้ป่วยไข้เลือดอออก ประมาณ 390,848 ราย เสียชีวิต 438 ราย พบผู้เสียชีวิตสูงที่สุดในปี พ.ศ. 2558 ทั้งหมด147 ราย รองลงมาในปีพ.ศ. 2561 ทั้งหมด 115 […]

แต่งบ้านตามจิตวิทยาสี สร้างสุขภาวะที่ดี

ใครๆก็ทราบว่าสีสันมีผลต่ออารมณ์และความรู้สึกของคนเรา อีกทั้งสีสันยังมีผลกับสุขภาพ และพัฒนาการของเด็กด้วย จิตวิทยาสี ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน Research & Innovation for Sustainability Center (RISC) จึงได้ศึกษาการใช้สีที่ส่งผลต่อความรู้สึก พฤติกรรม ระบบการทำงานของร่างกาย ตลอดจนการนำมาใช้กับห้องต่างๆ เพื่อช่วยในการเลือกใช้สีที่สร้างสุขภาวะที่ดี และส่งเสริมสุขภาพ โดยเฉพาะกับพัฒนาการเด็กในแต่ละช่วงวัย เป็นอีกวิธีง่ายๆที่ทำให้เรามีสุขภาพกายดีและมีความสุขขึ้น จิตวิทยาสี มนุษย์รู้สึกเมื่อเกิดการรับรู้ ความรู้สึกของมนุษย์จะเกิดขึ้นหรือไม่ ขึ้นอยู่กับสิ่งเร้า (แสง เสียง กลิ่น รส อุณหภูมิหรือการสัมผัส) และจากกฎของเฟชเนอร์ (Fechner’s law) พบว่า ระดับความเข้มของสิ่งเร้าภายนอกมีผลต่อระดับของการรับรู้ภายในของมนุษย์ โดยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของมนุษย์ มีความสามารถในการรับรู้แตกต่างกัน ดังนี้ การออกแบบบ้านเพื่อสุขภาพจิตที่ดี จึงสามารถสร้างการกระตุ้นได้ทั้งทางตา หู ผิวหนัง และจมูก ให้มีอิทธิพลต่อผู้อยู่อาศัยได้ตามลำดับ และจะเห็นว่าการรับรู้ทางตา มีสัดส่วนที่มากที่สุดเมื่อเทียบกับประสาทสัมผัสต่างๆ ของร่างกาย (ส่วนลิ้น เป็นประสาทรับรู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ) สีมีผลต่อความรู้สึกได้อย่างไร สิ่งที่กระตุ้นการมองเห็นทางตาก็คือแสง โดยตาคนสามารถมองเห็นคลื่นแสงเป็นสีต่างๆ 7 สี […]

Health & Well-being Materials วัสดุสร้างบ้านที่ดีและปลอดภัย

การเลือกใช้วัสดุสร้างบ้านที่ดีและปลอดภัย เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เราอยู่บ้านอย่างมีสุขภาพและสุขภาวะที่ดี ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน Research & Innovation for Sustainability Center (RISC) จึงได้แนะนำหลักเกณฑ์การพิจารณาเลือกใช้วัสดุเพื่อสุขภาวะที่ดีใช้งานได้ยาวนาน ไม่เสียหรือต้องซ่อมบ่อย เป็นบ้านที่อยู่แล้วเย็นสบาย ไม่ลื่นล้ม ไม่รั่วซึม ไม่สะสมฝุ่น ปลอดภัยกับทุกคนในบ้าน ซึ่งจะส่งเสริมให้ผู้อยู่อาศัยในบ้านทุกคนมีความสุข มีสุขภาพและสุขภาวะที่ดีทั้งกายและใจด้วยเช่นกัน มาดูหลักเกณฑ์ในการพิจารณาเลือกใช้วัสดุเพื่อสุขภาวะที่ดี และตัวอย่างคุณสมบัติวัสดุกัน 4 หลักเกณฑ์การพิจารณาเลือกใช้วัสดุเพื่อสุขภาวะที่ดี ( Well-Being Materials ) วัสดุที่มีความยั่งยืน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco- Friendly Materials) ได้แก่ วัสดุที่มีอายุการใช้งานยาวนาน หรือ วัสดุทดแทนวัสดุธรรมชาติ เช่น ไม้เทียม หินเทียม เพื่อลดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ วัสดุที่สามารถลดการใช้พลังงาน (Energy Saving Materials) ได้แก่ หลอดไฟประหยัดพลังงาน  กระจกประหยัดพลังงาน เป็นต้น วัสดุรีไซเคิล และวัสดุ Upcycling (Recycle & Upcycling Materials) […]

ราวกันตกที่ปลอดภัยกับเด็ก ผู้สูงอายุ สัตว์เลี้ยง

ราวกันตกเตี้ย ระยะซี่ห่าง หรือมีขั้นให้ปีนป่ายได้ อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุในบ้านได้ มาดูการออกแบบ ราวกันตกปลอดภัย สำหรับทุกชีวิตในบ้านกัน การพลัดตกจากที่สูง การล้มเสียหลัก เป็นอุบัติเหตุในบ้านที่เกิดขึ้นบ่อยกับเด็กและผู้สูงอายุ ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน Research & Innovation for Sustainability Center (RISC) จึงได้ศึกษาการออกแบบราวกันตกและราวจับ เพื่อลดอุบัติเหตุภายในบ้าน แต่ก่อนที่จะออกแบบราวกันตกให้ปลอดภัยให้กับคนทั้งบ้าน (ครอบครัว) ได้ ต้องมาดูว่าใครในบ้านที่มีความเสี่ยงสูงในการใช้งานราวกันตกกันบ้างราวกันตกปลอดภัย   เด็กในบ้านเสี่ยงพลัดตกมากที่สุด อุบัติเหตุในเด็กสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน สรุปปัจจัยสำคัญได้ดังนี้ สรีระของเด็กและพัฒนาการตามวัย อยู่ในช่วงวัยที่อยากรู้อยากเห็น เด็กจึงชอบสำรวจ สัมผัสจับต้องสิ่งต่างๆ ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ อีกทั้งสภาพร่างกายของเด็กยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ ร่างกายจึงยังไม่สมดุล ความประมาท หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ที่ดูแลเด็ก สิ่งแวดล้อม ทั้งสิ่งแวดล้อมด้านกายภาพ และสิ่งแวดล้อมด้านสังคม เป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุในเด็กได้ (อ้างอิง : สุวรรณา เรืองกาญจนเศรษฐ์, 2551; อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์, 2550; Morrongiello, Ondejko & Littlejohn, […]

ออกแบบบ้านให้สัตว์เลี้ยงรู้สึกสบาย แฮปปี้ ปลอดภัย

RISC ศึกษาการออกแบบบ้านที่เป็นมิตรต่อสัตว์เลี้ยง และแนะนำแนวทางการออกแบบสภาพแวดล้อมภายในบ้านสำหรับ สัตว์เลี้ยงในบ้าน อันตรายหรือโรคภัยต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นต่อสัตว์เลี้ยงจากปัจจัยภายนอก เป็นสิ่งที่ควบคุมได้ยาก เช่น โรคติดต่อ หรือพาหะนำโรคที่มากับธรรมชาติ แต่สภาพแวดล้อมภายในบ้านเป็นเรื่องที่เราสามารถออกแบบได้เอง ซึ่งจะช่วยให้ สัตว์เลี้ยงในบ้าน ปลอดภัย และมีสุขภาพที่ดีได้อย่างแน่นอน ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน Research & Innovation for Sustainability Center (RISC) จึงได้ศึกษาการออกแบบบ้านที่เป็นมิตรต่อสัตว์เลี้ยง และแนะนำแนวทางการออกแบบสภาพแวดล้อมภายในบ้านเพื่อความสบาย ปลอดภัยและห่างไกลโรคของสัตว์เลี้ยง โดยมีหลักเกณฑ์ที่ควรคำนึงถึง ได้แก่ ความรู้สึกสบาย การจัดการพื้นที่ใช้สอยอย่างลงตัวมีคุณภาพ และ การเลือกวัสดุที่เหมาะสมต่อสัตว์เลี้ยง มีรายละเอียดอะไรบ้างมาดูกัน ออกแบบอย่างไรให้น้องๆ รู้สึกสบาย ความสบายของสัตว์เลี้ยงขั้นพื้นฐาน สามารถออกแบบได้ 4 ด้าน คือ 1.ไม่ร้อน-หนาวเกินไป มีอุณหภูมิและความชื้นเหมาะสม เราทุกคนต้องการอยู่อย่างสบาย ไม่รู้สึกร้อนหนาวจนเกินไป สัตว์เลี้ยงของเราก็เช่นกัน ช่วงอุณหภูมิอากาศและความชื้นสัมพัทธ์ที่สัตว์เลี้ยงรู้สึกสบายจะต่างกับเราเพียงเล็กน้อย หากเราสบาย สัตว์เลี้ยงก็สบายด้วย แต่ทั้งนี้เราต้องรู้จักลักษณะพิเศษตามสายพันธุ์ของสัตว์เลี้ยงเป็นอย่างดีด้วย เช่น มีต้นกำเนิดสายพันธุ์จากที่ใด ควรอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบใด ทนความร้อนของอากาศบ้านเราได้ดีมากน้อยเพียงใด ซึ่งต้องใส่ใจไม่ละเลย ไม่ปล่อยให้อยู่ในพื้นที่กลางแดดหรือที่อับอากาศนานจนเกินไป […]

รู้ต้นเหตุบ้านร้อน คุณสมบัติฉนวน และการเลือกที่ไม่ทำลายสุขภาพ

ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน Research & Innovation for Sustainability Center (RISC) ได้ศึกษาสาเหตุที่ความร้อนเข้ามาในบ้าน และคุณสมบัติของฉนวน เพื่อเป็นข้อพิจารณาใน การเลือกฉนวนกันความร้อน ความร้อนเข้ามาในบ้านได้อย่างไร ความร้อนเข้ามาในบ้านด้วยการถ่ายเทความร้อน (Heat Transfer) เป็นการส่งผ่านพลังงานความร้อนซึ่งเกิดขึ้นจากความแตกต่างของอุณหภูมิ ทำให้อากาศที่มีอุณหภูมิสูงจะเดินทางไปหาอากาศที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า (จากร้อนไปเย็น) เพื่อปรับสมดุลของอากาศ เช่น น้ำแข็งกับน้ำในแก้ว ซึ่งน้ำจะมีอุณหภูมิสูงกว่าจึงถ่ายเทความร้อนไปที่น้ำแข็งที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า ทำให้น้ำแข็งละลาย และหยุดถ่ายเทความร้อนเมื่อทั้งสองอย่างมีอุณหภูมิเท่ากัน เช่นเดียวกับดวงอาทิตย์ที่แผ่รังสีความร้อนปะทะกับอาคารซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่าบริเวณโดยรอบ ความร้อนจึงพยายามเข้ามาในอาคารด้วยการเคลื่อนที่ได้ถึง 3 รูปแบบ คือ การนำความร้อน (Conduction) เป็นการส่งถ่ายอุณหภูมิผ่านตัวกลางโดยที่ตัวกลางอยู่กับที่ เช่น การนำความร้อนผ่านผนังบ้าน (ผนังเป็นตัวกลาง) แต่จะร้อนเร็วช้าหรือมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับความแตกต่างของอุณหภูมิ และคุณสมบัติการนำความร้อนของวัสดุ การพาความร้อน (Convection) เป็นการส่งถ่ายอุณหภูมิโดยที่ตัวกลางนั้นเคลื่อนที่ไปกับอุณหภูมิด้วย เช่น ลมเป็นตัวกลางที่พาความร้อนเข้ามาในอาคาร หรือ พาออกไปจากอาคารได้เช่นเดียวกัน การออกแบบอาคารที่ระบายอากาศได้ดี จะสามารถใช้ลมช่วยพาความร้อนออกไปจากอาคารได้รวดเร็ว ทำให้ห้องเย็นสบาย และไม่อับชื้น เห็นได้ชัดในบ้านไทยพื้นถิ่นที่นิยมยกพื้นสูง เพื่อให้ลมพาความร้อนออกจากใต้พื้นบ้าน การแผ่รังสีความร้อน (Radiation) เป็นการถ่ายเทอุณหภูมิที่ไม่ต้องอาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่ […]

การใช้พลังงานสะอาดจากแสงอาทิตย์ สร้างสุขภาวะที่ดี

พลังงานแสงอาทิตย์ กำลังถูกจับตามองเป็นพิเศษเพื่อนำมาผลิตไฟฟ้า ทดแทนค่าไฟฟ้าที่กำลังพุ่งสูงขึ้น และ พลังงานแสงอาทิตย์ ยังช่วยสร้างสุขภาวะที่ดีในการอยู่อาศัยด้วย ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน Research & Innovation for Sustainability Center (RISC) ได้ศึกษาการใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อสร้างสุขภาวะที่ดี และผลิตไฟฟ้าเพื่ออนาคต โดยแนะนำการใช้แสงอาทิตย์ในการออกแบบบ้านและสภาพแวดล้อมให้อยู่สบาย และการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์สำหรับอาคาร รวมถึงเทคโนโลยีทั้งในปัจจุบันและการพัฒนาเซลล์แสงอาทิตย์ในอนาคตด้วย ศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์ของประเทศไทย ก่อนจะนำแสงอาทิตย์มาใช้ในการออกแบบบ้านและสภาพแวดล้อมให้อยู่สบาย และสร้างพลังงานไฟฟ้า มาดูว่าประเทศไทยมีศักยภาพของ พลังงานแสงอาทิตย์ มากน้อยแค่ไหน และแสงอาทิตย์มีประโยชน์อย่างไร แสงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานหลักที่ต้นไม้ใช้ในการสังเคราะห์แสงและการคายน้ำ ก่อให้เกิดพลังงานลม พลังงานคลื่นตามธรรมชาติ อีกทั้งยังส่งผลถึงกระบวนการทำงานของฮอร์โมน ระบบเลือด และอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายของมนุษย์ มีการใช้ประโยชน์จากพลังงานแสงอาทิตย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งการให้แสงสว่าง การให้ความอบอุ่น การทำความร้อน การผลิตน้ำร้อน การอบแห้ง การฆ่าเชื้อโรค การช่วยให้เกิดความเย็นจากการระเหยของน้ำ ทั้งยังเป็นแหล่งของพลังงานหมุนเวียนหรือพลังงานสะอาดที่มีศักยภาพ จากข้อมูลการศึกษารังสีรวมของดวงอาทิตย์รายวันเฉลี่ยต่อปีของพื้นที่ทั่วประเทศมีค่าเท่ากับ 18.2 MJ/m2– day (เมกะจูล/ตารางเมตร-วัน) แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีศักยภาพ พลังงานแสงอาทิตย์ ค่อนข้างสูง จึงมีการส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์จาก พลังงานแสงอาทิตย์ ในการผลิตพลังงานไฟฟ้าเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน ที่มา: กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน […]

ลดความร้อนให้บ้านด้วยวิธีธรรมชาติ

ก่อนจะเข้าหน้าร้อนแบบเต็มตัว มารู้จักวิธีลดความร้อนเข้าบ้านด้วยวิธีธรรมชาติกัน โดย ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน Research & Innovation for Sustainability Center (RISC) ได้ศึกษาวิธีการปรับบ้านให้เย็นสบาย แก้บ้านร้อน อย่างเข้าใจสภาพภูมิอากาศ เพื่อให้เข้าใจที่มาของปัญหาการเกิดความร้อนจนอยู่ในบ้านแล้วรู้สึกไม่สบาย มีวิธี แก้บ้านร้อน โดยนำเสนอ  3 แนวทางปรับให้บ้านเย็นลง และมีการเปรียบเทียบผลกระทบของการทำพื้นที่ดาดแข็งและพื้นที่สีเขียว ทำให้เห็นว่ามีผลกับอุณหภูมิรอบบ้านอย่างไร แต่ก่อนอื่นมาเข้าใจสภาพภูมิอากาศของบ้านเรากัน ประเทศไทยมีอุณหภูมิอากาศร้อนชื้นเกือบตลอดทั้งปี และไม่อยู่ในช่วง “สภาวะน่าสบาย” ประเทศไทยมีอุณหภูมิอากาศตอนกลางวันอยู่ระหว่าง 30-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ 50-70%RH  อุณหภูมิอากาศตอนกลางคืนอยู่ประมาณ 25-30 องศาเซลเซียส ความชื้นในอากาศ 70-90%RH แต่โดยทั่วไปคนเราจะรู้สึกสบาย หรือที่เรียกว่า “สภาวะน่าสบาย” เมื่ออุณหภูมิอากาศอยู่ที่ 22-27 องศาเซลเซียส ความชื้นในอากาศ 20-75%RH ซึ่งสภาพอากาศบ้านเราไม่อยู่ในช่วงดังกล่าว ทำให้รู้สึกไม่สบายตัว แต่หากสามารถปรับสภาพแวดล้อมรอบบ้านด้วยร่มเงา ต้นไม้ และละอองน้ำ ก็จะช่วยให้อุณหภูมิรอบบ้านลดลงได้ และหากอยู่ในทิศที่ลมพัดผ่านเข้าบ้าน ก็จะพัดพาอากาศที่เย็นลงนั้นเข้าบ้าน ช่วยให้รู้สึกเย็นลงได้ ลมประจำถิ่น พัดมาทางทิศไหน […]

การเลือกวัสดุที่ปลอดภัยเพื่อการอยู่อาศัยที่ดี ลดเสี่ยงเกิดโรค

วัสดุก่อสร้างและตกแต่งบ้านก็ทำให้เสี่ยงต่อโรคและอันตรายได้โดยไม่รู้ตัว เพราะภายในวัสดุมีส่วนประกอบที่มองไม่เห็นแฝงอยู่ ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน Research & Innovation for Sustainability Center (RISC) จึงศึกษาข้อมูลประกอบงานวิจัยเพื่อการสร้างสุขภาวะที่ดีในการอยู่อาศัย และแนะนำ 6 วัสดุ เพื่อสุขภาวะที่ดี ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคภูมิแพ้ มะเร็ง สารพิษ และการบาดเจ็บ ซึ่งมีทั้งวัสดุที่ช่วยสร้างคุณภาพอากาศ และวัสดุเพื่อสุขภาพและความปลอดภัยของทุกคนในครอบครัว มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง สีปลอดสาร VOCs ลดเสี่ยงภูมิแพ้ VOCs หรือ Volatile Organic Compounds คือ สารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย สามารถระเหยเป็นไอได้ในอุณหภูมิห้องและความดันปกติ ส่งผลต่อคุณภาพอากาศในบ้านทำให้อากาศเป็นพิษ ซึ่งพบได้ในน้ำยาทำความสะอาด สารฆ่าแมลง สีทาบ้าน กาว ยาแนว ฯลฯ สิ่งเหล่านี้อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ภายในบ้านมีระดับความเข้มข้นของสาร VOCs สูงเกินกว่าค่ามาตรฐาน หากได้รับสารพิษนี้เป็นประจำจะก่อให้เกิดโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ระบบประสาทและภูมิคุ้มกัน หากได้รับสารเป็นระยะเวลานานๆ อาจก่อโรคมะเร็ง อวัยวะภายในถูกทำลาย ในหญิงตั้งครรภ์อาจทำให้เด็กแรกเกิดพิการได้ เพื่อคุณภาพอากาศที่ดีภายในบ้าน จึงควรสังเกตคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ และเลือกใช้วัสดุที่ปราศจาก VOCs หรือมีค่า VOCs […]

RISC X บ้านและสวน ร่วมเผยแพร่ความรู้เพื่อความเป็นอยู่ที่ดี (Well-being)

RISC และ บ้านและสวน ได้จับมือกันเผยแพร่ความรู้เพื่อความเป็นอยู่ที่ดี (Well-being) มาตลอดปี 2564 และในปี 2565 จึงได้สานต่อโครงการ โดยนำองค์ความรู้จาก 10 งานวิจัยและนวัตกรรมของ RISC มาต่อยอดเป็นคอนเทนต์ที่เข้าใจง่าย เพื่อเป็นประโยชน์กับผู้อ่านที่รักบ้าน รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าคณะที่ปรึกษาศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) ระบุว่า ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน โดยบริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ตอกย้ำกลยุทธ์การสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่ทุกชีวิต หรือ ‘For All Well-Being ’ ซึ่งไม่ใช่เพียงแต่ลูกบ้าน แต่รวมถึงสังคมโดยรวม จึงร่วมกับ ‘บ้านและสวน’ ผู้นำคอนเทนต์ด้านการออกแบบและที่อยู่อาศัย นำองค์ความรู้จาก 10 งานวิจัยและนวัตกรรมของ RISC ต่อยอดเป็นคอนเทนต์ที่เข้าใจง่าย เพื่อแบ่งปันองค์ความรู้ และส่งเสริมให้เกิดคุณภาพชีวิตในบ้าน ความเป็นอยู่ที่ดี (Well-being) และสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืนสู่สาธารณชน และให้แฟนคลับของบ้านและสวน ได้ติดตามเดือนละ 1 คอนเทนต์ เริ่มต้นเดือนมกราคม 2565 […]

การปรับบ้านเพื่อสุขภาวะที่ดี ตามหลัก WELL Building Standard

สุขภาวะในการอยู่อาศัยเป็นเรื่องสำคัญมากขึ้น หลังทุกคนเผชิญสถานการณ์โควิด-19 ฝุ่น PM 2.5 และสภาวะโลกร้อน บ้านจึงเป็นจุดเริ่มต้นของสุขภาพที่ดีทั้งด้านร่างกายและจิตใจ แล้วเราจะปรับบ้านเดิมให้มีสุขภาวะที่ดีขึ้นได้อย่างไร คอลัมน์ Home Expert จึงได้พูดคุยกับ ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน Research & Innovation for Sustainability Center (RISC) หน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญด้านนี้ มาดูวิธีปรับบ้านเพื่อสุขภาวะที่ดี และการทำบ้านให้อยู่เย็น เป็นสุขกัน การปรับบ้านเพื่อสุขภาวะที่ดี บ้านที่มี สุขภาวะที่ดี ควรสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการใช้ชีวิต หรือกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมที่ดี รวมถึงไม่เป็นก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพตามมา ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน Research & Innovation for Sustainability Center (RISC) โดย ดร. สฤกกา พงษ์สุวรรณ ผู้อำนวยการฝ่ายบูรณาการงานวิจัยเพื่อการเผยแพร่ ได้ให้ข้อมูลที่รวบรวมจากการศึกษาและวิจัยของ RISC ด้านสุขภาวะในการอยู่อาศัย และนำเกณฑ์ WELL Building Standard ที่สำนักงาน RISC ได้รับรองมาตรฐาน WELL Version […]

เลือกทำเลบ้านผิด เสี่ยงอันตรายจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

การเลือกทำเลบ้านที่ดีและปลอดภัย ควรพิจารณาเรื่อง แนวสายไฟฟ้าแรงสูง ตำแหน่งหม้อแปลงไฟฟ้าที่อยู่ใกล้บ้าน และการเว้นระยะให้ปลอดภัยกับตัวอาคาร ใครจะรู้ว่าสิ่งที่มองไม่เห็นและอยู่ใกล้ตัวอย่าง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จะมีความเสี่ยงต่อสุขภาพ จึงเป็นที่มาการศึกษาผลกระทบของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต่อผลกระทบด้านสุขภาพของ ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน Research & Innovation for Sustainability Center (RISC) ซึ่งนำไปสู่การเลือกทำเล สร้างบ้าน ที่ดีและปลอดภัยสำหรับบ้านยุคปัจจุบัน ซึ่งนอกจากข้อพิจารณาพื้นฐานอย่าง การจราจร อาคารข้างเคียง และสาธารณูปโภคแล้ว ก็ควรพิจารณาเรื่อง แนวสายไฟฟ้าแรงสูง ตำแหน่งหม้อแปลงไฟฟ้าที่อยู่ใกล้บ้านซึ่งมีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และการเว้นระยะให้ปลอดภัยกับตัวอาคาร มาดูกันว่ามีข้อควรระวังอะไรบ้าง ระวัง! ต้องเว้นระยะห่างจากสายไฟฟ้าแรงสูง แน่นอนว่าระบบจำหน่ายไฟฟ้าเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานที่เราต้องการ แต่เราทราบหรือไม่ว่า การเลือกทำเลที่ตั้งและ สร้างบ้าน ควรต้องคำนึงถึงระยะห่างจากสายไฟฟ้าแรงสูงด้วย โดยการไฟฟ้านครหลวงมีการกำหนดมาตรฐานระยะห่างที่ปลอดภัยจากสายไฟฟ้าแรงสูงสำหรับอาคารและสิ่งปลูกสร้าง ไม่ว่าจะเป็นตัวบ้านหรือระเบียงส่วนยื่นไม่น้อยกว่า 3.00 เมตร และระยะห่างที่ปลอดภัยจากสายไฟฟ้าแรงสูงสำหรับตัวบุคคล โดยเฉพาะผู้ที่ปฏิบัติงานที่มีอุปกรณ์หรือเครื่องมือกลทุกชนิด จะต้องอยู่ห่างจากส่วนที่มีไฟฟ้าแรงสูงไม่น้อยกว่า 3.90 เมตร (อ้างอิงขนาดแรงดันไฟฟ้าของสายไฟฟ้าแรงสูง 230,000 โวลต์) ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยเราควรหลีกเลี่ยงการเลือกบ้านหรือทำเลอาคารที่อยู่ใกล้สายไฟฟ้าแรงสูง สายส่งไฟฟ้า หรือหม้อแปลงไฟฟ้าเหล่านี้ มาตรฐานระยะห่างที่ปลอดภัยระหว่างสิ่งปลูกสร้างกันสายไฟฟ้าแรงสูง ระยะห่างระหว่างสายไฟฟ้าแรงสูงกับอาคาร/สิ่งปลูกสร้าง/ป้ายโฆษณา หมายเหตุ : […]

7 แนวทาง WFH ไม่ป่วยจากการอยู่บ้านนานๆ

เมื่อคนเลือก Work From Home กันมากขึ้น แล้วบ้านของเราปลอดภัยจริงๆ แล้วหรือยัง การอยู่บ้านนานๆ ก็อาจทำให้ป่วยด้วยสาเหตุอื่นอย่างไม่รู้ตัวได้ มาดูวิธีทำให้บ้านปลอดภัยต่อสุขภาพทั้งกายและใจกัน

ออกแบบบ้านให้รู้สึกโปร่งสบาย ด้วยหลักวิทยาศาสตร์

ทุกคนอยากทำบ้านให้ ”โล่ง โปร่ง สบาย” แต่จะทำ ความสูงฝ้าเพดาน เท่าไรจึงรู้สึกว่าโปร่งโล่ง คนส่วนใหญ่ใช้ความรู้สึก แต่เรามีคำตอบที่มาจากหลักวิทยาศาสตร์ ซึ่งศึกษาโดย ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน Research & Innovation for Sustainability Center (RISC) หน่วยงานที่ใส่ใจเรื่องสุขภาวะในการอยู่อาศัย ได้พบคำตอบว่า ความสูงฝ้าเพดาน 2.70 เมตร ทำให้รู้สึกไม่อึดอัด และฝ้าเพดานสูง 3.40 เมตร ทำให้รู้สึก โล่ง โปร่ง สบาย มาดูที่มาของคำตอบนี้กัน การรับรู้ของมนุษย์ ก่อนจะเข้าใจว่าทำไมคนเราจึงรู้สึก “โล่ง โปร่ง สบาย” เพื่อมากำหนด ความสูงฝ้าเพดาน ต้องมาทำความเข้าใจก่อนว่า มนุษย์จะเกิดความรู้สึกตามสิ่งเร้า เช่น แสง เสียง กลิ่น รส อุณหภูมิหรือการสัมผัส ถ้าไม่อยู่ใน “เขตการรับรู้” จะไม่เกิดความรู้สึก เขตการรับรู้จึงเป็นเสมือนเส้นแบ่งระหว่างความรู้สึกกับความไม่รู้สึก และจาก “กฎของเฟชเนอร์” (Fechner’s law) […]

บ้านผู้สูงอายุ ควรใช้พื้นไม้ ช่วยป้องกันเจ็บป่วยได้เพราะอะไร

ทำไมผู้สูงอายุจึงชอบอยู่บ้านที่ปูพื้นไม้ และรู้ไหม พื้นไม้ช่วยให้ผู้สูงอายุไม่ป่วยง่าย บ้านผู้สูงอายุ บางคนอาจมีประสบการณ์ตรงที่ตอนวัยรุ่นชอบพื้นกระเบื้อง พื้นหิน เพราะอากาศร้อนจึงชอบพื้นเย็นๆ แต่พออายุมากขึ้นกลับมาชอบพื้นไม้ นอกจากเรื่องสไตล์ส่วนตัวแล้ว ก็เป็นเพราะการรับความรู้สึกร้อน-หนาวของผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดย ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน Research & Innovation for Sustainability Center (RISC) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ใส่ใจเรื่องสุขภาวะในการอยู่อาศัย ได้ศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจังและมีคำตอบมาไขข้อสงสัย เพื่อให้ลูกหลานเตรียมพื้นที่สำหรับผู้สูงอายุได้อย่างเหมาะสม บ้านผู้สูงอายุ ความรู้สึกร้อน-หนาวเกิดจากอะไร ความรู้สึกร้อนหรือหนาวนั้นเกิดจากประสาทสัมผัส โดยภายใต้ผิวหนังของเรามีเซลล์ประสาทหลายชนิด ทำหน้าที่ “รับสิ่งเร้า” และเซลล์ประสาทเหล่านี้ยังแบ่งออกเป็นกิ่งก้านย่อยๆจำนวนมาก เพื่อนำความรู้สึกที่ได้รับไปสู่สมองในการรับสัมผัสทางผิวหนังนั้น เชื่อกันว่าร่างกายมีจุดรับสัมผัสจำนวนมาก โดยมีปลายประสาท 4 ชนิดกระจายอยู่ทั่วไป และแต่ละจุดจะมีหน้าที่รับความรู้สึกเพียงอย่างเดียว ได้แก่ การรับสัมผัสทางผิวหนัง การรับความเจ็บ การรับอุณหภูมิร้อน การรับอุณหภูมิเย็น โดยอุณหภูมิปกติของร่างกายเราอยู่ที่ 36.4 – 37.7 องศาเซลเซียส และเปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิของห้อง พื้นผิว และสภาพแวดล้อม โดยร่างกายจะพยายามรักษาอุณหภูมิภายในไว้ที่แกนร่างกาย แต่ผิวของร่างกายภายนอกจะเปลี่ยนแปลงเพื่อการปรับตัวมากน้อยต่างกันตามช่วงอายุ  บ้านผู้สูงอายุ อุณหภูมิส่งผลกับร่างกายอย่างไร เมื่ออุณหภูมิรอบตัวมีการเปลี่ยนแปลง ร่างกายจะปรับตัวเพื่อรักษาสมดุล และเกิดการตอบสนองในแบบต่างๆกัน […]

5 วิธีปรับ บ้านเพื่อสุขภาพ แก้ปัญหาผู้สูงอายุนอนไม่หลับ

บ้านเพื่อสุขภาพ อาจแก้ปัญหาที่ว่า ทำไมเมื่ออายุมากขึ้น ยิ่งนอนหลับยาก ตื่นง่าย ซึ่งกำลังกลายเป็นปัญหาเพิ่มมากขึ้น

10 จุดอ่อนบ้าน ทำร่างพัง จิตป่วยโดยไม่รู้ตัว

ใครซึมเศร้า เบื่ออาหาร หน้าหมอง แสบตา เวียนหัว โดยไม่รู้สาเหตุ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุและเด็ก ให้ลองสังเกต 10 จุดในบ้านต่อไปนี้ที่อาจเป็นต้นเหตุให้ป่วยแบบเรื้อรัง ซึ่งเป็นข้อมูลดีๆจาก ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน Research & Innovation for Sustainability Center (RISC) ที่ใส่ใจสุขภาวะของการอยู่อาศัย มาสำรวจตัวเองและบ้านไปพร้อมๆกันเลย 1.สีทาบ้าน ทำให้แสบตา แสบจมูก วิงเวียน ถ้าอยู่ในบ้านเฉยๆ ก็รู้สึกแสบตา แสบจมูก วิงเวียน บางทีอาจมีสาเหตุจากสีทาบ้านก็เป็นได้ เพราะส่วนประกอบของสีทาบ้านจะมีค่าสารอินทรีย์ระเหยง่าย (Volatile Organic Compound) หรือ VOCs หากเข้าสู่ร่างกายจะทำให้ระบบภูมิคุ้มบกพร่อง ระบบประสาทถูกทำลาย เกิดอาการวิงเวียนศีรษะหน้ามืด แสบตา หายใจลำบาก และหากได้รับในปริมาณมากอาจทำให้หมดสติ แต่ถ้าสะสมในร่างกายเป็นเวลานานจะทำให้เยื่อหุ้มปอดถูกทำลายในที่สุด wellness การเลือกใช้สีที่ดีต่อสุขภาพ ต้องมีส่วนผสมที่ลดปริมาณสิ่งปนเปื้อนจากวัสดุประสาน (Adhesive) วัสดุยาแนว (Sealant) รองพื้น สี และวัสดุเคลือบผิวภายในอาคารที่มีกลิ่นแรง สร้างความรำคาญ และเป็นผลร้ายต่อสุขอนามัย ควรเลือกใช้วัสดุที่มีการปล่อยสารอินทรีย์ระเหยง่ายต่ำ […]