- Home
- room
room
Mr. New’s Cabin บ้านพักตากอากาศหลังเล็ก บนเนินโล่ง ที่ เชียงใหม่ ดื่มด่ำกับธรรมชาติผ่านการตั้งอยู่ของตัวบ้าน
Mr. New’s Cabin บ้านชั้นเดียวตั้งอยู่ที่อำเภอแม่ริม จังหวัด เชียงใหม่ ออกแบบโดย Housescape Design Lab เป็นบ้านที่ผู้ออกแบบนิยามว่าเป็น “กระท่อม” ของเจ้าของที่เป็นคนกรุงเทพฯ ที่สร้างเป็นบ้านสำหรับพักผ่อนตากอากาศในช่วงเวลาสั้นๆ ซึ่งตั้งใจให้บ้านเชื่อมต่อกับธรรมชาติโดยรอบด้วยการทำช่องเปิดรอบบ้าน และรับวิวน้ำหรือ Lake ที่อยู่หลังบ้าน สร้างด้วยวัสดุเกือบทั้งหมดที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Housescape Design Lab ตั้งคำถามต่อสถาปัตยกรรมผ่านการออกแบบ ข้อความที่สถาปนิกตั้งใจสื่อสารลงไปในบ้านหลังนี้ คือ การออกแบบรูปทรงคล้ายหินจริง แต่สร้างด้วยวัสดุคอนกรีต ครอบเสานอกบ้าน และในบ้านที่ใต้อ่างล้างจาน เป็นการสร้างสิ่งคล้ายธรรมชาติให้เกิดคำถามถึงการมีอยู่ระหว่าง “ของจริง” และ “ของสังเคราะห์” ที่มนุษย์สร้างขึ้นมา ซึ่งปัจจุบันทั้งสองอย่างนั้นผสมกลมกลืนจนกลายเป็นสิ่งเดียวกันไปแล้วในอาคารหลังหนึ่ง เช่น ในอาคารใหญ่อย่างห้างสรรพสินค้า ผนังที่กรุด้วยวัสดุหน้าตาเหมือนกับหินจริง แต่ความจริงแล้วกลับเป็นวัสดุสังเคราะห์ขึ้นมาให้ดูเหมือนกับของจริง แต่ในความรับรู้ของคนที่ใช้งานเข้าใจว่านั่นคือหินจริง เป็นการตั้งคำถามที่เกิดจากความสงสัยของสถาปนิก ที่ออกแบบเป็นรูปทรงเหมือนหิน ให้ความรู้สึกเหมือนกับเป็นวัสดุธรรมชาติอยู่ภายในบ้าน แต่เป็นวัสดุอื่นที่ผ่านการสังเคราะห์ขึ้นมา ซึ่งเมื่อคนมาเห็นก้อนวัตถุนั้น จะเรียกสิ่งนั้นว่าอะไร คราฟต์บ้านด้วยวัสดุและช่างจากท้องถิ่นในบ้านหลังนี้ ผู้ออกแบบได้ทดลองเทคนิคการผลิตที่มากขึ้นจากผลงานก่อนหน้านี้ นอกจากหลังคา และคอนกรีตที่ใช้เป็นวัสดุจากโรงงาน วัสดุอื่นนอกจากสองอย่างนี้ใช้ของที่มีอยู่โดยรอบในรัศมี 10 กิโลเมตรทั้งสิ้น รวมไปถึงรายละเอียดอย่างประตู […]
จาก Soft Power สู่ Craft Power ติดอาวุธให้หัตถศิลป์ไทย ก้าวไกลสู่สากล กับ 𝐬𝐚𝐜𝐢𝐭 สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน)
สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ 𝐬𝐚𝐜𝐢𝐭 จัดงาน 𝐬𝐚𝐜𝐢𝐭 𝐂𝐫𝐚𝐟𝐭 𝐏𝐨𝐰𝐞𝐫 อัพเดตแนวโน้มหัตถกรรมร่วมสมัย เสริมแกร่งสินค้าศิลปหัตถกรรมไทย สู่เวทีตลาดโลก สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ sacit หนุนนโยบาย Soft Power ติวเข้มผู้ผลิตสินค้าศิลปหัตถกรรมไทยปรับตัวรับแนวโน้มหัตถกรรมร่วมสมัยของโลก ผ่านการจัดงาน “sacit Craft Power : แนวโน้มหัตถกรรมร่วมสมัย” ตั้งเป้าเจาะลึกแนวโน้มหัตถกรรมร่วมสมัยในอนาคต เพื่อปรับปรุงสินค้าศิลปหัตถกรรมไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน และเป็นที่ต้องการของคนรุ่นใหม่ เผย ปี 66 สร้างรายได้เข้าประเทศกว่า 3.4 แสนล้านบาท นางสาวนฤดี ภู่รัตนรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรม รักษาการแทน ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ sacit กล่าวว่า ที่ผ่านมาสินค้าศิลปหัตถกรรมไทยเป็นหนึ่งในสินค้า Soft Power ที่สร้างรายได้ให้กับประเทศชาติและชุมชนอย่างมหาศาล ซึ่งจากการส่งเสริมสินค้าศิลปหัตถกรรมไทยมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ในปี 2566 ยอดการส่งออกสินค้าศิลปหัตถกรรมไทยมีมูลค่าสูงถึง 340,820 ล้านบาท ซึ่งสินค้าที่ส่งออกมากที่สุด 5 […]
“บ้านนอนเล่น HOSTEL” หนึ่งในผลงาน เพิ่มมูลค่าอสังหาฯ โดยวิทยากรของเรา คุณคิริน ชัยชนะ Founder & Design Director Kirin Design & Living ที่จะมาร่วมพูดคุยกันในวันเสาร์นี้
บ้านนอนเล่น Hostel มากับคอนเซปต์ Newyork Industrial loft with color ที่เปลี่ยนอาคารพาณิชย์ 3 คูหาของครอบครัวที่ไม่ได้ใช้งานในย่านสาทร 11 ให้กลายเป็นพื้นที่ธุรกิจที่สามารถทำเงินได้อย่างโฮสเทล ซึ่งโครงสร้างเหล็กจากผู้รับเหมาก่อนหน้าได้ทิ้งเอาไว้ ทำให้ต้องมีการคิดโจทย์เพิ่มเติมเพื่อสร้างให้ปลายทางของงานออกแบบ สมบูรณ์ และลงตัว ในแบบ Industrial loft ดังที่เห็น ลงทะเบียน : https://cooll.ink/Home_Investment_BS/ “บ้านนอนเล่น HOSTEL” หนึ่งในผลงาน เพิ่มมูลค่าอสังหาฯ โดยวิทยากรของเรา คุณคิริน ชัยชนะ Founder & Design Director Kirin Design & Living ที่จะมาร่วมพูดคุยกันในวันเสาร์นี้ กับงาน 𝐃𝐞𝐬𝐢𝐠𝐧 𝐓𝐚𝐥𝐤 By บ้านและสวน & room เพิ่มมูลค่า บ้าน “พัง” ให้ “ปัง” ด้วยงานดีไซน์ วันเสาร์ที่ 30 […]
MITBURY THE PUBLIC HOUSE คาเฟ่ใต้ร่มไม้ใหญ่ ร่มรื่นส่วนตัวหลังกำแพงช่องลม
Mitbury The Public House คาเฟ่บรรยากาศร่วมสมัยท่ามกลางแมกไม้ในพื้นที่ระหว่างถนนสายแม่ริม-สะเมิงและลำน้ำแม่สา ที่ตั้งใจให้อาคารมีขนาดเล็กที่สุดเท่าที่จำเป็น และเปิดรับพื้นที่ภายนอกอาคารใต้ร่มไม้ให้มากที่สุด DESIGNER DIRECTORYออกแบบ : WOS Architects และ Estudioออกแบบสวน: ชินมิษ บุนนาค, อภิสรา ฉวีวงษ์ และสวนนงนุช #สถาปัตยกรรมที่เชื่อมโยงสู่ธรรมชาติทั้งเชื่อมโยงสู่ธรรมชาติ แต่ก็เป็นขอบกั้นพื้นที่การใช้งานไปพร้อมกัน สถาปัตยกรรม และอาคารในโครงการนี้ ออกแบบโดยคำนึงถึงประสบการณ์ของพื้นที่ซึ่งมีลักษณะเป็นลำหุบและมีต้นไม้ใหญ่โอบล้อมเป็นสำคัญ “จากโจทย์และลักษณะเฉพาะของพื้นที่ แทนที่จะสร้างอาคารอยู่ริมน้ำ ผู้ออกแบบเลือกที่จะวางตัวอาคารทั้งหมดมาอยู่ชิดแนวเนินดินริมถนน เว้นที่ว่างหลบต้นไม้เดิม พรางตัวอาคารด้วยแนวผนังอิฐบล็อกช่องลม โดยตั้งใจให้ตัวสถาปัตยกรรมทำหน้าที่เสมือนแนวขอบเขต และทางผ่าน (Threshold) ไปสู่ธรรมชาติ เมื่อมองมาจากบนถนนที่อยู่ระดับสูงกว่าอาคาร จะเห็นสะพานทางเข้าอยู่ใต้ต้นก้ามปูขนาดใหญ่ นำคนเดินข้ามตัวอาคารไปสู่วิวของป่าและลำน้ำ ที่ปลายสะพานเป็นบันไดทอดยาวลงไปสู่สวนที่ถูกซ่อนไว้ด้านล่าง ซึ่งเปรียบเสมือนห้องโถงใหญ่ของโครงการ ที่สวนด้านล่างนี้จะห้อมล้อมไปด้วย ลำธาร โขดหิน เนินดิน ต้นไม้ใหญ่ และผนังบล็อกช่องลมที่ช่วยอำพรางห้องน้ำ ห้องครัว และส่วนเซอร์วิสไว้ด้านหลัง โดยมีตัวร้านเล็ก ๆ ยื่นออกมาจากแนวผนังให้ผู้มาเยื่อนได้เข้าไปสังอาหารแล้วออกมานั่งทานในสวน” #กลมกลืนกับบริบทด้วยอาคารที่ถูกแบ่ง และวัสดุสีเอิร์ธโทนเพื่อให้สถาปัตยกรรมไม่ข่มบรรยากาศจนเกินไป การออกแบบให้เป็นอาคารขนาดเล็กหลายหลัง รวมทั้งการเลือกวัสดุอาคารที่มีโทนสีกลมกลืนไปกับพื้นที่โดยรอบ เป็นอีกเทคนิคหนึ่งที่ทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกร่วมไปกับบรรยากาศธรรมชาติได้มากขึ้น “ตัวอาคารในโครงการแบ่งเป็นอาคารชั้นเดียวขนาดเล็ก […]
อาคารชีวานามัย ออกแบบอาคารจัดการขยะอย่างไร? ให้เป็นมิตรต่อบริบทเมือง
อาคารจัดการขยะ? เป็นมิตรต่อพื้นที่โดยรอบได้จริงหรือ? นี่คือตัวอย่างการออกแบบอาคารจัดการขยะที่เป็นมิตรต่อหน่วยงานโดยรอบ ทั้งยังมีความโดดเด่นในแง่ของรูปลักษณ์ที่สดใส และมีต้นไม้ช่วยปรับทัศนียภาพ รวมทั้ง การออกแบบให้จัดการขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เกิดกลิ่นรบกวนออกไป และทำให้ขยะแห้งไวขึ้น ซึ่งหมายถึงการจัดการขยะที่ง่ายขึ้น กับ “อาคารชีวานามัย” โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย Waste Management Building, King Chulalongkorn Memorial Hospital, Bangkok โดย ARCHITECTS 49 LIMITED โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มีขยะที่เกิดขึ้นและต้องจัดการในปริมาณที่มากถึง 16 ตันต่อวัน และมีปริมาณถังขยะหมุนเวียนมาทำความสะอาด ตากถังขยะ และส่งออกไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ของโรงพยาบาลมากถึง 600 ถังต่อวัน รวมทั้งมีการปฏิบัติงานภายในอาคารตลอด 24 ชั่วโมง และเนื่องจากพื้นที่อาคารจัดการขยะเดิม มีพื้นที่ไม่เพียงพอต่อการจัดการ จึงมีความต้องการจัดสรรพื้นที่ และอาคารหลังใหม่ที่มีการออกแบบให้จัดการขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบไปด้วยพื้นที่จัดการขยะทั่วไป ขยะติดเชื้อ ขยะพิษ ขยะรีไซเคิล มีพื้นที่สำนักงาน พื้นที่พักผ่อน สำหรับเจ้าหน้าที่ พื้นที่เก็บพัสดุของหน่วยงานต่าง ๆ ของโรงพยาบาล […]
สัมผัส “ความงามที่ผสานอย่างลงตัว” PANASONIC INITIO สวิตช์และเต้ารับดีไซน์โมเดิร์น สวย เรียบ เข้ากับบ้านหลายสไตล์
ในอาคารหลังใหญ่ที่มีองค์ประกอบมากมาย ทุกองค์ประกอบล้วนถูกบรรจงคัดสรรมาอย่างดี ทั้งสี รูปทรง องศา แต่ส่วนประกอบสำคัญที่ช่วยเติมเต็มความงามของการตกแต่ง ให้ถูกใจหมดจดทุกรายละเอียดอาจเป็นเพียง Element เล็กๆ อย่าง ‘สวิตช์ไฟ’ ที่มีดีไซน์เข้ากับทุกพื้นที่ได้กลมกลืนและรองรับทุกฟังก์ชันการใช้งาน ตาม room มาชมสวิตช์ไฟซีรีส์ PANASONIC INITIO สวิตช์และเต้ารับที่มาพร้อมดีไซน์เรียบหรู ทันสมัย ตอบรับกับเทรนด์การตกแต่งบ้าน ฟังก์ชันครบครัน เข้ากับทุกไลฟ์สไตล์ เติมเต็มทุกพื้นที่ภายใต้คอนเซปต์ “ความงามที่ผสานอย่างลงตัว” ในบทความนี้กัน
“ที่ว่างอาคาร” และ “ระยะร่น” เรื่องควรรู้ก่อนสร้างบ้าน
ไม่ว่าจะเป็นบ้านในเขตเมือง หรือบ้านต่างจังหวัด ก่อนสร้างบ้านเราต้องปฏิบัติตามข้อกฎหมายอย่างครบถ้วน โดยเฉพาะข้อกฎหมายที่ว่าด้วยเรื่องระยะร่น และที่ว่างอาคารที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นระยะห่างจากบ้านของเพื่อนบ้าน ระยะร่นจากถนน และแหล่งน้ำธรรมชาติ เพื่อการอยู่อาศัยที่ดี การสร้างอาคารให้มีระยะร่น หรือที่ว่างระหว่างอาคาร จะช่วยให้อากาศและลมถ่ายเทได้สะดวก สร้างสุขอนามัยที่ดี ทั้งยังง่ายต่อการซ่อมแซมตัวบ้าน ไปจนถึงการต่อเติมอาคาร โดยไม่ไปรบกวนเพื่อนบ้านและมีความเป็นส่วนตัว ที่สำคัญยังช่วยป้องกันเหตุอันไม่คาดฝันได้หลายเหตุการณ์ อาทิ เหตุอัคคีภัย คลื่นเซาะแนวตลิ่ง ฯลฯ ส่วนจะมีข้อมูลอะไรบ้างที่เราต้องคำนึงถึงนั้น room มีข้อมูลมาฝากดังนี้ สำหรับการสร้างที่อยู่อาศัย ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 อาคารอยู่อาศัยและอาคารอยู่อาศัยรวมต้องมีที่ว่างไม่น้อยกว่า 30% และบ้านสามารถใช้พื้นที่ 70 % ของผืนที่ดินทั้งหมด ในลักษณะใดก็ได้ ระยะห่างที่เหมาะสมภาพบน – ช่องเปิดต้องอยู่ห่างจากเขตที่ดินอย่างน้อย 2 เมตร และสำหรับบ้าน 3 ชั้น หรือสูง 9 เมตร ขึ้นไป ต้องห่างจากเขตที่ดินอย่างน้อย 3 เมตรภาพล่าง – สามารถสร้างบ้านชิดที่ดินได้ไม่เกิน 50 เซนติเมตร ถ้าชิดกว่านั้นต้องมีหนังสือยินยอมจากเพื่อนบ้าน […]
North รีโนเวทบ้านเป็นร้านอาหาร ล้านนาในประสบการณ์ใหม่
North Restaurant นำเสนอประสบการณ์แห่งรสสัมผัสใหม่ของอาหารล้านนา ณ เรือนไม้สีเขียวสไตล์โคโลเนียลใจกลางสุขุมวิท DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Bangkok Day Group บ้านไม้อายุเกือบศตวรรษของ หม่อมหลวงนวม สนิทวงศ์ ได้รับการปรับปรุง-ต่อเติมใหม่ให้กลายเป็นร้านอาหารสองชั้นขนาด 80 ที่นั่ง เพื่อบอกเล่าความงดงาม และรุ่งเรืองของมรดกวัฒนธรรมล้านนาในแบบร่วมสมัย พร้อมตอบโจทย์การสร้างประสบการณ์ใหม่สำหรับไฟน์ไดนิ่งอาหารเหนือแห่งแรกของกรุงเทพฯ ที่รับรองว่าไม่เหมือนใครด้วยสูตรพิเศษจากเชฟชุมพล แจ้งไพร เชฟคนดังผู้ขึ้นชื่อเรื่องอาหารไทย บ้านไม้อายุกว่า 80 ปีหลังนี้ยืดหยัดผ่านร้อนหนาวมาหลายยุคสมัย และก่อนหน้าที่คุณปิยพัทธ์ อรรถวิภัชน์ และครอบครัว จะตั้งใจเข้ามาสร้างความหมายใหม่ให้กับบ้านหลังนี้ในฐานะเจ้าของร้าน North ที่นี่ก็เคยเป็นร้านอาหารมาก่อน การปรับปรุงต่อเติมจึงตั้งอยู่บนโจทย์ของการสร้างสรรค์บรรยากาศแบบล้านนาร่วมสมัย ในขณะเดียวกันก็ให้ความเคารพต่อตัวบ้านดั้งเดิม ด้วยการปรุงแต่งหรือปรับเปลี่ยนให้น้อยที่สุด ผู้ออกแบบจึงรื้อถอนส่วนต่อเติมเก่าออกทั้งหมด เผยให้เห็นสนามกว้างด้านหน้า ช่วยขับเน้นความสง่างามของบ้านให้ชัดเจนยิ่งขึ้น พร้อมออกแบบโครงสร้างผนังกระจกชั้นล่างให้สอดประสานไปกับตัวบ้าน สร้างภาพลักษณ์ที่สะดุดตา และประสบการณ์การเข้าถึงที่น่าสนใจ นอกจากนี้ ยังต่อเติมบริเวณพื้นที่ห้องอาหารด้านหลังให้เป็นดับเบิ้ลสเปซสูงโปร่งสอดคล้องไปกับตัวบ้านเดิม ส่วนชั้นบนเป็นพื้นที่ห้องอาหารส่วนตัว เพื่อรองรับหลากหลายฟังก์ชั่นในการให้บริการ บรรยากาศภายในโปร่งสบาย สอดแทรกกลิ่นอายล้านนาผ่านองค์ประกอบทางวัฒนธรรมที่นำมาตีความใหม่ให้เกิดเซอร์ไพร์ส์ในหลายๆ จุด อาทิ โคมยี่เป็ง ร่มบ่อสร้าง ผ้าซิ่น แหย่ง ขนมจอก ฯลฯ กลายเป็นรายละเอียดการตกแต่งที่ละเมียดละไม เสริมด้วยความโดดเด่นของงานศิลปะหลากหลายรูปแบบทั้งภาพวาด […]
ค้นหาแรงบันดาลใจใหม่จากลามิเนตลายธรรมชาติ เพื่อพื้นที่อยู่อาศัยในบ้านคุณ
หากคุณกำลังหาแรงบันดาลใจในการออกแบบที่อยู่อาศัย การเลือก “ลามิเนต” เป็นอีกหนึ่งวัสดุตกแต่งที่ควรบรรจุลงในรายการ เพราะไม่เพียงแต่จะเหมาะสมและใช้ได้กับห้องทุกห้องแล้ว ยังเหมาะกับการใช้ตกแต่งเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโต๊ะ เก้าอี้ ชั้นเก็บของ หัวเตียง หรือเพดานห้อง ฯลฯ และไม่ว่าคุณกำลังมองหาวัสดุแบบใด ลามิเนตคุณภาพสูงจาก “Lamitak” ย่อมเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่จะขาดไปไม่ได้ คอลเลคชั่นใหม่ “Intervention” มาพร้อมกับหลากหลายลวดลายและดีไซน์ใหม่ ไม่ว่าจะเป็นลวดลายหินธรรมชาติ ลายไม้เสมือนจริง และสีพื้นอันเต็มอิ่มสวยงาม ทั้งหมดนี้ก้าวล้ำด้วยเทคโนโลยีการผลิตแบบเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วยทั้งหมดมากกว่า 55 ดีไซน์ใหม่ ที่ผสมผสานกันได้มากกว่า 423 รูปแบบของลามิเนต ความพิเศษของคอลเลคชั่น “Intervention” คือการนำพาแบรนด์ไปสู่ความเป็นผลิตภัณฑ์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยทุกๆ ดีไซน์ของแผ่นลามิเนตนั้นจะถูกผลิตจากวัสดุรีไซเคิล การันตีด้วยตรารับรอง Singapore Green Label ที่บอกถึงการได้รับมาตรฐานจากโปรแกรม Green Mark ภายใต้หน่วยงาน Singapore Building Construction Authority อันเป็นที่ยอมรับ นอกจากนั้น ตัวผลิตภัณฑ์ยังได้รับการยอมรับในระดับสากลภายใต้ตรา GREENGUARD และ GREENGUARD Gold สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ปล่อยสารพิษต่ำในขั้นตอนการผลิต และช่วยลดมลภาวะให้กับพื้นที่ในบ้าน […]
BOWCAKE ร้านเค้ก ธุรกิจป็อปอัพสโตร์ ไซส์ XS
Bowcake แฟรนไชส์เค้กชื่อดังกว่า 25 ปี ต้องการรีแบรนด์จึงได้มีการออกแบบช็อปป็อปอัพใหม่ สีชมพู ขนาดพื้นที่จำกัดเพียง 4 x 2 ตารางเมตร
COLLECTIVE by Cloud 11 เทศกาลศิลปะวัฒนธรรม ตึกเก่าร่วมสมัย งานศิลป์ เวทีใหม่ของนักสร้างสรรค์ ณ South Sukhumvit
COLLECTIVE by Cloud 11 ครีเอเตอร์เฟสติวัล ครั้งแรก! ที่รวมงานนิทรรศการ ดนตรี ทอล์ค และเหล่าครีเอเตอร์กว่า 50 ชีวิต ลงทะเบียนเข้าชมงาน: https://bit.ly/COLLECTIVE2023 COLLECTIVE by Cloud 11 งานครีเอเตอร์เฟสติวัลครั้งแรกในประเทศไทยที่จัดขึ้นโดย Cloud 11 ฮับของคอนเทนต์ครีเอเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย โดยมีเป้าหมายให้เป็นงานที่รวบรวมกลุ่มครีเอเตอร์ที่ต้องการสร้างสรรค์ผลงานและคอนเทนต์รูปแบบใหม่ๆ จากการการดำเนินงานร่วมกัน (Synergy) ความร่วมมือ (Collaboration) และการแบ่งปัน (Sharing) ทักษะ ความรู้ และความสามารถเฉพาะตัวของครีเอเตอร์แต่ละด้าน ไม่ว่าจะเป็นศิลปะ การออกแบบ วัฒนธรรม ความคิด นวัตกรรม ร่วมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ก่อให้เกิดผลงานสร้างสรรค์อันน่าทึ่งเผยแพร่สู่สาธารณชน เพื่อตอกย้ำให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของ Cloud 11 ที่มีแนวคิด “Empowering Creators” ติดปีกคอนเทนต์ครีเอเตอร์ ผ่านความตั้งใจที่จะเป็นฮับของคอนเทนต์ครีเอเตอร์ที่มีระบบนิเวศการสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่ครบถ้วน และเปิดเวทีแสดงออกให้เหล่านักสร้างสรรค์และคนรุ่นใหม่ได้จุดประกายแรงบันดาลใจ สนับสนุนการทำงานข้ามอุตสาหกรรม และสะท้อนศิลปะวัฒนธรรมของครีเอเตอร์ไทยผ่านงานนี้ ภาพ และเรียบเรียง: Wuthikorn Sut
ร่วมรู้จัก World Architecture Festival (WAF) เตรียมความพร้อมก่อนมุ่งหน้าสู่ปี 2024
Road Show เทศกาลงานสถาปัตยกรรมระดับโลก โดยสถาปนิก เพื่อสถาปนิก ครั้งแรกในประเทศไทย หากจะมีเทศกาลงานใดสักงานที่จะจัดขึ้นเพื่อปลุกพลังความสร้างสรรค์ของสถาปนิกได้จากเบื้องลึก “World Architecture Festival” หรือที่รู้จักกันในนาม “WAF” ย่อมเป็นหนึ่งในงานอันดับแรกสุด เพราะเป็นเทศกาลที่รวมประเด็นและกิจกรรมเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมได้อย่างกว้างขวางที่สุด ครบครันและเข้มข้นที่สุด ด้วยจุดมุ่งหมายเพื่อให้เป็นงานที่เพื่อนร่วมวิชาชีพจากทั่วโลกมาพบปะกันได้มากที่สุด เพื่อยกระดับวิชาชีพและการทำงานให้กว้างไกลไปสู่ระดับสากล งาน World Architecture Festival (WAF) จัดขึ้นครั้งแรก 15 ปีที่แล้วในปี 2008 โดยออกแบบให้งานในแต่ละปีเป็นเวทีที่เวียนเรื่อยไปในแต่ละประเทศ เพื่อเข้าหาและเชื่อมโยงสถาปนิกจากมุมโลกต่าง ๆ โดยความเปิดกว้างและทรงเกียรติของ WAF เปรียบได้กับรางวัล Academy Awards หรือ Oscar ในโลกของสถาปัตยกรรมที่การแข่งขันและเชิดชูเกียรติบนเวทีของ WAF จะเป็นแรงบันดาลใจและสร้างพลังให้สถาปนิกทุกคนได้สร้างผลงานอันเป็นที่ประจักษ์ต่อเพื่อนร่วมวิชาชีพบนเวทีโลก โดย WAF มี โกรเฮ่ (GROHE) หนึ่งในพาวเวอร์แบรนด์ของลิกซิล ซึ่งเป็นแบรนด์ชั้นนำระดับโลกที่นำเสนอโซลูชันสำหรับห้องน้ำและอุปกรณ์ฟิตติ้งสำหรับห้องครัวอย่างครบครันเป็นพันธมิตรผู้ร่วมก่อตั้ง (Founder Partner) ทั้งคู่มีจุดมุ่งหมายร่วมกันคือเชื่อมโยงชุมชนนักออกแบบทั่วทุกภูมิภาคเข้าหากัน และยกระดับอุตสาหกรรมการออกแบบให้กว้างขวางและเป็นสากลมากขึ้น สำหรับ WAF ปี 2023 ที่กำลังจะเกิดขึ้นในวันที่ […]