room
คุยกับ ตื่น ดีไซน์ สตูดิโอ ถึงการออกแบบที่เน้นเสริมคุณค่าด้วยการทำความเข้าใจใน “ความหมาย”
แน่นอนว่าบริบทนั้นจะส่งเสริมคุณค่าให้กับงานสถาปัตยกรรม แต่การจะได้มาซึ่งคุณค่านั้นอาจไม่ใช่การทำภายในระยะเวลาอันสั้นหรือการทำอย่างฉาบฉวย การออกแบบที่เน้นเสริมคุณค่าด้วยการลงลึกไปในความหมายด้วยการค่อยๆทำความเข้าใจจึงเป็นเรื่องสำคัญ จากความโกลาหลในกรุงเทพมหานคร กลิ่นอายทะเลเริ่มแทนที่หมอก PM2.5 ในอากาศ ตามเส้นทางยาวไกลที่มุ่งหน้าสู่จังหวัดปลายสุดของภาคตะวันออกด้วยระยะทางที่ไกลกว่า 300 กิโลเมตร จากกรุงเทพฯ - จังหวัดตราด เมืองซึ่งยังไม่ถูกจัดว่าวุ่นวาย ทว่าเต็มไปด้วยประวัติศาสตร์ที่ยาวนานพอ ๆ กับเมืองหลวง ในปี พ.ศ. 2514 ตราดได้กำเนิดร้านบะหมี่เกี๊ยวร้านแรก และยังคงเปิดขายยาวนานมาจนถึงปัจจุบัน “เขาเป็นบะหมี่เจ้าแรกของตราด คุณพ่อเข้ามาค้าขายเมื่อ 50 ปีที่แล้ว กระทั่งถึงรุ่นลูกเขาอยากจะปรับลุคร้านใหม่ให้ทันสมัยขึ้น” คุณภัทราวุธ จันทรังษี เริ่มเล่าถึงที่มาที่ไปของงานออกแบบปรับปรุงร้านบะหมี่เก่าแก่ ในนาม บริษัท ตื่น ดีไซน์ สตูดิโอ ให้เราฟัง “แทนที่เราจะเปลี่ยนลุคใหม่ให้ดูใหม่ไปเลย เราคุยกับเจ้าของว่า น่าจะลองใช้ของเดิมนี่แหละมาปรับให้ดูน่าสนใจขึ้น เราพูดกันว่า เราน่าจะ ‘ปลุกตำนาน’ ร้านเกี๊ยวหนองบัวกลับมา โดยมีโจทย์ว่าจะทำอย่างไรให้สามารถดึงคนอายุ 50 ปีขึ้นไป ที่เป็นลูกค้าเก่าแก่กลับมาอุดหนุนพร้อม ๆ กับคนรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทายมาก เพราะกลายเป็นเหมือนเราทำสัญญาใจกันว่าเราจะไม่ได้ออกแบบแค่ตึกสวย ๆ แต่เราจะต้องทำให้เขาขายดีขึ้น ๆ ต่อไปด้วย “ทำอย่างไรให้ร้านอยู่ได้อีก 50 ปี มันคงไม่ใช่ดีไซน์ที่หวือหวาหรือแฟชั่นจี๊ดจ๊าด แต่ต้องดูถ่อมตัวมากพอ แต่อะไรล่ะคือตรงกลาง” โดยพื้นฐานทั่วไป งานออกแบบที่ดีนั้นอาจถูกวัดได้จากความสำเร็จไม่กี่ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านภาพลักษณ์หรือฟังก์ชันการใช้งานที่ตอบสนองความต้องการ อย่างไรก็ตาม การทำงานของตื่น ดีไซน์ สตูดิโอนั้น พวกเขากล่าวว่า ในทุก ๆ งานพยายามมุ่งความสนใจไปสู่ประเด็นที่ลึกซึ้งกว่านั้น ด้วยความเชื่อร่วมกันว่า งานออกแบบควรเป็นสิ่งที่มากกว่าแค่ฟังก์ชันหรือสินค้า แต่เป็นสิ่งที่สามารถเข้าถึงจิตใจผู้คน มีความหมาย และมีคุณค่าอันนำมาซึ่งความสุขต่อผู้ใช้ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ ร้านเกี๊ยวหนองบัว งานออกแบบปรับปรุงร้านบะหมี่เกี๊ยวและของฝากในตึกแถว 3 คูหาใกล้กับตลาดโต้รุ่งไร่รั้งในตัวเมืองตราดก็เป็นหนึ่งในนั้น พวกเขาได้พยายามสร้างคุณค่าที่ดีที่สุดให้กับงาน เพื่อความสมบูรณ์ของการใช้งานในระยะยาว หากจะทำเช่นนั้นได้ พวกเขาจำเป็นจะต้องเข้าใจสิ่งที่ทำ เข้าใจบริบทแวดล้อม และเข้าใจผู้ใช้งานให้มากที่สุดก่อนเท่าที่จะเป็นไปได้ “ถ้าเปรียบเทียบกับ ขั้นตอนการออกแบบปกติ เมื่อได้โจทย์จากลูกค้ามา ดีไซเนอร์ก็จะลงไปดีไซน์ แล้ว ใช้วิธี ‘Try and Error’ คือ ดีไซน์ไปให้ลูกค้าดูว่าถูกใจ หรือไม่ ชอบไม่ชอบอะไร ทำอย่างนี้กลับไปกลับมา จนกว่าจะพอใจร้อยเปอร์เซ็นต์ แล้วจึงค่อยเขียนแบบก่อสร้าง” คุณภคชาติ เตชะอำนวย- วิทย์ อีกหนึ่งสถาปนิกใน ทีมกล่าว “แต่การทำงานของเรา จะมีการรีเสิร์ชก่อนที่เราจะเริ่มดีไซน์จริง ๆ อาจจะใช้เวลามากน้อยต่างกันไปแล้วแต่ โปรเจ็กต์ อาจเดือนหนึ่งหรือสองเดือน เพื่อ ทำความเข้าใจโจทย์ร่วมกันระหว่างเรากับ เจ้าของ เช่น เราได้รับความต้องการมา เราต้องไปดูที่ตั้งโครงการ ศึกษาเกี่ยวกับเมือง ศึกษาเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมเก่าที่เกี่ยวข้อง กับงาน แล้วต้องพยายามคุยกับเจ้าของ เยอะ ๆ หรือตั้งคำถามในเชิงวิเคราะห์หน่อย “เช่นคำถามง่าย ๆ ว่า ชีวิตประจำวัน ในหนึ่งวันเขาทำอะไรบ้าง ห้องแบบไหนที่ เขาชอบ หรือถ้าได้ไปอยู่ในบ้านหลังใหม่จะ เกิดอะไรขึ้น ไปจนถึงคำถามอย่างถ้าคุณมี เวลาเหลืออีก 6 เดือนในชีวิต คุณจะทำอะไร” ในการค้นคว้าสถาปนิกตื่นจะพยายาม ศึกษางานออกแบบและผู้ใช้งานมากไปกว่าเรื่อง ดินฟ้าอากาศ ทิวทัศน์รอบด้าน หรือความ ต้องการพื้นฐาน แต่พวกเขาจะให้การทำงาน พาเข้าไปในโลกของเจ้าของงานให้มากที่สุด และ ทำความเข้าใจบริบทในทุกมิติเท่าที่จะเป็นไปได้ รวมถึงกำหนดเป้าหมายของงาน โดยไม่ใช่ เฉพาะแค่ด้านภาพลักษณ์ แต่เป็นเป้าหมาย และคุณค่าที่เจ้าของงานและนักออกแบบ จะเห็นร่วมกันตั้งแต่ต้น เช่น เป้าหมาย ว่างานออกแบบนั้นจะส่งผลดีกับเมืองนั้น ๆ อย่างไร หรือเป็นเป้าหมายที่มีคุณค่าทางใจ สำหรับเจ้าของโดยเฉพาะ “ผมมองว่าจริง ๆ ขั้นตอนของการ ออกแบบมันเป็นแค่ช่วงสั้น ๆ แต่ช่วงแรก ก่อนการเกิดขึ้นของบางสิ่งที่มันจะอยู่ไป อีกนานนี้สำคัญมาก จะเห็นว่าทุกโปรเจ็กต์ เราจะเน้นให้เจ้าของเข้ามามีส่วนร่วมเยอะ เพราะตัวเขาเองเป็นคนใช้งาน ถ้าเขาเข้าใจ ที่มาที่ไปของสิ่งที่มันจะอยู่ไปอีกนาน ผมว่า นั่นถือเป็นประโยชน์ในระยะยาว” คุณ ภคชาติกล่าว “การรีเสิร์ชหรือการทำอะไรเยอะ ๆไม่ใช่แค่เราจะได้เข้าใจเขา แต่ผมว่าเขาจะเข้าใจเรามากขึ้นด้วย” คุณภาสพงศ์ มณี-วัฒนา อีกหนึ่งสถาปนิกในกลุ่มกล่าวเสริม“เขาจะเข้าใจกระบวนการทำงาน แล้วเขาจะรู้ว่า โอเค บางอย่างที่มันต้องเป็นอย่างนี้นั้นเป็นเพราะอะไร หรือทำไมมันถึงต้องใช้เวลา” จึงกล่าวได้ว่า นอกจากการให้ความสำคัญกับมิติรอบด้านของตัวงาน การให้เจ้าของงานได้มีบทบาทกับงานของตัวเองอย่างมาก ก็เป็นแนวทางการทำงานที่กลุ่มสถาปนิกตื่นเห็นตรงกันว่า จะทำให้ได้งานออกแบบที่มีคุณค่ามากที่สุด มากกว่าที่ “สถาปนิก” จะเป็นผู้กะเกณฑ์ฝ่ายเดียว เรือนพินรัตน์ บ้านไม้สองชั้นของ ครอบครัวรอดสุดในจังหวัดพัทลุง อีกหนึ่ง ผลงานของสำนักงาน เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ดี ของการให้เจ้าของบ้านได้เข้ามามีส่วนร่วม กับงานออกแบบอย่างลึกซึ้ง “ตัวเจ้าของบ้านค่อนข้างชัดมากว่าต้องการอะไร” คุณภคชาติเล่าให้ฟังถึงที่มาที่ไปของบ้าน “เขาถึงขนาดสเก็ตช์รูปมาให้ว่าอยากให้บ้านออกมาเป็นอย่างไร ซึ่งเราก็ยึดสเก็ตช์ตัวนี้แหละเป็นเครื่องมือ เราไม่ได้อยากจะสร้างหรือเปลี่ยนภาพลักษณ์อะไรใหม่ เราให้ความเคารพกับสิ่งที่ออกมาจากตัวเขา ซึ่งสิ่งนั้นก็คือความทรงจำ โดยที่เขาอาจจะไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่ามันคือส่วนผสมระหว่างความทรงจำที่เขามีกับบ้านคุณตาคุณยายเขากับชีวิตสมัยใหม่ที่เขาอยากจะเป็นในบ้านหลังนี้” เรือนพินรัตน์เกิดจากความคิดของคุณวิวัฒน์ รอดสุด เจ้าของบ้าน ที่ต้องการสร้างบ้านหลังใหม่ให้เป็นสัญลักษณ์ของการระลึกถึงและแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ โดยนอกจากการนำไม้เก่าจากบ้านคุณตาคุณยายมาใช้ การมีมุมติดรูปคุณตาคุณยายไว้ที่มุมหนึ่งของข้างฝา การใช้รูปลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมที่อ้างอิงกับเรือนพื้นถิ่นภาคใต้แบบที่คล้ายกับบ้านหลังเก่า ชื่อของบ้านยังได้มาจากชื่อของคุณยายพินและคุณตาวิรัตน์ ทั้งหมดรวมกันจึงเป็นบ้านที่ประกอบขึ้นมาจากองค์ประกอบทางความทรงจำ และความหมายที่มีคุณค่าต่อเจ้าของบ้านโดยเฉพาะอย่างลึกซึ้ง ท้ายที่สุดการให้ความสำคัญกับการเน้นความหมายที่อยู่ในแต่ละสถานที่มากกว่าการกำหนดออกมาจากตัวนักออกแบบเอง จึงเป็นสิ่งที่กลุ่มสถาปนิกตื่นมุ่งหวังมาโดยตลอด ดังที่คุณภคชาติกล่าวสรุปในตอนท้าย “เรื่องนี้มันสะท้อนในวิธีคิดของพวกเราเหมือนกัน คือเรารู้สึกว่าบางทีสถาปนิก หรือดีไซเนอร์นั้นไม่ได้เป็นเจ้าของความสวยงาม หรือว่าสิ่งที่ออกมาจากดีไซเนอร์เท่านั้นที่มันจะสวย “งานพื้นถิ่น หรือถ้าเป็นในเมืองถือเป็นงานแนวสตรีทดี ๆ นี่เอง ซึ่งล้วนแต่มีความงามติดตัวมาอยู่แล้ว เพียงแต่เราจะเห็นมันหรือเปล่า ความธรรมดาและความเรียบง่ายมันมีอยู่ทุกที่ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นดีไซเนอร์เท่านั้นที่จะสร้างสรรค์ความงามออกมาได้” เรื่อง : กรกฎา, โมโนโซดาภาพ : ตื่น ดีไซน์ สตูดิโอ
ICONIC TASTE ห่อหุ้มดีไซน์ไอคอนิกด้วยบ้านมินิมัล
ด้วยความที่คลุกคลีอยู่ในวงการออกแบบและเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างโดยอาชีพ คุณต่อโชค จุลสุคนธ์ จึงเนรมิต แบบบ้านปูนโมเดิร์น หลังใหญ่บนที่ดิน 200 ตารางวาของตัวเอง ตามความรู้และประสบการณ์ที่มีได้อย่างมีเอกลักษณ์
BASIC HOUSE ความเรียบง่ายในพื้นที่พิเศษของครอบครัว
แบบบ้านโมเดิร์น เคียงคู่อยู่ใต้ร่มจามจุรีที่แผ่กิ่งก้านสาขาให้ร่มเงาขนาดใหญ่ พร้อมการต้อนรับจากเจ้าของบ้านตัวน้อยที่ตั้งใจตื่นนอนแต่เช้าเพื่อมารอพี่ ๆ ทีมงานอย่างกระตือรือร้น
ทบทวนทางเลียบฯ – ทำความเข้าใจ “ทางเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา” กับแบบ “ทางเดินริมน้ำ” อื่นๆ ทั่วโลก
หากใครยังจำได้ “ โครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ” หรือที่หลายคนรู้จักในชื่อโครงการ “ ทางเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา ” นั้นได้เงียบหายไปจากความสนใจของสังคมพักใหญ่ แต่ก็เหมือนกับแม่น้ำสายใหญ่ที่ไม่เคยหยุดไหลหล่อเลี้ยงมหานคร ข่าวเรื่องการก่อสร้างทางเลียบฯ นั้นเพิ่งเวียนกลับมาในกระแสอีกระลอก เมื่อสำนักการโยธา กรุงเทพมหานครเปิดเผยเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาว่าสภากรุงเทพมหานครมีมติอนุมัติโครงการพร้อมด้วยแบบพร้อมประมูลแล้ว เหลือเพียงรอให้คณะรัฐมนตรีเซ็นอนุมัติเพื่อจัดหาผู้ก่อสร้างเท่านั้น จึงมีเสียงคัดค้านสวนขึ้น เมื่อสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ นำโดยนายอัชชพล ดุสิตนานนท์ นายกสมาคมสถาปนิกสยามฯ ได้ออกหนังสือแถลงการณ์คัดค้านโครงการทางเลียบฯ พร้อมกับความร่วมมือจากองค์กรวิชาชีพฯ และเครือข่ายจำนวน 32 องค์กรเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ.2562 ด้วยเหตุผลที่ว่า ทางเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา นั้นจะมีผลกระทบมากมายทั้งด้านสิ่งแวดล้อม ประวัติศาสตร์ วิถีชีวิตริมน้ำ ศิลปวัฒนธรรม การคมนาคม วิศวกรรม สถาปัตยกรรม และผังเมือง เราจึงน่าจะกลับมาทบทวนความทรงจำกันอีกครั้ง ว่าโครงการที่ว่านี้นั้นมีหน้าตาเป็นอย่างไรในปัจจุบันและแตกต่างอย่างไรบ้างไหมกับโครงการริมน้ำในที่อื่นๆ ทั่วโลก ทางเลียบฯ แค่ 1 ใน 12 แผน “โครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา” หรือชื่อเล่นที่คนรู้จักว่าโครงการ “ ทางเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา ”เป็นโครงการที่ริเริ่มตั้งแต่ปีพ.ศ.2558 โดยแรกเริ่มนั้นถูกระบุว่าจะถูกสร้างให้เป็นทางเลียบแม่น้ำสำหรับรองรับจักรยาน (Bike […]
CROSSROADS สร้างสรรค์ประสบการณ์ใหม่ในมัลดีฟส์
มัลดีฟส์ถือเป็นหมุดหมายที่สำคัญแห่งหนึ่งของนักเดินทางผู้ที่หลงใหลบรรยากาศของท้องทะเลจากทั่วโลก แทบทุกพื้นที่ดินที่ลอยอยู่เหนือน้ำจึงเป็นที่ตั้งของโรงแรมและและรีสอร์ตหลากหลายรูปแบบที่เตรียมไว้รองรับนักท่องเที่ยว รวมถึงโครงการระดับเวิร์ลคลาสล่าสุดบนเอ็มบูดู ลากูน ในหมู่เกาะ South Malé Atoll พื้นที่สร้างสรรค์ประสบการณ์และไลฟ์สไตล์ใหม่ในมัลดีฟส์ ผ่านมุมมองของบริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน) ภายใต้ โรงแรมมัลดีฟส์ ชื่อ ครอสโร้ดส์ (CROSSROADS ) ซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจากการผสมผสานวัฒนธรรมตะวันตกและตะวันออกผ่านเส้นทางการเดินเรือในอดีตหรือเส้นทางสายไหมทางทะเล (Maritime Silk Road) รูปแบบสถาปัตยกรรมและการตกแต่งภายในโครงการทั้งหมดได้รับการออกแบบด้วยแนวคิด “Where Cultures Meet” “ครอสโร้ดส์” ถือเป็นพื้นที่พักผ่อนและแหล่งรวมความบันเทิงที่ครบวงจรแห่งแรกในมัลดีฟส์ โดยเกาะแรกซึ่งเปรียบเสมือนศูนย์กลางของโครงการใช้ชื่อว่า“เดอะ มารีน่า แอท ครอสโรดส์”(The Marina @CROSSROADS)บนพื้นที่ขนาด 11,000 ตารางเมตร ประกอบด้วยโซนช็อปปิ้ง ร้านอาหารชั้นนำ ศูนย์ประชุมอันทันสมัย ท่าเทียบเรือยอชท์พร้อมบีชคลับ รวมถึงสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่าง ศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมมัลดีฟส์ (Maldives Discovery Centre) ซึ่งนำเสนอเรื่องราวเบื้องหลังวิถีชีวิตของคนท้องถิ่นผ่านการทำกิจกรรมสนุกๆทั้งการทำงานศิลปะ งานฝีมือ และโซนเล่นเกมแบบอินเตอร์แอ็กทีฟสำหรับเด็ก ศูนย์การเรียนรู้ทางทะเล(Marine Discovery Centre) แหล่งให้ข้อมูลเกี่ยวกับระบบนิเวศและสิ่งมีชีวิตทางทะเล ซึ่งมีกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวได้ทดลองอนุบาลปะการังก่อนนำลงไปปลูกที่ทะเลเพื่อสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ธรรมชาติให้กับนักท่องเที่ยว โดยทั้งสองส่วนนี้เปิดให้ผู้ที่สนใจและเข้าชมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย นอกจากนั้นที่นี่ยังมี ศูนย์ฝึกดำน้ำ (Diving Center) […]
Y/A/O RESIDENCE บ้านโมเดิร์นสีดำกับเส้นเฉียงเป็นเอกลักษณ์
“Y/A/O Residence” แบบบ้านโมเดิร์น สีดำหลังใหญ่สะดุดตา บนที่ดินโล่งกว้างในถนนสุขาภิบาล 5 ซอย 70 ถูกตั้งชื่อตามหนึ่งในชื่อเจ้าของบ้าน คุณนงเยาว์ เณวิลัย กับสามี คุณสมชาย เณวิลัย โดยคุณนงเยาว์ เล่าให้ฟังถึงแนวคิดก่อนการสร้างบ้านว่า “เราเป็นคนชอบเที่ยว ทั้งต่างประเทศ ทั้งต่างจังหวัด ชอบไปตามรีสอร์ทเก๋ๆ ทั้งตามธรรมชาติ ทั้งในเมืองต่างๆ คือเที่ยวหมด ปีหนึ่งคือเที่ยวบ่อยมาก เราก็เลยอยากได้บ้านที่มีอารมณ์ประมาณว่า ถ้าเราอยู่บ้าน ให้รู้สึกเหมือนอยู่รีสอร์ทได้ไหม ให้เหมือนเราได้เที่ยวอยู่ตลอดเวลา” DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: WARchitect ภาพ แบบบ้านโมเดิร์น ในฝันแบบรีสอร์ทที่เจ้าของบ้านต้องการ จึงได้รับการออกแบบให้ตั้งอยู่บนผืนดินขนาดราว 1 ไร่ครึ่ง ประกอบด้วยอาคาร 3 หลัง อันได้แก่ ที่จอดรถ อาคารรับรองแขก และอาคารอยู่อาศัยหลัก กระจายอยู่ทั่วเนินสนามหญ้าสีเขียวสด บ้านเปรียบเหมือนเป็นกลุ่มอาคารที่แตกแขนงพื้นที่ใช้สอยออกจากกัน ไม่ถูกจับรวมเป็นบ้านใหญ่หลังเดียว อันเป็นแนวคิดการจัดวางอาคารที่สถาปนิก คุณธาวิน หาญบุญเศรษฐ สถาปนิกจากทีม Octane architect & design เป็นผู้นำเสนอ “เราเคยลองจับรวมอาคารเป็นก้อนเดียวก้อนใหญ่ก้อนหนึ่งวางไว้ที่มุมบ้าน เมื่อเสร็จแล้ว […]
SOI SAM : SHONE PUIPIA’S SPACE เมื่อสถาปัตยกรรมทำหน้าที่เป็นเสมือนผืนผ้าใบให้กับงานศิลปะ
Soi Sam: Shone Puipia’s Space แกลเลอรี่ ซึ่งได้รับการออกแบบให้งานสถาปัตยกรรมทำหน้าที่เป็นเสมือนผืนผ้าใบ ช่วยดึงความงามของงานศิลปะให้โดดเด่นขึ้น
STUDIOK บ้านกึ่งสตูดิโอริมแม่น้ำปิงของศิลปินไทยเชื้อสายอินเดีย “นาวิน ลาวัลย์ชัยกุล”
“สตูดิโอเค” บ้านกึ่งสตูดิโอ ที่แฝงตัวอย่างสงบอยู่ท่ามกลางแมกไม้เขียวชอุ่มริมแม่น้ำปิง ไม่ไกลจากตัวเมืองเชียงใหม่มากนัก บนผืนดินกว่า 1 ไร่ แห่งนี้ คืออาณาจักรศิลปะของ คุณนาวิน ลาวัลย์ชัยกุล ศิลปินไทยเชื้อสายอินเดีย เจ้าของรางวัลศิลปาธรสาขาทัศนศิลป์ปี 2553 ผู้รังสรรค์ผลงานศิลปะร่วมสมัยเปี่ยมเอกลักษณ์อันเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: Materior Studio เดิมอาณาจักรศิลปะแห่งนี้ มีเพียงตัวอาคารปูนเปลือยดั้งเดิมที่ได้รับการออกแบบโดย สำนักงานสถาปนิกแผลงฤทธิ์ เมื่อหลายปีก่อน เพื่อใช้เป็นที่ตั้งของบริษัท นาวินโปรดักชั่น จำกัด รองรับการผลิตผลงานศิลปะของเขา แต่เมื่อโปรเจ็กต์การสร้างสรรค์มีขนาดใหญ่ขึ้น จึงมาพร้อมความต้องการพื้นที่ที่เป็นสัดส่วนสำหรับทีมงาน คุณนาวินจึงตัดสินใจขยับขยายสร้างพื้นที่สตูดิโอขึ้นใหม่ให้เชื่อมต่อกับอาคารเดิม พร้อม ๆ กับปรับปรุงต่อเติมพื้นที่บางส่วนบนชั้นสองของอาคารเดิมให้เป็นที่พักอาศัยในคราวเดียวกัน โดยงานนี้มี คุณสุเมธ กล้าหาญ จาก Materior Studio มารับหน้าที่ช่วยดูแลด้านการออกแบบให้ บ้านกึ่งสตูดิโอ แห่งนี้ “คุณนาวินตั้งใจจะขยายพื้นที่เวิร์กช็อปให้เป็นกิจลักษณะและมีที่จอดรถ โดยให้ชั้นล่างเป็นส่วนเวิร์กช็อป และชั้นบนเป็นสตูดิโอวาดภาพขนาดใหญ่ และพื้นที่จัดแสดงผลงาน เราทดลองออกแบบกับวัสดุหลายอย่างมาก ตั้งแต่อิฐดิบ ๆ ผนังปูน จนสุดท้ายมาจบที่เมทัลชีทสีดำ ผนังด้านในกรุยิปซัม และไม้อัด พร้อมกับทำช่องเปิดดูปลอดโปร่งเพราะต้องการใช้แสงธรรมชาติมากกว่าการควบคุมแสงไฟแบบในแกลเลอรี่ทั่วไป” อาคารโครงสร้างเหล็กทรงกล่องกรุเมทัลชีตสีดำจึงได้รับการก่อสร้างขึ้นใหม่ […]
WHEREDER POSHTEL โฮสเทลเอกลักษณ์อีสานกลางเมืองอุดรธานี
“แวะเด้อ” ที่พักในอุดรธานี ที่สร้างความแตกต่างด้วยการมุ่งเป็น “Poshtel” ใจกลางเมือง ด้วยอาหารและบริการจัดเต็ม รวมถึงการออกแบบที่พิถีพิถัน
HAOMA โอเอซิสกลางทองหล่อ ครบจบเรื่องสีเขียว
HAOMA ร้านอาหาร ลึกลับที่ซ่อนตัวอยู่กลางทองหล่อ แหล่งโอเอซิสระดับพรีเมี่ยมของเหล่าคนรักสุขภาพที่พลาดไม่ได้ ภายใต้คอนเซ็ปต์ “WE GROW WHAT WE COOK,WE COOK WHAT WE LOVE” ร้านอาหาร แห่งนี้ถูกรีโนเวตใหม่ทั้งหมด โดยพื้นที่ภายในร้านแบ่งออกเป็น 3 โซนหลักๆ คือ พื้นที่ด้านในที่สามารถมองเห็นความเคลื่อนไหวของเหล่าเชฟขณะปรุงอาหาร พื้นที่ด้านนอกภายใต้ต้นมะม่วงเก่าแก่กว่า 40 ปีที่เปรียบเสมือนศูนย์รวมใจของร้าน และสุดท้ายคือพื้นที่ด้านหลังท่ามกลางกระบะปลูกผัก ส่วนภายในร้านก็สร้างบรรยากาศผ่อนคลายด้วยการเปลี่ยนผนังทึบให้เป็นผนังกระจกใสเพื่อให้แสงธรรมชาติเข้าสู่ตัวร้านให้ได้มากที่สุด อีกทั้งเพื่อลูกค้าได้อิ่มทั้งอาหารและชมสวนที่เป็นที่มาของวัตถุดิบในจานตรงหน้า ด้วยสวนในรูปแบบของกระบะปลูกระบบไฮโดรโปนิกส์ อควาโปนิกส์ และดินออแกนิค เพื่อให้ได้ผักสด ปลอดสารไปปรุงอาหารนั่นเอง นอกจากภายในร้านจะรีโนเวตใหม่แล้ว ยังได้ปรับลานบริเวณภายนอก เพื่อเป็นพื้นที่สำหรับลูกค้าที่ชอบบรรยากาศแบบเอ๊าต์ดอร์ให้ได้สัมผัสบรรยากาศร่มรื่น ด้วยการติดตั้งแผ่นโปร่งแสงด้านบน ช่วยกันฝนและกรองแสงในเวลากลางวัน พร้อมปูกระเบื้องตัดกับหญ้าจริงเพิ่มลูกเล่นและให้ความเป็นธรรมชาติมากยิ่งขึ้น IDEAS TO GRAB A.เพิ่มความเป็นส่วนตัวไปพร้อมกับสร้างกิมมิคให้ร้านด้วยการกั้นพื้นที่นั่งด้วยการนำไม้มาสร้างกรอบขนาดใหญ่ B.เชื่อมโยงธรรมชาติจากภายนอกเข้ามาในร้านด้วยการปลูกสวนแนวตั้ง สร้างบรรยากาศสดชื่นด้วยสีเขียว ลดความแข็งของผนังปูนเปลือยให้ละมุนตาขึ้น C.นำไม้สังเคราะห์มากรุส่วนของกระบะปลูกผัก ให้กลมกลืนกับธรรมชาติและเหมาะกับการใช้งานภายนอกอาคารที่ต้องกระทบกับแสงแดด D.กรุหลังคาด้วยแผ่นโปร่งแสงช่วยเพิ่มพื้นที่ใช้งานเอ๊าต์ดอร์ อีกทั้งยังช่วยคงบรรยากาศสบายตาด้วยการทอนแสงแดดให้เบาบางลงแต่ยังคงได้แสงสว่างที่เพียงพอ E.ลดทอนพื้นที่ดาดแข็ง บริเวณลานหน้าร้านด้วยการปูกระเบื้องปูพื้นที่มีดีไซน์ผิวเหมือนหินธรรมชาติแบบทะแยง แล้วแทรกด้วยหญ้า ช่วยสร้างแพทเพิร์นพื้นที่ให้ดูน่าสนใจ ดูเป็นธรรมชาติและลดการสะท้อนของแสงแดดได้เป็นอย่างดี MATERIAL […]
KANVELA HOUSE ย้อนเวลาผ่านโฮสเทลรีโนเวต คงความเก่าแก่คู่ความร่วมสมัย
ตึกแถว 6 คูหา อายุราว 100 ปี ริมถนนกรุงเกษม ถูกเปลี่ยนให้เป็นคาเฟ่และบูทีคโฮสเทลสไตล์ย้อนยุค เหมือนชื่อของสถานที่ “ Kanvela House ” ที่ที่ผู้เป็นเจ้าของต้องการพาแขกย้อนเวลาไปชมความงามของอดีตผ่านอาคารทรงคุณค่า Kanvela House คือโปรเจ็กต์ปรับปรุงตึกนั้นเน้นไปที่การคงสภาพเดิมของอาคารให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ส่วนหนึ่งนั้นเพราะเจ้าของมีแนวคิดที่จะอนุรักษ์อาคารเพื่อป้องกันความเสื่อมโทรมมากกว่าจะเปลี่ยนแปลงให้เป็นอื่น เราจึงจะพบโครงสร้างและวัสดุเดิมของอาคารอยู่ในทุก ๆ ส่วนของโรงแรม โดยหลายจุดเป็นการเสริมโครงสร้างด้วยวัสดุลักษณะคล้ายเดิมให้แข็งแรง หรือการทาน้ำยารักษาสภาพในส่วนต่าง ๆ เพื่อสื่อถึงอดีตให้มากที่สุด โดยชั้นล่างเป็นคาเฟ่ Buddha & Pals ที่ถูกรีโนเวตโดยการทุบกำแพงเดิมออกทั้งหมดเพื่อให้มีพื้นที่ขยายต่อกันเป็นห้องกว้าง พร้อมทั้งรื้อฝ้าเก่าออกทำให้เพดานดูสูงขึ้น สร้างบรรยากาศโปร่งโล่งสบาย บริเวณชั้น 2 จะเป็นโฮสเทล ซึ่งได้รับความนิยมจากชาวต่างชาติที่อยากมาสัมผัสบรรยากาศความเป็นอยู่สมัยก่อนที่คงความสงบและอบอุ่นสไตล์วินเทจ IDEAS TO GRAB: A. เพื่อสร้างความโปร่งโล่งให้อาคารตึกแถว กระจกหรือวัสดุโปร่งแสงสามารถช่วยนำแสงธรรมชาติเข้าสู่อาคารได้ B. เหนือเพดาน กรุแผ่นโปร่งแสงเพื่อนำแสงลงมาจากด้านบน คล้ายเป็นสกายไลท์ ลดความอึดอัดของพื้นที่ภายใน C.ช่องลม สามารถติดตั้งไม้ระแนงโดยตีเป็นแพทเทิร์นต่าง ๆ ไว้เพื่อกันนก บังสายตา กันแสงแดดบางส่วน ในขณะที่สามารถระบายอากาศและรับแสงจากภายนอกได้ D. ไม้พื้นเดิมที่ยังคงสภาพไว้ ช่วยให้เข้าถึงอารมณ์และผิวสัมผัสของงานสถาปัตยกรรมในวันวานได้เป็นอย่างดี MATERIAL SOLUTION […]
room x เพลินวาน พาณิชย์ พาย้อนเวลาไปลิ้มชิมรสเมนูอาหารในวันวาน
สร้างสรรค์พื้นที่ใหม่ ๆ ให้ได้มาเยี่ยมชมกันเสมอกับบู๊ธ room Showcase ที่งาน “บ้านและสวนแฟร์ 2019 ” ซึ่งจัดขึ้นที่ อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ตั้งแต่วันที่ 18-27 ตุลาคม 2562 โดยในครั้งนี้มาพร้อมคอนเซ็ปต์ “room CUBE” กับพื้นที่กล่องมหาสนุกให้คุณได้มาใช้จินตนาการและเพลิดเพลินไปกับสเปซในบรรยากาศสบาย ๆ งาน บ้านและสวนแฟร์ 2019 ครั้งนี้ room ได้เชิญชวนร้านอาหารมีสไตล์อย่าง เพลินวาน พาณิชย์ มาร่วมสร้างสรรค์พื้นที่ให้เต็มอิ่มไปกับบรรยากาศแห่งวันวาน ผ่านเมนูอาหารไทยหารับประทานยาก เพื่อบอกเล่าเส้นแบ่งของวิถีชีวิตที่หลอมรวมระหว่างความเก่ากับความใหม่ ภายใต้เเนวคิด “Living Transformed” ซึ่งเป็นโจทย์หลักของาน บ้านและสวนแฟร์ 2019 โดยผู้เยี่ยมชมงานจะได้ลิ้มลองเมนูอาหารในความทรงจำที่ถึงเเม้จะคุ้นเคยแต่ก็ไม่บ่อยนักที่จะหารับประทานได้ในวิถีชีวิตสังคมสมัยใหม่ ที่นี่จึงไม่เพียงพาเราหวนไปสู่อดีตผ่านรสชาติอาหารไทยแสนอร่อย แต่นอกเหนือกว่านั้นยังมาพร้อมกับความเชื่อที่ว่า “ถ้าเราไม่นิยมไทย แล้วใครจะนิยมเรา” เเต่ก่อนจะเข้าไปเยี่ยมชมบรรยากาศภายในงานเเฟร์ประจำปีของเรา room จะพาคุณไปรู้จักกับ เพลินวาน พาณิชย์ ตอนโรงเลื่อย สาขาล่าสุด ณ ชั้น 1 โครงการ 101 The […]
WIW MINIHOTEL เที่ยวรอบโลกในโรงแรมไซส์มินิ ใกล้สนามบินดอนเมือง
ใครกำลังมองหา ที่พักใกล้สนามบินดอนเมือง ไว้พักผ่อน หรือรอเปลี่ยนเครื่อง เราขอแนะนำ WIW minihotel ที่ใช้เวลาเดินทางเพียง 10 นาทีจากสนามบิน โดยโรงแรมขนาดเล็กแห่งนี้ จะพาคุณออกเดินทางอย่างต่อเนื่องไปกับบรรยากาศชวนผ่อนคลาย สัมผัสบรรยากาศสดชื่นและความผ่อนคลายตั้งแต่ทางเข้า โดยบริเวณรอบ ๆ รายล้อมด้วยสวนสไตล์อังกฤษไว้ให้แขกผู้มาเยือนสามารถสูดอากาศสดชื่น คลายความเหน็ดเหนื่อยจากการเดินทางได้อย่างดี โดยสวนแบ่งออกเป็นสองฝั่งของโรงแรม เลือกใช้ต้นไม้ประดับผสมเข้ากับไม้ดอกสีสันสดใส เข้ากันดีกับน้ำพุและของตกแต่งสวนสไตล์วินเทจ สำหรับให้แขกได้ออกมาสัมผัสธรรมชาติใกล้ ๆ ตัวได้ไม่ยาก เพลิดเพลินตาไปกับการตกแต่งที่เก็บเกี่ยวความประทับใจ และประสบการณ์ระหว่างการเดินทางท่องเที่ยวของเจ้าของมาเป็นไอเดียของการออกแบบห้องพัก 4 ห้อง 4 สไตล์ ไม่ว่าจะเป็น Antique Blue ห้องสีฟ้า-ขาว เน้นลายเส้นสถาปัตยกรรมแบบยุโรปตอนใต้, Black forest โทนสีเขียวสดชื่นกับวอลล์เปเปอร์ใบไม้สไตล์ทรอปิคัล, Full bloom สดใส ละมุนละไม ดั่งดอกไม้บานสะพรั่ง และ Dynasty ผสมผสานสีสันฉูดฉาดกับลายเส้นอันอ่อนช้อยกลิ่นอายจีน เพื่อให้แขกผู้มาพักได้เลือกพักผ่อนตามสไตล์ที่ตนเองชื่นชอบ ภายใต้คอนเซ็ปต์ของโรงแรมที่ว่า “Wanderlust in wonderland” พื้นที่ด้านล่างเปิดเป็นคาเฟ่สำหรับนั่งรับประทานอาหารเช้า หรือพักผ่อนแบบชิล ๆ ตกแต่งด้วยของสะสมสไตล์วินเทจจากยุโรปที่เจ้าของซื้อเก็บไว้ เข้ากันดีกับกระเบื้องดินเผาที่สั่งทำพิเศษ […]
WONDERWALL HOTEL โรงแรมสีสนิมใจกลางคูเมือง นิยามความไม่สมบูรณ์ของสัจวัสดุ
ที่พักเชียงใหม่ WONDERWALL HOTEL ตั้งอยู่ในคูเมือง ภายในประกอบไปด้วยโรงแรมขนาดเล็ก คาเฟ่นาม YOUNGFOLK และออฟฟิศของสตูดิโอออกแบบ b l a n k studio
HAVING DREAM OFFICE AT HOME ไอเดียแปลงโฉมบ้านให้เป็นโฮมออฟฟิศ
ไอเดียดี ๆ โดน ๆ ในการแปลงโฉมบ้านของคุณให้พร้อมกับธุรกิจใหม่ในรูปแบบที่เรียกว่า โฮมออฟฟิศ ในยุคที่ทุกคนอยากเป็นเจ้าของกิจการของตัวเอง
99 ไอเดียและเคล็ดลับ ปรับลุคใหม่ให้บ้านน่าอยู่
99 เคล็ดลับและไอเดีย ปรับลุคใหม่ให้บ้าน น่าอยู่ โดยไม่ต้องรีโนเวตงานโครง ลงมือเองได้ง่ายๆ …
WANDERLUST COFFEE AND EATERY คาเฟ่สไตล์มินิมัล ใต้โฮสเทลสีขาวย่านซอยนานา เเหล่งนัดพบของนักเดินทาง
“ คาเฟ่สไตล์มินิมัล สำหรับผู้หลงรักการออกเดินทาง เพื่อออกไปค้นหาความหมายและเสน่ห์ที่ซ่อนอยู่ระหว่างทาง” นี่คือความหมายของชื่อคาเฟ่ที่คุณเมย์ – จักกพัฒน์ วงศ์โสภา เจ้าของร้านได้บอกไว้ เพื่อเชื่อมโยงกับสถานที่ตั้งที่อยู่ใต้โฮสเทล 2W ใกล้กับรถไฟฟ้า MRT สถานีหัวลำโพง และซอยนานา ย่านที่กำลังฮิตขึ้นเรื่อย ๆ ในเยาวราช เนื่องจากคาเฟ่แห่งนี้ตั้งอยู่ในย่านซอยนานา ย่านเก่าเเก่ดั้งเดิมที่มีเสน่ห์ การออกแบบตกแต่งร้านจึงเป็นการรีโนเวตอาคารเก่าให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ให้กลายเป็นโฮสเทลเเละ คาเฟ่สไตล์มินิมัล ที่มีความเรียบง่าย สบายตา และเข้าถึงง่าย เติมองค์ประกอบอย่างเฟอร์นิเจอร์สไตล์อินดัสเทรียลเพื่อช่วยสร้างสีสัน โดยยังคงโครงสร้างของอาคารเดิมไว้เกือบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นพื้น ผนัง ฝ้า และบันได เพื่อมอบประสบการณ์ เรื่องราว กลิ่นอาย และความทรงจำที่ชวนค้นหาให้แก่ผู้นิยมความคลาสสิกและเสน่ห์ที่ซ่อนอยู่ในเมืองเก่า สำหรับการบริการคาเฟ่แห่งนี้ขอเรียกตัวเองว่าเป็น Bruch Café เสิร์ฟอาหารสไตล์ Melbourne หรืออาหารสไตล์ฟิวชั่นที่คัดสรรวัตถุดิบคุณภาพดีจากหลากหลายแหล่งมาปรุงเป็นอาหารและเครื่องดื่มประเภทต่าง ๆ ด้วยความใส่ใจ เพื่อให้ได้รสสัมผัสที่มีเอกลักษณ์และรสชาติอร่อยถูกปากทั้งชาวไทยและต่างชาติ เป็นจุดหมายของคนที่รักการออกไปค้นหาประสบการณ์แปลกใหม่ ทั้งในรูปแบบของบรรยากาศ กาแฟกลิ่นหอมกรุ่น และมื้ออาหารแสนอร่อย ความสุขง่าย ๆ ที่รอคอยนักเดินทางทุกคนมาเยี่ยมเยือน ที่ตั้ง […]
SATI HANDCRAFT COFFEE ตั้ง “สติ” ก่อนสักพัก เเล้วแวะมาจิบกาเเฟเเบบชิล ๆ ในคาเฟ่เรือนกระจก สไตล์อินดัสเทรียลลอฟต์
คาเฟ่เรือนกระจก สไตล์อินดัสเทรียลลอฟต์ ที่อยู่ใน Made Here on Earth ครีเอทีฟสเปซสำหรับคนทำงานไม้ บรรยากาศสบาย ๆ เป็นกันเอง ให้ความรู้สึกเชื่อมโยงเเละผ่อนคลายไปกับวิวสีเขียวของต้นไม้รอบ ๆ