- Page 5 of 110

บ้านริมน้ำ สไตล์นอร์ดิก Norwegian Bathhouse

บ้านริมน้ำ กับเรืออีกหนึ่งลำ ผลงานการออกแบบที่ประยุกต์จากวัฒนธรรมดั้งเดิม โดยมีแรงบันดาลใจมาจาก Norwegian Bathhouse หรือบ้านริมน้ำขนาดเล็กของนอร์เวย์ ที่ถูกปรับเปลี่ยนรูปแบบของวัสดุ และกรรมวิธีการก่อสร้างให้ทันสมัยขึ้น โครงสร้างหลักของบ้านเป็นโครงสร้างเหล็กวางบนหินแกรนิตแบบดั้งเดิม ใช้ผนังคอนกรีตสำเร็จวางตัวเปิดรับวิวทะเล โดยที่จากบนบกจะเข้ามุมที่บดบังสร้างความเป็นส่วนตัวอย่างพอดิบพอดี ในส่วนหลังคานั้นเลือกใช้เมทัลชีตเพื่อน้ำหนักที่เบาและก่อสร้างได้ง่าย ทำสีกันสนิมในโทนสีดั้งเดิมเข้ากันได้ดีกับบริบทโดยรอบ ภายในจัดวางห้องแบบ Studio Type เรียบง่าย เรียกได้ว่าห้องเดียว “ครบทุกสิ่ง” ทั้งครัวขนาดเล็ก พื้นที่นั่งเล่น และเตาผิงสำหรับประกอบอาหารได้ในตัว ในวันแสนสบาย บ้านหลังนี้สามารถเปิดบานหน้าริมทะเลออกได้จนหมดสามารถหย่อนใจรับแดดได้อย่างเต็มตา สำหรับใครที่อยากทำบ้านตากอากาศเรียบง่ายเป็นของตัวเอง บ้านหลังนี้คือตัวอย่างที่ดีอย่างยิ่ง ลองจินตนาการถึงบ้านน้อยหลังนี้มาตั้งติดเจ้าพระยาของเรา น่าจะดูดีเลยทีเดียว ออกแบบ Handegård Arkitekturภาพ Carlos Rollan เรื่อง Wuthikorn Sut

ไฮไลต์ บ้านและสวนแฟร์ select 2022 : BETTER TOGETHER

บ้านและสวนแฟร์ select 2022 งานดีไซน์แฟร์งานแรกของปี ครั้งนี้เรามาในธีม “BETTER TOGETHER เริ่มใหม่ ดีกว่าด้วยกัน เพราะสิ่งพิเศษเกิดขึ้นได้ทุกครั้งที่เราเจอกัน”

อยู่กับศิลป์ ในสตูดิโอกึ่งที่พักรีโนเวตจากทาวน์โฮม

ออกแบบโดย Bangkok Tokyo Architecture (http://www.btarchitecture.jp) บ้านทาวน์โฮมในย่านฝั่งธนฯ หลังนี้ ถูกส่งต่อมาในครอบครัวจนมาถึงมือของศิลปินท่านหนึ่ง ที่ต้องการปรับพื้นที่ให้กลายเป็นพื้นที่ทำงานของตนเอง การออกแบบจึงเด่นชัดในการสร้างพื้นที่ส่วนตัวให้กับตัวเจ้าของบ้าน สร้างสภาวะแห่งแรงบันดาลใจจากบรรยากาศอิงธรรมชาติ สร้างความสุขสงบภายในบ้าน แม้จะอยู่ในเขตเมืองที่หนาแน่น แต่กลับสามารถออกแบบพื้นที่ภายในได้อย่างลงตัวและน่าสนใจ Bangkok Tokyo Architecture รับหน้าที่ในการปรับพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งสิ่งที่ผู้ออกแบบเลือกทำเป็นอย่างแรก นั่นคือการทุบเชื่อมพื้นที่ทั้งหมดให้กลายเป็นเนื้อเดียวกัน โดยมีพื้นที่ต่อเติมข้างบ้านเป็นรูปตัวแอล (L) เพื่อเสริมการใช้งานให้ครบถ้วน พื้นที่ภายในแบบ ONE ROOM SPACE เปิดโอกาสให้เจ้าของบ้านมีอิสระในการใช้งานและปรับเปลี่ยนได้ในอนาคต เพื่อให้ตอบรับกับอาชีพนักวาดภาพ และการสร้างผลงานศิลปะหลากหลายรูปแบบ ทั้งในแง่ของการทำงานก็ดี รวมไปถึงการแสดงงานในอนาคตด้วยเช่นกัน จากประตูใหญ่ เมื่อเข้ามาภายในบ้าน ประตูเหล็กทึบและผนังจะช่วยปิดกั้นความวุ่นวายจากภายนอก โดยทางเข้าบ้านนั้นถูกจัดเป็นส่วนหย่อมในแบบกำลังดีที่คำนึงถึงการดูแลง่าย แต่ก็ยังสร้างความร่มรื่นได้ในวันสบาย ๆ ที่สามารถเปิดประตูรับลมและแสงธรรมชาติได้เต็มที่ เมื่อเดินเข้าสู่ภายในจะพบกับพื้นที่นั่งเล่น และโต๊ะทำงานตัวใหญ่ กึ่งกลางเป็นชั้นวางผลงานที่สามารถเครื่องย้ายได้ มีเฟอร์นิเจอร์ลอยตัว และโต๊ะรับประทานอาหารที่จัดวางไปในพื้นที่ Circulation ออกแบบมาเพื่อให้สามารถเดินไปสู่ครัวด้านหลัง และห้องน้ำได้ โดยไม่ต้องเดินผ่านพื้นที่ทำงานของเจ้าของบ้านแต่อย่างใด พื้นที่ทั้งสองชั้น แม้จะอยู่คนละระดับกัน แต่ก็ยังรู้สึกเชื่อมโยงเป็นเนื้อเดียวกัน จากการที่ผู้ออกแบบเลือกเจาะพื้นชั้นสองให้ต่อเนื่องเชื่อมโยงไปถึงชั้นล่าง ทำให้เกิดการไหลเวียนอากาศ และแสงธรรมชาติที่ส่องสว่างทั่วถึงทั้งบ้าน รวมทั้งช่วยเปิดมุมมองทางสายตาให้เห็นกันและกันได้ในทุก […]

PUKKEL ร้านอาหารเพื่อสุขภาพที่ตกแต่งด้วยวัสดุธรรมชาติและสีเอิร์ธโทน

PUKKEL ร้านอาหารเพื่อสุขภาพ ที่ตกแต่งและใช้วัสดุที่ทำมาจากธรรมชาติ 100% รวมถึงสอดแทรกธรรมชาติให้เข้ามาเป็น่สวนหนึ่งของสเปซภายในได้อย่างลงตัว

แม่แจ่มโมเดลพลัส x room หยุดปัญหาหมอกควันภาคเหนือ ด้วยงานออกแบบ

แม่แจ่มโมเดลพลัส โครงการที่เป็นตัวอย่างของการแก้ปัญหาป่าไม้และที่ดินบนดอย แม่แจ่ม  ได้นำพาให้ทีมงานของ “บ้านและสวน” ไปลงพื้นที่ถึงอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อทำความเข้าใจการแก้ไขปัญหาฝุ่นควันและไฟป่าควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหาเรื่องสิทธิของชาวบ้านในการจัดการป่าไม้และที่ดิน ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ คือผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่ และเฟอร์นิเจอร์ที่น่าสนใจ ที่ทุก ๆ คนจะได้พบใน บ้านและสวนแฟร์ select 2021 เริ่มต้นด้วยการ “ทำความเข้าใจ” วันแรกของการเดินทาง เราหมดไปกับการทำความเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นที่แม่แจ่ม ผ่าน “คนทำงาน” ที่อยู่ในพื้นที่ นำทีมโดยคุณ เดโช ไชยทัพ ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (ภาคเหนือ) ที่มาอธิบายให้เราฟังถึง ต้นตอของปัญหาหมอกควันที่เกิดขึ้นที่นี่ หากกล่าวโดยสรุปก็คือ ปัญหาหมอกควันเหล่านี้ จะไปโทษเกษตรกรชาวไร่ข้าวโพดว่าบุกรุกผืนป่าก็ไม่ได้ เพราะรากของปัญหานี้มันลึกลงไปกว่านั้น “ปัญหาเรื่องสิทธิในการจัดการป่าไม้และที่ดิน” ของชาวบ้านนั้นเกิดข้อจำกัดขึ้นหลังการประกาศกฎหมายป่าสงวน พวกเขายังอาศัยทำกินอยู่บนที่ดินเดิม แต่สิทธิของพวกเขาได้หายไป กาลเวลาผ่านไป การพัฒนาเกิดขึ้นอย่างเชื่องช้า ไม่ทันโลก และไม่ทันปากท้อง การเลือกปลูกพืชที่ขายได้อย่างแน่นอนจึงเป็นทางออกของพวกเขา และข้าวโพดอาหารสัตว์ พืชเชิงเดี่ยวที่ปลูกแล้วแทบไม่ต้องดูแลเป็นคำตอบของสิ่งที่เกิดขึ้น สุดท้ายทางออกของหนึ่งปัญหาก็กลายเป็นปัญหาใหม่เมื่อความอุดมสมบูรณ์ของดินนั้นเสื่อมสลายไป การใช้สารเคมีต่าง ๆ จึงเป็นคำตอบ รวมถึงการแผ้วถางเตรียมพื้นที่เพื่อทำการเพาะปลูกเช่นกัน และนั่นคือปลายทางที่เรา ๆ ต่างรู้กันในชื่อของ “ปัญหาหมอกควันภาคเหนือ” การแก้ปัญหาที่ถูกต้องจึงต้องลงไปที่ต้นตอ […]

บ้านใต้ถุนสูง

บ้านภูภัทรา บ้านโมเดิร์นทรอปิคัลที่แม้จะอยู่บนเนินเขาแต่ก็ยังต้องการใต้ถุน

บ้านใต้ถุนสูง บนทำเลทองของเขาใหญ่ ผลงานออกแบบของ Spacetime Architects บริษัทสถาปนิกที่มีลายเส้นเฉพาะตัว โดยมีคำจำกัดความของบ้านว่า “ Modern Tropical House ”

คุยกับ ตื่น ดีไซน์ สตูดิโอ ถึงการออกแบบที่เน้นเสริมคุณค่าด้วยการทำความเข้าใจใน “ความหมาย”

แน่นอนว่าบริบทนั้นจะส่งเสริมคุณค่าให้กับงานสถาปัตยกรรม แต่การจะได้มาซึ่งคุณค่านั้นอาจไม่ใช่การทำภายในระยะเวลาอันสั้นหรือการทำอย่างฉาบฉวย การออกแบบที่เน้นเสริมคุณค่าด้วยการลงลึกไปในความหมายด้วยการค่อยๆทำความเข้าใจจึงเป็นเรื่องสำคัญ      จากความโกลาหลในกรุงเทพมหานคร กลิ่นอายทะเลเริ่มแทนที่หมอก PM2.5 ในอากาศ ตามเส้นทางยาวไกลที่มุ่งหน้าสู่จังหวัดปลายสุดของภาคตะวันออกด้วยระยะทางที่ไกลกว่า 300 กิโลเมตร จากกรุงเทพฯ - จังหวัดตราด เมืองซึ่งยังไม่ถูกจัดว่าวุ่นวาย ทว่าเต็มไปด้วยประวัติศาสตร์ที่ยาวนานพอ ๆ กับเมืองหลวง ในปี พ.ศ. 2514 ตราดได้กำเนิดร้านบะหมี่เกี๊ยวร้านแรก และยังคงเปิดขายยาวนานมาจนถึงปัจจุบัน “เขาเป็นบะหมี่เจ้าแรกของตราด คุณพ่อเข้ามาค้าขายเมื่อ 50 ปีที่แล้ว กระทั่งถึงรุ่นลูกเขาอยากจะปรับลุคร้านใหม่ให้ทันสมัยขึ้น”  คุณภัทราวุธ จันทรังษี เริ่มเล่าถึงที่มาที่ไปของงานออกแบบปรับปรุงร้านบะหมี่เก่าแก่ ในนาม บริษัท ตื่น ดีไซน์ สตูดิโอ ให้เราฟัง      “แทนที่เราจะเปลี่ยนลุคใหม่ให้ดูใหม่ไปเลย เราคุยกับเจ้าของว่า น่าจะลองใช้ของเดิมนี่แหละมาปรับให้ดูน่าสนใจขึ้น เราพูดกันว่า เราน่าจะ ‘ปลุกตำนาน’ ร้านเกี๊ยวหนองบัวกลับมา โดยมีโจทย์ว่าจะทำอย่างไรให้สามารถดึงคนอายุ 50 ปีขึ้นไป ที่เป็นลูกค้าเก่าแก่กลับมาอุดหนุนพร้อม ๆ กับคนรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทายมาก เพราะกลายเป็นเหมือนเราทำสัญญาใจกันว่าเราจะไม่ได้ออกแบบแค่ตึกสวย ๆ แต่เราจะต้องทำให้เขาขายดีขึ้น ๆ ต่อไปด้วย      “ทำอย่างไรให้ร้านอยู่ได้อีก 50 ปี มันคงไม่ใช่ดีไซน์ที่หวือหวาหรือแฟชั่นจี๊ดจ๊าด แต่ต้องดูถ่อมตัวมากพอ แต่อะไรล่ะคือตรงกลาง”      โดยพื้นฐานทั่วไป งานออกแบบที่ดีนั้นอาจถูกวัดได้จากความสำเร็จไม่กี่ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านภาพลักษณ์หรือฟังก์ชันการใช้งานที่ตอบสนองความต้องการ อย่างไรก็ตาม การทำงานของตื่น ดีไซน์ สตูดิโอนั้น พวกเขากล่าวว่า ในทุก ๆ งานพยายามมุ่งความสนใจไปสู่ประเด็นที่ลึกซึ้งกว่านั้น ด้วยความเชื่อร่วมกันว่า งานออกแบบควรเป็นสิ่งที่มากกว่าแค่ฟังก์ชันหรือสินค้า แต่เป็นสิ่งที่สามารถเข้าถึงจิตใจผู้คน มีความหมาย และมีคุณค่าอันนำมาซึ่งความสุขต่อผู้ใช้ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ      ร้านเกี๊ยวหนองบัว งานออกแบบปรับปรุงร้านบะหมี่เกี๊ยวและของฝากในตึกแถว 3 คูหาใกล้กับตลาดโต้รุ่งไร่รั้งในตัวเมืองตราดก็เป็นหนึ่งในนั้น พวกเขาได้พยายามสร้างคุณค่าที่ดีที่สุดให้กับงาน เพื่อความสมบูรณ์ของการใช้งานในระยะยาว หากจะทำเช่นนั้นได้ พวกเขาจำเป็นจะต้องเข้าใจสิ่งที่ทำ เข้าใจบริบทแวดล้อม และเข้าใจผู้ใช้งานให้มากที่สุดก่อนเท่าที่จะเป็นไปได้      “ถ้าเปรียบเทียบกับ
ขั้นตอนการออกแบบปกติ 
เมื่อได้โจทย์จากลูกค้ามา 
ดีไซเนอร์ก็จะลงไปดีไซน์ แล้ว
ใช้วิธี ‘Try and Error’ คือ
ดีไซน์ไปให้ลูกค้าดูว่าถูกใจ
หรือไม่ ชอบไม่ชอบอะไร 
ทำอย่างนี้กลับไปกลับมา 
จนกว่าจะพอใจร้อยเปอร์เซ็นต์ 
แล้วจึงค่อยเขียนแบบก่อสร้าง” 
คุณภคชาติ เตชะอำนวย-
วิทย์ อีกหนึ่งสถาปนิกใน
ทีมกล่าว      “แต่การทำงานของเรา
จะมีการรีเสิร์ชก่อนที่เราจะเริ่มดีไซน์จริง ๆ 
อาจจะใช้เวลามากน้อยต่างกันไปแล้วแต่
โปรเจ็กต์ อาจเดือนหนึ่งหรือสองเดือน เพื่อ
ทำความเข้าใจโจทย์ร่วมกันระหว่างเรากับ
เจ้าของ เช่น เราได้รับความต้องการมา 
เราต้องไปดูที่ตั้งโครงการ ศึกษาเกี่ยวกับเมือง 
ศึกษาเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมเก่าที่เกี่ยวข้อง
กับงาน แล้วต้องพยายามคุยกับเจ้าของ
เยอะ ๆ หรือตั้งคำถามในเชิงวิเคราะห์หน่อย      “เช่นคำถามง่าย ๆ ว่า ชีวิตประจำวัน
ในหนึ่งวันเขาทำอะไรบ้าง ห้องแบบไหนที่
เขาชอบ หรือถ้าได้ไปอยู่ในบ้านหลังใหม่จะ
เกิดอะไรขึ้น ไปจนถึงคำถามอย่างถ้าคุณมี
เวลาเหลืออีก 6 เดือนในชีวิต คุณจะทำอะไร”      ในการค้นคว้าสถาปนิกตื่นจะพยายาม
ศึกษางานออกแบบและผู้ใช้งานมากไปกว่าเรื่อง
ดินฟ้าอากาศ ทิวทัศน์รอบด้าน หรือความ
ต้องการพื้นฐาน แต่พวกเขาจะให้การทำงาน
พาเข้าไปในโลกของเจ้าของงานให้มากที่สุด และ
ทำความเข้าใจบริบทในทุกมิติเท่าที่จะเป็นไปได้ 
รวมถึงกำหนดเป้าหมายของงาน โดยไม่ใช่
เฉพาะแค่ด้านภาพลักษณ์ แต่เป็นเป้าหมาย
และคุณค่าที่เจ้าของงานและนักออกแบบ
จะเห็นร่วมกันตั้งแต่ต้น เช่น เป้าหมาย
ว่างานออกแบบนั้นจะส่งผลดีกับเมืองนั้น ๆ 
อย่างไร หรือเป็นเป้าหมายที่มีคุณค่าทางใจ
สำหรับเจ้าของโดยเฉพาะ      “ผมมองว่าจริง ๆ ขั้นตอนของการ
ออกแบบมันเป็นแค่ช่วงสั้น ๆ แต่ช่วงแรก
ก่อนการเกิดขึ้นของบางสิ่งที่มันจะอยู่ไป
อีกนานนี้สำคัญมาก จะเห็นว่าทุกโปรเจ็กต์
เราจะเน้นให้เจ้าของเข้ามามีส่วนร่วมเยอะ 
เพราะตัวเขาเองเป็นคนใช้งาน ถ้าเขาเข้าใจ
ที่มาที่ไปของสิ่งที่มันจะอยู่ไปอีกนาน ผมว่า
นั่นถือเป็นประโยชน์ในระยะยาว” คุณ
ภคชาติกล่าว      “การรีเสิร์ชหรือการทำอะไรเยอะ ๆไม่ใช่แค่เราจะได้เข้าใจเขา แต่ผมว่าเขาจะเข้าใจเรามากขึ้นด้วย” คุณภาสพงศ์ มณี-วัฒนา อีกหนึ่งสถาปนิกในกลุ่มกล่าวเสริม“เขาจะเข้าใจกระบวนการทำงาน แล้วเขาจะรู้ว่า โอเค บางอย่างที่มันต้องเป็นอย่างนี้นั้นเป็นเพราะอะไร หรือทำไมมันถึงต้องใช้เวลา”      จึงกล่าวได้ว่า นอกจากการให้ความสำคัญกับมิติรอบด้านของตัวงาน การให้เจ้าของงานได้มีบทบาทกับงานของตัวเองอย่างมาก ก็เป็นแนวทางการทำงานที่กลุ่มสถาปนิกตื่นเห็นตรงกันว่า จะทำให้ได้งานออกแบบที่มีคุณค่ามากที่สุด มากกว่าที่ “สถาปนิก” จะเป็นผู้กะเกณฑ์ฝ่ายเดียว เรือนพินรัตน์ บ้านไม้สองชั้นของ
ครอบครัวรอดสุดในจังหวัดพัทลุง อีกหนึ่ง
ผลงานของสำนักงาน เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ดี
ของการให้เจ้าของบ้านได้เข้ามามีส่วนร่วม
กับงานออกแบบอย่างลึกซึ้ง      “ตัวเจ้าของบ้านค่อนข้างชัดมากว่าต้องการอะไร” คุณภคชาติเล่าให้ฟังถึงที่มาที่ไปของบ้าน “เขาถึงขนาดสเก็ตช์รูปมาให้ว่าอยากให้บ้านออกมาเป็นอย่างไร ซึ่งเราก็ยึดสเก็ตช์ตัวนี้แหละเป็นเครื่องมือ เราไม่ได้อยากจะสร้างหรือเปลี่ยนภาพลักษณ์อะไรใหม่ เราให้ความเคารพกับสิ่งที่ออกมาจากตัวเขา ซึ่งสิ่งนั้นก็คือความทรงจำ โดยที่เขาอาจจะไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่ามันคือส่วนผสมระหว่างความทรงจำที่เขามีกับบ้านคุณตาคุณยายเขากับชีวิตสมัยใหม่ที่เขาอยากจะเป็นในบ้านหลังนี้”      เรือนพินรัตน์เกิดจากความคิดของคุณวิวัฒน์ รอดสุด เจ้าของบ้าน ที่ต้องการสร้างบ้านหลังใหม่ให้เป็นสัญลักษณ์ของการระลึกถึงและแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ โดยนอกจากการนำไม้เก่าจากบ้านคุณตาคุณยายมาใช้ การมีมุมติดรูปคุณตาคุณยายไว้ที่มุมหนึ่งของข้างฝา การใช้รูปลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมที่อ้างอิงกับเรือนพื้นถิ่นภาคใต้แบบที่คล้ายกับบ้านหลังเก่า ชื่อของบ้านยังได้มาจากชื่อของคุณยายพินและคุณตาวิรัตน์ ทั้งหมดรวมกันจึงเป็นบ้านที่ประกอบขึ้นมาจากองค์ประกอบทางความทรงจำ และความหมายที่มีคุณค่าต่อเจ้าของบ้านโดยเฉพาะอย่างลึกซึ้ง      ท้ายที่สุดการให้ความสำคัญกับการเน้นความหมายที่อยู่ในแต่ละสถานที่มากกว่าการกำหนดออกมาจากตัวนักออกแบบเอง จึงเป็นสิ่งที่กลุ่มสถาปนิกตื่นมุ่งหวังมาโดยตลอด ดังที่คุณภคชาติกล่าวสรุปในตอนท้าย      “เรื่องนี้มันสะท้อนในวิธีคิดของพวกเราเหมือนกัน คือเรารู้สึกว่าบางทีสถาปนิก หรือดีไซเนอร์นั้นไม่ได้เป็นเจ้าของความสวยงาม หรือว่าสิ่งที่ออกมาจากดีไซเนอร์เท่านั้นที่มันจะสวย      “งานพื้นถิ่น หรือถ้าเป็นในเมืองถือเป็นงานแนวสตรีทดี ๆ นี่เอง ซึ่งล้วนแต่มีความงามติดตัวมาอยู่แล้ว เพียงแต่เราจะเห็นมันหรือเปล่า ความธรรมดาและความเรียบง่ายมันมีอยู่ทุกที่ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นดีไซเนอร์เท่านั้นที่จะสร้างสรรค์ความงามออกมาได้” เรื่อง : กรกฎา, โมโนโซดาภาพ : ตื่น ดีไซน์ สตูดิโอ

บ้านคอนกรีต

ICONIC TASTE ห่อหุ้มดีไซน์ไอคอนิกด้วยบ้านมินิมัล

ด้วยความที่คลุกคลีอยู่ในวงการออกแบบและเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างโดยอาชีพ  คุณต่อโชค จุลสุคนธ์ จึงเนรมิต แบบบ้านปูนโมเดิร์น หลังใหญ่บนที่ดิน 200 ตารางวาของตัวเอง ตามความรู้และประสบการณ์ที่มีได้อย่างมีเอกลักษณ์

BHx

BASIC HOUSE ความเรียบง่ายในพื้นที่พิเศษของครอบครัว

แบบบ้านโมเดิร์น เคียงคู่อยู่ใต้ร่มจามจุรีที่แผ่กิ่งก้านสาขาให้ร่มเงาขนาดใหญ่ พร้อมการต้อนรับจากเจ้าของบ้านตัวน้อยที่ตั้งใจตื่นนอนแต่เช้าเพื่อมารอพี่ ๆ ทีมงานอย่างกระตือรือร้น

ทางเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา

ทบทวนทางเลียบฯ – ทำความเข้าใจ “ทางเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา” กับแบบ “ทางเดินริมน้ำ” อื่นๆ ทั่วโลก

หากใครยังจำได้ “ โครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ” หรือที่หลายคนรู้จักในชื่อโครงการ “ ทางเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา ” นั้นได้เงียบหายไปจากความสนใจของสังคมพักใหญ่ แต่ก็เหมือนกับแม่น้ำสายใหญ่ที่ไม่เคยหยุดไหลหล่อเลี้ยงมหานคร ข่าวเรื่องการก่อสร้างทางเลียบฯ นั้นเพิ่งเวียนกลับมาในกระแสอีกระลอก เมื่อสำนักการโยธา กรุงเทพมหานครเปิดเผยเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาว่าสภากรุงเทพมหานครมีมติอนุมัติโครงการพร้อมด้วยแบบพร้อมประมูลแล้ว เหลือเพียงรอให้คณะรัฐมนตรีเซ็นอนุมัติเพื่อจัดหาผู้ก่อสร้างเท่านั้น จึงมีเสียงคัดค้านสวนขึ้น เมื่อสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ นำโดยนายอัชชพล ดุสิตนานนท์ นายกสมาคมสถาปนิกสยามฯ ได้ออกหนังสือแถลงการณ์คัดค้านโครงการทางเลียบฯ พร้อมกับความร่วมมือจากองค์กรวิชาชีพฯ และเครือข่ายจำนวน 32 องค์กรเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ.2562 ด้วยเหตุผลที่ว่า ทางเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา นั้นจะมีผลกระทบมากมายทั้งด้านสิ่งแวดล้อม ประวัติศาสตร์ วิถีชีวิตริมน้ำ ศิลปวัฒนธรรม การคมนาคม วิศวกรรม สถาปัตยกรรม และผังเมือง เราจึงน่าจะกลับมาทบทวนความทรงจำกันอีกครั้ง ว่าโครงการที่ว่านี้นั้นมีหน้าตาเป็นอย่างไรในปัจจุบันและแตกต่างอย่างไรบ้างไหมกับโครงการริมน้ำในที่อื่นๆ ทั่วโลก   ทางเลียบฯ แค่ 1 ใน 12 แผน “โครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา” หรือชื่อเล่นที่คนรู้จักว่าโครงการ “ ทางเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา ”เป็นโครงการที่ริเริ่มตั้งแต่ปีพ.ศ.2558 โดยแรกเริ่มนั้นถูกระบุว่าจะถูกสร้างให้เป็นทางเลียบแม่น้ำสำหรับรองรับจักรยาน (Bike […]

CROSSROADS สร้างสรรค์ประสบการณ์ใหม่ในมัลดีฟส์

มัลดีฟส์ถือเป็นหมุดหมายที่สำคัญแห่งหนึ่งของนักเดินทางผู้ที่หลงใหลบรรยากาศของท้องทะเลจากทั่วโลก แทบทุกพื้นที่ดินที่ลอยอยู่เหนือน้ำจึงเป็นที่ตั้งของโรงแรมและและรีสอร์ตหลากหลายรูปแบบที่เตรียมไว้รองรับนักท่องเที่ยว รวมถึงโครงการระดับเวิร์ลคลาสล่าสุดบนเอ็มบูดู ลากูน ในหมู่เกาะ South Malé Atoll พื้นที่สร้างสรรค์ประสบการณ์และไลฟ์สไตล์ใหม่ในมัลดีฟส์ ผ่านมุมมองของบริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน) ภายใต้ โรงแรมมัลดีฟส์ ชื่อ ครอสโร้ดส์ (CROSSROADS ) ซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจากการผสมผสานวัฒนธรรมตะวันตกและตะวันออกผ่านเส้นทางการเดินเรือในอดีตหรือเส้นทางสายไหมทางทะเล (Maritime Silk Road) รูปแบบสถาปัตยกรรมและการตกแต่งภายในโครงการทั้งหมดได้รับการออกแบบด้วยแนวคิด “Where Cultures Meet”             “ครอสโร้ดส์” ถือเป็นพื้นที่พักผ่อนและแหล่งรวมความบันเทิงที่ครบวงจรแห่งแรกในมัลดีฟส์ โดยเกาะแรกซึ่งเปรียบเสมือนศูนย์กลางของโครงการใช้ชื่อว่า“เดอะ มารีน่า แอท ครอสโรดส์”(The Marina @CROSSROADS)บนพื้นที่ขนาด 11,000 ตารางเมตร  ประกอบด้วยโซนช็อปปิ้ง ร้านอาหารชั้นนำ ศูนย์ประชุมอันทันสมัย ท่าเทียบเรือยอชท์พร้อมบีชคลับ รวมถึงสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่าง ศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมมัลดีฟส์ (Maldives Discovery Centre) ซึ่งนำเสนอเรื่องราวเบื้องหลังวิถีชีวิตของคนท้องถิ่นผ่านการทำกิจกรรมสนุกๆทั้งการทำงานศิลปะ งานฝีมือ และโซนเล่นเกมแบบอินเตอร์แอ็กทีฟสำหรับเด็ก ศูนย์การเรียนรู้ทางทะเล(Marine Discovery Centre) แหล่งให้ข้อมูลเกี่ยวกับระบบนิเวศและสิ่งมีชีวิตทางทะเล ซึ่งมีกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวได้ทดลองอนุบาลปะการังก่อนนำลงไปปลูกที่ทะเลเพื่อสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ธรรมชาติให้กับนักท่องเที่ยว  โดยทั้งสองส่วนนี้เปิดให้ผู้ที่สนใจและเข้าชมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย นอกจากนั้นที่นี่ยังมี ศูนย์ฝึกดำน้ำ (Diving Center) […]

บ้านโมเดิร์น

Y/A/O RESIDENCE บ้านโมเดิร์นสีดำกับเส้นเฉียงเป็นเอกลักษณ์

“Y/A/O Residence” แบบบ้านโมเดิร์น สีดำหลังใหญ่สะดุดตา บนที่ดินโล่งกว้างในถนนสุขาภิบาล 5 ซอย 70 ถูกตั้งชื่อตามหนึ่งในชื่อเจ้าของบ้าน คุณนงเยาว์ เณวิลัย กับสามี คุณสมชาย เณวิลัย โดยคุณนงเยาว์ เล่าให้ฟังถึงแนวคิดก่อนการสร้างบ้านว่า “เราเป็นคนชอบเที่ยว ทั้งต่างประเทศ ทั้งต่างจังหวัด ชอบไปตามรีสอร์ทเก๋ๆ ทั้งตามธรรมชาติ ทั้งในเมืองต่างๆ คือเที่ยวหมด ปีหนึ่งคือเที่ยวบ่อยมาก เราก็เลยอยากได้บ้านที่มีอารมณ์ประมาณว่า ถ้าเราอยู่บ้าน ให้รู้สึกเหมือนอยู่รีสอร์ทได้ไหม ให้เหมือนเราได้เที่ยวอยู่ตลอดเวลา” DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: WARchitect ภาพ แบบบ้านโมเดิร์น ในฝันแบบรีสอร์ทที่เจ้าของบ้านต้องการ จึงได้รับการออกแบบให้ตั้งอยู่บนผืนดินขนาดราว 1 ไร่ครึ่ง ประกอบด้วยอาคาร 3 หลัง อันได้แก่ ที่จอดรถ อาคารรับรองแขก และอาคารอยู่อาศัยหลัก กระจายอยู่ทั่วเนินสนามหญ้าสีเขียวสด บ้านเปรียบเหมือนเป็นกลุ่มอาคารที่แตกแขนงพื้นที่ใช้สอยออกจากกัน ไม่ถูกจับรวมเป็นบ้านใหญ่หลังเดียว อันเป็นแนวคิดการจัดวางอาคารที่สถาปนิก คุณธาวิน หาญบุญเศรษฐ สถาปนิกจากทีม Octane architect & design เป็นผู้นำเสนอ “เราเคยลองจับรวมอาคารเป็นก้อนเดียวก้อนใหญ่ก้อนหนึ่งวางไว้ที่มุมบ้าน เมื่อเสร็จแล้ว […]