© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
บ้านหลังนี้เกิดจากความต้องการในการสร้างพื้นที่ที่ครอบครัวของพ่อแม่ และลูกๆทั้ง 3 คน จะได้อยู่รวมกันในพื้นที่ที่เรียกว่า บ้าน ได้อย่างลงตัว แต่ด้วยทำเลที่ตั้งที่อยู่กลางเมืองในย่านพระราม 3 ทำให้การออกแบบนั้นต้องมีการคำนึงถึงข้อจำกัดทางกฎหมาย เพื่อนบ้าน สภาพแวดล้อม ไปจนถึงการตอบสนองต่อบรรยากาศแห่งสุนทรียะที่ บ้าน หลังหนึ่งพึงจะมีให้กับผู้อยู่อาศัยได้ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: PHTAA Living Design #เฟอร์ฯเก่าในบ้านใหม่ โจทย์ข้อหนึ่งที่เป็นเหมือนคีย์สำคัญของการออกแบบบ้านหลังนี้เลยก็คือ การที่เจ้าของบ้านมีความตั้งใจที่จะนำเอาเฟอร์นิเจอร์จากบ้านเดิมที่สะสมเอาไว้ตั้งแต่รุ่นตายายมาใช้ต่อในบ้านหลังนี้ บรรยากาศร่วมสมัยของเฟอร์นิเจอร์ไม้สีเข้ม จึงทำให้การจัดวาง และเลือกใช้วัสดุภายในบ้านมีความสนใจมากขึ้นตามไปด้วย เฟอร์นิเจอร์หลายตัวนั้นถูกทำสีใหม่ โดยคำนึงถึงบรรยากาศดั้งเดิมไว้ให้มากที่สุด บางตัวถูกบุผ้าใหม่ บางตัวมีการย้อมสีใหม่ให้ลงตัวเข้ากันกับตัวอื่น และบางตัวก็ได้มีการปรับโทนสีให้ร่วมสมัยยิ่งขึ้น ข้อดีของเฟอร์นิเจอร์เก่าคือความที่เป็นไม้จริง วัสดุจริง มีความคงทนถาวร จึงทำให้สามารถซ่อมแซม หรือปรับปรุงให้สามารถไปต่อกับแนวทางการออกแบบสมัยใหม่ได้อย่างลงตัว อีกสิ่งที่เฟอร์นิเจอร์เก่าสามารถช่วยได้อย่างมากก็คือ บรรยากาศของความเป็นบ้าน ดังจะเห็นได้จากพื้นที่ห้องนั่งเล่นบนชั้น 3 ที่มีบรรยากาศอบอุ่นไม่ต่างจากบรรยากาศของบ้านเดี่ยวแบบดั้งเดิมเลยทีเดียว ทั้งยังสานต่อเรื่องราว ความทรงจำ ไปสู่สมาชิกครอบครัวรุ่นต่อไปได้อย่างดีอีกด้วย เคล็ดลับหนึ่งที่ PHTAA ได้ใช้กับการผสานเฟอร์นิเจอร์ทั้งหมดเข้ากับงานออกแบบร่วมสมัยของบ้านหลังนี้คือ การเลือกใช้วัสดุที่ให้สีสันออกไปทางโทนสีเบจ และน้ำตาล โทนสีในโทนพาสเทลนี้จะช่วยลดความแข็งของไม้สีเข้มลง สร้างความรู้สึกที่นุ่มนวลอบอุ่นให้กับพื้นที่ได้อย่างดีเลยทีเดียว หากใครมีเฟอร์นิเจอร์เก่าสีเข้มเช่น ไม้สัก ไม้แดง ลองนำเทคนิคนี้ไปใช้ก็น่าสนใจไม่ใช้น้อย #บ้านทรงกล่องที่ไม่กล่องจากภายใน […]
HOUSE 905 บ้านสังกะสี กะทัดรัดออกแบบเรียบง่ายด้วยวัสดุ และอยู่อาศัยได้ดีกับทุกสภาพแวดล้อมภูมิอากาศ
บ้านน้อยหลังนี้ ตั้งอยู่ในเมืองฟานเทียต จังหวัดบิ่ญถ่วน ทางตอนใต้ของเวียดนาม ปลูกสร้างจากโครงสร้างเหล็กที่พอดีสำหรับครอบครัวเล็ก 4 คน ด้วยหลักการของการใช้โครงสร้างอาคารร่วมกับโครงเฟอร์นิเจอร์ และการออกแบบในระบบพิกัดที่เอื้อต่อการเติบโตของครอบครัวในอนาคต
ข้อดีของภูมิอากาศแบบเขตร้อนชื้น (Tropical) นั้นทำให้ บ้านโมเดิร์น ที่ออกแบบในพื้นที่แถบนี้สามารถสร้างสรรค์พื้นที่ที่เปิดรับธรรมชาติ และอยู่กับสภาพอากาศได้อย่างดี ไม่เหมือนบ้านในเขตอื่น ๆของโลกที่อาจจะหนาวจนเกินไปจนต้องปิดตัวเองไว้ภายใน หรือร้อนจนต้องทำบังแดดปิดกั้นไม่สามารถใช้ชีวิตแบบ Semi-Outdoor ได้โดยสะดวก นี่คือความละเมียดละไมในงานออกแบบที่คิดคำนึงถึงความเป็นไปได้ในการเลือกใช้วัสดุ ลักษณะพื้นที่ ให้มีจังหวะที่สอดคล้องไปกับธรรมชาติได้อย่างลงตัว เกิดเป็นความหรูหราที่ไม่มีที่ใดเหมือน กับ P30 House โดย Normal Practice บ้านที่รุ่มรวยไปด้วยความรื่นรมบนนิยามแบบ Modern Tropical
บ้านโมเดิร์น หลังนี้โดดเด่นด้วยความเป็นส่วนตัวท่ามกลางธรรมชาติจากภายใน ที่ปิดกั้นความวุ่นวายของเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพฯ ไม่ให้กล้ำกรายเข้ามา กับการออกแบบพื้นที่ที่เชื่อมโยง และเปิดมุมมองสู่ธรรมชาติอย่างแยบยล ให้พื้นที่ที่เรียกว่า "บ้าน" เป็นพื้นที่พิเศษของครอบครัว
หากใครที่ชื่นชอบสถาปัตยกรรมในแบบโมเดิร์นนิสม์ที่มีจังหวะพื้นผิววัสดุและแสงธรรมชาติอันสวยงาม ที่นี่คือบ้านตากอากาศขนาดกำลังดี จัดวางด้วยเฟอร์นิเจอร์ลอยตัวสุดสร้างสรรค์จาก PDM BRAND รับรองว่าบ้านหลังนี้ คือที่สุดของบ้านในดวงใจอีกหลังหนึ่งอย่างแน่นอน DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: POAR เพราะนี่คือ บ้านตากอากาศ ของคุณดิว-ดุลยพล ศรีจันทร์ ผู้ก่อตั้งและ Creative Director PDM Brand สำหรับวันว่างที่อยากปลีกจากเมืองกรุงฯ เพื่อใช้เวลาพิเศษกับครอบครัว และเพื่อนฝูง ที่นี่จึงเป็นเหมือนพื้นที่พิเศษของครอบครัวและเพื่อนฝูงในวันสุดสัปดาห์ ท่ามกลางธรรมชาติชานเมืองในพื้นที่นครชัยศรีกับวิวแม่น้ำกว้างไกลสุดสายตาและทุ่งนาที่รายล้อม เมื่อเลี้ยวออกทางหลวงชนบทในพื้นที่ลำพญา-นครชัยศรี ลัดเลาะเข้ามาจนถึงริมแม่น้ำนครชัยศรี เราจึงได้พบกับบ้านหลังนี้ตั้งเด่นอยู่ในพื้นที่สุดซอยที่จัดสรรค์แบ่งแปลงไว้อย่างลงตัว บ้านหลังนี้เป็น “บ้านตากอากาศ” ที่เจ้าของตั้งใจไว้สำหรับให้ทุกคนในครอบครัวรวมทั้งมิตรสหายได้แวะมาใช้เวลาร่วมกัน การเลือกทำเลที่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากกรุงเทพฯอย่างนครชัยศรีจึงเป็นที่ๆทุกๆคนจะแวะมาที่นี่ได้อย่างไม่ยากเย็น และแน่นอนว่าการออกแบบบ้านหลังนี้ก็ทำขึ้นเพื่อรองรับช่วงเวลาพิเศษนั้นเช่นกัน การออกแบบบ้านหลังนี้มีจุดประสงค์ในการเป็น “บ้านตากอากาศ” เป็นสำคัญ เริ่มต้นจากการออกแบบให้พื้นที่ทั้งหมดเป็นพื้นที่ที่สามารถดูแลรักษาได้ง่าย จึงทำให้แต่ละพื้นที่นั้นถูกคิดคำนวญมาเป็นอย่างดีให้ลงตัวและไม่ใหญ่โตจนเกินไป โดยแบ่งพื้นที่สังสรรค์ออกเป็นพื้นที่อเนกประสงค์ที่ชั้นล่างบริเวณใต้ถุนบ้าน และพื้นที่รับแขกนั่งเล่นขนาดใหญ่ที่ชั้นบนซึ่งต่อเนื่องกับชานชมวิวของบ้านหลังนี้ บานเปิดของบ้านหลังนี้มีความพิเศษที่สามาถเปิดออกได้จนสุดบานตั้งแต่พื้นจรดเพดาน มีการเลือกใช้วัสดุ Texiline ที่มีความโปร่งแสง สามารถกันแดดฝนได้ แต่ก็ยังสามารถมองทะลุผ่านจากภายในและยอมให้ลมไหลผ่านได้ในระดับที่ไม่อึดอัด ในยามที่เจ้าของบ้านต้องการรับลมและชมวิวก็สามาถเปิดบ้านออกรับธรรมชาติได้แทบจะในทันที การเลือกออกแบบให้บ้านหลังนี้เป็นบ้าน “ใต้ถุนสูง” นั้น นอกจากจะเป็นความจำเป็นจากการที่พื้นที่นครชัยศรีเป็นพื้นที่รับน้ำของกรุงเทพฯซึ่งมีระดับน้ำในฤดูน้ำหลากที่ค่อนข้างสูงแล้ว การเลือกให้พื้นที่ส่วนตัวอยู่บนชั้นสองยังทำให้พื้นที่เหล่านั้น พ้นไปจากมุมมองสายตาของเพื่อนบ้าน ซึ่งเมื่อต้องการการเปิดโล่งเพื่อรับทิวทัศน์เช่นนี้แล้ว การเปลี่ยนมุมมองไปอยู่ที่ชั้นบนจึงเป็นทางออกที่น่าสนใจ โครงสร้างของบ้านหลังนี้เป็น “คอนกรีตหล่อในที่” ในเกรด […]