© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
ข้อมูลย้อนหลังจากกองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำการตรวจสอบคุณภาพอากาศและสถานการณ์หมอกควันในประเทศไทย จะเห็นชัดเจนว่าค่าตัวเลขของฝุ่นนั้นเกินค่ามาตรฐานมากขึ้นทุกปี โดยทาง WHO หรือ องค์การอนามัยโลกกำหนดว่า หากมีเกินกว่า 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ถือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ขณะที่ประเทศไทยกำหนดอันตรายของฝุ่น PM 2.5 อยู่ที่ 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร แต่ไม่ว่าจะถือมาตรฐานใด นั่นก็เป็นหนึ่งสาเหตุหลักที่ทำให้คนไทยมีปัญหาด้านทางเดินหายใจเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี อันตรายจาก PM 2.5 ที่ไม่ควรมองข้าม ฝุ่น PM 2.5 หรือ Particulate Matters 2.5 คือ ฝุ่นละอองในอากาศที่มีขนาดอนุภาคเล็กกว่า 2.5 ไมครอนหรือไมโครเมตร ในบ้านเราปัญหาของ PM 2.5 ตลอดทั้งปี โดยจะทวีความรุนแรงมากเป็นพิเศษช่วงปลาย-ต้นปี โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือและกรุงเทพฯ และด้วยขนาดของฝุ่นที่เล็กมากทำให้เราจึงมองไม่เห็นได้ด้วยการมองปกติ อีกทั้งยังสามารถลอดผ่านการกรองของขนจมูกไปยังหลอดลม ลงลึกจนถึงถุงลมปอดและซึมเข้าสู่กระแสเลือด จึงทำให้ทุกคนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงก็มีโอกาสสามารถเป็นโรคทางเดินหายใจได้ทุกคน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงอันตรายอย่างเด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้สูงอายุ โดยหากได้รับ ฝุ่น PM 2.5 ในปริมาณที่เกินกำหนดจะมีอาการแสบจมูก เป็นหวัด […]