shophouse
ATELIER KAMPOT รีโนเวทตึกแถว กัมพูชา สไตล์โคโลเนียลทรุดโทรม สู่ช็อปเฮ้าส์ร่วมสมัย
โปรเจ็กต์ รีโนเวทตึกแถว กับการคงเอกลักษณ์อาคารโคโลเนียลในประเทศกัมพูชา สู่พื้นที่ร้านอาหารและบ้านพักอาศัย รีโนเวทตึกแถว สไตล์โคโลเนียล ซึ่งตั้งอยู่ในย่านการค้าเก่าแก่ริมแม่น้ำในเมืองกำปอต ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศกัมพูชา จากที่เคยปิดร้างและมีสภาพทรุดโทรมให้กลายเป็นช็อปเฮ้าส์ เปิดทำธุรกิจร้านอาหารที่ชั้นล่าง และทำพื้นที่พักอาศัยที่ชั้นบน ออกแบบและรีโนเวตโดย Bloom Architecture สะท้อนถึงแนวคิดการให้คุณค่าต่อสถาปัตยกรรมเก่าแก่ของเมืองที่มีความเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ และอีกด้านหนึ่งยังถือเป็นเรื่องของการปรับตัวให้เข้ากับวิถีชีวิตสมัยใหม่ได้เป็นอย่างดี เล่าย้อนไปที่นี่เคยเป็นร้านค้าดำเนินกิจการของครอบครัวของเจ้าของมาอย่างยาวนาน แต่เมื่อความเจริญของเมืองท่าเริ่มลดความสำคัญลง อาคารแห่งนี้ได้ทิ้งร้างมานานหลายปี ก่อนได้รับการฟื้นคืนชีวิตชีวาอีกครั้งในฐานะที่กลายเป็นร้านอาหารและบ้านพักอาศัย เพื่ออนุรักษ์สถาปัตยกรรมเก่าแก่ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากตะวันตก และรักษาความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เมื่อครั้งที่กัมพูชาเคยเป็นเมืองอาณานิคมฝรั่งเศส จากการรู้คุณค่าดังกล่าวสถาปนิกจึงมุ่งเน้นที่การรักษาลักษณะดั้งเดิมของอาคารให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ในขั้นตอนของการนำพาอาคารเก่าข้ามเวลาสู่ยุคสมัยใหม่ สถาปนิกเน้นแผนการปรับปรุงอาคารโดยยังคงลักษณะดั้งเดิมของอาคารไว้ เริ่มจากภายนอกที่คงเก็บช่องเปิดโค้งขนาดใหญ่ที่ระเบียงชั้นสอง ลายปูนปั้นวิจิตรบรรจง ร่องรอยและคราบสีเก่าบนผิวอาคาร เพื่อบอกเล่าเรื่องราวการเปลี่ยนผ่านของวันเวลาจากอดีตถึงปัจจุบัน ผสมกับไม้รีไซเคิลที่รื้อถอนจากตัวบ้านบางส่วน แล้วนำกลับมาใช้ใหม่ เปลี่ยนแปลงให้กลายเป็นเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ ส่วนหน้าต่างของบ้านเป็นการสั่งทำขึ้นมาใหม่ แสดงถึงการเข้ากันได้ระหว่างสิ่งเก่ากับสิ่งใหม่ได้อย่างลงตัว พื้นที่ภายในมีขนาดพื้นที่ใช้สอย 319 ตารางเมตร แม้รูปลักษณ์ของอาคารจะเป็นอาคารพาณิชย์สไตล์โคโลเนียล แต่ฟังก์ชันภายในกลับบรรจุด้วยความสะดวกสบายเข้ากับวิถีชีวิตคนยุคปัจจุบัน ชั้นล่างเปิดโล่งมีที่นั่งให้เลือกหลากหลาย จัดวางโต๊ะและเก้าอี้ไม้หลายรูปทรงสำหรับเป็นพื้นที่รับประทานอาหาร ฝ้าเพดานดูสูงโปร่งเผยให้เห็นคานไม้ ผนังอิฐโชว์ลายเผยให้เห็นเท็กซ์เจอร์วัสดุดั้งเดิม ประดับตกแต่งบรรยากาศด้วยภาพศิลปะแอ๊บสแตร็กต์สีสันสดใส ส่วนพื้นเป็นกระเบื้องลายโบราณที่โดดเด่นเป็นเอกลัษณ์และนิยมใช้กันในสมัยก่อน รับแสงและอากาศให้ไหลเวียนถ่ายเทได้ดี ผ่านการออกแบบให้มีคอร์ตยาร์ดซึ่งมีบันไดวนโลหะขนาดใหญ่สีขาวทอดผ่านลานตรงกลางนี้ สูงขึ้นไปจนถึงห้องนั่งเล่นส่วนตัวที่อยู่ชั้นบนสุด ซึ่งเป็นพื้นที่พักอาศัยของเจ้าของบ้าน โดยบันไดวนนี้มีความสำคัญต่อการออกแบบอย่างมาก ใช้ในการนำพาแสงธรรมชาติให้ส่องลงมาถึงระดับพื้นที่ใช้งานชั้นล่าง และช่วยระบายอากาศตามธรรมชาติ ทำให้ภายในอาคารเย็นสบายแม้ในช่วงฤดูร้อนที่ร้อนระอุ […]
ไอเดียแบบบ้านสร้างอาชีพ ปรับพื้นที่เพื่อการค้าขาย
เมื่อทุกคนควรมีบ้านเป็นพื้นฐานของชีวิต บ้านและสวน จึงชวน Everyday Architect & Design Studio มาร่วมออกแบบและแบ่งปันไอเดีย แบบบ้าน ให้ดาวน์โหลดฟรี เพื่อสร้างโอกาสให้ทุกคนเข้าถึงการมีบ้าน และได้ต้นแบบบ้านที่ดีแม้มีพื้นที่จำกัด บ้านเป็นได้มากกว่าที่อยู่อาศัย เพราะสามารถเป็นพื้นที่สร้างรายได้ ด้วยการอดีไซน์หน้าบ้านเป็นพื้นที่กึ่งอเนกประสงค์ ปรับเป็นร้านขายของ คุณชัชวาล สุวรรณสวัสดิ์ สถาปนิกแห่ง Everyday Architect & Design Studio จึงออกแบบปรับอาคารพาณิชย์ที่ไม่ใช่แค่เพียงที่พักอาศัย ทว่ายังสร้างอาชีพ มีรายได้ด้วย แบบบ้านสร้างอาชีพ แนวคิดการออกแบบ สถาปนิกนำคาแรคเตอร์ของร้านขายของริมทางที่เชื่อว่ามีลักษณะที่เป็น Basic Needs ในการค้าขายจริงๆ มาใช้เป็นแนวทางในการออกแบบส่วนพื้นที่ส่วนหน้าบ้าน โดยเลือกลักษณะเด่นต่างๆ ที่มักพบเห็นทั่วไปนำมาใช้ ได้แก่• พื้นที่ใต้ร่มแบบ semi-outdoor ที่ระบายลมได้ดี• แผงสำหรับเกี่ยวแขวนของขาย• การใช้วัสดุเหล็กที่สามารถเชื่อมดัดแปลงเพิ่มเติมได้ตามที่ต้องการตัวบ้านพยายามคงลักษณะราคาถูก และง่ายต่อการก่อสร้างต่อเติม เป็นโครงสร้างปูน โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กธรรมดา หลังคาง่ายๆ แต่ออกแบบพื้นที่ข้างหน้าให้พิเศษขึ้น ด้วยวัสดุที่ไม่ได้แพงมาก แล้วนำมาร่วมร่างกลายเป็นตัวบ้านที่อยู่อาศัยได้ปกติ และส่วนหน้าบ้านเป็นที่ขายของได้ พื้นที่ใช้งาน แบ่งพื้นที่เป็น 2 ส่วน […]
บ้านเดี่ยว สไตล์ ตึกแถว ในประเทศ เวียดนาม เปิดรับบริบทภูมิอากาศ และเชื่อมโยงพื้นที่สีเขียวผ่านการใช้พื้นที่ในแนวตั้ง
โจทย์หลักของเจ้าของบ้านคือการเติมพื้นที่โล่ง และแสงธรรมชาติเข้าสู่ภายในของอาคารในรูปแบบตึกแถวที่มักมีปัญหาในด้านความทึบตัน โดยบ้านหน้าแคบเช่นนี้ โดยกฎหมายแล้วจะไม่มีหน้าต่างในด้านข้าง จึงทำให้ต้องมีการออกแบบช่องเปิดในหน้าบ้านและหลังบ้านแทน การเลือกใช้สีขาว ถูกใช้เพื่อให้แสงธรรมชาติที่ผ่านเข้ามาจากช่องเปิดของระเบียง สามารถสะท้อนเข้าไปถึงพื้นที่ภายในได้ทั่วถึง แต่ในขณะเดียวกัน ระยะร่นของระเบียงก็ช่วยให้แสงที่ส่องเข้ามาไม่เจิดจ้าจนเกินไป แม้บ้านหลังนี้จะมีสไตล์ที่ดูเรียบเกลี้ยงแบบมินิมัล แต่การเติมพื้นผิวจากวัสดุธรรมชาติ เช่น การใช้เสื่อสานในการสร้างพื้นผิวให้กับเพดาน และการเลือกใช้พรรณไม้ รวมทั้งการจัดวางให้ต้นไม้มีการเชื่อมโยงระหว่างแต่ละชั้นด้วย ในส่วนของการจัดการสภาพอากาศภายในนั้น มีการทำช่องเปิดให้เกิดการไหลเวียนในแนวตั้งได้ โดยมีสกายไลท์เพื่อสร้างให้ลมร้อนที่ชั้นบนของอาคารช่วยดึงอากาศทั้งหมดให้ไหลเวียนได้โดยสะดวก บ้านหลังนี้จึงเป็นตัวอย่างที่น่าสนใจของการออกแบบที่สอดคล้องกับภูมิอากาศ และเป็นตัวอย่างที่ดีของการออกแบบบ้านหน้าแคบอย่างตึกแถวไปพร้อมกัน ออกแบบ: S+Na. – Sanuki + Nishizawa architects ภาพ: Hiroyuki Oki เรียบเรียง: Wuthikorn Sut #roomHouses#roomBooks#บ้านเวียดนาม