Studio Krubka
“บ้านอากาศเย็น” บ้านเลขที่ 1 ณ เย็นอากาศ
บ้านอากาศเย็น เป็นชื่อบ้านที่เจ้าของตั้งขึ้นล้อกับชื่อถนนเย็นอากาศ แต่เมื่อเข้ามาในบ้านก็รู้สึกเย็นสมชื่อ เพราะแม้จะเป็นบ้านคอนกรีตเปลือยสุดเท่ แต่ออกแบบให้มีคอร์ตในบ้านหลายจุด ทั้งเพื่อระบายอากาศ รับแสงธรรมชาติ และสร้างมิติให้สเปซของบ้านสัมพันธ์กับธรรมชาติอย่างงดงาม DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: Studio Krubka ทุกความสัมพันธ์เริ่มก่อตัวขึ้นเมื่อสองสิ่งอยู่ร่วมกัน เกิดระยะ “ระหว่าง” ที่บางครั้งเป็นเพียงมวลอากาศ บ้างเป็นการเว้นว่างเพื่อก่อสัมพันธ์ในความเงียบงัน หรือเกิดแรงดึงดูดให้โคจรเคียงกัน เช่นเดียวกับพื้นที่กว่า 1 ไร่ ณ บ้านเลขที่ 1 ของถนนเย็นอากาศซึ่ง คุณหมง – อรรณพ ชั้นไพบูลย์ และ คุณส้ม – สุชีรา นิมิตราภรณ์ คู่ชีวิตเจ้าของโปรดักชั่นเฮ้าส์ บริษัทหมงราม่า จำกัด ที่เคยขับรถผ่านบ่อยครั้ง จนได้มาเป็นเจ้าของและสร้าง บ้านคอนกรีตเปลือย ที่สะท้อนตัวตนของทั้งคู่ในแบบไม่เหมือนใคร “บ้านอากาศเย็น” ชื่อที่มาก่อนตัวบ้าน กว่าจะเป็น บ้านคอนกรีตเปลือย หลังนี้ไม่ง่ายเลย เวลาร่วม 7 ปีที่เจ้าของบ้านและสถาปนิก คุณแจ็ก – ดนัย สุราสา แห่ง […]
INSIDE-OUT HOUSE โลกกลับด้านที่จับสเปซภายนอกมาไว้ในบ้าน
บ้านโมเดิร์นที่ออกแบบภายนอกทึบตันให้ตัดขาดจากโลกภายนอก ป้องกันเสียงรบกวนจากทางด่วน แต่สเปซภายในกลับเสมือนเป็นพื้นที่ภายนอก ด้วยการเปิด 5 คอร์ตเชื่อมต่อสเปซแนวตั้งและแนวนอน ให้แสงแดด สายลม และท้องฟ้าได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของบ้านแบบเป็นส่วนตัว DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: Studio Krubka หากมองจากภายนอกบ้านจะเห็นแต่กรอบผนังทึบตันสีเข้มที่ดูตัดขาดจากโลกภายนอกอย่างสิ้นเชิง เพราะพื้นที่ตั้งของบ้านอยู่ท่ามกลางย่านที่พักอาศัยหนาแน่นมาก มีบ้านพักอาศัยล้อมรอบอาคารทั้ง 3 ด้าน ด้านหน้าบ้านเป็นถนนซอยแคบ อีกทั้งหลังบ้านยังอยู่ใกล้กับทางด่วนที่มีเสียงรบกวนสูง โจทย์จากเจ้าของบ้านที่ให้ไว้กับสถาปนิก – คุณดนัย สุราสา แห่ง Studio Krubka Co.,Ltd. คือต้องการความเป็นส่วนตัวสูงที่สุด ไม่อยากให้คนภายนอกมองเข้ามาเห็นการใช้ชีวิตภายในบ้านได้เลยแม้แต่นิดเดียว ไม่ชอบเสียงดัง แต่กลับชอบการใช้ชีวิตกลางแจ้ง และชอบระเบียงที่มีลมพัดผ่านตลอดเวลา ซึ่งมีความขัดแย้งค่อนข้างสูงกับบริบทที่ตั้งอาคาร การวางผังเรือนไทยจึงถูกนำมาพิจารณา และใช้เป็นแนวคิดตั้งต้นในการออกแบบวางผังบ้านหลังนี้ บ้านโมเดิร์นมีคอร์ต แนวคิดผังเรือนไทยในบ้านทึบ แน่นอนว่าไม่สามารถนำการวางผังแบบเรือนไทยมาใช้ได้แบบตรงไปตรงมา ผู้ออกแบบสังเกตว่าการวางผังเรือนไทยนั้น เป็นการจัดวางกลุ่มอาคารชั้นเดียวใต้ถุนสูง โดยมีชานเป็นตัวเชื่อมกิจกรรมและกลุ่มอาคารต่างๆเข้าด้วยกัน การจัดวางตำแหน่งของอาคารแต่ละหลังนั้น เป็นการจัดวางที่คำนึงถึงทิศทางแดดและการระบายอากาศเป็นสำคัญ บ้านนี้ได้นำหลักการดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในการวางผังและการออกแบบรูปตัดของอาคาร เพื่อกำหนดการวางตัวของกลุ่มกิจกรรมต่างๆ ทั้งในแนวนอนและแนวตั้ง 5 คอร์ตเล็กใหญ่ที่สัมพันธ์กับแรงลม ออกแบบสเปซภายในบ้านให้กลุ่มของกิจกรรมแต่ละก้อนวางตัวเหลื่อมล้ำ สลับกันไปมาทั้งในแนวตั้งและแนวนอน โดยคำนึงถึงทิศทางลมเป็นหลัก ส่งผลให้เกิดคอร์ตขนาดน้อยใหญ่ขึ้นจำนวน 5 […]