Sustainable Design
KOOPREE TEAK เก้าอี้ไม้จากป่าปลูก
“เก้าอี้ที่นำไม้จากป่าปลูกหมุนเวียนที่ปลูกขึ้นเองมานานกว่า 10 ปีมาเป็นวัสดุหลัก โดยเริ่มคิดตั้งแต่การปลูก การแปรรูป และขายอย่างยั่งยืน ปรับสัดส่วนงานให้เหมาะกับไม้ป่าปลูก มีน้ำหนักเบา ทนทานทั้งการใช้งาน indoor และ outdoor” สมัชชา วิราพร รองบรรณาธิการอำนวยการบ้านและสวน คุณคิดว่าใครจะบ้า ปลูกต้นไม้แล้วรออีก 10 ปีเพื่อเอามาทำเฟอร์นิเจอร์ที่ออกแบบเองไหม กูปรี ทีก (KOOPREE TEAK) คือเก้าอี้ของแบรนด์ เจิด ดีไซน์ แกลลอรี่ ที่นำไม้จากป่าปลูกหมุนเวียนที่เขาปลูกขึ้นเองมานานกว่า 10 ปี มาเป็นวัสดุหลักในการสร้างสรรค์ชิ้นงาน โดยเริ่มคิดตั้งแต่การปลูก การแปรรูป และขายอย่างยั่งยืน เก้าอี้ตัวนี้เป็นงานไม้ที่เรียบง่ายที่ดีไซน์ข้อต่อเหล็กให้เป็นตัวกลางรัดชิ้นเฟอร์นิเจอร์ให้แข็งแรงแทนนการเข้าไม้ที่ซับซ้อนในงานเฟอร์นิเจอร์ ช่วยให้ประหยัดแรงงาน สะดวกต่อการขนส่งและลดการสูญเสียวัสดุเกินจำเป็น เมื่อต้นไม้ที่แบรนด์ปลูกเติบโตเพียงพอจะนำมาผลิตเฟอร์นิเจอร์ จึงปรับสัดส่วนชิ้นงานใหม่ให้พอเหมาะพอดีกับไม้ที่ได้ ทำให้มีน้ำหนักเบาลงกว่าเดิม แต่ยังคงใช้งาน indoor และ outdoor ได้อย่างทนทานเช่นเดิม เฟอร์นิเจอร์ของ เจิด ดีไซน์ แกลลอรี จึงเกิดจากกระบวนการผลิต ที่ยิ่งทำ ก็ยิ่งมีป่าเพิ่มขึ้น ดูข้อมูลเพิ่มเติมของ กูปรี ทีก […]
SMOOTH TRAY SET หนึ่งดีไซน์หลายฟังก์ชัน
“แบรนด์ Qualy มีจุดเด่นทั้งในเชิงของการพัฒนาวัสดุและการใช้งาน ได้นำพลาสติกรีไซเคิลมาผสมกับยางพาราและผงไม้ในการสร้างสรรค์ชิ้นงาน ให้ผลิตภัณฑ์โมเดลเดียวกันสามารถใช้งานได้หลายฟังก์ชัน เป็นโคมไฟ กระจกเงา หรือชั้นวางของ” ดำรง ลี้ไวโรจน์ บรรณาธิการอำนวยการบ้านและสวน Qualy คงจุดเด่นของแบรนด์ที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบผลิตภัณฑ์อย่างยั่งยืน โดยคอลเลคชันนี้ใช้พลาสติกรีไซเคิล PP ผสานเข้ากับยางพาราธรรมชาติและผงไม้เพื่อให้มีความเป็นธรรมชาติสูงขึ้น เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกันก็มีความแข็งแรงทนทาน ไม่กลัวความชื้นและมีความยืดหยุ่นสูง ขึ้นรูปได้โดยการหลอมในแม่พิมพ์ ทำให้ไม่เสียเศษไปในกระบวนการผลิต และยังสามารถรีไซเคิลกลับมาใช้ใหม่ได้ 100% นับเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับการผลิตและการบริโภคที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม อีกหนึ่งจุดเด่นเป็นเรื่องของการออกแบบด้วยรูปทรงเรียบง่ายเป็นสี่เหลี่ยมลบมุม แต่กลับสามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานได้หลากหลาย ทุกชิ้นสามารถถอดเปลี่ยนสลับกันได้ ไม่ว่าจะประกอบเป็นโคมไฟ กระจกเงา หรือถาดวางของได้ตามบริบทภายในบ้านให้ทั้งสนุกและมีสไตล์ตามแบบของตัวเอง ดูรายละเอียดสินค้าที่ออกแบบมาเพื่อความยั่งยืนแบบนี้ได้ที่ Qualy
ออฟฟิศ ม่านไม้เลื้อยเพื่อสร้างความสุขในการทำงาน A&P OFFICE BUILDING
ออกแบบ ศรีศักดิ์ พัฒนวศิน หากใครมีโอกาสผ่านเข้าไปในซอยประชาชื่น 31 จะพบอาคารคอนกรีตสูง 5 ชั้นที่ตั้งใจเลือกใช้ฟาซาดจากธรรมชาติ เป็นม่านไม้เลื้อย ซึ่งอาคารแห่งนี้เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัท เอ แอนด์ พี เมนทิแนนซ์ เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด หรือ ในแวดวงธุรกิจจะรู้จักกันดีในชื่อ A&P ซึ่งเป็นบริษัทรับคลีนนิ่งระดับประเทศ ที่รับทำความสะอาดทั้งอาคารสำนักงานขนาดใหญ่ ศูนย์การค้า สนามบิน ตลอดจนหน่วยงานราชการต่างๆ โดยอาคารสำนักงานดังกล่าวเป็นการออกแบบและสร้างใหม่บนที่ดินขนาด 1.5 ไร่ ออกแบบโดยคุณ ศรีศักดิ์ พัฒนวศิน ภายใต้แนวความคิดการหลอมรวมธรรมชาติให้เป็นส่วนหนึ่งของการทำงาน เพื่อสร้างความสุขให้กับพนักงานขององค์กรอย่างยั่งยืน อาคารสำนักงานแห่งนี้นับว่าเป็นอีกหนึ่งความท้าทายของผู้ออกแบบไม่น้อย เนื่องจากต้องทำการออกแบบและก่อสร้างภายใต้ข้อจำกัดมากมาย ทั้งในเรื่องของระยะเวลาและการออกแบบเพื่อให้ใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่าที่สุด ในการออกแบบเบื้องต้น ผู้ออกแบบจึงกำหนดให้ตัวอาคารที่มีพื้นที่ใช้สอยขนาด 2,000 ตร.ม. วางไว้ด้านในของที่ดิน เนื่องจากทางเจ้าของโครงการมีแผนจะสร้างอาคารเพิ่มเติมยังบริเวณด้านหน้าที่ดินในอนาคต อีกทั้งด้วยตำแหน่งของที่ตั้งทำให้จำเป็นต้องหันด้านหน้าอาคารไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นด้านที่จะได้รับความร้อนตลอดทั้งวัน ผู้ออกแบบจึงกำหนดให้มีชุดผนังกระจกบานเลื่อนซ้อนในทุกๆ ฟังก์ชันเผื่อในกรณีที่ต้องการเปิดรับลมได้มากสุด ก็จะทำให้อากาศนั้นหมุนเวียนไปได้ทั่วอาคาร เสริมกับการเลือกใช้ต้นลีกวนยูมาเป็นฟาซาดด้านหน้าอาคารก็เพื่อช่วยลดความร้อนจากแสงอาทิตย์ ทำหน้าที่เสมือนเป็นอุปกรณ์บังแดดทางธรรมชาติที่ยอดเยี่ยมให้กับอาคารอีกชั้นหนึ่งด้วย ทั้งนี้ตัวอาคารยังออกแบบพื้นที่ได้อย่างคุ้มค่าด้วยการกำหนดผนังทั้ง 2 ด้านของอาคารนั้นเป็นผนังทึบ ทำให้ระยะร่นระหว่างจากอาคารถึงแนวเขตกำแพงนั้นมีน้อยลงตามที่ข้อกฎหมายได้กำหนด ส่งผลให้อาคารมีพื้นที่ใช้สอยเพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้นเพื่อช่วยกันความร้อนและเพื่อย่นระยะเวลาในการก่อสร้าง […]
เยื่อกระดาษกันกระแทกจากเศษลัง Re-Krafts x Re-Hyacinths
นี่คือบรรจุภัณฑ์ที่ทำให้เราประหยัดวัสดุไปได้ถึงกว่าเท่าตัว ดูดี มีความรักษ์โลก เพราะใช้วัสดุธรรมชาติผสมวัสดุรีไซเคิล ทำไมเราต้องซ้อนพลาสติกกันกระแทกหนาหลาย ๆ ชั้น เวลาจะส่งของบรรจุในกล่องพัสดุ หลายคนคงเคยสงสัย และกลุ้มใจกับจำนวนพลาสติกกันกระแทกมากมายเหล่านั้น เพื่อลดปริมาณพลาสติกที่มากับกล่องพัสดุ นี่คือบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบมาเพื่อให้ใช้วัสดุกันกระแทกและทำหน้าที่เป็นกล่องไปในตัว Re-Krafts x Re-Hyacinths หนึ่งในงานออกแบบที่ชนะรางวัล DEmark, Thailand ในปีนี้ คือบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบด้วยการสร้างความงามจากวัสดุกันกระแทกภายในออกสู่ความงามภายนอก ซึ่งเกิดจากการผสมเศษเยื่อกล่องกระดาษลังที่เหลือใช้ หรือหมดสภาพการใช้งาน มาผสมกับเยื่อปอสา ซ้อนกลางด้วยผักตบชวาอบแห้งสำหรับกันกระแทก และเพื่อลดการใช้ผักตบชวาในปริมาณมาก จึงผลิตด้วยกระบวนการซ้อนเยื่อกระดาษลงบนแม่พิมพ์เซรามิกในโครงการพัฒนาดอยตุง โดยนำเสนอเป็นรูปแบบบรรจุภัณฑ์ชุดของขวัญชุดกาแฟ Espresso เผาด้วยเปลือกแมคคาดาเมีย ตกแต่งภายนอกด้วยเศษผ้าทอจากดอยตุง และสีครามธรรมชาติ นับว่าเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่ยอดเยี่ยมในการสร้างนิยามความงามใหม่จากเป้าประสงค์ของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และเปลี่ยนให้บรรจุภัณฑ์นั้นถูกรังสรรค์จากฟังก์ชันการใช้งานอย่างแท้จริง ออกแบบโดย จักรายุธ์ คงอุไร [email protected] ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ fb.com/DEmarkthailand fb.com/MaeFahLuangFoundation ภาพ: ทีมออกแบบมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงเรียบเรียง: Wuthikorn Sut
SOAPBOTTLE ขวดสบู่ที่ทำมาจากสบู่
ละลายจนหมด ไม่เหลือเป็นขยะ กับสบู่ที่มีขวดทำมาจากสบู่อีกที แนวคิดแหวกแนวที่ใช้ได้จริง SOAPBOTTLE เริ่มต้นจากการตั้งคำถามถึงบรรจุภัณฑ์ที่เราใช้กับสิ่งของในชีวิตประจำวันที่มักลงเอยกลายเป็นขยะอย่างเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นสบู่ ยาสระผม น้ำยาล้าง หรือที่เราเรียกรวม ๆ ว่าเป็น Daily Use Product เพราะใช้ทุกวันนั่นก็คือเรากำลังก่อขยะมากขึ้นในทุกวันนั่นเอง อีกทั้งบรรจุภัณฑ์สำหรับของเหลวเหล่านี้ก็เป็นเรื่องยากเหลือเกินที่จะทำขึ้นจากวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พูดง่าย ๆ คือ Recycle ได้ยากนั่นแหละ Jonna Breitenhuber จึงได้เริ่มต้นโครงการนี้เป็นวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทของเธอ ก่อนจะขยายผลโดยการร่วมทุนใน Kickstarter และด้วยผู้สนับสนุนที่มีแนวคิดรักษ์โลกเช่นเดียวกับเธอ SOAPBOTTLE จึงได้เริ่มต้นวางจำหน่ายจริงในที่สุด การออกแบบนั้นได้แนวคิดมาจากอุตสาหกรรมอาหาร ที่มักจะเห็นการบรรจุอาหารลงในสิ่งที่สามารถรับประทานได้ เช่น เนื้อในขนมปังกลายเป็นแฮมเบอร์เกอร์ หรือไอศกรีมที่นำไปใส่ในเวเฟอร์เป็นไอศกรีมโคน ความจริงแล้วทั้งขนมปังและเวเฟอร์นั้นเป็นบรรจุภัณฑ์แบบหนึ่ง และอันตรธานหายไปเมื่อเรารับประทานจนหมด ถ้าอย่างนั้นสำหรับผลิตภัณฑ์ความสะอาดส่วนตัว เราจะใช้วิธีเดียวกันได้หรือไม่? หลักการของ SOAPBOTTLE นั้นง่ายมาก คือ บรรจุผลิตภัณฑ์เหลวไว้ในขวดที่ทำมาจากผลิตภัณฑ์เดียวกันในเวอร์ชั่นที่คงรูปกว่า เมื่อต้องการใช้ก็เพียงตัดเปิดบรรจุภัณฑ์ที่มุมขวด จากนั้นก็สามารถจะเทของเหลวออกมาเมื่อต้องการใช้ SOAPBOTTLE มีคลิปสำหรับใช้ตัดและปิดฝาในตัวเองแยกจำหน่าย คลิปนี้สามารถนำกลับมาใช้อีกได้ตลอดไป จนเมื่อเราใช้ส่วนที่เป็นของเหลวจนหมด ก็สามารถนำเอาบรรจุภัณฑ์นั้นมาถูใช้เป็นเหมือนสบู่ก้อน(หรือยาสระผมแบบก้อน)ได้ต่อ สุดท้ายแล้วผลิตภัณฑ์เหล่านี้จึงไม่เหลือขยะใด ๆ เลยในที่สุด ปัจจุบัน […]
งานทดลองวัสดุ ใหม่จากดอกไม้ใบหญ้าเหลือทิ้ง LUKYANG MATERIAL TESTING NO.1
งานทดลองวัสดุ ที่ทีมนักออกแบบลุกขึ้นมาทำการทดลอง ด้วยการเลือกวัสดุจากธรรมชาติที่อยู่รอบ ๆ ตัวมาหาความเป็นไปได้ใหม่ ๆ เพื่อเป็นการลดปัญหาสิ่งแวดล้อมจึงเลือกวัสดุธรรมชาติเหลือทิ้งในกลุ่มพืชล้มลุกและเปลือกผลไม้ มาแปรรูปแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน ทั้งยังเป็นการรณรงค์ในการช่วยกันลดของเสียในครัวเรือน โดยการนำกลับมาแปรรูปใหม่อีกครั้ง สำหรับชุดการทดลองครั้งแรก ได้หยิบวัสดุธรรมชาติมาทั้งหมด 5 ชนิด ได้แก่ ดอกดาวเรือง ต้นปอเทือง ดอกอัญชัน ดอกกล้วยไม้แห้ง และเปลือกมังคุด ซึ่งวัสดุแต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป 1.ดอกอัญชัน ดอกไม้ที่คุ้นเคยในการนำมาสกัดเป็นสีธรรมชาติ เมื่อตัวดอกดูดซับน้ำแล้วจะเกิดการพองตัว ด้านคุณสมบัติมีความโปร่ง แต่เปราะบางและไม่ยืดหยุ่น เหมาะนำไปทำผลิตภัณฑ์ที่ต้องการการย่อยสลายง่าย 2.ต้นปอเทือง พืชที่มักเห็นได้ตามท้องนาเนื่องจากมีคุณสมบัติในการบำรุงและรักษาหน้าดินในช่วงฤดูพักปลูกข้าว เมื่อทดลองพบว่ามีคุณสมบัติยืดหยุ่นได้ในระดับหนึ่งคล้ายนกระดาษสาและแข็งแรง เหมาะนำไปทำผลิตภัณฑ์ประเภทกระดาษ หรือผลิตภัณฑ์ที่ต้องการความโปร่งแสง 3.ดอกกล้วยไม้แห้ง ดอกไม้ที่พบในตลาดอุตสาหกรรม สีสันสวยงาม อยู่ได้นาน เมื่อทดลองพบว่ามีคุณสมบัติโปร่งแสง แต่เปราะบางและไม่คงรูป เหมาะนำไปทำผลิตภัณฑ์ที่ต้องการการย่อยสลายง่าย 4.เปลือกมังคุด วัสดุที่ถูกทิ้งเป็นจำนวนมาก เมื่อทดลองพบว่ามีคุณสมบัติความแข็งแรงในระดับหนึ่ง แต่ยืดหยุ่นน้อย มีความทึบแสง เหมาะสำหรับนำไปทำผลิตภัณฑ์ประเภทกระดาษ 5.ดอกดาวเรือง หากคุณเป็นสายไหว้พระ คงพบว่ามีดอกดาวเรืองเหลือทิ้งเต็มไปหมด ตัวดอกมีเส้นใยสูง เมื่อแห้งแล้วสีของดอกยังคงติดทนนาน เมื่อทดลองพบว่ามีคุณสมบัติยืดหยุ่นได้ระดับหนึ่ง เหมาะนำไปทำผลิตภัณฑ์ประเภทกระดาษ หรือผลิตภัณฑ์ที่ต้องการความโปร่งแสง หลังจากทดลองและทราบคุณสมบัติของวัสดุแต่ละชนิดแล้ว จึงนำไปสู่การทดลองออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์เชิงดีไซน์ […]
HOT WIRE EXTENSIONS เฟอร์นิเจอร์จากผงพลาสติกเหลือทิ้งใน 3D PRINTING
Hot Wire Extensions แบรนด์ของนักออกแบบรุ่นใหม่ไฟแรง Fabio Hendry นำเสนอคอลเล็กชั่นเฟอร์นิเจอร์ ที่เกิดจากการรีไซเคิลผงพลาสติกไนลอนเหลือทิ้งในกระบวนการพิมพ์สามมิติ การออกแบบที่ผสานนวัตกรรมเข้ากับหัตถกรรม นำไปสู่ความเป็นไปได้ใหม่ไม่รู้จบอันเกิดขึ้นจากการคิดค้นวัสดุ และกระบวนการผลิตรูปแบบใหม่ พร้อม ๆ กับแนวคิดที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน จุดเริ่มต้น Hot Wire Extensions ให้ความสำคัญกับการออกแบบเพื่อความยั่งยืน และมุ่งมั่นผสมผสานนวัตกรรมวัสดุ และการทดลองทางวิศวกรรมเข้ากับงานออกแบบ เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมการผลิตรูปแบบใหม่ จุดเริ่มต้นของคอลเล็กชั่นนี้มาจากความพยายามในการสร้างกระบวนการรีไซเคิล เพื่อลดปริมาณผงไนลอนเหลือทิ้งที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการพิมพ์แบบสามมิติ โดยผงไนลอน (Nylon) หรือผงพลาสติกพอลิเอไมด์ (Polyamide, PA) นั้นคือวัตถุดิบหลักของกระบวนการพิมพ์สามมิติแบบ SLS ซึ่งเป็นการยิงแสงเลเซอร์พลังงานสูง ไปยังผงวัสดุให้เกิดการหลอมเหลวแล้วยึดติดกันเป็นเนื้อเดียวเพื่อขึ้นรูปชิ้นงาน ซึ่งผงไนลอนเหล่านี้ สามารถนำมาใช้ใหม่ได้เพียง 20-50% เท่านั้น และยังไม่ได้รับการรีไซเคิลอย่างจริงจังในอุตสาหกรรมหลักที่ใช้เครื่องพิมพ์สามมิติแบบ SLS กระบวนการผลิตรูปแบบใหม่ ด้วยแรงบันดาลใจจากการเติบโตของเถาวัลย์ที่พันรัดรอบต้นไม้ Hendry สร้างสรรค์กระบวนการผลิตใหม่ โดยใช้วิธีการขึ้นรูปทรงของชิ้นงานด้วยลวดนิโครม (Nichrome) และติดตั้งในภาชนะที่ประกอบด้วยส่วนผสมของผงไนลอนเหลือทิ้ง และทรายซิลิกาบริสุทธิ์ เมื่อส่งผ่านกระแสไฟฟ้าผ่านเส้นลวด ความร้อนจะหลอมไนลอนโดยรอบ ทำให้ส่วนผสมแข็งตัวไปตามแนวโครงลวดเกิดเป็นรูปทรงใหม่ ทรายทำหน้าที่เป็นทั้งวัสดุฟิลเลอร์ตัวนำความร้อน และป้องกันไม่ให้ผงไนลอนหลุดออกจากลวด โดยความหนาของชิ้นงานจะเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาในการส่งผ่านกระแสไฟฟ้า คอลเล็กชั่น หลากหลายคอลเล็กชั่นที่นำเสนอประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ ทั้งเฟอร์นิเจอร์ […]
RODAR ซาเล้งดีไซน์โมเดิร์น ที่จะช่วยแก้ปัญหาคนไร้บ้าน
ในยุคที่‘คนไร้บ้าน’ คือหนึ่งในปัญหาที่สะท้อนความเหลื่อมล้ำทางสังคมได้ชัดเจนที่สุด และเป็นปัญหาสำคัญของเกือบทุกภูมิภาคทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา Rodar ซาเล้งดีไซน์โมเดิร์น ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อเป็นบ้าน (คัน) ใหม่ของคนไร้บ้าน Andrés Sáenz และ José Alvarez สองนักออกแบบจาก andrés & josé Design Studio ประเทศเม็กซิโก ออกแบบ Rodar รถบ้านขนาดเล็กที่ผลิตง่ายจากวัสดุทั่วไปในท้องถิ่น จึงเข้าถึงง่าย ผลิตได้ทันที และมีความเป็นไปได้สำหรับเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาคนไร้บ้านในเมืองใหญ่ โดยงานต้นแบบนี้คือจุดเริ่มต้นไอเดียที่สามารถพัฒนาปรับประยุกต์ใช้ได้ในบริบทต่างๆ ทั่วโลก คนไร้บ้านคือผู้ที่ไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่งด้วยสาเหตุต่าง ๆ กันไป ตั้งแต่ปัญหาเศรษฐกิจ ไปจนถึงการลี้ภัยสงคราม ทำให้จำเป็นต้องอาศัยอยู่ในพื้นที่สาธารณะ ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นการแบ่งแยกทางสังคมอย่างชัดเจน และลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างร้ายกาจในสังคมร่วมสมัย Rodar ใช้รูปทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่วของ ‘บ้าน’ ที่ใคร ๆ ก็เข้าใจได้ง่ายที่สุด โดยสามารถปรับเปลี่ยนสีสันได้เองรถบ้านนี้ทำหน้าที่เป็นพื้นที่หลบภัยส่วนบุคคล สำหรับกันแดดกันฝน เก็บข้าวของส่วนตัว นอกจากนี้ การเข็นเคลื่อนที่ได้จึงทำให้เกิดการโยกย้าย รวมกลุ่ม เกิดเป็นชุมชน และส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างผู้ใช้งาน ช่วยให้คนไร้บ้านมีคุณภาพชีวิตขั้นพื้นฐานที่ดีขึ้น พร้อม ๆ สร้างนิยามใหม่ให้กับการใช้งานพื้นที่สาธารณะ […]
SPIRULINA SOCIETY ระบบเพาะปลูกอาหารแห่งโลกอนาคต
ท่ามกลางปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ร้ายแรงขึ้นเรื่อย ๆ ระบบนิเวศของเราก็กำลังตกอยู่ในอันตราย และหนึ่งในสาเหตุสำคัญก็มาจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งกว่า 1 ใน 4 ของก๊าซเรือนกระจกเกิดจากอุตสาหกรรมการผลิตอาหารสำหรับประชากรทั่วโลก ดังนั้น ในฐานะพลเมืองโลกคนหนึ่ง Spirulina Society เชื่อว่าเราสามารถมีส่วนช่วยดูแลโลกได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนวิธีการผลิต และการบริโภคอาหารในชีวิตประจำวัน ตามคำแนะนำของสหประชาชาติ (UN) และองค์การอนามัยโลก (WHO) สาหร่ายเกลียวทอง หรือ สไปรูลิน่า (Spirulina) ถือเป็นอาหารชั้นยอด เนื่องจากอุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านอนุมูลอิสระ นับเป็นแหล่งโปรตีนจากพืชที่สมบูรณ์ ยิ่งไปกว่านั้น Spirulina Society สไปรูลิน่า ยังสามารถเพาะเลี้ยงในบ้านได้ในต้นทุนต่ำ ใช้น้ำและพื้นที่น้อย เพียงแค่มีการสังเคราะห์แสงในสภาวะที่เหมาะสม เราก็สามารถเก็บผลผลิตได้ทุกวัน ถือเป็นอาหารทางเลือกที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่เกิดขึ้นจากการผลิตอาหารประเภทเนื้อสัตว์ได้ ชุดอุปกรณ์เพาะเลี้ยงสไปรูลิน่าของ Spirulina Society ออกแบบโดย อัญญา เมืองโคตร มีเป้าหมายเพื่อสร้างระบบการเพาะปลูกที่ยั่งยืน และมีประสิทธิภาพสำหรับวิถีชีวิตคนเมือง ให้ทุกคนสามารถผลิตอาหารได้ด้วยตัวเอง มีคุณภาพชีวิตที่ดี ขณะเดียวกันก็ช่วยลดการผลิตของเสีย และผลกระทบต่อระบบนิเวศ ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดไฟล์โมเดล 3 มิติ และติดต่อกับผู้ผลิตในท้องถิ่น […]
4 สถาปัตยกรรมท้องถิ่น ที่ส่งเสริมความยั่งยืนในชุมชน
ชวนคุณไปชม 4 สถาปัตยกรรมท้องถิ่น ที่ออกแบบสอดคล้องกับบริบทโดยรอบและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้อยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างยาวนานและยั่งยืน