© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
โจทย์หลักของเจ้าของบ้านคือการเติมพื้นที่โล่ง และแสงธรรมชาติเข้าสู่ภายในของอาคารในรูปแบบตึกแถวที่มักมีปัญหาในด้านความทึบตัน โดยบ้านหน้าแคบเช่นนี้ โดยกฎหมายแล้วจะไม่มีหน้าต่างในด้านข้าง จึงทำให้ต้องมีการออกแบบช่องเปิดในหน้าบ้านและหลังบ้านแทน การเลือกใช้สีขาว ถูกใช้เพื่อให้แสงธรรมชาติที่ผ่านเข้ามาจากช่องเปิดของระเบียง สามารถสะท้อนเข้าไปถึงพื้นที่ภายในได้ทั่วถึง แต่ในขณะเดียวกัน ระยะร่นของระเบียงก็ช่วยให้แสงที่ส่องเข้ามาไม่เจิดจ้าจนเกินไป แม้บ้านหลังนี้จะมีสไตล์ที่ดูเรียบเกลี้ยงแบบมินิมัล แต่การเติมพื้นผิวจากวัสดุธรรมชาติ เช่น การใช้เสื่อสานในการสร้างพื้นผิวให้กับเพดาน และการเลือกใช้พรรณไม้ รวมทั้งการจัดวางให้ต้นไม้มีการเชื่อมโยงระหว่างแต่ละชั้นด้วย ในส่วนของการจัดการสภาพอากาศภายในนั้น มีการทำช่องเปิดให้เกิดการไหลเวียนในแนวตั้งได้ โดยมีสกายไลท์เพื่อสร้างให้ลมร้อนที่ชั้นบนของอาคารช่วยดึงอากาศทั้งหมดให้ไหลเวียนได้โดยสะดวก บ้านหลังนี้จึงเป็นตัวอย่างที่น่าสนใจของการออกแบบที่สอดคล้องกับภูมิอากาศ และเป็นตัวอย่างที่ดีของการออกแบบบ้านหน้าแคบอย่างตึกแถวไปพร้อมกัน ออกแบบ: S+Na. – Sanuki + Nishizawa architects ภาพ: Hiroyuki Oki เรียบเรียง: Wuthikorn Sut #roomHouses#roomBooks#บ้านเวียดนาม
Ashui Pavilion 2023 พาวิเลียนผ้า สื่อความหมายสถาปัตยกรรมความเป็นเมืองจากแม่น้ำสายชีวิตของชาวโฮจิมินห์ เฉลิมฉลองความสัมพันธ์ของเมืองโฮจิมินห์และแม่น้ำไซง่อนผ่านความงามของพาวิเลียนผ้าพลิ้ว
ท่ามกลางการพัฒนาของเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วในเมือง โฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม ในเมืองกำลังสูญเสียพื้นที่สีเขียวตามธรรมชาติ และพื้นที่ที่จำเป็นต่อสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยมากขึ้นเรื่อย ๆ การพัฒนาอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจนั้นทำให้เกิดอาคารบล็อกคอนกรีตสูงขึ้น ในเขตเมือง นักธุรกิจ และคนทำงานรุ่นใหม่ใช้เวลาหลายพันชั่วโมงในพื้นที่ที่จำกัด ข้อจำกัดมากมายในเมืองนี้ กดดันทั้งสภาพจิตใจ และอารมณ์ นั่นจึงเป็นที่มาของ Mr. Green Office ที่มีแนวคิดที่จะก้าวข้ามข้อจำกัดต่าง ๆ ในเพื่อสร้าง “ สำนักงาน กลางแจ้ง “ ด้วยอาคารคอนกรีตสูงใจกลางเมือง
บ้านตากอากาศในเวียดนาม หลังบ้านติดภูเขา วิวหน้าบ้านหันสู่ทิศตะวันออก รับแสงอาทิตย์ยามรุ่งอรุณ นี่คือ Tam Dao Villa วิลล่าตากอากาศที่ตั้งอยู่ในเมือง Tam Dao ประเทศเวียดนาม โดย Tropical Space ด้วยรูปทรงที่เหลี่ยมง่าย เป็นกล่องด้านเท่าขนาด 22m x 22m เปิดพื้นที่กึ่งกลางขนาด 6.5m x 6.5 เมตร ซ้อนกันสามชั้น จึงทำให้บ้านหลังนี้ไม่เพียงเปิดมุมมองสู่ภายนอก แต่ยังเชื่อมโยงพื้นที่ภายในเข้าหากันได้อย่างลงตัว โดยเฉพาะการเปิดรับแสงธรรมชาติเข้าสู่แต่ละส่วนของตัวบ้านอย่างพอดิบพอดี ผ่านการวางตัวแบบ Interlocking ของห้องต่างๆภายในบ้านที่หลบเยื้องให้ทุกห้องต่างได้รับ “บรรยากาศที่ดี” ถ้วนทั่วกัน เริ่มจากหน้าบ้าน สระว่ายน้ำที่ทอดยาว ไม่เพียงใช้สำหรับพักผ่อนหย่อนใจ แต่ยังช่วยสร้างอากาศเย็นให้พัดผ่านเข้าไปในตัวบ้านผ่านคอร์ตกลางที่เปิดโล่ง ทางเข้านั้นหลบตัวอยู่ด้านข้างของบ้านที่ต้องเดินผ่านแปลงผักรูปขั้นบันไดซึ่งทำหน้าที่เป็นบันไดขึ้นบ้าน ก่อนจะเปิดเข้าสู่พื้นที่ภายในที่คอร์ตกลาง ทั้งนี้ก็เพื่อให้ไม่บดบังบริบทของเชิงเขาด้านหลังนั่นเอง พื้นที่ภายในนั้นมีชานและ Common Area ให้เลือกพักผ่อนได้หลากหลายเพื่อเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศในการมาพักผ่อนตามสภาพอากาศแต่ละช่วงเวลาได้อย่างเหมาะสม อาจจะนั่งริมชานในวันอากาศดี หรือจิบชาอุ่นๆในโถงด้านในสำหรับวันฝนพรำ ทั้งหมดล้วนแต่ถูกคิดเผื่อมาแล้วให้สมกับที่เป็นวิลล่าตากอากาศ สุดท้ายคือพื้นที่ดาดฟ้าที่ตั้งใจออกแบบให้เป็นพื้นที่สังสรรค์ในแบบ Wooden Deck Camp Ground สำหรับจัดปาร์ตี้สไตล์แคมปิ้ง หรือจะนั่งเล่นพักผ่อนในบรรยากาศเงียบสงบ ยามเช้าและยามเย็นก็เหมาะสม […]
คุณค่าของงานสถาปัตยกรรมนอกเหนือจากความงดงามที่มองเห็นได้ด้วยตา ยังต้องสัมพันธ์กับความรู้สึกและความเข้าใจของผู้ใช้งานด้วย