PM 2.5 วายร้ายขนาดจิ๋ว ที่มีผลกระทบและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยง

PM2.5 คือฝุ่นละเอียดขนาดเล็กจิ๋วที่ล่องลอยปะปนอยู่ในอากาศ ซึ่งการป้องกันสัตว์เลี้ยงด้วยการหลีกเลี่ยงก็จะช่วยลดความเสี่ยงของปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นได้

บ้านขนาดเล็กจะเพิ่มพื้นที่สีเขียวที่ช่วยกรองฝุ่นได้อย่างไร

จัดสวนแนวตั้ง เป็นอีกหนึ่งวิธีช่วยลดฝุ่น PM 2.5 นอกจากต้นไม้ขนาดใหญ่และมีทรงพุ่มหนาเพียงพอในพื้นที่สวนขนาดกว้างแล้ว สำหรับคนเมืองก็สามารถทำได้

PM 2.5 กับการแก้ปัญหาภายในบ้าน : อยู่บ้าน Vs อยู่คอนโด แบบไหนเสี่ยงมากกว่า

เป็นที่น่าสงสัย ระหว่างการอาศัยอยู่บ้านเดี่ยวที่สูงเพียง 2 ชั้น กับการอาศัยอยู่บนห้องชุดหรือคอนโดมิเนียมที่มีความสูงมากกว่านั้น แบบไหนมีความเสี่ยงที่ต้องเผชิญฝุ่น PM 2.5 มากกว่ากัน จากการวัดคุณภาพอากาศของหอคอย KU Tower คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ซึ่งวัดที่ความสูง 5 ระดับ คือ 10 เมตร  30 เมตร  50 เมตร 75 เมตร และ 110 เมตร โดยข้อมูลวันที่ 30 – 31 มกราคม 2562 ซึ่งเป็นวันที่มีค่าฝุ่น PM 2.5 สูงที่สุดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร พบว่าความสูงประมาณ 30 เมตรขึ้นไป มีฝุ่นหนาแน่นมากกว่าระดับพื้นดิน โดยเฉพาะในช่วงค่ำถึงเช้า 19.00  – 7.00 น. จึงมีความเป็นไปได้ที่คนที่อยู่บนอาคารสูงประมาณชั้น 8-10 ขึ้นไปจะเสี่ยงกับฝุ่น PM 2.5 มากกว่าคนที่อยู่ชั้นล่างและบ้านบนพื้นดิน แต่ปรากฏการณ์ที่ฝุ่นจับตัวหนาแน่นในชั้นบรรยากาศระดับสูงเป็นสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นไม่บ่อย […]

ทำเลน่าสนใจ ปลอดภัย ไกลฝุ่นพิษ

ปัญหามลพิษในช่วงรอยต่อปลายปี 2561-2562 ที่ผ่านมานั้นไม่ใช่เรื่องเล่นๆเลยทีเดียว เพราะแม้ว่าปัญหามลภาวะและฝุ่นพิษนั้นจะเริ่มเกิดถี่ขึ้นในช่วงต้นปี แต่ครั้งนี้ฝุ่นขนาดเล็กที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอนที่เรียกว่า PM2.5(Particulate Matter 2.5)ที่ทุกคนต่างได้รู้จักว่าคือถึงฝุ่นละอองขนาดจิ๋ว ซึ่งก็รวมๆกันไประหว่างมลพิษฝุ่นละอองจากงานก่อสร้าง การจราจร ควันเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม หรือแม้แต่เตาถ่านย่างหมูกระทะ ฯลฯ มลพิษเหล่านี้ล้วนเกิดขึ้นในทุกวันแต่สิ่งที่ทำให้มันกลับอันตรายมากขึ้นก็คือการที่มลภาวะเหล่านี้เกิดการสะสมมากขึ้นในช่วงลมสงบของปีจนค่าความเข้มข้นของฝุ่นละอองต่อมวลอากาศนั้นเกินกว่ามาตรฐานของคุณภาพอากาศที่ควรจะเป็นนั่นก็คือเกินกว่า 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรของอากาศที่เราหายใจนั่นเอง(มาตรฐานประเทศไทย) หากพิจารณาดูลักษณะของทิศทางลมในช่วงรอยต่อปีเช่นนี้จะพบว่า ความกดอากาศสูงจากจีนที่พัดลงมาจากทางเหนือ และ อิทธิพลจากลมพายุหมุนเขตร้อนที่เพิ่งพัดผ่านอ่าวไทยได้หักล้างกันเกิดเป็นช่วงลมสงบขึ้นในภาคกลาง และเป็นผลให้มลภาวะในพื้นที่แถบนี้เกิดการสะสมจนเกินค่ามาตรฐานในที่สุดนั่นเอง แผนที่แสดงการเคลื่อนตัวของลมและการสะสมตัวของมลภาวะอันเนื่องมาจากลมสงบ(ที่มา www.airvisual.com) หนีฝุ่นกลางเมืองกรุงฯ เมื่อเข้าใจถึงที่มาของฝุ่น PM2.5 และสาเหตุกันแล้ว แน่นอนว่าการแก้ปัญหาระดับประเทศเช่นนี้ ก็คงต้องใช้เวลา และหากว่าจะป้องกันตัวเองด้วยหน้ากากกรองฝุ่นไปตลอดชีวิตก็คงจะไม่สะดวกนัก หรือหากถึงกับต้องย้ายบ้าน หาที่ทำงานใหม่ไปอยู่ต่างเมืองเพื่อให้ห่างไกลฝุ่นคง ไม่ใช่เรื่องง่ายและสนุก  ด้วยเหตุนี้บ้านและสวนจึงอยากพาทุกท่านไปพบกับทำเลที่น่าสนใจและยังปลอดภัยเพื่อชีวิตที่ห่างไกลจากฝุ่นพิษกันในกรุงเทพฯกัน แผนที่แสดงพฤติกรรมของฝุ่นพิษช่วงระหว่าง 25 มกราคม – 5 กุมภาพันธ์ 62 เมื่อพิจารณาจากเหตุการณ์วิกฤติฝุ่นพิษเมื่อวันที่ 30 มกราคมที่ผ่านมา รวมถึงลักษณะพฤติกรรมของการสะสมตัวของฝุ่นพิษในพื้นที่ต่างๆตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม 2562 ถึงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2562 จะพบว่า […]

จัดการบ้านอย่างไร เมื่อต้องเจอปัญหาฝุ่น PM 2.5

ตอนนี้ชาวกรุงเทพฯคงกำลังหนักใจกับปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่นับวันยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นทุกที นอกจากต้องใส่หน้ากากป้องกันฝุ่นตอนออกนอกบ้านแล้ว หลายคนอาจสงสัยว่าเราจะจัดการกับภายในบ้านอย่างไรดี การแก้ปัญหา ฝุ่นPM2.5 ในบ้าน แม้ว่าสภาพอากาศภายในบ้านที่ปิดประตูหน้าต่างมิดชิดตลอดเวลามักมีปริมาณฝุ่นน้อยกว่านอกบ้านก็จริง แต่เราต้องเผชิญกับปัญหาปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่สูงเกินไปแทน ผู้เขียนเคยทำการทดลองในห้องนอนของคอนโดมิเนียมพักอาศัยขนาด 3 x 3 เมตร จำนวนคนใช้งาน 2 คน เมื่อปิดประตูหน้าต่างและเปิดระบบปรับอากาศแล้วพบว่าหลังจากใช้งานไปเพียง 6 ชั่วโมง ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มจาก 300 PPM พุ่งขึ้นไปเป็นมากกว่า 1,000 PPM และบางครั้งมากถึง 2,000 PPM เลยทีเดียว (PPM = Part Per Million หรือ หนึ่งส่วนในล้านส่วน) ซึ่งตามข้อกำหนดนั้นค่านี้ไม่ควรเกิน 1,000 PPM และถ้าให้ดีควรน้อยกว่า 800 PPM เนื่องจากบ้านพักอาศัยและห้องพักอาศัยในคอนโดมิเนียมไม่มีระบบเติมอากาศจากภายนอกเหมือนอาคารสาธารณะ แต่มักใช้การรั่วของอากาศตามช่องประตูหน้าต่าง หรือการเปิดประตูหน้าต่างในการใช้งานปกติช่วยนำอากาศใหม่เข้ามาเติมในห้องเพื่อลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งก็เป็นจุดที่ฝุ่นอันตรายไหลเข้ามาในบ้านได้ แต่อากาศภายในบ้านนิ่งกว่านอกบ้าน ทำให้ฝุ่นที่หลงเข้ามาตกลงบนพื้นได้เร็ว แนะนำให้เปิดประตูหน้าต่างบ้างตามความจำเป็น เพื่อให้มีอากาศใหม่เข้ามาเจือจางอากาศภายใน เป็นการลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ และควรเช็ดทำความสะอาดพื้นผิวภายในบ้านด้วยผ้าชุบน้ำให้บ่อยขึ้น […]