wellbeing
กำจัดยุง ด้วยวิธีชีวภาพและเคมีอย่างปลอดภัย
ยุงเป็นต้นเหตุของโรคระบาด รบกวนการอยู่อาศัยและใช้ชีวิตของคนมาอย่างต่อเนื่อง เราไม่อาจ กำจัดยุง ให้หมดสิ้นได้ แต่สามารถควบคุมปริมาณยุงได้ ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน Research & Innovation for Sustainability Center (RISC) ได้ศึกษาวิธีการ กำจัดยุง และควบคุมประชากรยุงในหลายมิติทั้งทางกายภาพ ทางเคมี และทางชีวภาพ เพื่อนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมแต่ละกรณีได้อย่างปลอดภัย เพื่อช่วยสร้างคุณภาพชีวิตการอยู่อาศัยให้มีสุขภาวะที่ดี ยุงต้นเหตุโรคระบาด ยุง หนึ่งในสิ่งมีชีวิตที่เป็นต้นเหตุของโรคระบาดที่มีความรุนแรง โรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะทำให้ประชากรกว่า 1 ล้าน ยุง หนึ่งในสิ่งมีชีวิตที่เป็นต้นเหตุของโรคระบาดที่มีความรุนแรง โรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะทำให้ประชากรกว่า 1 ล้านคนทั่วโลกเสียชีวิตทุกปี เช่น โรคไข้เลือดออก ไข้มาลาเรีย เชื้อไวรัสซิกา โรคติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา และโรคไข้สมองอักเสบ ในประเทศไทยมีจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกและไข้มาลาเรียในหลายปีที่ผ่านมาจำนวนมาก จากข้อมูลงานวิจัยของสำนักระบบาดวิทยา กรมควบคุมโรค พบว่า ในปี 2557- 2561พบผู้ป่วยไข้เลือดอออก ประมาณ 390,848 ราย เสียชีวิต 438 ราย พบผู้เสียชีวิตสูงที่สุดในปี พ.ศ. 2558 ทั้งหมด147 ราย รองลงมาในปีพ.ศ. 2561 ทั้งหมด 115 […]
การปรับบ้านเพื่อสุขภาวะที่ดี ตามหลัก WELL Building Standard
สุขภาวะในการอยู่อาศัยเป็นเรื่องสำคัญมากขึ้น หลังทุกคนเผชิญสถานการณ์โควิด-19 ฝุ่น PM 2.5 และสภาวะโลกร้อน บ้านจึงเป็นจุดเริ่มต้นของสุขภาพที่ดีทั้งด้านร่างกายและจิตใจ แล้วเราจะปรับบ้านเดิมให้มีสุขภาวะที่ดีขึ้นได้อย่างไร คอลัมน์ Home Expert จึงได้พูดคุยกับ ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน Research & Innovation for Sustainability Center (RISC) หน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญด้านนี้ มาดูวิธีปรับบ้านเพื่อสุขภาวะที่ดี และการทำบ้านให้อยู่เย็น เป็นสุขกัน การปรับบ้านเพื่อสุขภาวะที่ดี บ้านที่มี สุขภาวะที่ดี ควรสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการใช้ชีวิต หรือกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมที่ดี รวมถึงไม่เป็นก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพตามมา ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน Research & Innovation for Sustainability Center (RISC) โดย ดร. สฤกกา พงษ์สุวรรณ ผู้อำนวยการฝ่ายบูรณาการงานวิจัยเพื่อการเผยแพร่ ได้ให้ข้อมูลที่รวบรวมจากการศึกษาและวิจัยของ RISC ด้านสุขภาวะในการอยู่อาศัย และนำเกณฑ์ WELL Building Standard ที่สำนักงาน RISC ได้รับรองมาตรฐาน WELL Version […]
ออกแบบบ้านให้รู้สึกโปร่งสบาย ด้วยหลักวิทยาศาสตร์
ทุกคนอยากทำบ้านให้ ”โล่ง โปร่ง สบาย” แต่จะทำ ความสูงฝ้าเพดาน เท่าไรจึงรู้สึกว่าโปร่งโล่ง คนส่วนใหญ่ใช้ความรู้สึก แต่เรามีคำตอบที่มาจากหลักวิทยาศาสตร์ ซึ่งศึกษาโดย ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน Research & Innovation for Sustainability Center (RISC) หน่วยงานที่ใส่ใจเรื่องสุขภาวะในการอยู่อาศัย ได้พบคำตอบว่า ความสูงฝ้าเพดาน 2.70 เมตร ทำให้รู้สึกไม่อึดอัด และฝ้าเพดานสูง 3.40 เมตร ทำให้รู้สึก โล่ง โปร่ง สบาย มาดูที่มาของคำตอบนี้กัน การรับรู้ของมนุษย์ ก่อนจะเข้าใจว่าทำไมคนเราจึงรู้สึก “โล่ง โปร่ง สบาย” เพื่อมากำหนด ความสูงฝ้าเพดาน ต้องมาทำความเข้าใจก่อนว่า มนุษย์จะเกิดความรู้สึกตามสิ่งเร้า เช่น แสง เสียง กลิ่น รส อุณหภูมิหรือการสัมผัส ถ้าไม่อยู่ใน “เขตการรับรู้” จะไม่เกิดความรู้สึก เขตการรับรู้จึงเป็นเสมือนเส้นแบ่งระหว่างความรู้สึกกับความไม่รู้สึก และจาก “กฎของเฟชเนอร์” (Fechner’s law) […]
สนทนากับ รศ.ดร.อรรจน์ เศรษฐบุตร ถึงเรื่อง ‘อาคารเขียว’ จากเทรนด์สู่วิถีชีวิตยุคใหม่
อาคารเขียว ไม่ใช่ เทรนด์หรือแนวโน้มความนิยมด้านการออกแบบมากมาย ที่มาแล้วก็ผ่านไปแต่คือแนวคิด ‘เทคโนโลยีอาคาร’ ที่มีใจความสำคัญเกี่ยวกับการประหยัดพลังงาน รวมถึงเรื่องของสิ่งแวดล้อม เนื่องด้วยการเปลี่ยนแปลงของโลกด้านสิ่งแวดล้อมที่นับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ กลายเป็นแรงผลักดันให้เราทุกคนต้องหันมาให้ความสำคัญกับประเด็นเหล่านี้อย่างจริงจัง room ได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.อรรจน์ เศรษฐบุตร อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกรรมการผู้จัดการบริษัท แอฟริคัส จำกัด ( Africvs )มาร่วมพูดคุยให้ความรู้และความเข้าใจถึงแนวทางอันเหมาะสมในการประยุกต์เรื่องอาคารเขียวให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตในยุคปัจจุบัน “ความสุขในการทำงานของเราคือการอยู่แวดล้อมด้วยคนที่มีความเข้าใจในเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อม แต่ก่อนคิดว่าต้องทำอะไรยิ่งใหญ่แบบก้าวกระโดด แต่ถึงตอนนี้เรารู้ว่าต้องทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป ถึงจะช่วยเปลี่ยนโลกได้ ถ้าเราใจร้อน ไม่มีความสุข เราทำงานตรงนี้ไม่ได้” จุดเริ่มต้นความสนใจใน ‘อาคารเขียว’ “จริง ๆ เรื่องของการประหยัดพลังงานมีมานานแล้ว สมัยผมจบปริญญาตรีแล้วมาทำงานสถาปัตย์ฯ ตอนนั้นเรารู้สึกว่าทำไมเราถึงไม่มีการเรียนการสอนเรื่องพวกนี้เลย แต่ว่าในระดับการศึกษาเดียวกันในต่างประเทศ เขามีการพูดถึงเรื่องการประหยัดพลังงานไปไกลแล้ว เลยตัดสินใจไปเรียนต่อที่อเมริกาทางด้านเทคโนโลยีอาคาร แล้วรู้สึกว่าเปิดมุมมองใหม่ให้เรามาก หลังจากเรียนจบทางด้านนั้นมา ผมก็เรียนต่อปริญญาเอกด้านอาคารสิ่งแวดล้อม ที่อเมริกาหรือในยุโรปเขาศึกษากันเรื่องของอาคารเขียว ซึ่งมาจากเรื่องของการประหยัดพลังงาน เรื่อยมาจนถึงเรื่องการประหยัดวัสดุ และการรักษาสภาพแวดล้อม ระหว่างนั้นก็ได้มีโอกาสทำงานเกี่ยวกับอาคารเขียวตอนอยู่ที่อเมริกาเพราะเรียนปริญญาเอกอยู่ที่นั่น 5 ปี มีเรื่องของการเข้าไปตรวจวัดประสิทธิภาพ การประเมินอาคาร แล้วมีระบบเกณฑ์การประเมินอาคารเขียวพ่วงเข้ามา พอเรียนจบผมก็กลับมาเป็นอาจารย์ที่จุฬาฯ ประจวบเหมาะกับว่ามีการประกวดแบบอาคารของปตท. ซึ่งเขาเขียนไว้ว่าต้องเป็นอาคารเขียว ตอนนั้นสถาปนิกบ้านเรายังไม่ค่อยรู้ว่ามันคืออะไร […]