zero waste
ชวนเปลี่ยน “เศษ” ให้อัพเกรดคุณค่าด้วยดีไซน์
รู้หรือไม่ว่า ในกระบวนการทอผ้าแบบอุตสาหกรรม จะเกิดขยะหรือเศษเหลือทิ้ง 10% ของการผลิตทั้งหมด ลองคิดเป็นมูลค่าง่ายๆ เช่น ผ้าล็อตนี้ผลิตได้ 1,000 หลา แต่สุดท้ายจะเหลือขายได้แค่เพียง 900 หลาเท่านั้น ซึ่งสิบเปอร์เซ็นต์ที่หายไปนั้น เกิดจากกลไกของเครื่องจักรที่ต้องทอผ้าด้วยระยะเวลาอันรวดเร็ว ด้วยระบบของการทอคือการส่งเส้นด้ายไปทางเดียวแล้วยึดเกี่ยวเส้นด้ายไว้กับอีกฝั่ง ไม่เหมือนกับการทอด้วยกี่ทอผ้าแบบดั้งเดิมที่กระสวยส่งไป-กลับทำให้ริมผ้าเรียบทั้งสองด้าน ส่งผลให้มีฝั่งหนึ่งของผืนผ้าที่จะมีปลายด้ายรุ่ยๆ ออกมา หรือที่เรียกว่า “หางด้าย” ซึ่งในทุกวันนี้หางด้ายไม่สามารถนำไปรีไซเคิลหรือถูกนำไปต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์อื่น จึงกลายเป็นขยะที่เกิดขึ้นทุกวันไปโดยปริยาย และถูกทิ้งอย่างไร้ค่า รวมไปถึงม้วนผ้าที่ไม่ผ่านมาตรฐานก็ยังคงรอวันที่จะถูกต่อลมหายใจ ซึ่งในปัจจุบันมีการนำไปประยุกต์ใช้กับวงการเกษตรกรรม เช่น นำไปปูทับในส่วนที่ไม่ต้องการให้หญ้าหรือวัชพืชขึ้นเนื่องจากตัวผ้ามีคุณสมบัติในการกรองแสง หรือ นำไปปลูกเห็ดเพราะผ้าโพลีเอสเตอร์เป็นผ้าที่ไม่เก็บความชื้น ทำให้ไม่ไปแย่งความชื้นที่จำเป็นในการเพาะเห็ด ในครั้งนี้เองที่ Homework Fabrics ในเครือบริษัท โกลด์เฮาส์เดคคอร์ จำกัด บริษัทอุตสาหกรรมสิ่งทอที่ให้ความสำคัญกับการกำจัดขยะในโรงงานและต้องการต่อชีวิตให้กับสิ่งไร้ค่าเหล่านี้กลับมาโลดแล่นอีกครั้ง จึงอยากเชิญชวนนักศึกษาและบุคคลทั่วไปผู้สนใจ เสนอไอเดียผ่านโครงการประกวดออกแบบ Lifestyle Product จากวัสดุเหลือทิ้งในอุตสาหกรรมสิ่งทอในกิจกรรม “Show them! WASTE is WORTH !! : ท้าให้เปลี่ยน จากเศษเป็นสไตล์” ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์จากผ้า ของใช้ ของตกแต่ง เครื่องแต่งกาย และ […]
Homework ผู้ผลิตอุตสาหกรรมสิ่งทอที่ไม่ทอดทิ้งปัญหาสิ่งแวดล้อมไว้เบื้องหลัง
เชื่อว่าในทุกๆ อุตสาหกรรม กระบวนการผลิตย่อมก่อให้เกิดมลพิษหรือสิ่งปฏิกูลไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ซึ่งมักตามมาด้วยผลกระทบและปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก ทว่าความน่าสนใจคือแต่ละโรงงานอุตสาหกรรมจะมีวิธีการอย่างไรในการจัดการของเสียที่เกิดขึ้นต่างหาก เนื่องจากกระบวนการกำจัดหรือบำบัดของเสียเหล่านี้เป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยองค์ความรู้ ความเข้าใจ และงบประมาณในการจัดการ ทำให้หลายๆ โรงงานอุตสาหกรรมเลือกที่จะมองข้ามหรือละเลยไป แต่สำหรับ Homework Fabrics ผู้นำด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอขนาดใหญ่ ซึ่งมีโรงงานอันได้มาตรฐานในการผลิต ที่ให้ความสำคัญและใส่ใจปัญหาสิ่งแวดล้อม จึงมีกระบวนการจัดการของเสียที่เกิดขึ้นอย่างจริงจังในทุกขั้นตอน เพื่อตอกย้ำแบรนด์ผู้ผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน หนึ่งในประเด็นที่ผู้บริโภคในหลายประเทศกำลังหยิบยกขึ้นมาเป็นข้อบ่งชี้ในการตัดสินใจว่าจะสั่งซื้อผลิตภัณฑ์หรือไม่ สำหรับอุตสาหกรรมสิ่งทอนี้ สามารถแยกประเภทของขยะที่เกิดขึ้นได้ออกเป็น 2 กลุ่มหลักๆ คือ ขยะแห้งและขยะเปียก โดยขยะเปียกที่เกิดขึ้นทั้งหมดคือน้ำเสีย อันเกิดจากกระบวนการต่างๆ ในการทอผ้า ดังนี้ กระบวนการเตรียมเส้นด้าย เนื่องจากเส้นด้ายที่ใช้ทอมีหลากหลายขนาดตามแต่ความละเอียดของเนื้อผ้าที่ต้องการ ทำให้เส้นด้ายที่มีขนาดเล็กต้องถูกนำมาผ่านการเคลือบด้วยกาวผสมน้ำแบบชั่วคราวก่อน เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับเส้นด้าย ส่งผลให้เวลานำไปเข้าเครื่องทอในความเร็วสูงเส้นด้ายจะไม่ขาด กระบวนการล้างกาว หลังจากเคลือบกาวแบบชั่วคราวแล้ว ก่อนเข้าสู่กระบวนการย้อมสี จะต้องทำการล้างกาวหรือแป้งออกให้หมด มิเช่นนั้นสีย้อมจะไม่สามารถเข้าไปจับกับเส้นด้ายได้ ทำให้เกิดการด่างเนื่องจากบางส่วนกินสีได้ บางส่วนที่กาวยังอยู่จะกินสีไม่ติด กระบวนการทอผ้าแบบระบบน้ำ เป็นเครื่องทอที่ใช้น้ำเป็นพาหะในการผูกเส้นด้าย ลองนึกภาพกี่ทอผ้าแบบดั้งเดิมที่ต้องใส่หลอดด้ายเข้าไปในกระสวยแล้วทำการสอดกระสวยกลับไป-มา ซึ่งในระบบอุตสาหกรรมที่ต้องผลิตในปริมาณมาก จึงจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มกำลังการผลิต น้ำจึงทำหน้าที่ประหนึ่งกระสวยที่นำพาเส้นด้ายทอในความเร็วพันรอบต่อนาที ซึ่งน้ำตรงนี้เองที่ไม่เพียงแต่เป็นตัวนำส่งเส้นด้าย แต่ยังชะล้างกาวบนเส้นด้ายที่หลงเหลือให้ปะปนลงมากับน้ำด้วย จากทั้งสามกระบวนการทำให้ได้มาซึ่งน้ำเสีย ที่ปะปนไปด้วยไขมัน แว็กซ์ และสิ่งสกปรกต่างๆ จากทั้งกาว […]
BCG คืออะไร หรือคือทางออกเศรษฐกิจไทยในอนาคต
เศรษฐกิจประเทศไทยจะเดินหน้าต่อไปอย่างไร BCG คืออะไร สำคัญอะไรกับเรามากน้อยแค่ไหน คำตอบอาจอยู่ในคำสามคำที่ว่าด้วย Bioeconomy, Circular Economy และ Green Economy
NORMAL SHOP คอมมูนิตี้สไตล์แบบไร้ขยะที่อยากให้ทุกคนทำเป็นเรื่องปกติ
“ร้านเรามีคำว่า Normal อยากทำให้รู้สึกว่ามันเป็นเรื่องปกติธรรมดา ที่เราจะใช้ชีวิตแบบ Zero Waste การเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ฟังดูยากใช่ไหมแต่มันง่ายนะ เพราะเรามองคำว่า “สิ่งแวดล้อม” นั้นหมายถึง “คน” คนเป็นสิ่งแวดล้อมที่สำคัญที่สุด เพราะฉะนั้นการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมก็คือการเป็นมิตรกับคน” Normal Shop Normal Shop : zero waste community ไลฟ์สไตล์ช้อปที่เป็นเหมือนกับ one stop service ของคนสายเขียว สไตล์แบบไร้ขยะบนถนนนางลิ้นจี่ ถนนสองเลนบรรยากาศเย็น ๆ ที่ยังถูกเงาต้นไม้ใหญ่ปกคลุมอยู่เป็นระยะ คุณต้อง-กรวรรณ คันโธ ตัดสินใจเปิดร้านที่เน้นเรื่อง Zero Waste เป็นสาขาที่ 2 หลังเปิดสาขาแรกที่เชียงใหม่ “ทำตัวให้กลมกลืน” ตึกแถวหน้ากว้าง 3 เมตร ดูสว่างด้วยการเลือกใช้สีขาวทากรอบประตู กรอบหน้าต่าง กระจกใสบานโตทำให้บรรยากาศด้านในและด้านนอกเชื่อมต่อกันได้แบบไม่สะดุด ช่วงสายจนถึงบ่ายแก่ ๆ ของวัน แสงแดดที่รอดผ่านต้นไม้ริมทางพาดผ่านลงมาเป็นดวงกลม ๆ วิ่งไป วิ่งมาอย่างอิสระอยู่ในร้าน เกิดเป็นการแสดงชุดเล็กของธรรมชาติ “ ตอนแรกที่เปิดร้าน ตรงนี้คนก็ยังงง ๆ สรุปร้านนี้ขายอะไร […]
HAOMA แหล่งหล่อเลี้ยงชีวิต ที่ไม่ปล่อยให้เหลือเศษอาหารแม้แต่เสี้ยว
ร้านอาหารสีเขียว ที่นอกจากเมนูอาหารที่จัดวางอย่างมีศิลปะแล้ว การตกแต่งร้านก็น่าสนใจไม้แพ้กัน ซึ่งทางร้านมีเป้าหมายที่ต้องการพุ่งชนให้ได้ คือการเป็นร้านอาหารที่ช่วยลดปริมาณ Carbon Footprint ภายในอีก 1 ปีข้างหน้า